ลักษณะวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง

วรรณคดีที่ปรากฏในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง สมัยนี้เป็นยุคทองของวรรณกรรมและวรรณคดีไทยยุคที่ ๑ มีอยู่ ๑๗ เรื่อง คือ               
๑.กาพย์มหาชาติ (พัฒนาจากมหาชาติคำหลวง)               
ประพันธ์โดย พระเจ้าทรงธรรม               
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทร่าย                 
เพื่อสวดให้ประชาชนฟัง               
๒.พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ
ประพันธ์โดย พระโหราธิบดี               
ใช้คำประพันธ์ร้อยแก้ว               
เพื่อบันทึกเหตุการณ์สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น  ตามพระราชโองการของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช               
๓.จินดามณี เล่มที่ ๑ (แบบเรียนภาษาไทยฉบับแรก)
ประพันธ์โดย พระโหราธิบดี               
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรอง ประเภทต่างๆ เช่น ฉันท์ ร่าย เป็นต้น               
เพื่อเป็นตำราเรียนฉันทลักษณ์               
๔.สมุทรโฆษคำฉันท์ (ตอนต้นและตอนกลาง)
ประพันธ์โดยพระมหาราชครู  สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส               
ใช้คำประพันธ์ร้อยกรอง  ประเภทคำฉันท์ (มีกาพย์ด้วย)               
เพื่อใช้เล่นหนังใหญ่               
๕.โคลงสุภาษิต ๓ เรื่อง คือ โคลงท้าวทศรถสอนพระราม  โคลงพาลีสอนน้องและโคลงราชสวัสดิ์ ๖๓ โคลง               
พระนิพนธ์ในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช               
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภท โคลงสี่สุภาพ               
โคลงทศรถสอนพระราม เพื่อสั่งสอนกษัตริย์ผู้ปกครองประเทศ
โคลงพาลีสอนน้อง เพื่อสั่งสอนข้าราชการ
โคลงราชสวัสดิ์ เพื่อสั่งสอนข้าราชการในรายละเอียดกว่าเรื่องพาลีสอนน้อง               
๖.เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา               
พระนิพนธ์ใน สมเด็จพระนารายณ์มหาราช               
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทกลอนเพลงยาว               
เพื่อทำนายอนาคตของกรุงศรีอยุธยา               
๗.โคลงกวีโบราณ จำนวน ๒๕ บท (ต้นฉบับสูญหาย)               
กวีต่างๆ ในสมัยสมเด็พระนารายณ์ เช่น พระเทวี  พระเจ้าลานช้าง พระเยาวราช               
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรอง มีโคลงประเภทต่างๆ เช่น โคลงกระทู้ ชนิดต่างๆ               
เพื่อแสดงฝีปากการแต่งโคลงโบราณ               
๘.เสือโคคำฉันท์               
ประพันธ์โดย พระมหาราชครู               
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทฉันท์               
เพื่อทดลองใช้ฉันท์แต่งเรื่องนิทาน               
๙.โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช               
ประพันธ์โดย พระศรีมโหสถ               
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทโคลงสี่สุภาพ              
เพื่อยอพระเกียรติพระนารายณ์มหาราช               
๑๐.กาพย์ห่อโคลงพระศรีมโหสถ               
ประพันธ์โดย พระศรีมโหสถ               
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทกาพย์ห่อโคลง               
เพื่อบันทึกความเป็นอยู่ของชาวกรุงศรีอยุธยา  ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
๑๑.โคลงนิราศนครสวรรค์               
ประพันธ์โดย พระศรีมโหสถ               
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทร่ายสุภาพ ๑ บท และโคลงสี่สุภาพ ๖๙ บท               
เพื่อบันทึกการเดินทาง               
๑๒.โคลงอักษรสามหมู่               
ประพันธ์โดย พระศรีมโหสถ               
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทโคลงสี่สุภาพที่เป็นกลโคลง มีชื่อว่า ตรีพิธประดับ (ตรีเพชรประดับ)               
เพื่อแสดงแบบการแต่งกลโคลง               
๑๓.คำฉันท์ดุษฏีสังเวยกล่อมช้าง               
ประพันธ์โดย ขุนเทพกระวี               
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทคำฉันท์               
เพื่อกล่อมช้างเผือกที่ได้มาในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช              
  ๑๔.โคลงกำสรวลศรีปราชญ์              
  แต่งโดย ศรีปราชญ์               
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรอง ประเภทโคลงสี่สุภาพ               
เพื่อแสดงปฏิภาณของผู้แต่ง
๑๕.อนิรุทธ์คำฉันท์
ประพันธ์โดย ศรีปราชญ์
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทฉันท์
เพื่อแต่งนิทานที่มีที่มาจากคัมภีร์วิษณุปุราณะ
๑๖.โคลงนิราศหริภุญชัย
ไม่ปรากฏหลักฐานผู้แต่ง               
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทโคลงสี่สุภาพ (เดิมเป็นโคลงลาวก่อน)                เพื่อบันทึกการเดินทาง
๑๗.โคลงดั้นทวาทศมาส               
ประพันธ์โดย พระเยาวราช และขุนนาง ๓ คน               
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทโคลงดั้นวิวิธมาลี  มีร่ายสุภาพท้าย ๑ บท

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

วรรณคดีไทยที่ปรากฏในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางมีอะไรบ้าง

ตัวอย่างวรรณคดีสำคัญในสมัยอยุธยาตอนกลาง เช่น กาพย์มหาชาติ สมุทรโฆษคำฉันท์ จินดามณี อนิรุทธคำฉันท์ กาพย์ห่อโคลง ฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง

วรรณคดีสมัยอยุธยามีลักษณะอย่างไร

วรรณคดีส าคัญในสมัยอยุธยาตอนต้นส่วนใหญ่มีเรื่องเกี่ยวกับศาสนาพิธีกรรมและพระมหากษัตริย์ จึงมีเนื้อ เรื่องคล้ายวรรณคดีสุโขทัยส่วนลักษณะการแต่งต่างกับวรรณคดีสุโขทัยเป็นอย่างมากวรรณคดีในสมัยนี้แต่งด้วยร้อยกรอง ทั้งสิ้นค าประพันธ์ที่ใช้เกือบทุกชนิด คือ โคลง ร่าย กาพย์ และฉันท์ ขาดแต่กลอนส่วนใหญ่แต่งเป็นลิลิต ค าบาลี่ ...

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลางอยู่ในช่วงพ.ศ.ใด

วรรณคดีอยุธยาตอนกลาง นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง จนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2172-2231) ที่เรียกกันว่า เป็นยุคทองของวรรณคดีไทยสมัยอยุธยา

ข้อใดเป็นวรรณกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา

๑. จำนวนวรรณคดีมี ๔ เรื่อง คือ ลิลิตโองการแช่งน้ำ ลิลิตยวนพ่าย มหาชาติคำหลวง ลิลิตพระลอ(หรืออาจเป็น ๗ เรื่องโดยเข้าใจว่ามีวรรณคดีอื่นในสมัยนี้ อีก ๓ เรื่อง คือ โคลงกำสรวล โคลงทวาทศมาศ และโคลงหริภุญไชย)