การเรียงข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล

4.3 การวางแผนการพยาบาล (Planing)

        การวางแผนการพยาบาลเป็นการพิจารณาและกำหนดกิจกรรมการช่วยเหลือหรือร่วมมือกับผู้รับบริการ  โดยการตั้งเป้าหมาย จัดลำดับความสำคัญ  กำหนดรายละเอียดของวิธีการเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว และป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น (ภัทรอำไพ พิพัฒนานนท์, 2546) และเป็นการสื่อสารเพื่อให้การพยาบาลผู้ป่วย  โดยพยาบาลจะต้องตอบคำถามให้ได้ว่าต้องทำอะไร อย่างไร และเมื่อใด

         อย่างไรก็ตามในการวางแผนระยะสั้นและระยะยาว จะต้องสอดคล้องกับปัญหา/ ข้อวินิจฉัยที่ตั้งขึ้น และเกณฑ์การประเมินผล และควรคำนึงถึงข้อมูลที่ได้จากการตรวจสภาพจิตยังมีความสำคัญเพราะการตรวจสภาพจิตของแพทย์กับพยาบาลมีความแตกต่างกัน   แพทย์ตรวจสภาพจิตเพื่อการวินิจฉัยโรค (การแลกเปลี่ยนครั้งที่ 2) ซึ่งการวินิจฉัยโรคใน Axis I หมายถึง โรคกลุ่ม Psuchotic disorder  เช่น Schizophrenis  และ/ หรือ โรคร่วมของผู้ป่วย   และ Axis II หมายถึง MR/ Personality disoreder  เช่น Antisocial (การแลกเปลี่ยนครั้งที่ 4)

        การวางแผนการพยาบาล ประกอบด้วย

1. การเรียงลาดับความสาคัญ (priorities) การให้ความช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม 

2. มีการตั้งเป้าหมาย (Setting goals) เป็นเป้าหมายระยะสั้น (short-term goals) และเป้าหมายระยะยาว (long-term goals)

ตัวอย่างการวินิจฉัยทางการพยาบาล เป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวและเกณฑ์ประเมินผล

ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล

มีพฤติกรรมก้าวร้าวเนื่องจากมีวิธีการเผชิญความเครียดไม่เหมาะสม

วัตถุประสงค์

1. ไม่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวในระยะเวลา 48 ชั่วโมง (เป้าหมายระยะสั้น)

2. สามารถเผชิญและทนต่อความเครียดได้เหมาะสมภายใน 4 สัปดาห์ (เป้าหมายระยะยาว)

เกณฑ์การประเมินผล

- สีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แววตา ท่าทางเป็นมิตร พูดจาสุภาพ - ควบคุมอารมณ์ตนเองได้ - ไม่ทาลายสิ่งของ ทาร้ายผู้อื่น - มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น

กระบวนการพยาบาลเป็นวิธีในการแก้ปัญหาของผู้ป่วยซึ่งมี 5 ขั้นตอน คือ การ ประเมิน (Assessing) การวิเคราะห์ (Analysing) การวางแผน (Planing) การนำไปปฏิบัติ (Implementing) และการประเมินผล (Evaluating)

การประเมิน (Assessing)

ประเมินจากข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยมีข้อมูลมากมายที่ต้องเก็บ จึงต้องเก็บแต่สิ่งสำคัญ แหล่งข้อมูลมีหลายทาง เช่น จากผู้ป่วย ญาติ เพื่อนผู้ป่วย ผู้พบเห็นผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์ การถามจากผู้ป่วยไม่ควรถามซํ้าซ้อนกันหลายครั้ง เพราะทำให้ผู้ป่วยเบื่อหน่าย และไม่ไว้ใจในการรักษาว่ามีความถูกต้องหรือไม่ อาจไม่ให้ความร่วมมือได้ การเก็บข้อมูลควรเก็บทั้งข้อมูลอัตนัย และข้อมูลปรนัย ข้อมูลอัตนัย ได้แก่ ข้อมูลที่ผู้ป่วยรู้สึก เห็น หรือคิด ได้ยิน ข้อมูลปรนัย ได้แก่ ข้อมูลที่ได้จากการได้ยิน เห็น สัมผัสจับต้องได้ของพยาบาล อาจใช้เครื่องมือช่วย

พยาบาลหาข้อมูลเพื่อที่จะให้ได้ประวัติทางการพยาบาล (Nursing History) ซึ่งต่างกับประวัติทางการแพทย์ (Medical History) คือ ประวัติทางการพยาบาลจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพของผู้ป่วยทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ความเจ็บป่วย การจากบ้านมาอยู่โรงพยาบาลเป็นอย่างไร ความต้องการพื้นฐานปกติของผู้ป่วย เช่น การรับประทาน การดื่ม การขับถ่าย การนอน การออกกำลังกายฯ ความเจ็บป่วยมีผลกระทบต่อสิ่งต่างๆ ดังกล่าว อย่างไร ส่วนประวัติทางการแพทย์จะกล่าวถึงอาการและความก้าวหน้าของการเจ็บป่วย การรักษา

การบันทึกข้อมูลจะต้องบันทึกอย่างสั้นแต่สมบูรณ์ อาจจะเขียนแต่คำสำคัญ ทำให้อ่านง่ายรวดเร็ว ไม่ใช้ศัพท์เทคนิค นอกจากต้องการเน้นให้ชัดเจนเพิ่มขึ้น ไม่ใช้คำตีความ เช่น ดี เลว ไม่เขียนทับศัพท์ เช่น ซึมเศร้า ต้องเขียนบันทึกคำพูด และพฤติกรรมของผู้ป่วยที่แสดงออกมา

การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysing)

เมื่อเก็บข้อมูลมาแล้วต้องให้ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing Diagnosis) ซึ่งต่างจากข้อวินิจฉัยทางการแพทย์ (Medical Diagnosis) ซึ่งมีลักษณะเป็นเกี่ยวกับโรค เมแทบอลิซึม การเปลี่ยนแปลงทางเคมีและพยาธิสภาพ แต่ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลจะบอกถึงผลกระทบ (Response) ต่อแบบแผนสุขภาพ (Functional Health Patterns) เป็นหลักซึ่งมี 11 แบบแผน ดังต่อไปนี้คือ

การวางแผน (Planing)

เป็นการสื่อสารเพื่อให้การพยาบาลผู้ป่วย จะต้องตอบคำถามได้ว่าอะไร อย่างไร และเมื่อใด ขั้นตอนของการวางแผนการพยาบาล คือ

1. เรียงลำดับความสำคัญของปัญหา โดยให้ปัญหาที่คุกคามต่อชีวิต เป็นอันตราย ต่อผู้ป่วย หรือกระทบต่อผู้ป่วยรุนแรง เป็นอันดับต้น ปัญหาที่มีโอกาสเกิด เป็นปัญหารองลงไป

2. วางวัตถุประสงค์ทั้งระยะสั้นและระยะยาว วัตถุประสงค์ของการพยาบาล คือ สิ่งที่ต้องการให้ผู้ป่วยเป็นอย่างไรโดยหลักกว้างๆ คือปัญหาลดลง เพิ่มและส่งเสริมส่วนดีของผู้ป่วย คำที่ใช้ต้องมีคำว่าลดลง เพิ่มขึ้น เพียงพอ บรรเทา ทุเลาฯ เช่น อาการปวดลดลง พักผ่อนได้เพียงพอ มีนํ้าหนักเพิ่มขึ้น ซีดน้อยลง เป็นต้น

3. กำหนดระยะเวลาที่จะกระทำให้สำเร็จ เช่น กี่วัน กี่สัปดาห์

4. เลือกการพยาบาลให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ ปัญหาที่พบ คือ เขียนไม่สอดคล้อง หรือสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ ต้องใช้ความคิดเป็นเหตุเป็นผลเสมอว่าการพยาบาลนี้ สามารถทำให้วัตถุประสงค์นี้บรรลุได้จริง

5. เขียนคำสั่งการพยาบาล (Nursing orders) ตัวอย่างเช่น ทำ ROM. ให้ผู้ป่วย วันละ 2 ครั้ง ขณะเช็ดตัวบนเตียง ช่วยพยุงเดินรอบเตียง วันละ 3 ครั้ง เช้า เที่ยง เย็น เป็นต้น

6. เขียนแผนการพยาบาลทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วให้สมบูรณ์

การปฏิบัติพยาบาล (Implementing)

การปฏิบัติพยาบาล จะมีทั้งบทบาทอิสระ บทบาทไม่อิสระ และบทบาทร่วม การปฏิบัติพยาบาลจะต้องมีความเฉพาะเจาะจงในวิธีการแต่ละบุคคล บอกทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ เช่น ทำแผลติดเชื้อที่นิ้วหัวแม่เท้าซ้ายด้วยเบตาดีนกับนํ้าเกลือ ในสัดส่วน 1:1 ทุกวัน วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เวลา 6.00 น.และ 18.00 น.

การให้พยาบาลจะต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยโดยละเอียด เช่น การวินิจฉัย การรักษา การดำรงชีวิตของผู้ป่วย การดูแลตนเอง ข้อจำกัดของผู้ป่วย เหล่านี้เป็นต้น

การประเมินผล (Evaluating)

การประเมินผลในกระบวนการพยาบาล พยาบาลจะต้องตอบคำถามตนเองต่อไปนี้ว่า การพยาบาลนั้นช่วยให้ผู้ป่วยบรรลุวัตถุประสงค์ระยะยาวได้หรือไม่ทำให้ผู้ป่วยสุขสบายขึ้นหรือไม่ ประหยัดเวลาและแรงงานทั้งของผู้ป่วยและพยาบาลหรือไม่ พยาบาลประหยัดสิ่งของหรือไม่ ปัญหาของผู้ป่วยได้รับการแก้ไขโดยการพยาบาลแต่เพียงอย่างเดียวหรือไม่ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ ผู้ป่วยเป็นผลจากการพยาบาลที่ไม่ถูกต้อง เหมาะสมหรือไม่ และคำถามสุดท้ายคือ มีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับข้อวินิจฉัยการพยาบาล คำสั่งพยาบาล หรือแผนการพยาบาลหรือไม่ มีการปรับเปลี่ยนแผนการพยาบาลอยู่เสมอหรือไม่

