ชิ คุ น กุน ยา กับ หญิง ตั้ง ครรภ์

MOBILE

Show

โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya)

✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว

KEY POINTS:


  • โรคชิคุนกุนยามีความคล้ายกับโรคไข้เลือดออก แต่ไม่สามารถทำให้เกิดอาการช็อคได้แม้จะมีไข้ขึ้นสูง เกล็ดเลือดไม่ต่ำ แต่มีอาการเด่นคือ ปวดเมื่อย ข้ออักเสบถึงขั้นบวมได้
  • โรคชิคุนกุนยามียุงลายตัวเมียเป็นพาหะนำโรคเช่นเดียวกับโรคไข้เลือดออก และยังไม่มียาที่ใช้รักษาโดยเฉพาะ จึงทำได้แค่รักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ปวดข้อ
  • ผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาห้ามกินยาแอสไพรินหรือยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้เลือดออกได้


Table of Contents
โรคชิคุนกุนยาคืออะไร?
โรคชิคุนกุนยามีกี่ระยะ?
ชิคุนกุนยากับไข้เลือดออกแตกต่างกันอย่างไร?
สาเหตุของโรคชิคุนกุนยา
อาการของโรคชิคุนกุนยา
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
การรักษาโรคชิคุนกุนยา
ยารักษาโรคชิคุนกุนยา
ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นโรคชิคุนกุนยา
การป้องกันโรคชิคุนกุนยา
คำถามเกี่ยวกับโรคชิคุนกุนยา


โรคชิคุนกุนยาคืออะไร?

โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya) หรือโรคไข้ปวดข้อยุงลาย คือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาซึ่งมีพาหะเป็นยุงลาย ซึ่งยุงลายชนิดนี้เป็นพาหะชนิดที่ทำให้ติดโรคไข้เลือดออกได้เช่นเดียวกัน ไวรัสชิคุนกุนยาจะพบได้ในพาหะทั้งยุงลายสวนและยุงลายบ้าน

ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงเช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่และไข้เลือดออก แต่ไข้ชิคุนกุนยาจะมีอาการไข้สูงกว่า บางรายอาจสูงถึง 40 องศาเซลเซียสได้ แต่โดยทั่วไปผู้ป่วยจะไม่มีอาการที่เป็นอันตรายถึงชีวิต เนื่องจากไข้ Chikungunya ไม่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการช็อกเหมือนกับอันตรายจากไข้เลือดออก แต่ชิคุนกุนยาจะมีอาการเด่นคือการปวดตามข้อ บางรายมีอาการยาวนานหลายเดือน ทำให้บางครั้งเรียกว่าโรคไข้ปวดข้อยุงลายนั่นเอง


โรคชิคุนกุนยามีกี่ระยะ?


ชิ คุ น กุน ยา กับ หญิง ตั้ง ครรภ์


  • ชิคุนกุนยาระยะฟักตัว – โดยทั่วไปมีระยะเวลาประมาณ 2-5 วัน (หรือในระหว่าง 1-14 วัน ในบางราย)
  • ชิคุนกุนยาระยะติดต่อ – หลังจากระยะฟักตัว ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการและเริ่มมีการกระจายของไวรัสอยู่ในเลือด ทำให้มีไข้สูงประมาณ 40 องศาเซลเซียส โดยทั่วไปจะพบตั้งแต่วันที่สองที่ได้รับเชื้อ

    เมื่อมียุงลายตัวเมียได้รับเชื้อไวรัสจากการกัดและดูดเลือดผู้ป่วยเข้าไปในร่างกายแล้วไวรัสก็จะมีการเพิ่มจำนวนมากขึ้น และจะติดต่อไปสู่บุคคลอื่นโดยการกัดและปล่อยเชื้อไวรัสที่อยู่ในต่อมน้ำลายออกไป ทำให้ผู้ที่โดนยุงกัดได้รับไวรัสและป่วยเป็นไข้ชิคุนกุนยาได้


ชิคุนกุนยากับไข้เลือดออกแตกต่างกันอย่างไร?

โรคชิคุนกุนยาจะมีข้อแตกต่างจากไข้เลือดออก ดังนี้


  • ผู้ป่วยจะมีไข้สูงมากแต่มีระยะเวลาเป็นไข้สั้นกว่า
  • ผู้ป่วยจะไม่มีอาการรุนแรงถึงขั้นช็อก เพราะไวรัสไม่ได้ส่งผลให้เกิดการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด ทำให้ไม่มีอาการความดันโลหิตต่ำ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอาการช็อกที่มักจะพบในกลุ่มผู้ป่วยไข้เลือดออก
  • ไม่พบอาการเกล็ดเลือดต่ำจนทำให้เลือดออกอย่างรุนแรงในผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาแบบที่พบในโรคไข้เลือดออก ทำให้โรคชิคุนกุนยาไม่ได้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
  • อาการเด่นๆ ของโรคชิคุนกุนยาที่สร้างความรำคาญและเกิดความทรมานแก่ผู้ป่วยคืออาการปวดข้อปวดตัว ซึ่งผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 90 จะมีอาการปวดข้อนี้ บางรายอาจมีอาการข้ออักเสบจนบวม บางรายปวดยาวนานเป็นเดือนหรือเป็นปี ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่พบในผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก

สาเหตุของโรคชิคุนกุนยา

เกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya Virus) ที่มียุงลายเป็นพาหะ นำเอาเชื้อไวรัสจากเลือดของผู้ป่วยที่มีไข้สูงอยู่ในระยะแพร่เชื้อ มาเข้าสู่บุคคลอื่นโดยการกัดและปล่อยเชื้อไวรัสผ่านน้ำลายของยุง


อาการของโรคชิคุนกุนยา


ชิ คุ น กุน ยา กับ หญิง ตั้ง ครรภ์


โรคชิคุนกุนยาในเด็ก

ผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคชิคุนกุนยาพบว่า นอกจากจะมีอาการทางผิวหนัง เช่น ผื่นแดง ผื่นนูนขึ้นตามร่างกาย แล้วมักมีตุ่มน้ำใสบนผิวหนังร่วมด้วย อาการตุ่มน้ำใสจะพบในเด็กมากกว่าในผู้ใหญ่ ส่วนอาการปวดตามข้อในเด็กก็จะไม่รุนแรงเท่าผู้ใหญ่ นอกจากนี้ในกลุ่มผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคชิคุนกุนยาอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวกับตับ ไต และหัวใจได้


โรคชิคุนกุนยาในผู้ใหญ่

โดยทั่วไปอาการปวดข้อจะพบในผู้ใหญ่มากกว่าในเด็ก โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ที่มีอาการปวดข้อเป็นประจำอยู่แล้ว ซึ่งการได้รับเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาจะทำให้อาการรุนแรงมากขึ้นจนมีภาวะข้ออักเสบเรื้อรังได้


โรคชิกุนคุนย่าในคุณแม่ตั้งครรภ์

พบว่าในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นผู้ป่วยชิคุนกุนยา จะมีการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสจากแม่ไปยังลูกในท้องได้ แต่ไม่ได้ส่งผลอันตรายถึงขั้นทำให้เกิดการแท้งหรือการคลอดก่อนกำหนด แต่ทำให้ทารกติดเชื้อและมีอาการของโรคได้หลังจากคลอดประมาณ 3-7 วัน ซึ่งอาการที่จะเกิดขึ้นกับทารกคือทำให้ทารกมีอาการแขนขาบวม มีผื่น กระสับกระส่ายและดูดนมได้น้อยลง


อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์

หากพบว่ามีอาการไข้ขึ้นสูงเฉียบพลัน อ่อนเพลีย มีอาการปวดเมื่อยเนื้อตัว และมีผื่นขึ้น รวมถึงอยู่ในที่ที่มียุงลายเยอะ ให้ไปพบแพทย์ทันที เพื่อวินิจฉัยแยกโรคโดยแพทย์จะซักประวัติและตรวจอาการเพื่อแยกออกจากโรคไข้เลือดออก โรคไข้มาลาเรีย หรือโรครูมาตอยด์



การรักษาโรคชิคุนกุนยา


ชิ คุ น กุน ยา กับ หญิง ตั้ง ครรภ์

ในระยะแรกเมื่อผู้ป่วยไปพบแพทย์อาการอาจจะใกล้เคียงกับไข้หวัดใหญ่และไข้เลือดออก ทำให้วินิจฉัยโรคได้ยาก ต้องได้รับการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อไวรัสโดยละเอียด

จากนั้นจะเป็นการรักษาตามอาการของโรคที่เกิดขึ้น เช่น การให้น้ำเกลือ การให้ยาบรรเทาอาการปวดข้อ การให้ยาลดไข้ แต่ผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา ห้ามใช้ยาแอสไพรินในการลดไข้ เนื่องจากจะทำให้เลือดออกง่ายมากขึ้น รวมถึงการรักษาด้วยการดูแลผู้ป่วยตามอาการ เช่น ใช้การเช็ดตัวเพื่อลดไข้ การดื่มน้ำเพื่อลดการขาดน้ำ การลดอาการปวดข้อ การพักผ่อนให้เพียงพอร่วมด้วย


ยารักษาโรคชิคุนกุนยา

ปัจจุบันโรคชิคุนกุนยายังไม่มียารักษา แต่จะใช้ยาเพื่อรักษาตามอาการอย่างยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้ เพราะในช่วงแรกจะแยกโรคนี้ออกจากไข้เลือดออกและไข้หวัดใหญ่ได้ยาก และถ้าหากไม่ได้เป็นสองโรคดังกล่าว ผู้ป่วยก็จะได้รับการตรวจเลือดต่อไป เพื่อหาเชื้อไวรัสว่าส่งผลต่อการเป็นโรคชิคุนกุนยาหรือไม่



ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นโรคชิคุนกุนยา


ชิ คุ น กุน ยา กับ หญิง ตั้ง ครรภ์


Do


  • ผู้ป่วยควรดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อลดการขาดน้ำ
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • รับประทานยาตามอาการที่แพทย์สั่ง เช่น ยาลดการปวดข้อ ลดการอักเสบ ยาลดไข้
  • รวมถึงควรเช็ดตัวเพื่อลดไข้ เมื่อมีอาการไข้สูงผิดปกติ มีอาการขาดน้ำหรือเบื่ออาหารควรรีบพบแพทย์เพื่อรักษาอาการต่าง ๆ ได้ทันและไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

Don’t

สิ่งที่ห้ามทำเด็ดขาดคือการกินยาแอสไพริน หรือยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่เสตียรอยด์ (กลุ่ม NSAIDs) เพราะจะทำให้เลือดออกมากขึ้นได้ รวมถึงป้องกันไม่ให้ยุงกัดในช่วงแรกที่รับเชื้อ เพราะอาจเป็นการแพร่เชื้อไปให้ผู้อื่น


การป้องกันโรคชิคุนกุนยา

ควรเก็บพื้นที่บริเวณบ้านหรือพื้นที่พักอาศัยอื่นๆ ให้ปลอดโปร่ง ไม่รกหรือมีกองขยะสะสม เพราะการเก็บพื้นที่ให้สะอาดปลอดโปร่งจะช่วยให้ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่เป็นพาหะของโรคชิคุนกุนยา


หรือบริเวณไหนที่มีแหล่งน้ำ ก็ควรหาฝามาปิดเพื่อป้องกันการวางไข่ของยุงลายที่อาจเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะบริเวณที่น้ำนิ่ง รวมถึงปิดบ้านประตูหน้าต่างให้สนิทเพื่อไม่ให้ยุงเข้ามา หรือใช้เครื่องดักยุงเพื่อกำจัดยุงลาย


คำถามเกี่ยวกับโรคชิคุนกุนยา


1. โรคชิคุนกุนยาอันตรายไหม?

โรคชิคุนกุนยาไม่เป็นอันตรายกับผู้ป่วยจนถึงแก่ชีวิต แต่จะสร้างความทรมานให้กับผู้ป่วยในระยะยาวมากกว่า โดยเฉพาะอาการปวดข้อ ที่บางรายใช้เวลานานกว่าจะหาย

โรคชิคุนกุนยาอันตรายน้อยกว่าโรคไข้เลือดออก เพราะไม่ทำให้ผู้ป่วยช็อกจนเกิดภาวะวิกฤติเหมือนไข้เลือดออกถึงแม้จะมีไข้สูงก็ตาม เนื่องจากไม่ทำให้ผู้ป่วยมีเกล็ดเลือดต่ำ และไม่ทำให้พลาสมารั่วออกนอกเส้นเลือดจนทำให้ความดันโลหิตต่ำจนเป็นสาเหตุของการช็อก


2. โรคชิคุนกุนยาติดต่อไหม?

นอกจากโรคชิคุนกุนยาจะติดต่อผ่านทางยุงลายที่เป็นพาหะของโรค โดยการนำเอาเชื้อไวรัสนี้แพร่ไปยังคนอื่นโดยการกัดแล้ว พบว่าไวรัสนี้ยังสามารถแพร่จากแม่ที่มีเชื้อไวรัสนี้ไปยังทารกแรกคลอด และจากการให้เลือดที่มีไวรัสได้เช่นกัน


3. เป็นโรคชิคุนกุนยาปวดข้อนานไหม?

ไวรัสทำให้อาการปวดมากขึ้น บางคนสามารถมีอาการปวดข้อเรื้อรังได้นานถึง 3 เดือนหรือยาวนานกว่านั้น ทำให้เกิดความรำคาญได้

อาการปวดข้อจะขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละคน บางคนมีอาการปวดข้ออยู่แล้ว เช่น ในผู้ป่วยที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยบางรายที่มีอายุมากกว่า 45 ปี เกิดอาการข้ออักเสบเรื้อรังได้ บางรายใช้เวลาในการรักษาอาการปวดข้อนานร่วมเดือน บางรายอาจใช้เวลาเป็นปีในการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการในแต่ละบุคคล ทำให้ผู้ป่วยต้องทรมานจากอาการเหล่านี้ได้


4. ผื่นชิคุนกุนยาคันไหม?

ผื่นบริเวณลำตัว แขน ขา ที่เกิดจากโรคชิคุนกุนยามักไม่มีอาการคันร่วมด้วย แต่อาจเกิดขึ้นได้ในบางราย โดยผื่นเหล่านี้จะลอกออกได้เองใน 7-10 วัน หรืออาจจะมีผื่นบริเวณกระพุ้งแก้มหรือเพดานปากได้ด้วย



✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย


ชิ คุ น กุน ยา กับ หญิง ตั้ง ครรภ์




แหล่งข้อมูล



โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya)

✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว

KEY POINTS:


  • โรคชิคุนกุนยามีความคล้ายกับโรคไข้เลือดออก แต่ไม่สามารถทำให้เกิดอาการช็อคได้แม้จะมีไข้ขึ้นสูง เกล็ดเลือดไม่ต่ำ แต่มีอาการเด่นคือ ปวดเมื่อย ข้ออักเสบถึงขั้นบวมได้
  • โรคชิคุนกุนยามียุงลายตัวเมียเป็นพาหะนำโรคเช่นเดียวกับโรคไข้เลือดออก และยังไม่มียาที่ใช้รักษาโดยเฉพาะ จึงทำได้แค่รักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ปวดข้อ
  • ผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาห้ามกินยาแอสไพรินหรือยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้เลือดออกได้


Table of Contents
โรคชิคุนกุนยาคืออะไร?
โรคชิคุนกุนยามีกี่ระยะ?
ชิคุนกุนยากับไข้เลือดออกแตกต่างกันอย่างไร?
สาเหตุของโรคชิคุนกุนยา
อาการของโรคชิคุนกุนยา
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
การรักษาโรคชิคุนกุนยา
ยารักษาโรคชิคุนกุนยา
ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นโรคชิคุนกุนยา
การป้องกันโรคชิคุนกุนยา
คำถามเกี่ยวกับโรคชิคุนกุนยา


โรคชิคุนกุนยาคืออะไร?

โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya) หรือโรคไข้ปวดข้อยุงลาย คือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาซึ่งมีพาหะเป็นยุงลาย ซึ่งยุงลายชนิดนี้เป็นพาหะชนิดที่ทำให้ติดโรคไข้เลือดออกได้เช่นเดียวกัน ไวรัสชิคุนกุนยาจะพบได้ในพาหะทั้งยุงลายสวนและยุงลายบ้าน

ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงเช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่และไข้เลือดออก แต่ไข้ชิคุนกุนยาจะมีอาการไข้สูงกว่า บางรายอาจสูงถึง 40 องศาเซลเซียสได้ แต่โดยทั่วไปผู้ป่วยจะไม่มีอาการที่เป็นอันตรายถึงชีวิต เนื่องจากไข้ Chikungunya ไม่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการช็อกเหมือนกับอันตรายจากไข้เลือดออก แต่ชิคุนกุนยาจะมีอาการเด่นคือการปวดตามข้อ บางรายมีอาการยาวนานหลายเดือน ทำให้บางครั้งเรียกว่าโรคไข้ปวดข้อยุงลายนั่นเอง


โรคชิคุนกุนยามีกี่ระยะ?


ชิ คุ น กุน ยา กับ หญิง ตั้ง ครรภ์


  • ชิคุนกุนยาระยะฟักตัว – โดยทั่วไปมีระยะเวลาประมาณ 2-5 วัน (หรือในระหว่าง 1-14 วัน ในบางราย)
  • ชิคุนกุนยาระยะติดต่อ – หลังจากระยะฟักตัว ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการและเริ่มมีการกระจายของไวรัสอยู่ในเลือด ทำให้มีไข้สูงประมาณ 40 องศาเซลเซียส โดยทั่วไปจะพบตั้งแต่วันที่สองที่ได้รับเชื้อ

    เมื่อมียุงลายตัวเมียได้รับเชื้อไวรัสจากการกัดและดูดเลือดผู้ป่วยเข้าไปในร่างกายแล้วไวรัสก็จะมีการเพิ่มจำนวนมากขึ้น และจะติดต่อไปสู่บุคคลอื่นโดยการกัดและปล่อยเชื้อไวรัสที่อยู่ในต่อมน้ำลายออกไป ทำให้ผู้ที่โดนยุงกัดได้รับไวรัสและป่วยเป็นไข้ชิคุนกุนยาได้


ชิคุนกุนยากับไข้เลือดออกแตกต่างกันอย่างไร?

โรคชิคุนกุนยาจะมีข้อแตกต่างจากไข้เลือดออก ดังนี้


  • ผู้ป่วยจะมีไข้สูงมากแต่มีระยะเวลาเป็นไข้สั้นกว่า
  • ผู้ป่วยจะไม่มีอาการรุนแรงถึงขั้นช็อก เพราะไวรัสไม่ได้ส่งผลให้เกิดการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด ทำให้ไม่มีอาการความดันโลหิตต่ำ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอาการช็อกที่มักจะพบในกลุ่มผู้ป่วยไข้เลือดออก
  • ไม่พบอาการเกล็ดเลือดต่ำจนทำให้เลือดออกอย่างรุนแรงในผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาแบบที่พบในโรคไข้เลือดออก ทำให้โรคชิคุนกุนยาไม่ได้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
  • อาการเด่นๆ ของโรคชิคุนกุนยาที่สร้างความรำคาญและเกิดความทรมานแก่ผู้ป่วยคืออาการปวดข้อปวดตัว ซึ่งผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 90 จะมีอาการปวดข้อนี้ บางรายอาจมีอาการข้ออักเสบจนบวม บางรายปวดยาวนานเป็นเดือนหรือเป็นปี ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่พบในผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก

สาเหตุของโรคชิคุนกุนยา

เกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya Virus) ที่มียุงลายเป็นพาหะ นำเอาเชื้อไวรัสจากเลือดของผู้ป่วยที่มีไข้สูงอยู่ในระยะแพร่เชื้อ มาเข้าสู่บุคคลอื่นโดยการกัดและปล่อยเชื้อไวรัสผ่านน้ำลายของยุง


อาการของโรคชิคุนกุนยา


ชิ คุ น กุน ยา กับ หญิง ตั้ง ครรภ์


โรคชิคุนกุนยาในเด็ก

ผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคชิคุนกุนยาพบว่า นอกจากจะมีอาการทางผิวหนัง เช่น ผื่นแดง ผื่นนูนขึ้นตามร่างกาย แล้วมักมีตุ่มน้ำใสบนผิวหนังร่วมด้วย อาการตุ่มน้ำใสจะพบในเด็กมากกว่าในผู้ใหญ่ ส่วนอาการปวดตามข้อในเด็กก็จะไม่รุนแรงเท่าผู้ใหญ่ นอกจากนี้ในกลุ่มผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคชิคุนกุนยาอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวกับตับ ไต และหัวใจได้


โรคชิคุนกุนยาในผู้ใหญ่

โดยทั่วไปอาการปวดข้อจะพบในผู้ใหญ่มากกว่าในเด็ก โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ที่มีอาการปวดข้อเป็นประจำอยู่แล้ว ซึ่งการได้รับเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาจะทำให้อาการรุนแรงมากขึ้นจนมีภาวะข้ออักเสบเรื้อรังได้


โรคชิกุนคุนย่าในคุณแม่ตั้งครรภ์

พบว่าในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นผู้ป่วยชิคุนกุนยา จะมีการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสจากแม่ไปยังลูกในท้องได้ แต่ไม่ได้ส่งผลอันตรายถึงขั้นทำให้เกิดการแท้งหรือการคลอดก่อนกำหนด แต่ทำให้ทารกติดเชื้อและมีอาการของโรคได้หลังจากคลอดประมาณ 3-7 วัน ซึ่งอาการที่จะเกิดขึ้นกับทารกคือทำให้ทารกมีอาการแขนขาบวม มีผื่น กระสับกระส่ายและดูดนมได้น้อยลง


อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์

หากพบว่ามีอาการไข้ขึ้นสูงเฉียบพลัน อ่อนเพลีย มีอาการปวดเมื่อยเนื้อตัว และมีผื่นขึ้น รวมถึงอยู่ในที่ที่มียุงลายเยอะ ให้ไปพบแพทย์ทันที เพื่อวินิจฉัยแยกโรคโดยแพทย์จะซักประวัติและตรวจอาการเพื่อแยกออกจากโรคไข้เลือดออก โรคไข้มาลาเรีย หรือโรครูมาตอยด์



การรักษาโรคชิคุนกุนยา


ชิ คุ น กุน ยา กับ หญิง ตั้ง ครรภ์

ในระยะแรกเมื่อผู้ป่วยไปพบแพทย์อาการอาจจะใกล้เคียงกับไข้หวัดใหญ่และไข้เลือดออก ทำให้วินิจฉัยโรคได้ยาก ต้องได้รับการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อไวรัสโดยละเอียด

จากนั้นจะเป็นการรักษาตามอาการของโรคที่เกิดขึ้น เช่น การให้น้ำเกลือ การให้ยาบรรเทาอาการปวดข้อ การให้ยาลดไข้ แต่ผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา ห้ามใช้ยาแอสไพรินในการลดไข้ เนื่องจากจะทำให้เลือดออกง่ายมากขึ้น รวมถึงการรักษาด้วยการดูแลผู้ป่วยตามอาการ เช่น ใช้การเช็ดตัวเพื่อลดไข้ การดื่มน้ำเพื่อลดการขาดน้ำ การลดอาการปวดข้อ การพักผ่อนให้เพียงพอร่วมด้วย


ยารักษาโรคชิคุนกุนยา

ปัจจุบันโรคชิคุนกุนยายังไม่มียารักษา แต่จะใช้ยาเพื่อรักษาตามอาการอย่างยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้ เพราะในช่วงแรกจะแยกโรคนี้ออกจากไข้เลือดออกและไข้หวัดใหญ่ได้ยาก และถ้าหากไม่ได้เป็นสองโรคดังกล่าว ผู้ป่วยก็จะได้รับการตรวจเลือดต่อไป เพื่อหาเชื้อไวรัสว่าส่งผลต่อการเป็นโรคชิคุนกุนยาหรือไม่



ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นโรคชิคุนกุนยา


ชิ คุ น กุน ยา กับ หญิง ตั้ง ครรภ์


Do


  • ผู้ป่วยควรดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อลดการขาดน้ำ
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • รับประทานยาตามอาการที่แพทย์สั่ง เช่น ยาลดการปวดข้อ ลดการอักเสบ ยาลดไข้
  • รวมถึงควรเช็ดตัวเพื่อลดไข้ เมื่อมีอาการไข้สูงผิดปกติ มีอาการขาดน้ำหรือเบื่ออาหารควรรีบพบแพทย์เพื่อรักษาอาการต่าง ๆ ได้ทันและไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

Don’t

สิ่งที่ห้ามทำเด็ดขาดคือการกินยาแอสไพริน หรือยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่เสตียรอยด์ (กลุ่ม NSAIDs) เพราะจะทำให้เลือดออกมากขึ้นได้ รวมถึงป้องกันไม่ให้ยุงกัดในช่วงแรกที่รับเชื้อ เพราะอาจเป็นการแพร่เชื้อไปให้ผู้อื่น


การป้องกันโรคชิคุนกุนยา

ควรเก็บพื้นที่บริเวณบ้านหรือพื้นที่พักอาศัยอื่นๆ ให้ปลอดโปร่ง ไม่รกหรือมีกองขยะสะสม เพราะการเก็บพื้นที่ให้สะอาดปลอดโปร่งจะช่วยให้ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่เป็นพาหะของโรคชิคุนกุนยา


หรือบริเวณไหนที่มีแหล่งน้ำ ก็ควรหาฝามาปิดเพื่อป้องกันการวางไข่ของยุงลายที่อาจเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะบริเวณที่น้ำนิ่ง รวมถึงปิดบ้านประตูหน้าต่างให้สนิทเพื่อไม่ให้ยุงเข้ามา หรือใช้เครื่องดักยุงเพื่อกำจัดยุงลาย


คำถามเกี่ยวกับโรคชิคุนกุนยา


1. โรคชิคุนกุนยาอันตรายไหม?

โรคชิคุนกุนยาไม่เป็นอันตรายกับผู้ป่วยจนถึงแก่ชีวิต แต่จะสร้างความทรมานให้กับผู้ป่วยในระยะยาวมากกว่า โดยเฉพาะอาการปวดข้อ ที่บางรายใช้เวลานานกว่าจะหาย

โรคชิคุนกุนยาอันตรายน้อยกว่าโรคไข้เลือดออก เพราะไม่ทำให้ผู้ป่วยช็อกจนเกิดภาวะวิกฤติเหมือนไข้เลือดออกถึงแม้จะมีไข้สูงก็ตาม เนื่องจากไม่ทำให้ผู้ป่วยมีเกล็ดเลือดต่ำ และไม่ทำให้พลาสมารั่วออกนอกเส้นเลือดจนทำให้ความดันโลหิตต่ำจนเป็นสาเหตุของการช็อก


2. โรคชิคุนกุนยาติดต่อไหม?

นอกจากโรคชิคุนกุนยาจะติดต่อผ่านทางยุงลายที่เป็นพาหะของโรค โดยการนำเอาเชื้อไวรัสนี้แพร่ไปยังคนอื่นโดยการกัดแล้ว พบว่าไวรัสนี้ยังสามารถแพร่จากแม่ที่มีเชื้อไวรัสนี้ไปยังทารกแรกคลอด และจากการให้เลือดที่มีไวรัสได้เช่นกัน


3. เป็นโรคชิคุนกุนยาปวดข้อนานไหม?

ไวรัสทำให้อาการปวดมากขึ้น บางคนสามารถมีอาการปวดข้อเรื้อรังได้นานถึง 3 เดือนหรือยาวนานกว่านั้น ทำให้เกิดความรำคาญได้

อาการปวดข้อจะขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละคน บางคนมีอาการปวดข้ออยู่แล้ว เช่น ในผู้ป่วยที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยบางรายที่มีอายุมากกว่า 45 ปี เกิดอาการข้ออักเสบเรื้อรังได้ บางรายใช้เวลาในการรักษาอาการปวดข้อนานร่วมเดือน บางรายอาจใช้เวลาเป็นปีในการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการในแต่ละบุคคล ทำให้ผู้ป่วยต้องทรมานจากอาการเหล่านี้ได้


4. ผื่นชิคุนกุนยาคันไหม?

ผื่นบริเวณลำตัว แขน ขา ที่เกิดจากโรคชิคุนกุนยามักไม่มีอาการคันร่วมด้วย แต่อาจเกิดขึ้นได้ในบางราย โดยผื่นเหล่านี้จะลอกออกได้เองใน 7-10 วัน หรืออาจจะมีผื่นบริเวณกระพุ้งแก้มหรือเพดานปากได้ด้วย



✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย


ชิ คุ น กุน ยา กับ หญิง ตั้ง ครรภ์




แหล่งข้อมูล