การรับรองบุตรไม่ได้ จดทะเบียน สมรส

เนื่องจากปัจจุบันมีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่จดทะเบียนสมรสและมีบุตรกับชาวต่างชาติ และมีเชื่อว่าหลายท่านกำลังเกิดข้อสงสัยว่า การแจ้งเกิดบุตรและการจดทะเบียนรับรองบุตร กรณีพ่อหรือแม่เป็นชาวต่างชาติ จะยุ่งยากไหม ต้องแสดงหลักฐานและมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง Wonderfulpackage เลยจะมาบอกวิธีการแจ้งเกิดบุตรและการจดทะเบียนรับรองบุตร กรณีมีพ่อหรือแม่เป็นชาวต่างชาติ ให้ผู้ที่กำลังเกิดข้อสงสัยได้ทราบกันนะคะ

รายการเอกสารที่ต้องยื่นประกอบคำร้องขอแจ้งเกิดบุตร กรณีพ่อหรือแม่ เป็นชาวต่างชาติ แบ่งเป็น 2กรณี ดังนี้

1. กรณีพ่อหรือแม่ เป็นชาวไทย ต้องเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้

  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน และ ของผู้แจ้ง
  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • หนังสือรับรองการเกิดจากสถานพยาบาล

2. กรณีพ่อหรือแม่ เป็นชาวต่างชาติ ต้องเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้

  • หนังสือเดินทาง พร้อมสำเนา
    ซึ่งจะมีขั้นตอนเพิ่มขึ้น คือพ่อหรือแม่ ที่เป็นชาวต่างชาติ ต้องนำหนังสือเดินทางของท่านไปรับรองที่สถานทูตประเทศของเจ้าของเอกสารก่อน เพื่อรับรองว่าหนังสือเดินทางเป็นของจริง ออกโดยประเทศนั้นจริง ก่อนที่นำเอกสารที่รับรองจากสถานทูต มาแปลเป็นไทยและรับรอง กับทางศูนย์แปลที่ได้การรับรองมาตรฐาน และนำเอกสารที่แปลแล้ว ไปรับรองที่กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ จากนั้นจึงนำเอกสารที่รับรองเรียบร้อยแล้วไปยื่นที่อำเภอ จึงเป็นการเสร็จสมบูรณ์

ขั้นตอนการรับรองหนังสือเดินทาง มีดังต่อไปนี้

  1. นำหนังสือเดินทางไปรับรองที่สถานทูตของเจ้าของประเทศ
  2. นำเอกสารที่รับรองจากสถานทูตแปลเป็นไทย และจะต้องรับรองโดยศูนย์แปลที่ได้การรับรองมาตรฐาน
  3. นำเอกสารที่แปลแล้ว ไปรับรองที่กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ

ขั้นตอนการจดทะเบียนรับรองบุตร ของชาวต่างชาติ

1. การจดทะเบียนรับรองบุตรในสำนักทะเบียน

บุตรที่เกิดจากบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาแต่เพียงฝ่ายเดียว หากจะให้เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา บิดาต้องร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตรโดยมารดาและบุตรให้ความยินยอม ณ สำนักงานเขตแห่งใดก็ได้

หลักฐานที่ต้องใช้

  1. บัตรประจำตัวประชาชน และหนังสือเดินทางที่รับรองที่สถานทูตของกรณี พ่อหรือแม่เป็น ชาวต่างชาติ
  2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านผู้เกี่ยวข้อง
  3. สูติบัตรของบุตร
  4. พยานบุคคล 2 คน
  5. พ่อแม่ และบุตรต้องมาลงลายมือชื่อด้วยตนเอง กรณีเด็กเป็นผู้เยาว์ไร้เดียงสา ยังสื่อความหมายไม่ได้ เขียนชื่อตัวเองไม่ได้ การจดทะเบียนรับรองบุตรนั้น ต้องมีคำพิพากษาของศาล

2. การจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักงานทะเบียน

พ่อสามารถร้องขอต่อนายทะเบียน เพื่อจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักงานเขตได้ แต่สถานที่ที่ไปจดทะเบียนต้องอยู่ในท้องที่ของสำนักงานเขตนั้น

หลักฐานที่ต้องใช้

  1. บัตรประจำตัวผู้เกี่ยวข้อง และหนังสือเดินทางที่รับรองที่สถานทูตของกรณี พ่อหรือแม่เป็น ชาวต่างชาติ
  2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านผู้เกี่ยวข้อง
  3. สูติบัตรของบุตร
  4. พยานบุคคล 2 คน
  5. พ่อแม่ และบุตรต้องลงลายมือชื่อ กรณีเด็กเป็นผู้เยาว์ไร้เดียงสา ยังสื่อความหมายไม่ได้ เขียนชื่อตัวเองไม่ได้ การจดทะเบียนรับรองบุตรนั้น ต้องมีคำพิพากษาของศาล


***แต่ละที่อาจจะแตกต่างกันไปแล้วแต่ละอำเภอที่ไปท่านยื่น (โทรสอบถาม แต่ละอำเภอ เพื่อความสะดวกของท่าน)***

ขอบคุณข้อมูลจาก

  •  kingtranslations
  • สำนักงานเขตคลองสาน

บทความที่เกี่ยวข้อง

  • หากคนต่างชาติต้องการมาอยู่ไทยถาวรหลังแต่งงานจะต้องยื่นเอกสารหรือติดต่อที่ไหนบ้างมาดูกันเลย!!

Work Permit & VISA consultancy


If a father or mother is a foreigner and to report the birth of a child and register a child certificate, what are the procedures and documents do they need?

อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากปัญหาในเรื่องของการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม การทำแท้ง และการขัดต่อวัฒนธรรมแล้ว ยังอาจนำมาซึ่งปัญหาในทางกฎหมายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตกรณีที่คู่รักครองความสัมพันธ์กัน “ฉันสามีภรรยา” โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงอยากให้ลองตั้งคำถามกับตัวเองเสียก่อนว่า


“คุณกับคู่รักอยู่กินฉันสามีภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสหรือไม่?”


“มีบุตรด้วยกันหรือไม่?”  “บุตรใช้นามสกุลของใคร?”


“รายละเอียดในใบสูติบัตร (ใบเกิด) ของบุตร ปรากฏชื่อของบิดาหรือไม่?” 


คำถามเหล่านี้ ยังไม่รวมถึงกรณีที่อาจจะเกิดปัญหาในการเลี้ยงดูบุตรที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การเรียกร้องค่าเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น เนื่องจากในกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้ถูกต้องตามกฎหมายจะทำให้บุตรที่เกิดขึ้นนั้นเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาแต่เพียงฝ่ายเดียว ดังนั้น ผู้เป็นบิดาอาจไม่ต้องรับผิดชอบในการจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้  อธิบายแบบง่ายๆ ก็คือ เมื่อคุณแม่ต้องกลายเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว (Single mom) ในกรณีที่พ่อและแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ลูกที่เกิดมาจะถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้เป็นแม่เพียงผู้เดียว และจะเป็นลูกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของพ่อ ดังนั้นผู้เป็นพ่อก็ไม่ต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตรตามกฎหมาย แต่ต่อมาถ้าแม่ต้องการให้พ่อจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ก็จะต้องดำเนินการให้พ่อดำเนินการรับรองให้เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของพ่อเสียก่อน จึงจะมีสิทธิเรียกร้องเงินค่าเลี้ยงดูบุตรได้   

การรับรองบุตรไม่ได้ จดทะเบียน สมรส

กรณีลูกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว ในทางกฎหมายเราเรียกว่า “บุตรนอกสมรส”  ซึ่งกฎหมายก็ได้กำหนดวิธีการที่จะเป็นทำให้บุตรนอกสมรสกลายเป็น “บุตรชอบด้วยกฎหมาย” ได้ ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังนี้


1. บิดาจดทะเบียนรับรองบุตร


2. บิดามารดาสมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมายภายหลัง


3. ศาลพิพากษาว่าเด็กคนนั้นเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา


อย่างไรก็ดี กรณีตามข้อแรก บิดาจดทะเบียนรับรองบุตร การจดทะเบียนรับรองบุตรจะต้องให้บิดาไปจดทะเบียนรับรองบุตรกับนายทะเบียนที่สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอในแต่ละจังหวัด โดยมารดาต้องให้ความยินยอม รวมทั้งเด็กต้องให้ความยินยอม แต่ถ้ากรณีที่เด็กยังเล็กมากและยังไม่สามารถพูดให้ความยินยอมได้อาจขอให้ศาลมีคำสั่งแทนคำยินยอมของเด็ก


กรณีที่สองบิดามารดาสมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมายภายหลัง เด็กจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาโดยมีผลย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่เด็กเกิด


กรณีสุดท้ายหลังจากที่ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ก็จะมีผลย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่เด็กเกิดเช่นกัน

อีกกรณีหนึ่งที่มารดาสามารถนำมาใช้อ้างได้ ถ้าพบข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้ โดยให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา

  • เมื่อมีการข่มขืนกระทำชำเราหรือหน่วงเหนี่ยวกักขังหญิงมารดาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

  • เมื่อมีการลักพาตัวมารดาไปในทางชู้สาวหรือมีการล่อลวงร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาที่หญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้

  • เมื่อมีเอกสารของบิดาแสดงว่าเด็กคนนั้นเป็นบุตรของตน

  • เมื่อปรากฏในทะเบียนเกิดว่าเด็กเป็นบุตรโดยมีหลักฐานว่าบิดาเป็นผู้แจ้งการเกิดหรือรู้เห็นยินยอมในการแจ้งนั้น

  • เมื่อบิดามารดาได้อยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผยในระยะเวลาที่หญิงอาจตั้งครรภ์ได้

  • เมื่อมีเหตุใดๆ ที่แสดงให้เห็นว่าเด็กนั้นมิได้เป็นบุตรของชายอื่น

  • เมื่อมีการแสดงออกที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตร เช่น บิดาดูแลเรื่องการศึกษา ยินยอมให้เด็กใช้นามสกุลของตน

การรับรองบุตรไม่ได้ จดทะเบียน สมรส

ดังนั้น เมื่อสามีไม่จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ฝ่ายภรรยาสามารถดำเนินการฟ้องศาลขอให้สามีรับเด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงสามารถเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้อีกด้วย เมื่อบิดาจดทะเบียนรับรองบุตรแล้ว กฎหมายกำหนดหลักไว้ว่าบิดามารดาต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะคืออายุ 20 ปีบริบูรณ์