การให้ผลตอบแทนธนาคารพาณิชย์

ลูกค้าบุคคล

การลงทุน

เริ่มต้นอย่างมั่นใจ เติมเต็มเป้าหมายการลงทุน ด้วยกองทุนหลากหลายจากธนาคารไทยพาณิชย์

เลือกผลิตภัณฑ์การลงทุน

Stories & Tips

อยากลงทุนแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร หรือมีปัญหาที่ไม่รู้จะปรึกษาใคร ปรึกษาเราได้ในทุกเรื่องของการลงทุน วางใจให้ธนาคารไทยพาณิชย์ดูแล  

การให้ผลตอบแทนธนาคารพาณิชย์

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ของ SCB เพื่อเข้าสู่

xxxx


ขอขอบคุณที่ใช้บริการ SCB ธนาคารขอแนะนำให้ท่านศึกษานโยบายความเป็นส่วนตัว
รายละเอียดเงื่อนไขผลิตภัณฑ์ในหน้าเว็บไซต์ปลายทางทุกครั้ง ก่อนตัดสินใจสมัคร หรือเข้าร่วมรายการส่งเสริมการขาย

การให้ผลตอบแทนธนาคารพาณิชย์

คำที่คุณใช้ค้นหาล่าสุด

    ผลการค้นหา <strong>"{{keyword}}"</strong> ไม่ปรากฎแต่อย่างใด

    ข้อแนะนำในการค้นหา

    • ตรวจสอบความถูกต้องของข้อความ
    • ตรวจสอบภาษาที่ใช้ในการพิมพ์
    • เปลี่ยนคำใหม่ กรณีไม่พบผลการค้นหา

    การลงทุนโดยฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์

     ธนาคารพาณิชย์ หมายถึง การประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือ เมื่อสินระยะเวลาอันได้กําหนดไว้ และใช้ประโยชน์จากเงินนั้น เช่น การให้กู้ยืม ซื้อขายหรือเก็บเงินตามตัว หรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด ซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศ ทั้งนี้จะประกอบธุรกิจประเภทอื่นๆ อันเป็น ประเพณีของธนาคารพาณิชย์ด้วยก็ได้ สําหรับธนาคารพาณิชย์เป็นธนาคารที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการ ธนาคารพาณิชย์ รวมถึงสาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ด้วย

    การฝากเงินเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ําเพราะมีรัฐบาลรับประกัน หากรัฐบาลไม่รับประกันเงินฝาก ความเสี่ยงก็จะมากขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกว่าจะฝากเงินกับธนาคารใด

     การฝากเงินกับธนาคารมีข้อดี ดังนี้

        1. มีความเสี่ยงต่ําและเข้าใจง่าย การเลือกฝากเงินกับธินาคา แม้จะได้ดอกเบี้ยเล็กน้อยก็ตาม ซึ่งเงินฝากก็มีแต่เพิ่มไม่มีลด

        2. มีสภาพคล่องสูง การฝากเงินมีหลายประเภท และสา บางอย่างอาจจะมีการสูญเสียดอกเบี้ยไปบ้าง แต่ผู้ฝากก็รู้สึกว่าเงิน ไม่เหมือนการลงทุนอย่างอื่น ที่อาจจะรู้สึกว่าเงินกําลังถูกนําไปหมุนอยู่ 

        3. มีความสะดวกในการฝาก-ถอน และดําเนินการต่างๆความสะดวกในการฝาก-ถอน และดําเนินการต่างๆ เพราะว่าสาขาของสถาบันการเงินจะ มีอยู่ทั่วประเทศ จึงทําให้ผู้ลงทุนในรูปเงินฝากมีความสะดวกในการดําเนินรายการ

     ธนาคารพาณิชย์มีหน้าที่ให้บริการด้านการเงินต่างๆ ดังนี้ 

        1. การรับฝากเงิน อาจจะแบ่งการรับฝากเงินของธนาคารพาณิชย์ได้ดจน

            1.1 เงินฝากกระแสรายวัน (Current Account หรือ Ahecking Account) หรือ เงินฝากเผื่อเรียก (Demand Deposit) เงินฝากประเภทนี้ธนาคารต้องจ่ายคืนเมื่อผู้ฝากทวงถาม ผู้ฝาก จะต้องนําเงินจํานวนหนึ่งมาฝากกับธนาคาร และธนาคารจะมอบสมุดเช็คให้ผู้ฝากเพื่อลงนามเนยกงขาย เงินได้ตามวงเงินที่ฝากไว้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่นิยมฝากกระแสรายวัน เพราะสะดวกในการสงจายเงิน ในการประกอบธุรกิจโดยไม่ต้องเสียเวลานับเงิน และไม่ต้องนําเงินสดจํานวนมากติดตัวไปด้วย ส่วนธนาคาร ก็สามารถนําเงินที่ลูกค้าฝากไว้นั้นไปให้กู้ยืมต่อไปได้ ตามปกติการฝากเงินกระแสรายวันในประเทศไทย ผู้ฝากจะไม่ได้รับดอกเบี้ย

            1.2 เงินฝากออมทรัพย์ (Savings Deposit) คือ เงินฝากที่ผู้ฝากจะเบิกถอนเมื่อใดก็ได้ โดย นําเอกสารคู่ฝากไปเบิกที่ธนาคาร หรือถอนจากเครื่องเอทีเอ็ม

            1.3 เงินฝากประจํา (Time Deposit) เป็นเงินประเภทกําหนดระยะเวลาในการเบิก-ถอน และจะถอนคืนได้ก็ต่อเมื่อครบกําหนดหรือต้องแจ้งให้ธนาคารทราบล่วงหน้าก่อน โดยทั่วไปผู้ฝากจะได้ รับดอกเบี้ยในอัตราสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์

        2. การให้กู้ยืม เป็นหน้าที่และบทบาทสําคัญด้านการเงินของประเทศ อาจแบ่งได้ 3 ลักษณะ

            2.1 การให้กู้ยืมโดยตรง (Loan) คือ การกู้ยืมที่มีกําหนดเวลาในการชําระหนี้แน่นอน โดยจะผ่อนชําระเป็นงวดๆ หรือใช้คืนครั้งเดียวหมดก็แล้วแต่จะตกลงกัน ผู้กู้ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราที่ไม่ สูงเกินกว่าอัตราที่ธนาคารกลางกําหนดไว้

            2.2 การให้เบิกเงินเกินบัญชี หรือ 0.D. (Overdraft) คือ การให้กู้ยืมโดยธนาคารยอมให้ลูกค้า นักเที่กระแสรายวันสามารถเขียนเช็คเบิกเงินสดได้เกินกว่าจํานวนที่มีอยู่ในบัญชีได้ จะเบิกเกินบัญชี ได้มากน้อยแค่ไหนแล้วแต่ผู้กู้กับธนาคารจะตกลงกันการคิดดอกเบี้ยคิดเฉพาะส่วนที่เบิกเกินยอดเงินในบัญชี

            2.3 การซื้อลดตัวเงิน (Discounting Bill) คือ การที่ธนาคารรับชื่อตัวแลกเงิน หรือตัวสัญญา ที่ยังไม่ถึงกําหนดเวลาชําระเงินจากลูกค้าที่นํามาขายลดให้ ผลประโยชน์ที่ธนาคารได้รับก็คือ ได้หัก

    ส่วนลดจากลูกค้าตามอัตราซื้อลดที่ธนาคารกลางกําหนด ส่วนลูกค้าแม้จะได้รับเงินน้อยกว่าที่ระบุไว้ใน ตั๋วเงิน แต่ก็จะได้ประโยชน์ตรงที่ได้รับเงินสดไปใช้ทันที

        3. การโอนเงิน มีหลายลักษณะ ได้แก่ การโอนเงินภายในท้องถิ่นเดียวกัน และการโอนเงินจาก ท้องถิ่นหนึ่งมายังอีกท้องถิ่นหนึ่ง หรือการโอนเงินจากประเทศหนึ่งมายังอีกประเทศหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น การโอนไปเพื่อตัวเองหรือโอนไปให้บุคคลอื่นก็ตาม ธนาคารสามารถให้บริการได้หลายรูปแบบด้วยกัน เช่น การโอนเงินแบบธรรมดา เป็นการโอนผ่านด้วยเช็คหรือดราฟต์ธนาคาร และการโอนเงินแบบเร็วทันใจ เป็นการโอนเงินทางโทรศัพท์ทางไกล และการโอนโดยผ่านศูนย์คอมพิวเตอร์แบบออนไลน์

        4. การเรียกเก็บเงิน หน้าที่ของธนาคารพาณิชย์เกี่ยวกับการเรียกเก็บเงินนั้นเป็นหน้าที่เกี่ยวเนื่อง กับการโอนเงิน ธนาคารจะเรียกเก็บเงินตามเช็คตั๋วเงินหรือดราฟต์ที่ครบกําหนด ซึ่งเป็นการอํานวยความสะดวก ให้แก่ลูกค้าเพื่อที่ลูกค้าจะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปเก็บเงินด้วยตนเอง เพราะธนาคารส่วนมากมีตัวแทน หรือสาขาอยู่ในจังหวัดต่างๆ รวมทั้งในต่างประเทศด้วย ทําให้สามารถเรียกเก็บเงินได้โดยสะดวกรวดเร็ว และประหยัด

        5. การให้เช่าตู้นิรภัย ปกติธนาคารจะมีห้องมั่นคงไว้ เพื่อเก็บรักษาของมีค่าของธนาคาร และ เพื่อให้ลูกค้าเช่าสําหรับเก็บของมีค่าหรือของสําคัญๆ โดยลูกค้าสามารถทําสัญญาเช่าตู้นิรภัยเพื่อเก็บ ทรัพย์สินอันมีค่า เช่น เครื่องเพชร ทองรูปพรรณ โฉนด สัญญาต่างๆ

        6. การซื้อขายเงินตราต่างประเทศ หมายถึง การที่ธนาคารทําหน้าที่ซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตรา ต่างประเทศ เมื่อประชาชนต้องการเงินตราต่างประเทศก็สามารถซื้อได้จากธนาคารพาณิชย์ตามเงื่อนไข ที่ระบุไว้ ถ้าผู้ใดต้องการขายเงินตราต่างประเทศที่ตนมีในครอบครอง ก็สามารถนําไปขายให้แก่ธนาคาร พาณิชย์ได้

    ใน 

        7. การบริการอื่นๆ ธนาคารพาณิชย์ยังให้บริการอื่นๆ แก่ลูกค้าอีก เช่น บริการบัตรเครดิต บริการหนังสือค้ําประกัน บริการให้คําปรึกษาด้านธุรกิจและการลงทุน บริการรับชําระค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น