ข้อดีข้อเสียของระบอบการปกครอง

คำว่า ระบอบประชาธิปไตยดูจะเป็นระบอบการปกครองที่คุ้นชินกับคนทั่วไปมากที่สุดโดยเฉพาะคนไทยเนื่องจากบ้านเราเองก็ใช้ระบอบการปกครองนี้มายาวนานเช่นกันกับอีกหลายประเทศทั่วโลกที่เลือกใช้การปกครองประเทศโดยยึดถือเอาคนส่วนรวมเป็นสำคัญ ซึ่งการปกครองระบอบดังกล่าวก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว เราลองมาเทียบดูกันว่ามันมีทั้งดีและเสียอย่างไรสำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตยในแบบที่หลายประเทศทั่วโลกนิยม

ข้อดีของการปกครองระบอบประชาธิปไตย

  1. ประชาชนจำนวนมากมีสิทธิ์ในการปกครองประเทศอันหมายถึงการเลือกตัวแทนที่ตนเองมองเห็นว่าจะช่วยทำให้ประเทศพัฒนาขึ้นกว่าเดิมเข้าไปบริหารบ้านเมือง อย่างไรก็ตามเสียงข้างน้อยที่เลือกตัวแทนเข้าไปก็ถือเป็นคนพัฒนาประเทศได้เช่นกันเพราะคอยตรวจสอบการทำงานของอีกฝ่ายได้
  2. ประชาชนทุกๆ คนมีสิทธิเสรีภาพในการใช้ชีวิตแบบเดียวกัน เช่น จะมีเงินหรือไม่มีก็ตามสามารถเดินห้างสรรพสินค้าเหมือนกันได้, มีสิทธิ์เลือกตั้งคนที่ตนเองต้องการเข้าไปบริหารบ้านเมืองได้ เป็นต้น
  3. มีมาตรฐานของกฎหมายเพื่อใช้ในการปกครองเท่าเทียมกัน กฎหมายดังกล่าวจะใช้บังคับได้กับทุกๆ คนไม่ว่าเขาจะเป็นคนรวยล้นฟ้าหรือมีอำนาจแค่ไหน หากทำผิดกฎหมายก็มีโอกาสได้รับโทษตามที่กฎหมายระบุเอาไว้
  4. ป้องกันปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับประชาชนได้แบบสันติวิธี มีศาลเป็นผู้ตัดสินพิพากษาตามเหมาะสมให้ทุกอย่างอยู่ในกรอบของกฎหมายทำให้ทุก ๆ คนอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข

ข้อเสียของการปกครองระบอบประชาธิปไตย

  1. การตัดสินใจต่างๆ ล่าช้าเนื่องจากต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอนเกินไป ผ่านผู้พิจารณาหลายหน่วยงานรวมถึงเกิดการปรึกษาหารือที่ไม่ทันท่วงทีในหลายๆ เรื่อง สิ่งไหนเป็นสิ่งเร่งด่วนมักไม่ค่อยได้รับการตอบสนองแบบทันใจ
  2. มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปกครองเยอะ เช่น การจัดการเลือกตั้งต่างๆ ไล่ตั้งแต่ สส. สว. สก. สข. และอื่นๆ
  3. ประชาชนในประเทศไม่รู้จักการใช้สิทธิของตนเองอย่างถูกต้องจนนำไปสู่ความวุ่นวายต่างๆ ในบ้านเมืองได้ง่ายนั่นเพราะไม่มีใครสามารถหยุดยั้งการรวมตัวกันเพื่อกระทำบางสิ่งบางอย่างได้แบบเด็ดขาด
  4. มีการโน้มเอียงด้านผลประโยชน์ในบางท้องถิ่นเพื่ออำนวยความเหมาะสมให้กับพรรคพวกของตนเองมากกว่าการมองเห็นประโยชน์ส่วนรวมของชาติ อำนาจอยู่ในมือใครฝ่ายนั้นก็มีสิทธิ์กอบโกยเพื่อให้ตนเองได้รับประโยชน์สูงสุด รวมถึงยังมีการกันสิทธิต่างๆ ของบุคคลอื่นด้วย

ดังที่บอกว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยก็มีทั้งดีและเสีย กระนั้นหากเราทุกคนสามารถทำตามกฎระเบียบต่างๆ ที่วางเอาไว้ได้ในลึกๆ ของมนุษย์ทุกคนก็ยังชอบการอยู่แบบไม่โดนบังคับมากกว่าการโดนสั่งอยู่แล้ว

1.ประชาชนมีสิทธิ เสรีภาพและเสมอภาค ประชาชนทุกคนมีสิทธิแห่งความเป็นคนเหมือนกันไม่ว่ายากดีมีจน เช่น สิทธิในร่างกาย สิทธิในทรัพย์สิน ทุกคนมีเสรีภาพในการกระทำใดๆ ได้หากเสรีภาพนั้นไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น เช่น เสรีภาพในการนับถือศาสนา เสรีภาพในการพูด การเขียน การวิพากษ์วิจารณ์ และทุกคนมีความเสมอภาค หรือเท่าเทียมกันที่จะได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมาย มีความเสมอภาคในการประกอบอาชีพ เป็นต้น

2.ประชาชนปกครองตนเอง ประชาชนสามารถเลือกตัวแทนไปใช้อำนาจนิติบัญญัติในการออกกฎหมายมาใช้ปกครองตนเอง และเป็นรัฐบาลเพื่อใช้อำนาจบริหาร ซึ่งสามารถสนองตอบความต้องการของประชาชนส่วนรวมได้ดี เพราะผู้บริหารที่เป็นตัวแทนของปวงชนย่อมรู้ความต้องการของประชาชนได้ดี

3.ประเทศมีความเจริญมั่นคง การมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองทำให้ประชาชนมีความพร้อมเพรียงในการปฏิบัติตามกฎ และระเบียบที่ตนกำหนดขึ้นมายอมรับในคณะผู้บริหารที่ตนเลือกขึ้นมาและประชาชนไม่มีความรู้ต่อต้าน ทำให้ประเทศมีความสงบสุขเจริญก้าวหน้าและมั่นคง

ข้อเสีย

1.ดำเนินการยาก ระบอบประชาธิปไตยเป็นหลักการปกครองที่ดี แต่การที่จัดสรรผลประโยชน์ตรงกับความต้องการประชาชนทุกคนย่อมทำไม่ได้ นอกจากนั้นยังเป็นการยากที่จะให้ประชาชนทุกคนมีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติตามสิทธิ เสรีภาพทุกประการ ทั้งนี้เพราะวิสัยของมนุษย์ย่อมมีความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ การดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสังคมจึงมีการกระทบกระทั่งและละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นได้

2.เสียค่าใช้จ่ายสูง การปกครองระบอบประชาธิปไตย จำเป็นต้องให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้แทน เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่แทนตน การเลือกตั้งในแต่ละระดับต่างต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก ทั่งงบประมาณดำเนินงานชองทางราชการและค่าใช้จ่ายของผู้สมัครรับเลือกตั้ง

3.มีความล่าช้าในการตัดสินใจ การตัดสินใจในระบอบประชาธิปไตยต้องใช้เสียงส่วนใหญ่ โดยผ่านขั้นตอนการอภิปราย แสดงเหตุผลและมติที่มีเหตุผลเป็นที่ยอมรับของสมาชิกส่วนใหญ่ จึงต้องดำเนินตามขั้นตอนทำให้เกิดความล่าช้า เช่น การตรากฎหมาย ต้องดำเนินการตามลำดับขั้นตอนของวาระ อาจใช้เวลาเป็นสัปดาห์เป็นเดือน หรือบางฉบับต้องใช้เวลาเป็นปี จึงจะตราออกมาเป็นกฎหมายได้

2. ข้อดีข้อเสียของระบอบเผด็จการ

ตอบ ข้อดีของระบอบเผด็จการ ได้แก่

1. รัฐบาลสามารถตัดสินใจทำการอย่างใดอย่างหนึ่งได้รวดเร็วกว่ารัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย เช่น สามารถออกกฎหมายมาใช้บังคับเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งได้ โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากเสียงข้างมากในรัฐสภา ทั้งนี้ก็เพราะผู้นำหรือคณะรัฐมนตรีมักจะได้รับมอบอำนาจจากรัฐสภาไว้ล่วงหน้าให้ออกกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับบางอย่างได้เอง

2. แก้ปัญหาบางอย่างได้อย่างมีประสิทธิผลกว่าระบอบประชาธิปไตย เช่น สั่งการปราบการจลาจล การก่ออาชญากรรม และการก่อการร้ายต่าง ๆ ได้อย่างเฉียบขาดมากกว่า โดยไม่จำต้องเกรงว่าจะเกินอำนาจที่กฎหมายให้ไว้ เนื่องจากศาลในระบอบเผด็จการไม่ได้มีความเป็นอิสระในการพิจารณาคดีเหมือนในระบอบประชาธิปไตย

ข้อเสียของระบอบเผด็จการ ได้แก่

1. เป็นการปกครองโดยบุคคลคนเดียวหรือกลุ่มเดียว ซึ่งย่อมจะมีการผิดพลาดและใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องได้โดยไม่มีใครรู้หรือกล้าคัดค้าน

2. มีการใช้อำนาจเผด็จการกดขี่และลิดรอนสิทธิเสรีภาพ รวมทั้งประทุษร้ายต่อชีวิตของคนหรือกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับกลุ่มผู้ปกครอง

3. ทำให้คนดีมีความสามารถที่ไม่ใช่พวกพ้อง หรือผู้สนับสนุนกลุ่มผู้ปกครองไม่มีโอกาสดำรงตำแหน่งสำคัญในทางการเมือง

4. ประชาชนส่วนใหญ่ที่ถูกกดขี่และขาดสิทธิเสรีภาพ ย่อมจะไม่สนับสนุนนโยบายของรัฐบาลอย่างเต็มที่และอาจพยายามต่อต้านอยู่เงียบ ๆ หรือมิฉะนั้นบางคนก็อาจจะหลบหนีไปอยู่ต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่บุคคลเหล่านี้มักจะเป็นพวกปัญญาชน ทำให้ประเทศชาติขาดแคลนทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ

5. อาจนำประเทศชาติไปสู่ความพินาศได้ เหมือนดังฮิตเลอร์ได้นำประเทศเยอรมนี หรือพลเอกโตโจได้นำประเทศญี่ปุ่นเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งผลปรากฏว่าทั้งสองประเทศประสบความพินาศอย่างย่อยยับ หรือตัวอย่างเหตุการณ์ที่ประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน เห่งอิรัค ได้ส่งกำลังทหารเข้ายึดครองประเทศคูเวต และไม่ยอมถอนตัวออกไปตามมติขององค์การสหประชาชาติ จนกองกำลังนานาชาติต้องเปิดฉากทำสงครามกับอิรักเพื่อปลดปล่อยคูเวต และผลสุดท้ายอิรักก็เป็นฝ่ายปราชัยอย่างย่อยยับ ทำให้ประชาชนชาวอิรักต้องประสบความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสเสียทั้งทรัพย์สินและชีวิต การพัฒนาประเทศหยุดชะงัก ทั้งนี้เป็นเพราะการตัดสินใจผิดพลาดของผู้นำเพียงคนเดียว

3. นักเรียนอยากอยู่ในประเทศที่มีการปกครองระบอบไหน เพราะอะไร

ตอบ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ constitutional monarchy [1]เป็น รูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยรูปแบบหนึ่งในยุคปัจจุบัน มีลักษณะเป็นระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยผ่านระบบรัฐสภาหรือประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐผู้ทรงบริหารพระราชอำนาจตามขอบเขตที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ การบริหารประเทศประชาชนจะใช้อำนาจบริหารผ่านคณะรัฐมนตรีที่ผ่านการคัดเลือกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นวิถีทางในการปกครองประเทศ มีการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครอง และตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรม การกำหนดกลไกสถาบันทางการเมืองทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร ให้มีดุลยภาพและประสิทธิภาพตามวิถีการปกครองแบบรัฐสภา รวมทั้งให้สถาบันศาล และองค์กรอิสระอื่นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสุจริตเที่ยงธรรม

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita