สถานการณ์สังคมไทยในปัจจุบัน 2564

Onlinenewstime.com : เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2565 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง ได้นำเสนอภาวะสังคมไทยไตรมาสสาม ปี 2565 พบความเคลื่อนไหวสำคัญ ได้แก่ การจ้างงานปรับตัวดีขึ้น การว่างงานลดลงโดยมีอัตราการว่างงานร้อยละ 1.23 หนี้สินครัวเรือนขยายตัวชะลอลงและคุณภาพสินเชื่อโดยรวมปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง คดีอาญาและการรับแจ้งอุบัติเหตุลดลง

แต่ยังมีประเด็น ด้านสังคมที่ยังต้องเฝ้าระวังต่อเนื่อง ได้แก่ การเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังโดยรวมเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะผู้ป่วย โรคมือ เท้า ปาก

เช่นเดียวกับการร้องเรียนเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคเพิ่มขึ้น และการบริโภคเหล้าและบุหรี่เพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอสถานการณ์ทางสังคมที่น่าสนใจ 3 เรื่อง ได้แก่ (1) เมื่อโลกร้อนไม่ใช่เรื่องไกลตัว : เราจะรับมืออย่างไร (2) กยศ. : การส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาของเด็กไทยให้ยั่งยืน และ (3) เสรีกัญชา : มุมมองที่ควรเรียนรู้จากต่างประเทศ รวมทั้งเสนอบทความเรื่อง มองคนจนหลายมิติ ปี 2564 ปัญหาที่ไม่ใช่แค่เรื่องเงินเท่านั้น

สถานการณ์ด้านแรงงานไตรมาสสาม ปี 2565 การจ้างงานขยายตัวได้จากสาขานอกภาคเกษตรกรรม แต่ภาคเกษตรกรรมยังคงหดตัวจากปัญหาอุทกภัย การว่างงานปรับตัวลดลงใกล้เคียงกับช่วงเวลาปกติ และชั่วโมงการทำงานที่ฟื้นตัวดีขึ้น ขณะที่ค่าจ้างที่แท้จริงยังหดตัวจากผลของเงินเฟ้อ

การจ้างงาน มีจำนวนทั้งสิ้น 39.6 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม ที่ร้อยละ 4.3 หรือมีการจ้างงาน 27.2 ล้านคน โดยสาขาที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นคือ สาขาค้าส่งค้าปลีก และโรงแรมและภัตตาคาร ที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 และ 8.3 ตามลำดับ อันเป็นผลของการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว

โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย ช่วงไตรมาสสาม ปี 2565 เพิ่มสูงขึ้นมาก และสาขาการผลิตมีการจ้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 สอดคล้องกับอัตราการใช้กำลังการผลิตและการส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่อง

ขณะที่ ภาคเกษตรกรรมมีการจ้างงาน 12.4 ล้านคน ลดลง ร้อยละ 2.4 จากผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย ชั่วโมงการทำงานปรับตัวดีขึ้น ใกล้เคียงกับสถานการณ์ปกติ ช่วงก่อนการแพร่ระบาดฯ โดยชั่วโมงการทำงานในภาพรวมและภาคเอกชนอยู่ที่ 42.5 และ 46.7 ชั่วโมง/สัปดาห์ ผู้ทำงานล่วงเวลา มีจานวน 6.8 ล้านคน และผู้เสมือนว่างงานลดลงเหลือ 1.9 ล้านคน ใกล้เคียงกับช่วงเวลาปกติ

ค่าจ้างแรงงานปรับเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องแต่ค่าจ้างที่แท้จริงหดตัว โดยค่าจ้างที่แท้จริงของแรงงานภาคเอกชน หดตัว ร้อยละ1.7 และค่าจ้างที่แท้จริงในภาพรวมหดตัวถึงร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

การว่างงานปรับตัวดีขึ้น โดยผู้ว่างงานมีจำนวน 4.9 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.23 เช่นเดียวกับการว่างงานในระบบที่ปรับตัวลดลงอยู่ที่ร้อยละ 1.99 ซึ่งเป็นการลดลงทั้งผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนและไม่เคย ทำงานมาก่อน

ประเด็นที่ต้องติดตามในระยะถัดไป

1) การมีแนวทางบรรเทาภาระค่าครองชีพของแรงงาน โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานนอกระบบ จากค่าจ้างที่แท้จริงที่หดตัวลงจากผลกระทบของเงินเฟ้อในระดับสูง อย่างไรก็ตาม แรงงานในระบบจะได้รับการชดเชยจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ขณะที่แรงงานนอกระบบที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีการศึกษาไม่สูงนักจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงหากรายได้ไม่เพิ่มขึ้น

2) การเร่งช่วยเหลือและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยโดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่ยากจน ซึ่งในไตรมาส 3 มีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยถึง 59 จังหวัด โดยจังหวัดดังกล่าว มีเกษตรกรรวมกันมากถึง 8.3 ล้านคน ในจำนวนนี้มีเกษตรกรยากจนจานวน 8.9 แสนคน ซึ่งอาจได้รับความเสียหายที่รุนแรงกว่ากลุ่มอื่น และ

3) การสนับสนุนให้ผู้ว่างงานเข้าสู่ระบบ การอบรมและพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพเกี่ยวกับภาคการท่องเที่ยว ผลสำรวจของสมาคมโรงแรมไทยเดือนกันยายน ปี 2565 พบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมร้อยละ 77 ยังเผชิญกับปัญหาขาดแคลนแรงงาน

หนี้สินครัวเรือนในไตรมาสสอง ปี 2565 ขยายตัวชะลอลง ส่วนคุณภาพสินเชื่อปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง แต่ต้องเฝ้าระวังสินเชื่อยานยนต์ และติดตามผลกระทบจากปัญหาค่าครองชีพ ปัญหาอุทกภัย และลูกหนี้เสีย ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ที่ยังคงมีจำนวนเพิ่มขึ้น

หนี้สินครัวเรือนไตรมาสสอง ปี 2565 ชะลอตัวต่อเนื่อง โดยมีมูลค่า 14.76 ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.5 ลดลงจากร้อยละ 3.7 ของไตรมาสที่ผ่านมา เช่นเดียวกับสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP ที่ปรับลดลงเป็นร้อยละ 88.2 จากไตรมาสก่อน ตามการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจ และการชะลอตัวของการก่อหนี้ของครัวเรือนจาก ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น

ด้านคุณภาพสินเชื่อในภาพรวมปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง จากมาตรการส่งเสริมการปรับโครงสร้างหนี้และการบริหารคุณภาพสินเชื่ออย่างต่อเนื่องของสถาบันการเงิน โดยในไตรมาสสาม ปี 2565 สัดส่วนสินเชื่ออุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 2.62

อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องเฝ้าระวังคุณภาพสินเชื่อยานยนต์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีสัดส่วนสินเชื่อค้างชำระ น้อยกว่า 3 เดือนต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง นอกจากนี้ จากข้อมูลเครดิตบูโรในไตรมาสสอง ปี 2565 ยังพบว่า หนี้เสียขยายตัวในระดับสูง ในกลุ่มลูกหนี้อายุตั้งแต่ 41 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะลูกหนี้กลุ่มสูงอายุ และลูกหนี้ NPLs จากผลกระทบของ COVID-19 อีกทั้ง

ในระยะถัดไป มีปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อหนี้ครัวเรือน ได้แก่

1) ภาระค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น 2) ครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยมีแนวโน้มก่อหนี้เพื่อซ่อมแซมบ้านเรือนเพิ่มขึ้น และ 3) อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ดังนั้น สถานการณ์ข้างต้นนำมาซึ่งประเด็นที่ต้องติดตามและให้ความสำคัญ คือ 1) การเร่งรัดการปรับโครงสร้างหนี้โดยเฉพาะกลุ่มสินเชื่อยานยนต์ กลุ่มลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้เสียเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 2) การมีมาตรการสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน เพื่อช่วยเหลือครัวเรือนให้มีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของ COVID-19 และปัญหาอุทกภัย และ 3) การมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับประชาชน

การเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะโรคมือ เท้า ปาก และโรคไข้หวัดใหญ่ นอกจากนี้ ยังต้องให้ความสำคัญกับผู้ป่วยด้านสุขภาพจิตกลุ่มต่าง ๆ และต้องเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ ซึ่งจะต้องรักษาระดับการป้องกันโรคส่วนบุคคลและเข้ารับวัคซีนอย่างต่อเนื่อง

จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังโดยรวมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2564 ร้อยละ 275.4 หรือเพิ่มขึ้นจาก 52,200 ราย เป็น 195,976 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก และโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นผลจากน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ในช่วงที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ต้องให้ความสำคัญระบบรักษาผู้ป่วยด้านสุขภาพจิต ทั้งผู้ที่มีความเครียด ผู้ป่วยซึมเศร้า ไปจนถึงผู้ป่วยยาเสพติด ซึ่งปัจจุบันคนไทยมีแนวโน้มประสบกับภาวะเครียดและซึมเศร้า และเข้ามารับการรักษามากขึ้น ขณะที่ประเทศไทยยังขาดแคลนจิตแพทย์ ส่งผลให้เกิดข้อจำกัด ในการดูแลผู้ป่วย

ซึ่งในระยะสั้นอาจต้องเร่งขยายผลการบูรณาการร่วมกับกลไกในชุมชน และในระยะยาวจะต้องหาแนวทางเพิ่มจำนวนจิตแพทย์หรือเพิ่มบทบาทของบุคลากรด้านสุขภาพจิต เพื่อรักษาหรือยกระดับคุณภาพบริการ

ขณะเดียวกัน ผู้ป่วยที่ใช้สารเสพติด ซึ่งเป็นผู้ป่วยจิตเวชกลุ่มใหญ่ที่สุด ยังพบด้วยว่า เกือบครึ่งยังไม่ได้รับการบำบัดรักษาครบถ้วนตามกำหนดเวลา โดยเฉพาะผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยงก่อความรุนแรง อีกทั้ง ยังต้องเฝ้าระวัง การแพร่ระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ที่มีการแพร่ระบาดในต่างประเทศ ในช่วงที่ประเทศไทยผ่อนคลายมาตรการควบคุมต่าง ๆ ลง

ดังนั้น ประชาชนจึงควรรักษาระดับการป้องกันโรคส่วนบุคคล รวมถึงเข้ารับวัคซีนอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง

การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่เพิ่มขึ้น ซึ่งยังคงต้องให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์ความรู้ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าแก่เด็กและเยาวชนอย่างต่อเนื่อง และเร่งดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ขายอย่างเข้มงวด

การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 โดยการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ขณะที่การบริโภคบุหรี่ลดลงร้อยละ 1.2 อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องให้ความสำคัญกับการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ที่ถูกต้อง และสร้างการตระหนักถึงโทษของบุหรี่ไฟฟ้าแก่เด็กและเยาวชนอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเด็กและเยาวชนยังได้รับข้อมูลที่ผิดและบางส่วนยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า

ซึ่งเด็กที่เริ่มต้นสูบโดยใช้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นอย่างแรก มีแนวโน้มจะสูบบุหรี่ธรรมดาเพิ่มขึ้น 5 เท่า และสูบทั้งบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่ธรรมดาเพิ่มขึ้นถึง 7 เท่า อีกทั้งบุหรี่ไฟฟ้าในปัจจุบันได้ถูกพัฒนาให้มีรูปแบบสวยงาม มีรสชาติที่หลากหลาย และสามารถพกพาง่าย จึงมีส่วนสำคัญในการดึงดูดเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะผู้หญิงมาลองใช้มากขึ้น

ซึ่งที่ผ่านมาได้มีงานวิจัยจำนวนมากระบุถึงผลกระทบทางด้านสุขภาพของบุหรี่ไฟฟ้าทั้งต่อผู้สูบและผู้อื่น โดยปัจจุบันมีพบว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคปอดอักเสบรุนแรง หรือ อิวาลี (EVALI) อีกด้วย

ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งการรณรงค์และให้ข้อมูลที่ถูกต้อง โดยบูรณาการความร่วมมือกับสถานศึกษา รวมถึงจะต้องเร่งดำเนินการทางกฎหมายแก่ผู้ขายบุหรี่ไฟฟ้าอย่างจริงจังและเข้มงวด เพื่อป้องกันการเข้าถึงและทดลองสูบของเยาวชน ซึ่งอาจนำไปสู่การเป็นนักสูบหน้าใหม่

คดีอาญาโดยรวมลดลง แต่ยังต้องเฝ้าระวังการแพร่ระบาดยาเสพติดในหลายพื้นที่จากการที่นักค้า ยาเสพติดปรับกลยุทธ์การค้ายาเสพติด รวมทั้งการกวาดล้างแหล่งจำหน่ายอาวุธปืนเถื่อน และควบคุม ผู้ครอบครองอาวุธปืนถูกกฎหมายอย่างเคร่งครัด

ไตรมาสสาม ปี 2565 มีการรับแจ้งคดีอาญาทั้งสิ้น 105,407 คดี ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2564 ร้อยละ 15.7 เป็นการรับแจ้งคดียาเสพติด 88,850 คดี ลดลงร้อยละ 17.4 คดีชีวิต ร่างกาย และเพศรับแจ้ง 3,692 คดีเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 และคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์รับแจ้ง 12,865 คดี ลดลงร้อยละ 7.9 โดยประเด็นที่ต้องติดตามและเฝ้าระวัง คือ

1) คดียาเสพติดที่มีสัดส่วนสูงโดยตลอด มีปัจจัยสำคัญจากการแพร่ระบาดของยาบ้าจาก การพัฒนาของเทคโนโลยีการผลิตซึ่งสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตได้ถึง 10 เท่า รวมทั้งสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ที่เป็นปัจจัยหลักในกระบวนการผลิตมีราคาถูก รูปแบบการค้ายาเสพติดที่มีการใช้ช่องทางมากขึ้น

จึงต้อง ให้ความสำคัญกับการบังคับใช้กฎหมาย ทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดตามแนวชายแดนเป็นสำคัญ ร่วมกับ การสืบสวนสอบสวนขยายผลไปสู่การจับกุมและยึดอายัดทรัพย์สิน และเฝ้าระวังการซื้อขายยาเสพติดบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และ

2) การให้ความสำคัญกับการควบคุมดูแลการครอบครองอาวุธปืน การเข้าถึงการมีอาวุธปืนเถื่อนที่ง่ายสามารถสั่งซื้อผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ทั้งแบบเป็นชิ้นส่วนเพื่อนำมาประกอบเอง หรือผู้ขายสั่งซื้ออุปกรณ์จากเว็บไซต์ขายของออนไลน์แล้วนำมาดัดแปลงเพื่อเพิ่มอานุภาพของอาวุธ ซึ่งต้องมีการปราบปรามอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ปืนถูกกฎหมายต้องเพิ่มความเข้มข้นในการตรวจสอบผู้ที่ครอบครองอาวุธปืน

การเกิดอุบัติเหตุทางบกและจานวนผู้เสียชีวิตลดลง ร้อยละ 2.6 และ 3.0 ตามลาดับ การบังคับใช้กฎหมายควบคุมการใช้ความเร็วตามกฎหมายที่กำหนด จะสามารถลดการเกิดอุบัติเหตุทางถนนได้

ไตรมาสสาม ปี 2565 มีการรับแจ้งการเกิดอุบัติเหตุจราจรทางบกจำนวน 18,458 ราย ลดลงร้อยละ 2.6 จากไตรมาสเดียวกันของปี 2564 มีผู้เสียชีวิต 1,276 ราย ลดลงร้อยละ 3.0 ผู้บาดเจ็บรวม 9,389 ราย ลดลงร้อยละ 9.3 สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุจากบุคคลสูงสุดคือ ขับรถตัดหน้ากระชั้นชิด ร้อยละ 56.9 รองลงมา ได้แก่

การขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ร้อยละ 51.7 การเกิดอุบัติเหตุจราจรทางบก สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมของ ผู้ขับขี่ยานพาหนะที่ขาดระเบียบวินัย ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร โดยเฉพาะการขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด นำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงบ่อยครั้ง

ซึ่งแนวทางการลดอุบัติเหตุทางถนนโดยการบังคับใช้ความเร็วของรถยนต์ตามที่กฎหมายกำหนดจะช่วยป้องกันและลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจากอุบัติเหตุทางถนนได้

การรับเรื่องร้องเรียนผ่าน สคบ. เพิ่มขึ้น ขณะที่การรับเรื่องร้องเรียนผ่านสานักงาน กสทช. ลดลง นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ คือ การติดตามและเฝ้าระวังไม่ให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อการหลอกให้เปิดบัญชีม้า และปัญหาการเอาเปรียบผู้บริโภค เมื่อผู้ประกอบการธุรกิจร้านค้าต่าง ๆ ละเลยการแสดงราคาสินค้าและบริการ

การรับเรื่องร้องเรียนสินค้าและบริการในไตรมาสสาม ปี 2565 ของ สคบ. มีจำนวน 6,045 ราย เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 64.8 ขณะที่การร้องเรียนผ่านสานักงาน กสทช. มีการร้องเรียนทั้งสิ้น 502 เรื่อง ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 22.9

โดยยังคงเป็นการร้องเรียน เกี่ยวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่มากที่สุด นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ คือ 1) การติดตามและเฝ้าระวังไม่ให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อหลอกให้เปิดบัญชีม้า

จากข้อมูลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปี 2565 พบว่า ในเดือนพฤษภาคม มีการเปิดบัญชีม้าจำนวน 6,211 บัญชี เพิ่มขึ้นเป็น 14,369 บัญชี ในเดือนสิงหาคม หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 231.34 ซึ่งบัญชีม้าจะถูกมิจฉาชีพนำไปใช้ในกระบวนการกระทำผิดกฎหมายต่าง ๆ ส่งผลให้มีความเสียหายตามมาสูงมาก ทั้งในเชิงมูลค่าและความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล และ

2) ปัญหาการเอาเปรียบผู้บริโภค โดยปัจจุบันผู้ประกอบการธุรกิจร้านค้ามีการละเลยการแสดงราคาสินค้าและบริการ และค่าบริการ service charge ซึ่งจากสถิติร้องเรียนของกรมการค้าภายในปี 2565 (เดือนมกราคม -กันยายน) พบว่า เรื่องอาหารและเครื่องดื่มมีการร้องเรียนเข้ามามากที่สุด และส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการไม่ปิดป้ายแสดงราคาจำหน่ายปลีกถึงร้อยละ 55.58 ของเรื่องร้องเรียนทั้งหมด 2,483 เรื่อง

จึงต้องมีการตรวจสอบที่เข้มงวดและเพิ่มบทลงโทษแก่ผู้กระทำผิดให้รุนแรงขึ้น ขณะเดียวกัน กรณีการเก็บค่าบริการ service charge อาจต้องกำหนดประเภทร้านค้าที่สามารถเก็บค่าบริการ service charge ได้

เมื่อโลกร้อนไม่ใช่เรื่องไกลตัว : เราจะรับมืออย่างไร

ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ มีความรุนแรงและเกิดบ่อยครั้งขึ้น ซึ่งจากการประมวลความถี่ การเกิดภัยพิบัติ พบว่า ในหนึ่งช่วงอายุของคนที่เกิดในปี 2563 จะมีโอกาสเผชิญกับภัยพิบัติมากกว่าคนที่เกิด

ในปี 2503 ถึง 3 เท่า โดยในช่วงปี 2543 – 2562 ทั่วโลกเกิดภัยพิบัติครั้งใหญ่ จานวน 7,348 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 1.23 ล้านคน คิดเป็นมูลค่าความสูญเสียประมาณ 2.97 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ สำหรับประเทศไทย ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา เกิดอุทกภัยจำนวนมากกว่า 40,000 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 2,000 คน คิดเป็นมูลค่า ความเสียหายมากกว่า 12.59 ล้านล้านบาท

ทั้งนี้ ในอดีตคนทั่วไปมักคิดว่าภัยพิบัติต่าง ๆ เป็นเพียงปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ แต่จากการศึกษาวิจัยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่า ภัยพิบัติดังกล่าวเป็นผลจากภาวะโลกร้อนซึ่งเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้น เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกที่ส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น

โดยรายงานผลการศึกษาของ IPCC (2021) เปิดเผยว่า อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นแล้ว 1.09 องศาเซลเซียส จากความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มสูงสุด ในรอบ 2 ล้านปี และส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นกว่าในอดีตถึง 3 เท่า การศึกษาข้างต้นชี้ให้เห็นว่า โลกร้อนกลายเป็นเรื่องใกล้ตัว ที่ทุกคนต้องตระหนัก จาก

การสำรวจความคิดเห็นคนทั่วโลก รวมถึงคนไทย พบว่า ส่วนใหญ่รับรู้ถึงผลกระทบของภาวะโลกร้อนและต้องมีการจัดการอย่างเร่งด่วน โดยเรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการ ได้แก่ การอนุรักษ์ป่าไม้/การใช้ที่ดิน การใช้พลังงานหมุนเวียน การทาการเกษตรที่เหมาะสม การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า โครงสร้างพื้นฐาน/การเตือนภัย

อย่างไรก็ตาม ในเรื่องความรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหา คนไทยส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นหน้าที่ของภาครัฐและ ภาคธุรกิจคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40 และมีเพียงร้อยละ 28 ที่คิดว่าเป็นความรับผิดชอบของคนทุกคน นอกจากนี้ ยังพบว่า มีคนไทยเพียงร้อยละ 35 ที่เห็นว่าควรลดการใช้พลังงานฟอสซิล ผลการสำรวจดังกล่าว สะท้อนถึง ความตระหนักและความใส่ใจของคนไทยต่อการแก้ไขปัญหาที่ยังมีไม่มากนัก

ที่ผ่านมา ประชาคมโลกได้มีข้อตกลงร่วมกันที่จะรักษาระดับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เกิน 1.5 -2 องศาเซลเซียส โดยมีการดำเนินการในหลายด้าน อาทิ การอนุรักษ์ป่าไม้เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน การปรับรูปแบบการทำเกษตรเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด การพัฒนาระบบพยากรณ์สภาพอากาศ/ระบบเตือนภัย การพัฒนานวัตกรรมป้องกันภัยพิบัติ

นอกจากนี้ ยังเห็นพ้องกันว่า ทุกคนต้องเพิ่มความตระหนักให้มากขึ้น โดยการปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สำหรับประเทศไทย มีการดำเนินการเช่นเดียวกับประชาคมโลก โดยมีการอนุรักษ์/ฟื้นฟูป่าไม้ มีการศึกษาวิจัยการปลูกพืชที่ลด การปล่อยมีเทน/ไนตรัสออกไซด์ มีการกำหนดเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน มีการแจ้งเตือนภัยพิบัติ ตลอดจน มีการหลักสูตร/กิจกรรม/สื่อการเรียนเรื่องปัญหาโลกร้อน

อย่างไรก็ตาม การรับมือของไทยยังมี ความท้าทายในหลายเรื่อง อาทิ การขาดทิศทางการวิจัยด้านการเกษตรเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การใช้พลังงานทดแทนยังมีสัดส่วนที่ต่ำและมีแนวโน้มลดลง การแจ้งเตือนภัยพิบัติต่างๆ ที่ยังไม่ครอบคลุมและข้อมูลยังมีลักษณะกระจัดกระจาย

ตลอดจน คนไทยยังมีความเข้าใจที่ผิดต่อสาเหตุ/การแก้ปัญหาเรื่องโลกร้อน โดยยังรู้สึกว่าปัญหาโลกร้อนเป็นเรื่องไกลตัว และยังไม่เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จะช่วยลดผลกระทบจากโลกร้อน จากปัญหาข้างต้นนามาซึ่งประเด็นที่ไทยต้องให้ความสำคัญ คือ

1) การปรับรูปแบบการทำเกษตรกรรมให้ลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจก

2) การเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาด โดยเฉพาะในภาคการขนส่ง

3) การพัฒนาระบบพยากรณ์สภาพอากาศและระบบเตือนภัยล่วงหน้าให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุมในทุกพื้นที่

4) การศึกษาวิจัยนวัตกรรมในการป้องกันน้าท่วม โดยใช้กรณีศึกษาจากต่างประเทศ และ

5) การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนที่ถูกต้องให้กับประชาชน โดยการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความตระหนักว่าปัญหาภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องใกล้ตัว และนำมาซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

กยศ. : การส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาของเด็กไทยให้ยั่งยืน

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาให้กับนักเรียนและนักศึกษา โดยในระยะแรก กยศ. ใช้งบประมาณจากรัฐในการให้กู้ยืม จนกระทั่งปี 2561 กยศ. สามารถปรับเป็นกองทุนหมุนเวียนเต็มรูปแบบ หรือไม่จำเป็นต้องพึ่งพางบประมาณจากรัฐ และมีผลการให้กู้ยืมกับนักเรียนและนักศึกษาแล้วทั้งสิ้น 6.4 ล้านราย คิดเป็นเงินให้กู้ยืม 706,357 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2565)

อย่างไรก็ดี แม้ กยศ. จะสนับสนุนให้เด็กเข้าถึงการศึกษาเป็นจำนวนมาก แต่กลับมีผู้กู้ยืมที่ผิดนัดชาระหนี้คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 65 ของลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างชำระหนี้ทั้งหมด โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า กยศ. เป็นกองทุนที่มีหนี้เสียสูงที่สุดในประเทศ (ข้อมูล ณ สิ้นปี 2563)

ซึ่งปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ดังกล่าว ไม่เพียงส่งผลต่อลูกหนี้เท่านั้น แต่ยังส่งผลครอบคลุมถึงผู้ค้ำประกัน โดยมีประชาชนที่เกี่ยวข้องมากถึง 6.4 ล้านราย

โดยสาเหตุ การผิดนัดชำระหนี้ของลูกหนี้ กยศ. สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ 1) ปัญหาจากลูกหนี้ มี 2 ด้าน คือ การขาดวินัยทางการเงินอาทิ พฤติกรรมของลูกหนี้ที่มักนำเงินไปจ่ายชำระหนี้ที่มีดอกเบี้ยแพงก่อน ขณะเดียวกันลูกหนี้บางส่วนมีเจตนาที่จะไม่ชำระหนี้แม้จะมีความสามารถในการจ่าย และมาตรการส่งเสริมความรู้ทางการเงิน ให้แก่ลูกหนี้ยังมีข้อจากัด รวมถึงการประสบปัญหาหรือวิกฤตต่าง ๆ อาทิ ตกงาน

2) ปัญหาจากกลไกการชำระหนี้ ของ กยศ. ที่กาหนดให้มีการชำระหนี้คืนรูปแบบเดียวเป็นขั้นบันไดและไม่สามารถปรับได้ ส่งผลให้ลูกหนี้บางส่วน ไม่สามารถจ่ายชำระคืนได้หากประสบภาวะวิกฤต หรือเป็นภาระทางการเงินต่อลูกหนี้อย่างมาก

3) ปัญหา การดำเนินงานของกองทุนฯ อาทิ ระเบียบ/กฎเกณฑ์ของกองทุนฯ ไม่เอื้อให้มีการดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ กับกลุ่มลูกหนี้ที่มีคำพิพากษาแล้ว และลักษณะการไกล่เกลี่ยไม่ได้คำนึงถึงความสามารถในการชาระหนี้ของลูกหนี้ และ

4) ปัญหาเชิงโครงสร้างของการศึกษา จากการเรียนในสาขาวิชาที่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาด ทำให้ลูกหนี้บางส่วนแม้เรียนจบแล้วแต่ยังก้าวไม่พ้นความยากจนหรือไม่สามารถยกระดับรายได้ขึ้นได้

จากปัญหาข้างต้น การแก้ไขปัญหาจึงอาจไม่ใช่การยกหนี้ หรือปรับให้กองทุนปลอดดอกเบี้ย และค่าปรับผิดนัดชำระหนี้ เพราะหาก กยศ. ไม่คิดอัตราดอกเบี้ย และเบี้ยปรับ ภายในปี 2570 เงินสดคงเหลือสิ้นงวดของ กยศ. จะหายไปถึง 7.8 หมื่นล้านบาท และอาจต้องปรับสถานะจากกองทุนหมุนเวียนไปใช้งบประมาณจากรัฐประมาณ 2.1 หมื่นล้านบาทต่อปี

โดยแนวทางที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว คือ

1) กองทุนฯ ต้องดำเนินการเชิงรุกในการนำลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระหนี้ มาเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ และไกล่เกลี่ย ก่อนฟ้องคดี เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้เสียที่มีอยู่เดิม และเพื่อให้กองทุนฯ มีเสถียรภาพทางการเงินสาหรับให้กู้แก่เด็กรุ่นต่อไป

2) ปรับรูปแบบการชำระหนี้ให้สอดคล้องกับรายได้และการทำงานของลูกหนี้

3) เพิ่มความรู้ทางการเงิน โดยกำหนดให้ผู้กู้ยืมต้องฝึกอบรมและผ่านการทดสอบความรู้ทางการเงินของ กยศ. อย่างต่อเนื่อง และสนับสนุนให้สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรความรู้ทางการเงินภาคบังคับ

4) มีมาตรการสร้างแรงจูงใจการชำระหนี้เพิ่มเติมนอกเหนือจากการดำเนินงานที่มีอยู่ อาทิ มีการส่งข้อความแจ้งเตือนผ่านโทรศัพท์ก่อนถึงกำหนดวันชำระหนี้

5) จัดทำข้อมูลลูกหนี้อย่างครอบคลุมเพื่อติดตามสถานะลูกหนี้ โดยลูกหนี้ต้องรายงานสถานการณ์ทำงานอย่างสม่ำเสมอ และ

6) มีมาตรการเสริมสมรรถนะหรือทักษะอาชีพเพิ่มเติมให้ผู้กู้ยืมที่ยังไม่มีงานทำ

เสรีกัญชา : มุมมองที่ควรเรียนรู้จากต่างประเทศ

เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียที่สามารถใช้กัญชาและกัญชง ได้อย่างถูกกฎหมาย จากการเล็งเห็นประโยชน์ทางการแพทย์ของสารสกัดจากกัญชาและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง

ซึ่งจากข้อมูลของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมกัญชาและกัญชงตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้าของประเทศไทยมีมูลค่ารวมกว่า 2.8 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม การใช้กัญชาอย่างไม่เหมาะสมสามารถส่งผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพได้เช่นกัน

จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายในการควบคุมดูแลเพื่อป้องกันผลกระทบทางสังคมที่รัดกุมรอบด้าน ซึ่งหากพิจารณามาตรการควบคุมการใช้กัญชาของประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกา ในรัฐโคโลราโดและรัฐวอชิงตัน ที่ทำให้อาชญากรรม ที่เกี่ยวข้องกับกัญชาและจำนวนเยาวชนที่ใช้กัญชาลดลง พบว่า

1) การผลิตมีการกำหนดให้ต้องจดทะเบียน ก่อนดำเนินการ และมีการจำกัดพื้นที่/จำนวนต้นที่สามารถปลูกได้ รวมถึงมีการกาหนดคุณลักษณะของพื้นที่เพาะปลูก

2) การซื้อขายและการครอบครองมีการกำหนดคุณสมบัติของทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย โดยจะต้องลงทะเบียนก่อน อีกทั้งยังมีการคัดกรองโดยใช้ใบสั่งจากบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับอนุญาต และ

3) การคุ้มครองผู้บริโภคได้มีการกำหนดอายุขั้นต่ำและคุณสมบัติของผู้ใช้กัญชา รวมถึงมีข้อแนะนำในการสั่งจ่ายกัญชา และมีบทลงโทษ หากมีการจำหน่ายหรือใช้กัญชาอย่างผิดกฎหมาย

เมื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกัญชา กัญชง พ.ศ. …. ของประเทศไทย พบว่ามีข้อกำหนดเกี่ยวกับ การผลิตและการเพาะปลูก การซื้อขาย และการคุ้มครองบุคคลที่อาจได้รับอันตรายจากการบริโภคกัญชาและ กัญชง แต่ยังไม่มีข้อกำหนดบางประการ อาทิ การระบุตัวตนของผู้ซื้อและผู้ขาย เพดานปริมาณกัญชาที่สามารถซื้อขายหรือถือครองได้ แนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนของการปลูกกัญชาเพื่อใช้ในครัวเรือน

ดังนั้น เพื่อให้นโยบายการเปิดเสรีกัญชาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประเทศไทยต้องให้ความสำคัญกับประเด็นดังต่อไปนี้

1) การควบคุม การผลิตและการเพาะปลูกโดยต้องกำหนดปริมาณที่สามารถผลิตหรือเพาะปลูกในครัวเรือนให้มีความเหมาะสม รวมทั้งมีมาตรฐานของโรงเรือนหรือพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าถึงกัญชา

2) การควบคุมการซื้อขายและการครอบครองซึ่งควรกำหนดให้มีการลงทะเบียนร้านค้าหรือร้านขายยา ผู้จำหน่าย และผู้ใช้กัญชา และกำหนดเพดานปริมาณกัญชาที่สามารถซื้อขายหรือถือครองได้ รวมถึงมีข้อกำหนดด้านการส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์กัญชา และอาจพิจารณาให้ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ที่มีใบอนุญาตในการซื้อกัญชา เพื่อจำกัดการซื้อขายกัญชาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และป้องกันการใช้อย่างไม่เหมาะสม

3) การกำหนดรูปแบบของผลิตภัณฑ์ ที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบซึ่งต้องให้ความสำคัญกับรูปแบบของบรรจุภัณฑ์และความเข้มข้นของกัญชาร่วมด้วย รวมถึงควรกำหนดให้มีการแสดงฉลากและวิธีการใช้ที่ถูกต้องอย่างชัดเจน

4) การป้องกันการเข้าถึงของเด็กและการคุ้มครองผู้บริโภคกลุ่มอื่น ๆ โดยการกำหนดอายุขั้นต่ำและอาจพิจารณาจัดทำคู่มือการใช้กัญชาทางการแพทย์ หรือกำหนดอาการ/กลุ่มโรคที่เข้าข่าย หรือคุณสมบัติของผู้ป่วย ที่สามารถใช้กัญชาได้

5) การส่งเสริมและสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้กัญชาที่ถูกวิธี ซึ่งควรเร่งดำเนินการตั้งแต่ก่อนอนุญาตให้สามารถใช้กัญชาทางการแพทย์ ได้อย่างถูกกฎหมาย เพื่อป้องกันการใช้กัญชาอย่างไม่ถูกต้อง และ

6) การบังคับใช้กฎหมายและการติดตามตรวจสอบโดยจะต้องดำนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการมีกลไกและระบบติดตามตรวจสอบที่ดีจะสามารถช่วยลดผลกระทบ เชิงลบในด้านต่าง ๆ ที่อาจตามมาได้

บทความ “มองคนจนหลายมิติ ปี 2564 ปัญหาที่ไม่ใช่แค่เรื่องเงินเท่านั้น”

ในปี 2564 พบว่า คนจนหรือผู้ที่มีรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคต่ำกว่าเส้นความยากจนมีจำนวนทั้งสิ้น 4.4 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนคนจนที่ร้อยละ 6.32 ลดลงจากปีก่อนที่มีจานวน 4.7 ล้านคน หรือมีสัดส่วนคนจนร้อยละ 6.83 แม้ว่าจะเป็นช่วงที่มีการระบาดของ COVID-19

โดยสาเหตุที่คนจนไม่ได้เพิ่มขึ้นมาจากมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบที่ของรัฐ แต่อย่างไรก็ดี นิยามของความยากจนไม่ได้มีเพียงเรื่องตัวเงินอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการขาดแคลน ขัดสน หรือขาดโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็นต่อการดารงชีพ

ตลอดจนการไม่สามารถเข้าถึงบริการและความช่วยเหลือของรัฐ ซึ่งในปี 2564 มีสถานการณ์ด้านคุณภาพชีวิต ที่อาจส่งผลต่อปัญหาความยากจนหลายด้าน อาทิ ด้านการศึกษา มีเด็กหลุดออกนอกระบบการศึกษาถึง 2.8 แสนคน และมีปัญหาภาวะความถดถอยทางการเรียนรู้ เช่นเดียวกับด้านสุขภาพ ที่คนไทยมีความเครียดสูงและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น

ขณะเดียวกันยังพบปัญหาการเข้าถึงการรักษาพยาบาล ส่วนด้านความเป็นอยู่ พบปัญหาคนไร้บ้านและ การขาดแคลนที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ในเรื่องหลักประกันรายได้ ยังพบปัญหาการไม่มีหลักประกันทางสังคม และไม่มีเงินออมเพียงพอที่จะรองรับการขาดรายได้จากช่วงวิกฤต

ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้สะท้อนถึงสถานการณ์ความยากจนจากมุมมองคุณภาพชีวิตที่มีปัญหามากขึ้น จากประเด็นดังกล่าว การประเมินสถานการณ์ความยากจนให้ครอบคลุมในมิติที่นอกจากด้านตัวเงินจึงเป็นสิ่งจำเป็น

ซึ่งสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จึงจัดทำดัชนีความยากจนหลายมิติ (Multidimensional Poverty Index : MPI) ขึ้น โดยกำหนดมิติที่ส่งผลต่อความยากจน 4 มิติ ได้แก่ การศึกษา การใช้ชีวิตในแบบที่ดีต่อสุขภาพ ความเป็นอยู่ และความมั่นคงทางการเงิน

สถานการณ์ความยากจนหลายมิติ พบว่า ปัญหาความยากจนหลายมิติมีปัญหาที่รุนแรงกว่าความยากจนด้านตัวเงินมาก จากจำนวนคนจนหลายมิติที่มีจำนวนมากกว่าคนยากจนด้านตัวเงินเกือบเท่าตัว โดยในปี 2564 คนจนหลายมิติมีจานวน 8.1 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11.6 ลดลงอย่างต่อเนื่องจากปี 2556 ที่มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 27.5 สำหรับ

สภาพปัญหาและปัจจัยที่ส่งผลต่อความยากจนหลายมิติยังมีความแตกต่างกันตามเขตพื้นที่อยู่อาศัย กล่าวคือ ครัวเรือนที่อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาลมีปัญหาความยากจนหลายมิติมากกว่าในเขตเทศบาล โดยมีสัดส่วนคนยากจนร้อยละ 18.0 เทียบกับร้อยละ 6.6

อีกทั้ง คนจนหลายมิติมากกว่า 1 ใน 3 เป็นผู้สูงอายุ โดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 36.9 ของคนจนหลายมิติทั้งหมด และ คนจนหลายมิติกว่าครึ่งเป็นกลุ่มที่ ไม่มีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ (เด็ก ชรา ป่วย ผู้ว่างงาน) โดยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 51.5 ของคนจนหลายมิติทั้งหมด

เมื่อพิจารณาความยากจนหลายมิติในแต่ละมิติ พบประเด็นปัญหาที่สำคัญ คือ

มิติด้านการศึกษา ยังมี ปัญหาการหลุดออกนอกระบบการศึกษาที่เพิ่มขึ้นเมื่อมีระดับการศึกษาที่สูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเด็กที่ไม่ได้อาศัย อยู่กับพ่อแม่

มิติด้านการใช้ชีวิตในแบบที่ดีต่อสุขภาพ มีปัญหาด้านการเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดยังจำกัดอยู่ใน บางพื้นที่ที่มีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี ที่แม้ว่าน้าประปาจะได้มาตรฐานที่จะใช้ในการดื่ม แต่ต้องให้ความสำคัญกับระบบการลำเลียงน้ำไปยังครัวเรือนเพื่อให้มีคุณภาพความสะอาดได้มาตรฐาน และยังมีปัญหาทุพโภชนาการ ในครัวเรือนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี

มิติด้านความเป็นอยู่ พบว่าคนจนหลายมิติกว่า 2.8 ล้านคน ไม่มีอินเทอร์เน็ตใช้ เนื่องจากสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ยังไม่ครอบคลุมในบางพื้นที่ และคนจนหลายมิติยังมีข้อจำกัดในด้านค่าใช้จ่ายในการเข้าถึง

มิติด้านความมั่นคงทางการเงิน พบประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ คือ การไม่มีหลักประกันของแรงงาน จากการที่แรงงานส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระและไม่มีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ ทำให้ไม่มีหลักประกัน และการมีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย กระทบต่อการออมและอาจส่งผลให้มีหนี้สินเพิ่มขึ้น

ข้อมูลข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า แนวทางแก้ปัญหาความยากจนต้องมีการดำเนินการ คือ

1) พัฒนาระบบข้อมูลระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ให้มีการบูรณาการร่วมกันและครอบคลุมประชากรทุกคน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือและ การชี้ทิศทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในชุมชน ซึ่งจะช่วยในการออกแบบการดาเนินนโยบายเหมาะสมและตอบสนองต่อปัญหาของกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง และ

2) จัดทำมาตรการในรูปแบบ policy package เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนโดยเฉพาะความยากจนหลายมิติที่มีปัญหาที่หลากหลายได้อย่างครอบคลุม

โดยอาจต้องมีการดำเนินการในหลาย ๆ ประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกัน อาทิ การสร้างหลักประกันทางรายได้ที่ส่งเสริมการออม ภาคบังคับ และยกระดับทักษะทางการเงิน (Financial Literacy) เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคงและมีคุณภาพตั้งแต่วัยแรงงานไปจนถึงวัยเกษียณ การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ครอบคลุมตั้งแต่เด็กปฐมวัย วัยเรียน วัยแรงงาน และวัยผู้สูงอายุ และการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม (Ecosystem) ให้เอื้อต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ปัญหาสังคมไทยในปัจจุบัน มีอะไรบ้าง

ปัญหาสังคมของไทย •1. ปัญหายาเสพติด •2. ปัญหาคอร์รัปชั่น (Corruption) •3.ปัญหาความยากจน (Poverty) •4. ปัญหาการแพร่กระจายของโรคเอดส์ ปัญหายาเสพติด กําลังระบาดในหมู่เยาวชน ปัจจุบันนี้ ประเทศไทยมีคนติดสิ่งเสพติดมากกว่าสองล้านคน ส่วน

สภาพสังคมไทยในปัจจุบันเป็นอย่างไร

ลักษณะทั่วไปของสังคมไทย 1. ยึดถือพระมหากษัตริย์และนับถือพระพุทธศาสนา 2. มีโครงสร้างแบบหลวม ๆ ไม่ค่อยมีการรักษากฎเกณฑ์ระเบียบอย่างเคร่งครัด มีการผ่อนปรนใน เรื่องต่าง ๆ 3. เป็นสังคมเกษตรกรรม ประชากรมีชีวิตอยู่อย่างง่าย ๆ 4. ส่วนใหญ่ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นหลัก

ปัญหาของสังคมไทยในปัจจุบัน พ.ศ. 2565มีอะไรบ้าง

สรุป "ภาวะสังคมไทย" ไตรมาส 1 ของปี 2565 มีเรื่องที่น่าสนใจในหลายประเด็น อาทิ อัตราการว่างงานลดลง หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น อัตราการเจ็บป่วยลดลง รวมถึงการปรับตัวด้านต่างๆ ของคนไทยต่อสภาวะเงินเฟ้อที่เผชิญอยู่

อนาคตสังคมไทยจะเป็นอย่างไร

สังคมไทยในอนาคต จะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุประชากรในอีก 20 ปีข้างหน้า กล่าวคือ สัดส่วนของประชากรวัยเด็กจะลดลง แต่สัดส่วนของประชากรวัยแรงงาน และวัยสูงอายุจะเพิ่มสูงขึ้น จะทำให้โครงสร้างการผลิตจะมีการเปลี่ยนแปลง จากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยการผลิตนั้นจะอาศัยเทคโนโลยีระดับกลางและระดับสูงเพิ่มมากขึ้น ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita