ตัวอย่าง Competency ของบริษัท

หลาย ๆ ท่านคงเข้าใจกันดีอยู่แล้วว่า Competency นั้นหมายถึงอะไร แต่ก็ยังมีอีกหลายท่านที่ไม่ยังเข้าใจว่าหลักการในการทำงานของ Competency นั้นเป็นอย่างไร?

หลักการทำงานของ Competency เป็นอย่างไร?

หลักการในการทำงานของ Competency เป็นการกำหนดกลุ่มพฤติกรรมที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินงานขององค์กรนั้นๆ ซึ่งมีรูปแบบแตกต่างกันไปตามโครงสร้าง ภารกิจ ลักษณะงานขององค์กรนั้นๆ และความต้องการขององค์กรที่อยากนำ Competency ไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อย่างไร   เช่น บางองค์กรอาจจะอยากนำ Competency ไปเป็นเพียงแค่ค่านิยมหลักขององค์กร  (Core Competency) ซึ่งอาจเป็นสมรรถนะด้านพฤติกรรม  ที่ทุกคนในองค์กรต้องยึดถือและปฏิบัติตามเพียงอย่างเดียว หรือสมรรถนะที่ถูกกำหนดขึ้นตามตำแหน่งงานซึ่งอาจเป็นสมรรถนะทั่วไป อย่างเดียวหรือทั้งสองอย่าง 

ปัญหาที่พบบ่อยเมื่อนำ Competency ไปใช้กับองค์กร?

ตัวอย่างเช่น การนำ Competency มาใช้ภายในองค์กรไม่เป็นผลสำเร็จ และพนักงานไม่สามารถที่จะปฏิบัติตาม Competency ได้จริง เช่นจุดประสงค์องค์กรต้องการให้พนักงานรู้จักการเรียนรู้สิ่งใหม่ได้ด้วยตนเอง แต่องค์กรก็มุ่งเน้นเนื้อหาอย่างเดียวและยังไม่ได้เตรียมความพร้อมด้านสมรรถนะ หรือด้านพฤติกรรมของพนักงานว่ามีความพร้อมในการที่จะฝึกเรียนรู้สิ่งใหม่ได้ด้วยตนเองได้หรือไม่?

วิธีการแก้ไข

1.หัวหน้างานของแต่ละฝ่ายต้องเรียนรู้หลักการของ Competency ในแต่ละหัวข้อ เพื่อจะได้ทราบถึง Competency ในของนั้นๆมุ่งเน้นพัฒนาสมรรถนะทางด้านใด

2.หัวหน้างานของแต่ละฝ่ายต้องศึกษา Framework ในแต่หัวข้อ เพื่อวางแผนการพัฒนา Competency อย่างถูกต้องเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีในการพัฒนา

3.หัวหน้างานของแต่ละฝ่ายต้องกำหนด Competency ให้ชัดเจนว่าควรจะต้องเริ่มพัฒนาสมรรถนะด้านใดก่อนหลัง เพื่อง่ายต้องการเริ่มพัฒนาที่ตรงจุด

ดังนั้น ใน “Trust Vision เราได้กำหนดหลักการทำงาน Competency”  ไว้อย่างชัดเจนเพื่อให้เหมาะสมกับทุกองค์กรที่กำลังมองหา Competency ที่ดีและเหมาะกับองค์กรของตนเอง เรามีการกำหนดชุดพฤติกรรมที่ควรมีในที่ทำงานไว้อย่างครอบคลุม และเพื่อให้มีการพัฒนาบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดเป็นประสิทธิผล เป็นไปตามโครงสร้าง ภารกิจ ลักษณะงานขององค์กร 

และยังมีกรอบการวัดผลและตัวชี้วัด สามารถตัดเกรดรายบุคคลโดยที่สามารถบอกได้ว่า บุคคลใดจัดอยู่ในกลุ่มใด และควรพัฒนาไปในทิศทางใด ในหลายๆ องค์กรในประเทศไทย ไม่มีกรอบการวัดผลและตัวชี้วัดด้าน Competency ที่สามารถตัดเกรดรายบุคคลได้ จึงทำให้องค์กรไม่สามารถที่จะผลักดันบุคลากรได้อย่างตรงจุด และไม่ทราบว่าบุคลากรที่มีอยู่นั้นพวกเขามีศักยภาพมากน้อยแค่ไหน ดังนั้นองค์กรจึงจำเป็นต้องมีกรอบการวัดชุดพฤติกรรมพนักงานที่ชัดเจนและวัดผลได้ สามารถที่จะตอบคำถามพนักงานอย่างตรงไปตรงมาได้ว่าทำไมพวกเขาถึงได้ถูกประเมินออกมาเป็นแบบนี้ แล้วกรอบการวัดผลนี้ จะลดการประเมินผลแบบถูกใจของผู้ประเมินมากกว่าความถูกต้องได้แน่นอน

ที่สำคัญองค์กรยังสามารถรู้แนวทางการพัฒนาบุคลากรได้อย่างตรงจุด ตรงสายงานที่รับผิดชอบอีกด้วย เนื่องจากองค์กรสามารถทราบได้ว่าบุคลากรนั้น ยังขาดความรู้ความสามารถด้านไหน และควรพัฒนาบุคลากรแบบไหนถึงจะเหมาะกับลักษณะงานของแต่ละคนที่รับผิดชอบอยู่ ทำให้บุคลากรมีเป้าหมายในงานที่ชัดเจนและสอดคล้องกับการทำงานการที่บุคลากรขององค์กรมีเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน จะช่วยทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้เร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย

 

 

แบ่งปันบทความดีๆ

Facebook

Twitter

LinkedIn

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่าง Competency ของบริษัท

trustvision

การขอความยินยอมจากผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถและคนเสมือนไร้ความสามารถ

ผู้เยาว์ ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน  การใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ  เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น  ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน

Read More »

Panadda July 4, 2022

ตัวอย่าง Competency ของบริษัท

trustvision

D I S C คืออะไร ?

WHAT’S D I S C DISC MODEL ถือว่าเป็นศาสตร์แห่งการศึกษาด้านพฤติกรรมของมนุษย์โดยถูกเริ่มทำการศึกษาโดยนักจิตวิทยาอย่าง ดร.วิลเลียม มาสร์ตัน

Read More »

suvitapa charoensinpa May 27, 2021

ตัวอย่าง Competency ของบริษัท

trustvision

PDPA สำหรับ HR

PDPA สำหรับ HR PDPA สำหรับ HR คืออะไร? คำตอบก็คือ.. ฝ่าย HR  เป็นฝ่ายที่มีการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลภายในองค์กรเป็นอันดับต้นๆ เพราะเป็นผู้

Core Competency มีอะไรบ้าง

การแบ่งประเภทของสมรรถนะ (Competency).
1.สมรรถนะส่วนบุคคล (Individual Competency).
2.สมรรถนะหลักตามความต้องการขององค์กร (Core Competency).
3.สมรรถนะตามหน้าที่รับผิดชอบ (Functional Competency).
4.สมรรถนะทางด้านธุรกิจ (Business Competency).
5.สมรรถนะทางด้านการจัดการ (Management Competency).

Managerial Competency มีอะไรบ้าง

สมรรถนะทางการบริหาร (Managerial Competency) มี6 ข้อ 1. ความเป็นผู้นา (Leadership) 2. การมีวิสัยทัศน์ (Visioning) 3. การวางกลยุทธ์ของหน่วยงาน/มหาวิทยาลัย (Strategic Orientation) 4. ศักยภาพเพื่อนาการเปลี่ยนแปลง (Change Management) 5. การควบคุมตนเอง (Self Control) 6. การสอนงานและมอบหมายงาน (Coaching and Empowering Others)

Core Competency ของบุคคล คืออะไร

สมรรถนะหลักขององค์กร (Core Competency) หมายถึง เรื่องที่องค์กรมีความชำนาญที่สุด เป็นขีดความสามารถพิเศษที่สำคัญในเชิงกลยุทธ์ เป็นแกนหลักที่ทำให้องค์กรบรรลุพันธกิจ ซึ่งสร้างความได้เปรียบในตลาดให้แก่องค์กรหรือสภาพแวดล้อมของการบริการ.

HR Competency มีอะไรบ้าง

การจัดการกับบุคลากร (staffing).
การอบรมและการพัฒนา (training and development).
การออกแบบองค์ (organization design) ทั้งในส่วนของโครงสร้างและกระบวนการ.
การวัดผลการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HR measurement).
การยินยอมทางกฎหมาย (legal compliance).
การบริหารผลงาน (performance management).