ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยในสมัยใด


พระมหากษัตริย์ไทยกับการวางรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย

เชษฐา ทองยิ่ง   |   7 กรกฎาคม 2564

“...พระมหากษัตริย์ของไทยได้เตรียมการวางรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตยแก่ประชาชนเป็นอย่างดี เพื่อประชาชนจะได้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีความพร้อมในการเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองประเทศตามระบอบประชาธิปไตย...”

หากจะเปรียบระบอบประชาธิปไตยของไทย คงเปรียบเสมือนกับช่วงอายุของผู้สูงอายุคนหนึ่ง ที่ได้ผ่านร้อนผ่านหนาวมากว่า 89 ปี เผชิญเหตุการณ์มากมายทั้งที่เป็นปัญหาอุปสรรค และส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาและก้าวหน้าขึ้นมาตลอด แต่ย้อนเวลากลับไปก่อนที่จะมาเป็นระบอบประชาธิปไตย พระมหากษัตริย์ไทยทรงดำเนินพระบรมราโชบายสำหรับเตรียมการและวางรากฐานการปกครองอย่างเป็นระบบเป็นขั้นตอน เพื่อให้สอดคล้องสภาพการณ์ของสังคมไทยและกระแสแบบอย่างประเทศตะวันตกในขณะนั้น ถือเป็นรากฐานสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน

ปฐมบทแห่งการสร้างประชาธิปไตย

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นห้วงเวลาที่ประเทศไทยหรือสยามในขณะนั้นปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) โดยพระมหากษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดและเด็ดขาดเพียงผู้เดียว ซึ่งพระองค์ทรงตระหนักดีว่า ระบอบการปกครองแบบเดิมที่เป็นอยู่นี้นับวันจะล้าสมัย จำเป็น ที่จะต้องดำเนินการจัดการปกครองประเทศเสียใหม่ เพื่อให้สอดคล้องสภาพการณ์ของสังคมไทยและกระแสการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่แผ่ขยายไปทั่วโลกในขณะนั้น อย่างไรก็ตาม พระองค์ทรงเห็นว่าประชาชนชาวไทยยังมีความรู้ความเข้าใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตยและมีความสนใจในการปกครองบ้านเมืองไม่มากพอ จึงทรงดำเนินรัฐประศาสโนบายเพื่อเป็นการปูพื้นฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างค่อยเป็นค่อยไป ที่สำคัญ ได้แก่ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง Privy Council ทำหน้าที่เป็นคณะที่ปรึกษาราชการในพระองค์ และ Council of State ทำหน้าที่เป็นคณะที่ปรึกษาราชการต่าง ๆ ที่เป็นเรื่องประโยชน์ต่อบ้านเมือง ทรงส่งพระบรมวงศานุวงศ์หรือพระราชทานทุนให้เด็กไทยไปศึกษายังประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยในตะวันตก ทรงขยายโอกาสทางการศึกษา ประกาศเลิกทาส รวมทั้งปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินในส่วนกลาง และกระจายอำนาจการบริหารปกครองให้ประชาชนมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองตนเองมากขึ้น โดยเฉพาะริเริ่มให้จัดตั้งสุขาภิบาลเป็นรูปแบบการปกครองท้องถิ่นขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อปูพื้นฐานประชาธิปไตยเบื้องต้นแก่ประชาชน

ด้วยพระราชดำริอันแน่วแน่ของพระองค์ที่ประสงค์จะให้ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ ประธานเสนาบดีสภาขณะนั้น ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นฉบับหนึ่งจนแล้วเสร็จเพื่อพระราชทานแก่ประชาชน อย่างไรก็ตาม ทรงมีพระราชดำริว่าจะเป็นการเหมาะสมกว่าถ้าพระราชโอรสของพระองค์เป็นผู้พระราชทาน ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งในปลายรัชสมัยว่า      “ฉันจะให้ลูกวชิราวุธมอบของขวัญให้แก่พลเมืองในทันที่ที่ขึ้นสู่ราชบัลลังก์ในขณะสืบตำแหน่งพระมหากษัตริย์ กล่าวคือ ฉันจะให้เขาให้ปาลิเมนต์และคอนสติติวชั่น”



ปลูกฝังแนวคิดประชาธิปไตย

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เข้าสู่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีพระราชดำริไปในทางเดียวกับพระบาทสมเด็จพระบรมชนกนาถ คือ เห็นด้วยที่ประเทศไทยควรจะมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยทรงตระหนักดีว่า แม้แนวคิดและสิทธิทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยจะยังไม่เหมาะกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่และความรู้ความเข้าใจของประชาชนส่วนใหญ่ในสมัยนั้น ก็ตาม แต่วันหนึ่งข้างหน้าการปกครองระบอบประชาธิปไตยจะต้องเกิดขึ้นมาแทนที่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อย่างแน่แท้ จึงทรงว่าจะต้องให้การศึกษาแก่ประชาชนอย่างเพียงพอเสียก่อน ทรงหันมาใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการปูพื้นฐานแก่ประชาชน โดยทรงตราพระราชบัญญัติการศึกษาขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของตนเองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลักการประชาธิปไตย รวมทั้งการสร้างความสำนึกร่วมทางชาตินิยม อาทิ ตั้งกองลูกเสือ ประพันธ์บทพระราชนิพนธ์ที่ปลุกให้ประชาชนคนไทยรักชาติบ้านเมืองให้มากขึ้น




นอกจากนี้ พระองค์ทรงปลูกฝังให้ประชาชนได้เกิดการเรียนรู้และมีส่วนร่วมในทางการเมืองการปกครองตามครรลองประชาธิปไตย โดยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองจำลอง “ดุสิตธานี” ขึ้น เพื่อเป็นเมืองทดลองให้ประชาชนได้รู้จักและเข้าใจการบริหารปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตย เพื่อจะได้นำมาใช้ปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม ในโอกาสข้างหน้า ทั้งนี้ เมืองดุสิตธานีดำเนินการไปได้ระยะหนึ่ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ดุสิตธานีจึงได้สลายตัวไป



เปลี่ยนผ่านสู่ระบอบประชาธิปไตย

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทางการเมืองภายในประเทศ เป็นยุคสมัยที่กระแสแนวคิดประชาธิปไตยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศได้แพร่หลายและขยายวงกว้างขึ้น พระองค์ทรงเตรียมการปูพื้นฐานสำหรับระบอบประชาธิปไตยที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเช่นเดียวกับพระราชบิดา คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระเชษฐาคือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระองค์ทรงมีพระราชดำริและเตรียมการเกี่ยวกับการนำพาประเทศเข้าสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ทรงตั้งสถาบันทางการเมืองขึ้นใหม่และปรับปรุงสถาบันทางการเมืองที่มีอยู่เดิมให้สอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย ทรงจัดให้มีการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาล
นอกจากนี้ โปรดเกล้าฯ ให้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 2 ฉบับ เพื่อพิจารณาว่ามีความเหมาะสมกับสังคมและประชาชนมากน้อยเพียงใด ก่อนที่จะทำการพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทยต่อไป
อย่างไรก็ตาม การพระราชทานรัฐธรรมนูญตามพระราชประสงค์นั้นมิได้เกิดขึ้น เนื่องจากคณะอภิรัฐมนตรีที่ทรงตั้งขึ้นมีความเห็นว่า ยังไม่ถึงเวลาที่จะพระราชทานแก่ประชาชนในขณะนั้น

ด้วยเหตุผลสำคัญที่ว่า ประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจ และยังไม่มีความพร้อมพอที่จะปกครองตนเองตามวิถีทางระบอบประชาธิปไตย ทำให้แนวพระราชดำริดังกล่าวระงับไป จนกระทั่งมีคณะบุคคลซึ่งเรียกตนเองว่า “คณะราษฎร” ทำการยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศจากระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยเสียก่อน เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งการกระทำการของคณะราษฎรดังกล่าวตรงกับพระราชประสงค์และมีจุดมุ่งหมายเดียวกับพระองค์ที่ต้องการให้ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย พระองค์ในฐานะพระมหากษัตริย์นักประชาธิปไตยจึงทรงยินยอมสละพระราชอำนาจซึ่งเป็นของพระองค์อยู่แต่เดิมให้ประชาชน และลดพระราชฐานะมาเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ

ประชาชนในฐานะเจ้าของอำนาจ จะมีส่วนร่วมรักษาและพัฒนาระบอบประชาธิปไตยอย่างไร

การวางรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตยของพระมหากษัตริย์ทั้ง 3 พระองค์ดังกล่าว ได้แสดงให้เห็นว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยซึ่งเป็นเจ้าของพระราชอำนาจและทรงใช้พระราชอำนาจนั้นแบบเด็ดขาด ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ได้ทรงพยายามวางพื้นฐานและสนับสนุนการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อนำมาสู่การปกครองรูปแบบใหม่ที่อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดเป็นของประชาชนในประเทศ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญจวบจนปัจจุบัน

เป็นข้อสังเกตว่า พระมหากษัตริย์ของไทยได้เตรียมการวางรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตยแก่ประชาชนเป็นอย่างดี เพื่อประชาชนจะได้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีความพร้อมในการเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองประเทศตามระบอบประชาธิปไตย หากย้อนมาดูประเทศเราในปัจจุบัน ซึ่งปกครองระบอบประชาธิปไตยมาแล้วมากกว่า 89 ปี แต่กลับยังไม่ค่อยพัฒนาเท่าที่ควร ยังขาดเสถียรภาพและความมั่นคง จะเห็นได้จากเกิดการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลอยู่เป็นระยะ มีการประกาศใช้และยกเลิกรัฐธรรมนูญอยู่บ่อยครั้ง ปัจจุบันใช้รัฐธรรมนูญมาแล้ว 20 ฉบับ ปัญหาทางการเมืองบางเรื่องก็มิอาจแก้ไขได้ด้วยวิถีทางประชาธิปไตย ดังนั้น หากต้องการขจัดปัญหาเพื่อให้การพัฒนาประชาธิปไตยมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น เราในฐานะประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยควรหันมาร่วมกันเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านประชาธิปไตยให้เข้มแข็ง เพื่อให้ประชาชนรู้จักสิทธิหน้าที่ของตนเอง และผลักดันให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองตามวิถีประชาธิปไตยอย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้ระบอบประชาธิปไตยที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นการใช้อำนาจของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชนที่แท้จริง สมดังพระราชประสงค์ของพระมหากษัตริย์แห่งบรมราชจักรีวงศ์ทั้ง 3 พระองค์



กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita