การบริหารจัดการชุมชน องค์กร ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โครงสร้างของชุมชน ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ

1. กลุ่มคน หมายถึง การที่คน 2 คนหรือมากกว่านั้นเข้ามาติดต่อเกี่ยวข้องกัน และมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันทางสังคมในชั่วเวลาหนึ่งด้วย ความมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน

2. สถาบันทางสังคม เมื่อคนมาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มแล้ว และมีวิวัฒนาการไปถึงขั้นตั้งองค์กรทางสังคมแล้ว ก็จะมีการกำหนดแบบแผนของการปฏิบัติต่อกันของสมาชิกในกลุ่มเพื่อสามารถดำเนินการตามภารกิจ

3. สถานภาพและบทบาทสถานภาพ หมายถึง ตำแหน่งทางสังคมของคนในกลุ่มหรือสังคมบทบาทหมายถึง พฤติกรรมที่คนในสังคมต้องทำตามสถานภาพในกลุ่มหรือสังคมชุมชนที่มีความสามารถในการบริหารจัดการชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องมีองค์ประกอบสำคัญหลายประการและสามารถพัฒนาหรือควบคุมองค์ประกอบเหล่านั้นได้ โดยมีนักวิชาการหลายท่านที่ได้ศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบการพัฒนาชุมชนไว้ตามแนวคิดการพัฒนาชุมชน ดังต่อไปนี้ สนทยา พลตรี (2533 : 65 – 68) ได้กล่าวถึงการพัฒนาชุมชนว่ามีองค์ประกอบ 2 ประการ สรุปได้

ดังนี้

1. การเข้ามีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อที่จะปรับปรุงระดับความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น โดยจะต้องพึ่งตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ และควรเป็นความริเริ่มของชุมชนเองด้วย

2. การจัดให้มีการบริการทางเทคนิคและบริการอื่นๆที่จะเร่งเร้าให้เกิดความคิดริเริ่ม การช่วยเหลือตนเอง ช่วยเหลือกันและกัน อันเป็นประโยชน์มากที่สุด

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2539 : 1 – 2) ได้กล่าวถึงลักษณะการพัฒนาคนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจถือว่าเป็นองค์การพัฒนาชุมชนด้วย สรุปได้ดังนี้

1. การพัฒนาคนประกอบด้วย 4 ด้านดังนี้

ด้านจิตใจ

ด้านร่างกาย

ด้านสติปัญญา

ด้านบุคลิกภาพ

2. การพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนา ประกอบด้วย 4 ด้านดังนี้

ด้านเศรษฐกิจ

ด้านครอบครัวและชุมชน

ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

ด้านการบริหารจัดการและการเมือง

สุพัตรา สุภาพ (2536 : 124 – 126) ได้กล่าวถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมซึ่งเป็นองค์ประกอบการพัฒนาชุมชน ว่ามี 7 ประการดังนี้

1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ หากมีความสมบูรณ์จะส่งผลให้ชุมชนมีการพัฒนาได้รวดเร็วและมั่นคง

2. การเปลี่ยนแปลงด้านประชากร การเพิ่มประชากรที่มีคุณภาพสามารถทำให้เกิดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่ทันสมัยขึ้น

3. การได้อยู่โดดเดี่ยวและติดต่อเกี่ยวข้อง ชุมชนใดที่มีการติดต่อกันทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็ว

4. โครงสร้างของสังคมและวัฒนธรรม ชุมชนที่มีการเคารพผู้อาวุโสจะมีการเปลี่ยนแปลงน้อยค่านิยมต่างๆ ช่วยให้รู้ว่าชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงเกิดการพัฒนาขึ้นมากน้อยเพียงไร

5. ทัศนคติและค่านิยม การมีค่านิยมด้านอาชีพ ด้านบริโภค เป็นส่วนของการจัดการ

พัฒนาในชุมชนนั้นได้

6. ความต้องการรับรู้ การยอมรับสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ จะเป็นเครื่องชี้ทิศทางและอัตราการเปลี่ยนแปลงของชุมชน

7. พื้นฐานทางวัฒนธรรม ถ้ามีฐานที่ดีสิ่งใหม่ที่จะเกิดขึ้นย่อมดีตามพื้นฐานเดิมด้วย

พลายพล คุ้มทรัพย์ (2533 : 44 – 47) ได้กล่าวถึงปัจจัยที่สามารถใช้ในการพัฒนาชุมชน ซึ่งเป็นองค์ประกอบการพัฒนาชุมชน ว่าประกอบด้วย 3 ปัจจัย ดังนี้

1. โครงสร้างทางสังคม ครอบครัวที่มีขนาดเล็กและมีโครงสร้างไม่ซับซ้อนจะส่งผลให้ชุมชนนั้นพัฒนาได้ดีกว่าชุมชนที่มีโครงสร้างทางครอบครัวที่ซับซ้อน

2. โครงสร้างทางชนชั้น ในชุมชนที่มีโครงสร้างแบบเปิด ที่สามารถเปลี่ยนแปลงฐานะทางสังคมได้ง่าย ชุมชนนั้นจะเกิดการพัฒนา

3. ความแตกต่างทางเผ่าพันธุ์ เชื้อชาติ และศาสนา ความแตกต่างหากเกิดขึ้นในชุมชนใดย่อมเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา ตามลำดับความแตกต่างยุวัฒน์ วุฒิเมธี (2531 : 58 – 63) กล่าวถึงปัจจัยที่เกื้อกูลให้การพัฒนาชนบทบรรลุความสำเร็จ

จำเป็นต่อการพัฒนา ว่าด้วยองค์ประกอบ และส่วนประกอบย่อยขององค์ประกอบ ดังนี้

1. นโยบายระดับชาติ ฝ่ายบริหารจะสามารถดำเนินการแผนพัฒนาได้ต่อเนื่อง และมีเวลาพอที่จะเห็นความถูกต้อง คุ้มค่า มีแนวทางประสานประโยชน์ระหว่างรัฐและเอกชน และความร่วมมือระหว่างประเทศจะต้องเกื้อกูลต่อการพัฒนา

2. องค์การบริหารการพัฒนาชนบท ที่มีองค์กรกลางทำ หน้าที่ประสานนโยบายแผนงานและโครงการอย่างมีประสิทธิภาพและมีอำนาจเด็ดขาดในการลงทุนในหน่วยปฏิบัติต้องดำเนินการตามนโยบาย แผนงาน และโครงการในแผนระดับชาติ และจัดงบประมาณการติดตามควบคุมที่มีประสิทธิภาพ

3. วิทยาการที่เหมาะสมและการจัดการบริการที่สมบูรณ์ เลือกพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับความเป็นจริง และเลือกวิทยาการที่ประชาชนจะได้รับให้เหมาะสม

4. การสนับสนุนระดับท้องถิ่น ความรับผิดชอบของการสนับสนุนงานในท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพจะเกิดการพัฒนาอย่างแท้จริงในระยะยาว

5. การควบคุมดูแลและติดตามผลการปฏิบัติงาน ควรเป็นไปตามแผนงานและโครงการทุกระดับและครอบคลุมทุกพื้นที่ พร้อมทั้งให้สถาบันการศึกษาท้องถิ่นติดตามประเมินผลอัชญา เคารพาพงศ์ (2541 : 82 – 83) กล่าวถึงปัจจัยส่วนประกอบที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนา สรุป

ได้ดังนี้

1. ผู้นำ ได้แก่ ผู้นำท้องถิ่น ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการในหมู่บ้าน และจากองค์กรภาครัฐ มีส่วนให้ชุมชนพัฒนาในทางที่ดีขึ้น เป็นประโยชน์ ชุมชนมีเจตคติที่ดียอมรบั สงิ่ ใหม่และสร้างพลังต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง

2. สังคม – วัฒนธรรม การได้รับวัฒนธรรมจากสังคมเมืองมาปฏิบัติทำให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลง

3. สิ่งแวดล้อม การปรับปรุงสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ชุมชน ส่งผลให้ที่ดินอุดมสมบูรณ์ราคาสินค้าเกษตรดี ความเป็นอยู่สะดวกสบายกว่าเดิม

4. ประวัติศาสตร์ เหตุการณ์สำคัญในอดีตมีผลต่อการพัฒนาความสามัคคี รักพวกพ้อง ช่วยเหลือซึ่งกันและกันปรียา พรหมจันทร์ (2542 : 25) ได้สรุปองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยการพัฒนาชุมชนได้ดังนี้

1. ด้านเศรษฐกิจ ชุมชนที่เศรษฐกิจดีการพัฒนาชุมชนสามารถพัฒนาได้ดีด้วย

2. ด้านสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม เป็นบริบทที่ปรับเปลี่ยนสภาพชุมชนไปตามปัจจัย

3. ด้านการเมือง หมายรวมถึงการเมืองระดับชาติและชุมชนระดับท้องถิ่น

4. ด้านประวัติศาสตร์ โดยอาศัยประสบการณ์และวิกฤตของชุมชนเป็นฐานและบทเรียนการพัฒนาชุมนุมปัจจัยโดยตรง เช่น คน ทุน ทรัพยากร การจัดการ เป็นต้น และปัจจัยโดยอ้อม เช่น ภาวะเศรษฐกิจ สังคมการเมือง การปกครอง เป็นต้นไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม (2549) ได้กล่าวถึงการสร้างและพัฒนาคนรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น มีปัจจัยสำคัญ 4 ประการ ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบการพัฒนาชุมชน ดังนี้

1. สังคมดี สิ่งแวดล้อมดี มีโอกาสในอาชีพ และกิจกรรมที่หลากหลาย รวมไปถึงวิถีชีวิตศิลปวัฒนธรรม ความอบอุ่น ความสุข ความเจริญก้าวหน้าที่พึงคาดหวังในอนาคตด้วย

2. ระบบการศึกษาของชาติ มีเป้าหมายในการผลิตคนเพื่อการพัฒนาชุมชนหรือท้องถิ่น ให้เป็นที่พึงปรารถนาของท้องถิ่นเพียงไร

3. รัฐธรรมนูญและนโยบายของรัฐ ที่เอื้อต่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้เป็นที่พึงปรารถนาน่าอยู่บทบาทของชุมชน มีสิ่งสำคัญ 3 ประการ คือ ความรักและความดี การเรียนรู้ที่มากกว่าความรู้ และการจัดการกับปัจจัยชุมชนต่างๆ

กิจกรรมที่ชุมชนต้องรับผิดชอบคือ

- ตั้งคณะกรรมการบริหาร

- ประเมินสภาพของชุมชน

- เตรียมแผนการปฏิบัติ

- หาทรัพยากรที่จำเป็น

- ทำ ให้แน่ใจว่ากิจกรรมของชุมชนทั้งหมด จะต้องมีการติดตามและการบริหารที่มี

ประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการปฏิบัติงาน กระบวนการชุมชน

1. วิเคราะห์ชุมชน

2. การเรียนรู้และการตัดสินใจของชุมชน

3. การวางแผนชุมชน

4. การดำเนินกิจกรรมชุมชน

5. การประเมินผลการดำเนินงานของชุมชน องค์ประกอบการขับเคลื่อนชุมชน

1. โครงสร้างพื้นฐานทางสังคมของชุมชน

2. ความคิดพื้นฐานของประชาชน

3. บรรทัดฐานของชุมชน

4. วิถีประชาธิปไตย

การบริหารจัดการชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีอะไรบ้าง

กระบวนการพัฒนาชุมชนสูวิถีเศรษฐกิจพอเพียงของบานนาเวียง ประกอบดวย 5 ขั้นตอนสำคัญ คือ 1) การศึกษาชุมชน 2) การวิเคราะหจัดลำดับความสำคัญของปญหาและความตองการของชุมชน 3) การวางแผนโครงการพัฒนาชุมชน 4) การดำเนินงานพัฒนาชุมชน 5) การติดตามประเมินผลงานพัฒนาชุมชน โดยมีสาระสังเขปของแตละขั้นตอนดังตอไปนี้

การบริหารจัดการชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีขั้นตอน 5 ขั้นตอนอะไรบ้าง

แนวทางการประกอบอาชีพ การสร้างงานอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5 กลุ่มอาชีพใหม่ แนวทางการประกอบอาชีพให้ประสบความสำเร็จ.
วิเคราะห์ชุมชน.
การเรียนรู้และการตัดสินใจของชุมชน.
การวางแผนชุมชน.
การดำเนินกิจกรรมชุมชน.
การประเมินผลการดำเนินงานของชุมชน องค์ประกอบการขับเคลื่อนชุมชน.

แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการคือข้อใด

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบแนวคิด ซึ่งมุ่งให้ทุกคนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ รวมถึงการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนเกิดความยั่งยืน คำว่า พอเพียง คือ การดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง โดยตั้งอยู่บนหลักสำคัญสามประการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ความพอประมาณ

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีกี่ข้อ

เศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วยคุณลักษณะ 3 ประการ และเงื่อนไข 2 ประการ หรือที่เรียกว่า 3 ห่วง 2 เงื่อนไข คือ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีต่อความจำเป็น และเหมาะสมกับฐานะของตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป และต้องไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น