การประเมินผลในการวางแผนการพยาบาล สิ่งที่พยาบาลควรคำนึงถึงคือ เรื่องของ เวลาในการประเมินวัตถุประสงค์ระยะยาว ต้องติดตามผู้ป่วยต่อเนื่อง เป็นวัน เป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน การประเมินต้องประเมินจากวัตถุประสงค์เป็นหลัก ตัวอย่างเช่น วัตถุประสงค์ได้รับออกซิเจนเพียงพอ

ประเมินผล ไม่เหนื่อยหอบ อัตราหายใจ 30 ครั้ง/นาที

ค่าออกซิเจนในเลือดแดง 97 มม.ปรอท

ควรประเมินผลสิ่งที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ ในเชิงปริมาณเป็นหลัก เช่น ค่าความดันโลหิต ชีพจร อุณหภูมิ นํ้าหนัก ค่าผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ สัมผัสหรือตรวจได้ เช่น การเคาะท้องได้ยินเสียงโปร่ง ข้อมูลที่ใช้ประเมินผลประกอบ เช่น คำพูดผู้ป่วย สีหน้าท่าทาง อารมณ์ เป็นต้น

กระบวนการพยาบาลเป็นกระบวนการแก้ปัญหา ที่ฝึกให้รู้จักคิดเป็นคนมีเหตุมีผล แม่นยำ มีแนวทางในการดูแลผู้ป่วยในทีมได้เป็นอย่างดี จากหลักดังกล่าวข้างต้นจึงนำมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยเฉพาะรายกรณี การประเมินผลอาจจะไม่สมบูรณ์นัก เนื่องจากข้อมูลที่ได้อาจไม่เพียงพอ หรือระยะเวลาไปประเมินนั้นสั้นไป การประเมินผลในที่นี้มีวัตถุประสงค์ระยะสั้น และวัตถุประสงค์ระยะยาว ไม่ระบุเวลาชัดเจนว่าประเมินเมื่อใด ช่วงเวลาใด

ผลกระทบหรือปัญหาเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ มีปัญหาที่ครอบคลุมปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยทางอายุรกรรมที่พบบ่อย ๆ ได้มาก เช่น ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางระบบประสาท จะมีปัญหาเกี่ยวกับการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ (เบาหวาน) จะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบผิวหนังด้วย ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังก็มีปัญหาเกี่ยวกับการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ สมดุลของนํ้าและเกลือแร่ เป็นต้น

ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล มีอะไรบ้าง

การวินิจฉัยการพยาบาลเป็นการกําหนดปัญหาหรือภาวะสุขภาพที่ครอบคลุมทั้งทางด้านร่างกาย จิตสังคม และจิตวิญญาณ ของผู้รับบริการ การวินิจฉัยโรคทางการแพทย์ ส่วนใหญ่จะเน้นปัญหาเฉพาะทางด้านร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลงพยาธิสภาพซึ่งแพทย์เป็นผู้รักษาผู้ป่วย

กระบวนการ พยาบาล 5 ขั้น ตอน มี อะไร บาง

การใช้กระบวนการพยาบาลอย่างครอบคลุม หมายถึง การใช้กระบวนการพยาบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 5 ขั้นตอน ซึ่งเริ่มตั้งแต่การประเมินสภาพผู้ป่วย การวินิจฉัยการพยาบาล การวางแผนการพยาบาล การปฏิบัติ การพยาบาล การประเมินผลการพยาบาล ซึ่งสามารถวัดได้โดยใช้แบบวิเคราะห์ความครอบคลุมตามขั้นตอน ของการใช้กระบวนการพยาบาลจากการบันทึก ที่มีข้อความ ...

การพยาบาลมีกี่ระยะ

กระบวนการพยาบาลเป็นเครื่องมือที่ส าคัญในการปฏิบัติการพยาบาล ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่การประเมินภาวะ สุขภาพ การวินิจฉัยการพยาบาล การวางแผนการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาลและการประเมินผล การใช้กระบวนการพยาบาล เป็นการแก้ปัญหาสุขภาพของผู้รับบริการเป็นรายบุคคลแบบองค์รวมตามแนวทางวิทยาศาสตร์และเป็นการน าความรู้ทางทฤษฎีไป สู่ ...

กระบวนการพยาบาล (Nursing Process) มีความหมายว่าอย่างไร

(Medical Process) กระบวนการพยาบาล (Nursing Process) เน้นการรักษาโรคและ อุบัติเหตุ เน้นให้บุคคลสามารถมี กิจกรรมและความเป็น อิสระในตนเองให้มากที่สุด ปรึกษาพยาบาลในการ วางแผนเพื่อให้ผู้ป่วย สามารถมีกิจกรรมใน ชีวิตประจาวันอย่าง เหมาะสม ปรึกษาแพทย์ในการให้การ รักษาโรค

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita