ลูก 1 ขวบ 8 เดือน เอาแต่ใจ

Q : ลูกอายุ 1 ขวบ 5 เดือน เอาแต่ใจตัวเอง ชอบกรี๊ด โวยวายและร้องเสียงดังเวลาที่ไม่ได้ดั่งใจอะไรก็จะร้องมากๆ เพิ่งมาเป็นเมื่อคุณแม่ออกมาทำงานข้างนอกได้ประมาณ 3 เดือนค่ะ ก่อนหน้านี้เลี้ยงเองไม่ค่อยเป็นค่ะ จะมีร้องบ้างก็พอเข้าใจ แต่พอมาทำงาน เป็นไปได้ไหมคะว่าลูกชายจะถูกตามใจจากคุณยายทั้ง 3 มากเกินไป และสังเกตได้ว่า พอคุณพ่อและคุณแม่และคุณยายอยู่พร้อมกัน ลูกก็จะเหมือนกลัวบ้าง ไม่ค่อยจะกรี๊ดเท่าไหร่แต่ก็มีบ้าง เลยกลัวว่าเขาจะติดนิสัย หนักใจมาก ควรทำอย่างไรดีคะคุณหมอ - คุณแม่ส้ม กทม.

A : อาจเป็นได้ทั้งพัฒนาการตามวัยสำหรับเด็กบางคน หรือมากเกินพัฒนาการตามวัย ตรงนี้บอกได้ยากจากข้อมูลที่คุณแม่ให้มาครับ เพราะเด็กวัยนี้เริ่มมีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น อยากช่วยเหลือตัวเอง อยากให้คนนั้นทำสิ่งนั้นคนโน้นทำสิ่งโน้นให้ เมื่อไม่ถูกใจก็จะรู้สึกคับข้องใจ ที่ยังไม่สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นรับรู้ผ่านคำพูดได้ดีประกอบกับความสามารถในการควบคุมตัวเองยังทำได้ไม่ดีนัก นำมาซึ่งอาการกรี๊ดร้องอย่างที่คุณแม่สังเกตเห็นครับ

ส่วนที่มาที่ไปหรือมีอะไรส่งเสริมให้อาการรุนแรงขึ้นกว่าที่เป็นคงบอกได้ยากครับ ด้วยความที่สาเหตุของปัญหาพฤติกรรมมักเกิดจากหลากหลายปัจจัยร่วมกันทั้งในส่วนของตัวเด็กเอง สิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู การถ่ายทอดมาทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่น รวมทั้งสาเหตุจากที่คุณแม่สงสัยมานั้น เป็นไปได้ทั้งหมดครับ แต่ถึงหาสาเหตุไม่ได้ชัดเจน เรารับมือได้ด้วยหลักการเดียวกัน และวิธีใกล้เคียงกันเพียงปรับเปลี่ยนรายละเอียดให้แตกต่างกันบ้างตามบริบทครับ

หลักการปลี่ยนปัญหาพฤติกรรมลูกชาย อันดับแรกเลยคุณต้องเข้าใจลูกก่อนว่า เด็กทุกคนเกิดมาเหมือนผ้าขาว เขาจะเรียนรู้มากขึ้นเรื่อยๆผ่านการปฏิบัติของผู้คนรอบข้างนี่เอง หนึ่งในนี้เป็นบทบาทหน้าที่ของคนเป็นพ่อแม่เป็นคนสอนให้ลูกได้รู้ว่าควรจะประพฤติปฏิบัติอย่างไร ตามบรรทัดฐานของที่บ้านและสังคมครับ

ต่อไปคุณแม่ต้องเข้าใจการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกว่าต้องอาศัยองค์ประกอบหลากหลายด้วยกัน เช่น ต้องรู้จักลูก ต้องเข้าใจเขาว่า ลูกเรามีลักษณะอย่างไร ชอบหรือไม่ชอบอะไร เพื่อจะได้ปฏิบัติต่อเขาได้อย่างเหมาะสม ต้องรู้จักตัวเองว่าตอนไหนเราควบคุมตัวเองได้ ตอนไหนควบคุมตัวเองไม่ได้สติแตกจะได้รู้ว่า ต้องเตรียมตัวรับมือกับลูกอย่างไร นอกจากนั้นต้องเท่าทันสิ่งแวดล้อมรู้ต่อไปอีกว่า แล้วคุณยาย 3 ท่านปฏิบัติกับลูกเราอย่างไร หลังจากนี้นำข้อมูลทั้งหมดที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์เข้าด้วยกันครับ ต่อจากนั้นตามด้วยเข้าใจหลักง่ายๆของการปรับพฤติกรรมครับ ง่ายมากจริงๆ เพียงแต่คุณแม่ส้มนำไปประยุกต์ให้เหมาะสมนะครับ

คุณแม่ส้มมองหาพฤติกรรมที่ดีของลูก แล้วพยายามส่งเสริม ถ้าส่งเสริมได้มากพฤติกรรมดีมากมีมากขึ้นพฤติกรรมไม่ดีจะลดลงไปโดยปริยาย ตรงนี้ใช้การเสริมแรง เช่น ชมกัน ให้รางวัล อ่านหนังสือนิทาน เล่านิทาน พาไปเดินออกกำลังกาย และลูกมีพฤติกรรมอะไรที่เราไม่ต้องการ ก็ต้องบอกให้ลูกรู้อย่างเหมาะสม แต่ทุกคนในบ้านควรปฏิบัติต่อเขาอย่างเหมาะสมด้วยเช่นกัน เพื่อให้เขารับรู้จริงๆว่า พฤติกรรมนี้ไม่มีใครต้องการ ก็เริ่มจากเบี่ยงเบนความสนใจไปจากสถานการณ์ในขณะนั้น ถ้ายังไม่สำเร็จก็เพิกเฉยเสีย หรือถ้าบริเวณนั้นไม่อันตรายก็อาจแยกตัวเองออกไปจากเขา พอเขาสงบค่อยกลับมาพูดคุยอธิบายว่า พฤติกรรมนั้นไม่ดีและคุณแม่คาดหวังอยากให้เขาปฏิบัติอย่างไร ซึ่งถ้าลูกเรียกร้องด้วยพฤติกรรมไม่เหมาะสมแล้วเขาได้อย่างที่ตัวเองต้องการ รับรองเลยว่า พฤติกรรมนั้นไม่มีทางหายครับ แต่อาจทวีความรุนแรงหรือเปลี่ยนเป็นพฤติกรรมที่รุนแรงขึ้นตามวัยของเขา หากผู้ใหญ่รอบข้างทุกคนปฏิบัติได้เหมือนกันก็จะหายได้เร็ว

แต่ถ้าคุณแม่ส้มไม่สามารถทำให้ทุกคนทำตามที่เราต้องการได้ ก็ทำเท่าที่ทำได้ครับ ไม่อย่างนั้นเราอาจจะเสียผู้เลี้ยงดูลูกที่ดีไปอีก 3 คนนะครับ เราทำของเรากับคนที่เห็นด้วย ลูกจะเรียนรู้และแยกแยะออกได้ว่าเขาควรปฏิบัติต่อคนที่ตอบสนองต่อเขาแตกต่างกันอย่างไร ไม่ต้องกังวลและผู้ใหญ่ไม่ต้องทะเลาะกันเองครับ เมื่อเริ่มเปลี่ยนการตอบสนองอาการอาจรุนแรงขึ้นไม่ต้องตกใจครับ ตั้งสติให้ดี ความสำคัญอยู่ตรงที่ว่า การตอบสนองต่อพฤติกรรมทั้งที่ดีและไม่ดีลักษณะนี้ต้องปฏิบัติกันด้วยความสม่ำเสมอ หนักแน่น และอดทนครับ อย่าคาดหวังว่า เราจะเปลี่ยนพฤติกรรมลูกได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว เร็วหรือช้าขึ้นกับหลายหลายปัจจัยครับ เพียงแต่ท่องคาถาผมไว้นะครับ “หนักแน่น สม่ำเสมอ และอดทน” พฤติกรรมนี้แค่บทเรียนแรกๆของคุณแม่ส้มเองครับ กว่าลูกชายจะโตคุณแม่คงต้องฝึกบรือฝีมืออีกมากมาย สู้ๆครับ

คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกวัย 2 ขวบขึ้นไปเริ่มเจอพฤติกรรมกับการเอาแต่ใจของลูกกันบ้างหรือยังคะ สาเหตุที่ลูกเป็นแบบนี้เพราะลูกกำลังเรียนรู้แบบลองผิดลองถูกอยู่ และยังไม่รู้ว่าสามารถใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งถ้าหากพ่อแม่เผลอตามใจในตอนนี้ ก็อาจจะทำให้พ่อแม่ต้องเหนื่อยขึ้นอีกเยอะในวันข้างหน้า มาดูวิธีปราบลูกเอาแต่ใจ เตรียมรับมือกับลูกตั้งแต่ตอนนี้กันดีกว่า

วิธีปราบลูกเอาแต่ใจ เพราะเด็ก ๆ เรียนรู้ว่าหากทำอย่างนี้แล้ว คุณพ่อ คุณแม่ จะยอมในสิ่งที่เขาต้องการ อีกหน่อยก็จะพัฒนาจนกลายเป็นนิสัยขึ้นมาได้ ลองสังเกตดูว่าลูกมีพฤติกรรมเอาแต่ใจแบบนี้ หรือเปล่า

 

ลูก 1 ขวบ 8 เดือน เอาแต่ใจ

 

  • ร้องไห้งอแงหนักมากเมื่อไม่ได้ดั่งใจ หรือ มีอาการลงไปชักดิ้นชักงอกับพื้น เมื่อลูกต้องการให้ คุณพ่อ คุณแม่ ทำอะไรให้แล้วถูกปฏิเสธ เช่น กินขนม ซื้อของเล่น
  • ร้องไห้งอแงเวลาที่ถูกขัดใจ เช่น บอกให้หยุดเล่นเพื่อไปทำกิจกรรมอื่น ๆ
  • เวลาที่ คุณพ่อ คุณแม่ สอนหรือบอกให้ลูกทำอะไร มักจะต่อต้าน หรือไม่ยอมทำตาม บางทีก็นิ่งเงียบทำเฉย

 

7 วิธีปราบลูกเอาแต่ใจ เด็กเอาแต่ใจ

 

1. คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจธรรมชาติในวัยเด็กของลูก และ เริ่มต้นที่จะฝึกลูกด้วย การไม่ตามใจทุกครั้งที่ร้องไห้งอแง เพื่อจะไม่ติดนิสัยนี้ ขึ้นมาตอนโต

2. หัดให้ลูกเรียนรู้ที่จะช่วยเหลือตัวเอง เช่น การเริ่มฝึกลูกน้อยตั้งแต่วัย 2 ขวบให้เริ่มใส่เสื้อผ้า กินข้าว, ดื่มน้ำจากแก้วด้วยตัวเอง ฯ ล ฯ

3. หาโอกาสพาลูกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน ให้ลูกได้เจอเพื่อน ในวัยเดียวกัน เพื่อลูกจะได้รู้จักการแบ่งปัน การได้รับ และ การให้

 

ลูก 1 ขวบ 8 เดือน เอาแต่ใจ

 

4. เมื่อเจอเหตุการณ์ที่ลูกร้องไห้ลงไปชักดิ้นชักงอไม่ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ สิ่งแรกที่พ่อแม่ควรทำคือ การเข้าไปอุ้มลูก กอดลูกไว้ แบบไม่โวยวาย ไม่ดุด่าต่อหน้าคนอื่น ๆ จากนั้นก็พาลูกออกมาจากสิ่งที่เขาต้องการ เมื่อลูกร้องไห้จนเหนื่อย และ เริ่มปรับอารมณ์ดีขึ้น ซักพักลูกก็จะลืมสิ่งเร้านั้น ๆ หลังจากนั้น คุณพ่อ คุณแม่ ควรสอนถึงเหตุผลด้วยว่า ทำไม คุณพ่อ คุณแม่ จึงไม่ซื้อให้ ไม่ตามใจเพราะว่าอะไร

5. พูดคุยกับลูกบ่อย ๆ หรือใช้วิธีตั้งคำถามเวลาลูกอารมณ์ดี ๆ ชวนลูกคุยถึงความต้องการของลูก คิดอย่างไรกับสิ่งที่ตัวเองต้องการ และ แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นกัน

6. เปิดโอกาสให้ลูกได้เลือกตัดสินใจด้วยตัวเอง เช่น ยอมรับว่าลูกจะใส่เสื้อตัวนี้ (ถึงแม้ว่ามันจะดูไม่เข้ากัน กับกางเกงที่แม่เลือกให้) หรือให้ลูกเลือกเมนูอาหารมื้อเย็น ที่อยากกิน ฯ ล ฯ ซึ่งจะทำให้ลูกอารมณ์ดี และ มีความสุขในสิ่งที่เขาได้เลือก และ คุณพ่อ คุณแม่ ก็ยอมรับ

7.อย่าลืมว่าพ่อแม่คือคนที่เข้าใจลูกมากที่สุด และต้องยอมรับในสิ่งที่ลูกเป็น โดยใช้ความอดทนกับลูก พยายามแบ่งเวลาให้ลูกด้วยการเล่น ให้ความรัก กอดลูก ซึ่งก็จะช่วยลดความก้าวร้าว และ เอาแต่ใจของลูกลงได้ดี

 

ลูก 1 ขวบ 8 เดือน เอาแต่ใจ

 

แม้ว่าวิธีข้างต้นจะเป็นการลดอาการเอาแต่ใจของลูก ซึ่งก็ต้องเข้าใจว่าเด็กเล็ก ๆ ไม่สามารถเข้าใจในคำอธิบายของ พ่อแม่ได้หมด แต่ก็จะซึมซับไปเรื่อย ๆ หากพ่อแม่พูดถึง เหตุผลอยู่สม่ำเสมอ ที่สำคัญการ พ่อแม่ไม่ควรใช้อารมณ์ด้วยการออกคำสั่ง เช่น “หยุดร้องเดี๋ยวนี้” “อย่าทำแบบนี้” ซึ่งจะทำให้ลูกรู้สึก ไม่ได้รับความรัก หรือ การยอมความเอาแต่ใจของลูก ก็อาจจะส่งผลให้ลูกเอาแต่ใจ เพิ่มขึ้นก็ได้.

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ ข้อมูลคุณภาพ และ สังคม คุณแม่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และ เอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้ คุณแม่ และ เด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้ คุณแม่ ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และ ผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และ สื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพ คุณแม่ และ เด็ก โภชนาการ คุณแม่ และ เด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และ จิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุน คุณพ่อ คุณแม่ ทุกท่าน ให้มีความรู้ และ มีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่ เข้มแข็ง ครอบครัว แข็งแรง” 

Credit : www.babytrick.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
เช็กหน่อยไหม ลูกเลี้ยงยาก vs. เลี้ยงง่าย
8 กลเม็ดเด็ดรับมือเด็กเอาแต่ใจ

ลูก 1 ขวบ 8 เดือน เอาแต่ใจ

บทความจากพันธมิตร

ลูก 1 ขวบ 8 เดือน เอาแต่ใจ

ชีวิตครอบครัว

เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง

ลูก 1 ขวบ 8 เดือน เอาแต่ใจ

ชีวิตครอบครัว

ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด

ลูก 1 ขวบ 8 เดือน เอาแต่ใจ

ชีวิตครอบครัว

ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก

ลูก 1 ขวบ 8 เดือน เอาแต่ใจ

ชีวิตครอบครัว

เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!