การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 บทความ

ได้กล่าวถึงความเป็นมาของทัศนะทางสังคมที่ต้องการยกเลิกระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เริ่มเกิดขึ้นในยุโรปตะวันตกตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยอ้างถึงการอภิวัฒน์ทางอุตสาหกรรมที่เกิดจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ผู้ประกอบวิสาหกิจต้องการแรงงานสมัยใหม่ที่มีความสามารถในการทำงานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่, จึงเห็นสมควรเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างที่ลูกจ้างมีเสรีภาพมากขึ้นในการทำงาน.

เมื่อทัศนคติว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคมเปลี่ยนไป, ก็เห็นกันว่า ความสัมพันธ์ภายในระบบการเมืองก็ควรที่จะเปลี่ยนแปลงไปด้วยให้สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจแบบใหม่. เมื่อไทยเปิดประเทศมีความสัมพันธ์กับโลกตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5, ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจเป็นส่วนสำคัญ, ทัศนะทางสังคมของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมจึงเข้ามามีอิทธิพลในประเทศไทย มีผลให้เกิดการเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยตามแบบการปกครองในประเทศยุโรปตะวันตกส่วนใหญ่ ที่กำลังเจริญก้าวหน้าภายใต้ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเสรี.

การเรียกร้องการปกครองระบอบใหม่นี้ ได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ เริ่มตั้งแต่ปี 2427 ที่เจ้านายและข้าราชการสถานทูตไทยในยุโรปตะวันตกได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลรัชกาลที่ 5 ขอให้ทรงพิจารณาปฏิรูปการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดิน. จากนั้นก็มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความคิดก้าวหน้าในเรื่องสิทธิและเสรีภาพของราษฎรที่ปรากฏในราชการฝ่ายยุติธรรม

ในห้วงยามที่ผู้คนพูดถึง 'คณะราษฎร' กันอย่างกว้างขวางกว่าแต่ก่อน การกลับมาเป็นที่สนใจของ 'คณะราษฎร' ครั้งนี้มีเหตุปัจจัยหลายอย่าง ทั้งการกระทำโดยรัฐเองและการเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ที่ดึงดูดความสนใจ

สำนักพิมพ์รวมบทความเกี่ยวกับประเด็น 'คณะราษฎร' ที่สามารถโหลดไปอ่านกันแบบฟรีๆ จากหลายท่าน

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล . นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ . วรเจตน์ ภาคีรัตน์ . จีรวุฒิ บุญรัศมี . ณัฐสิทธิ์ ทวีพันธ์ . ปวีณา วังมี . ชาติชาย มุกสง . เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช . มรกต เจวจินดา . กษิระ ศรีเจริญ . โดม ไกรปกรณ์ . ธนสิษฐ์ ขุนทองพันธ์

1. ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของปรีดี พนมยงค์
— สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล (หน้า 3-8)

"วิกฤตการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นจาก 'เค้าโครงเศรษฐกิจ' ของปรีดี นำไปสู่การปิดสภา (เมษายน 2476) การรัฐประหาร (มิถุนายน 2476) การกบฎโดยใช้กำลัง (ตุลาคม 2476) และในที่สุด การสละราชสมบัติของรัชกาลที่ 7 (มีนาคม 2477)"

//bit.ly/2W77SDH
============

2. 80 ปีแห่งการปฏิวัติสยาม
— นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ (หน้า 5-20)

"ความสำเร็จของการปฏิวัติ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายนคือการเคลื่อนย้ายให้พระเจ้าอยู่หัวดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐเพียงอย่างเดียว นับจากปี 2475 จนกระทั่งถึงวันนี้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่เคยเสด็จประชุมเสนาบดีสภา หรือในคณะรัฐมนตรีเลย"

//bit.ly/3eaMT9b
============

3. คณะราษฎรกับการสร้างลัทธิบูชารัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๔๗๕ – ๒๔๘๒
— ณัฐสิทธิ์ ทวีพันธ์

"ลัทธิบูชารัฐธรรมนูญถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้คนกราบไหว้ เพื่อลดทอนล้มล้างบทบาทความศรัทธาในความเป็นสมมติเทพของสถาบันกษัตริย์ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์"

//bit.ly/2Obm6PE
============

4. รัฐไทยกับการกล่อมเกลาทางการเมืองผ่านแบบเรียนในช่วง พ.ศ. 2475-2487
— ปวีณา วังมี

"จุดมุ่งหมายหลักของการกล่อมเกลาทางการเมืองผ่านแบบเรียนระหว่างปีพ.ศ.2475 - 2487 นั้น คือการสร้างพลเมืองดีเพื่อสนับสนุนการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญ"

//bit.ly/2ZeEUnv
============

5. สยามใหม่กับเอกราช(ไม่)สมบูรณ์ : คณะราษฎรในยุคสมัยแห่งความเท่าเทียมระหว่างชาติ
— จีรวุฒิ บุญรัศมี

"[หนังสือคู่มือพลเมือง] มีการพิมพ์คำว่า 'ไทย-เอกราษฎร์' ไว้ด้วยตัวอักษรขนาดใหญ่ ... การย้ำคำว่า 'ไทย-เอกราษฎร์' ถือว่าเป็นการตอกย้ำถึงแนวความคิด 'เอกราชสมบูรณ์'
ซึ่งถูกกล่าวถึงในจำนวนครั้งที่ค่อนข้างมากในหนังสือเล่มนี้เช่นกัน"

//bit.ly/2W3IezH
============

6. การสร้างวัฒนธรรมใหม่ และ บทละครประวัติศาสตร์ของหลวงวิจิตรวาทการ: โครงสร้างทางอารมณ์ความรู้สึกและความทรงจำชาตินิยมแบบทหารของคณะราษฎรสายทหาร
— เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช

"แม้ว่าเป็นที่ชัดเจนว่า บทละครประวัติศาสตร์ของหลวงวิจิตนั้น เป็นบทละครที่แต่งขึ้นจากฐานความคิดแบบชาตินิยม โดยมีเป้าหมายเพื่อปลุกให้คนไทยรักชาติ แต่การพิจารณาเช่นนี้ยังอาจไม่ทำให้เข้าใจบทละครประวัติศาสตร์ของหลวงวิจิตรวาทการได้ดีพอ"

//bit.ly/3ehXqQ5
============

7. ภาวะผู้นำการเมืองของพระยาพหลพลพยุหเสนา
— กษิระ ศรีเจริญ

"พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการราษฎร หรือที่เรียกกันวว่า 'นายกรัฐมนตรี' ในปัจจุบันเป็นคนแรก โดยที่กลุ่มคณะราษฎรก็หวังว่าพระยามโนปกรณ์นิติธาดาจะเป็นตัวกลางที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มผู้ปกครองระบอบเก่ากับกลุ่มคณะราษฎร"

//bit.ly/2Zd63XK
============

8. ภาพลักษณ์ปรีดี พนมยงค์ กับการเมืองไทย พ.ศ. 2475-2526
— มรกต เจวจินดา

"นายปรีดี พนมยงค์ผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ และหมดอำนาจทางการเมืองในปี ๒๔๙๒
เป็นผู้นำทางการเมืองที่มีเรื่องราวเป็นเสมือนตำนานทางการเมืองที่แตกต่างไปจากผู้นำทางการเมืองคนอื่น ๆ"

//bit.ly/3efTM9o
============

9. คณะราษฎรกับการเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมาย
— วรเจตน์ ภาคีรัตน์ (หน้า 21-38)

"คณะราษฎรนั้นมีคุณูปการอย่างสูง...ได้วางโครงหลักของการจัดการการปกครองที่มีลักษณะเป็นสากล และเป็นอารยะเอาไว้ แม้ว่าจะยังไม่มีความสมบูรณ์ แต่ความไม่สมบูรณ์นี้เป็นภารกิจของคนในยุคสมัยถัดมา ที่จะเติมเต็มอุดมการณ์นิติรัฐประชาธิปไตยให้สมบูรณ์"

//bit.ly/3eaMT9b
============

10. ความหมายทางการเมืองและความล้มเหลวของการสื่อความในงานสถาปัตยกรรมคณะราษฎร
—  โดม ไกรปกรณ์ และ ธนสิษฐ์ ขุนทองพันธ์

"สถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นในช่วงพ.ศ. 2475-2490 จํานวนไม่น้อยถูกสร้างขึ้นโดยมีนัยถึงแนวคิด “ความเป็นไทย/ชาติไทย” ของคณะราษฎร"

//bit.ly/3frHyM4
============

// Bonus - 1. การปฏิวัติ 2475 กับ การปฏิวัติรสชาติอาหาร  //

2475 กับการปฏิวัติรสชาติอาหาร : จากกินเพื่ออยู่สู่กินเพื่อชาติ และการต่อสู้ทางวัฒนธรรมของรสชาติในสังคมไทยร่วมสมัย
— ชาติชาย มุกสง (หน้า 155-213)

"ระบอบการเมืองใหม่ได้ให้ความสนใจกับการสร้างคุณภาพของประชากรเพื่อความรุ่งเรืองของประเทศ โดยพยายามโยงให้เกิดการปฏิวัติด้านอาหารการกินของประชาชนขึ้นด้วย
หลังจากปฏิวัติทางการเมืองการปกครองสำเร็จแล้ว เนื่องจากความเจริญของประเทศในแผนการปกครองใหม่ต้องการกำลังคนที่แข็งแรงจากการกินอาหารที่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน"

// Bonus - 2. บทสัมภาษณ์ นายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส //

4 'จุดอ่อน' คณะราษฎรในความเห็นปรีดี พนมยงค์
—  BBC News ไทย

บทสัมภาษณ์ นายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส ที่ออกอากาศทางวิทยุบีบีซีไทย เมื่อปี พ.ศ. 2525 ในโอกาสครบรอบ 50 ปี การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

คลิกเข้าชม YouTube สำนักพิมพ์สมมติ

==============================

สำหรับนักอ่านที่สนใจงานวิชาการว่าด้วยวิวัฒนาการของการเมืองทั้งไทยและเทศ ไปจนถึงคอนเซ็ปต์ของรัฐ สังคม และการเมือง

ขอแนะนำหนังสือ แปดทศวรรษสยามปฏิวัติ บทวิเคราะห์การเมืองและประชาธิปไตยสยามไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน โดย ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

และแนะนำชุดหนังสือสำหรับผู้รักประชาธิปไตย

// Set เรียนรู้การเมืองไทย //
// Set รื้อ-สร้าง และท้าทายทางความคิด //
// Set บทสรุปทางความคิดของนักคิดระดับโลก //
// Set เข้าใจการเมือง เข้าถึงประชาชน //

==============================

บทความที่คุณน่าจะชอบ

/ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | โหลดฟรี 10 บทความ /
/ ราชาชาตินิยม | โหลดฟรี 10 บทความ /
/ ธงชัย  วินิจจะกูล | อุตสาหกรรมแห่งความจงรักภักดี /
/ สัญลักษณ์คณะราษฎรที่หายไป...เราจะจดจำไว้ /
/ ธงชัย  วินิจจะกูล | อำนาจของสาธารณชน จากบทกล่าวตามในหนังสือ 1984 /
/ รัฐประหารไทย | รวม 10 บทความสุดเข้ม /
/ 10 หนังสือสำหรับคน 'อยู่ไม่เป็น' /
==================

Order NOW - คลิกสั่งซื้อที่รูป -

เสื้อยืดสำหรับราษฎรทั้งหลาย

1. เสื้อศรัทธา

2. เสื้อยืดสังคมไทย (ข้อเขียนของวัฒน์ วรรลยางกูร)

==================

พบกับ 'หนังสือดี ราคาโดน' ที่ 'ลดแล้ว ลดอีก' คัดเน้นๆ มาให้ผู้อ่านเลือกสรรกันอย่างครบรส ทุกหมวดหมู่จัดชุดหนังสืออย่างพิถีพิถัน มากกว่า 40 ชุด จากหนังสือกว่า 100 ปก ในราคาสุดพิเศษ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita