ก ค. ศ รับรอง วุฒิ ต่างประเทศ

โดย.. วิจิตร มูลแวง

การรับรองคุณวุฒิของ ก.ค.ศ.
พระราชบัญญัติระเบียนข้าราชการครูและบุคลกรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ก าหนดให้

ก.ค.ศ. มีอ านาจหน้าที่รับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ เพื่อประโยชน์ในการการ

บรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครุและบุคลากรทางการศึกษา โดยส านักงาน ก.ค.ศ. ท าหน้ารับรอง
คุณวุฒิให้กับส านักงานกรรมการการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยเอกชน รวมทั้งคุณวุฒิ

จากมหาลัยต่างประเทศ โดยผ่าน ก.ค.ศ. ได้ให้การรับรองคุณวุฒิไปแล้ว จ านวน 19,263 คุณวุฒิ

เมื่อ ก.ค.ศ. รับรองคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยของรัฐ และมหาลัยเอกชน ภายในประเทศถือว่า
ได้คุณวุฒินั้นเป็นคุณวุฒิตามคุณสมบัติเฉพาะส าหรับต าแหน่งข้าราชครูและบุคลากรทางการศึกษา เ มื่อ

นักเรียนจบการศึกษาจากสถาบันใดด้วยคุณวุฒิใดที่ ก.ค. หรือ ก.ค.ศ. ให้การรับรองแล้ว ก็สามารถน า
คุณวุฒินั้นมาสมัครสอบครูผู้ช่วยได้ ยกเว้น คุณวุฒิที่ใดที่ ก.ค. หรือ ก.ค.ศ. ให้รับรองแล้ว ต่อมาภายหลังมี

การปรับปรุงหลักสูตร หรือสับเปลี่ยนชื่อรายวิชา หรือคุณวุฒินั้น สถาบันการศึกษาจะท าเรื่องมาให้

ก.ค.ศ. รับรองใหม่ เนื่องจากจะต้องวิเคราะห์จ านวนหน่วยกิต และรายวิชา เพื่อการับรองวุฒิด้วย ซึ่ง
ที่ผ่านมักพบปัญหาในการสมัครสอบบรรจุครูผู้ช่วยเป็นประจ าเกี่ยวกับการตรวจสอบวุฒิของนักศึกษา ซึ่ง

สถานบันการศึกษาบางแห่งยังไม่ได้ขอ ก.ค.ศ. รับรองคุณวุฒิเนื่องจากเข้าใจผิดว่าเมื่อ ก.ค. หรือ ก.ค.ศ.
รับรองแล้ว ต่อมีการปรับปรุงหลักสูตรก็ไม่ต้องส่งให้ ก.ค.ศ. รับรองใหม่ จึงท าให้หมดสิทธิ์ในการสมัคร

สอบครูผู้ช่วย ดังนั้น สถาบันการศึกษาควรตรวจสอบว่าคุณวุฒิใดที่ ก.ค. หรือ ก.ค.ศ. ให้การรับรอง

แล้วแต่มีการปรับปรุงหลักสูตร หรือชื่อหลักสูตร ขอให้รีบเสนอผ่านส านักงานคณะกรรมการการ
อุดมศึกษาเพื่อขอให้ ก.ค.ศ. รับรองวุฒิโดยเร็ว เพื่อเป็นประโยชน์กับนักศึกษาที่จะสอบบรรจุครูผู้ช่วย

ต่อไป

ส าหรับการรับรองคุณวุฒิซึ่งจบจากการศึกษาต่างประเทศนั้น ก.ค.ศ.จะให้สิทธิ์ในการสมัคร
สอบบรรจุไปก่อน (เนื่องจากกระบวนการในการตรวจสอบคุณวุฒิต้องขอค ารับรองจากสถาบันการศึกษา

ต่างประเทศ และ ก.พ. ด้วย) โดยมีเงื่อนไขว่าหากตรวจสอบภายหลังพบว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเฉพาะ
ส าหรับต าแหน่งครูผู้ช่วย ก็จะถือว่าผู้นั้นหมดสิทธิ์ที่จะบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครู

และบุคลากรทางการศึกษา ต าแหน่งครูผู้ช่วย และการรับรองคุณวุฒิต่างประเทศ นั้น ก.ค.ศ. จะให้

พิจารณารับรองเป็นการเฉพาะราย ซึ่งเมื่อผู้นั้นได้รับการเรียกบรรจุ ทางส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา
จะมีหนังสือมายังส านักงาน ก.ค.ศ. เพื่อขอให้ ก.ค.ศ. รับรองคุณวุฒินั้นเป็นการเฉพาะราย ซึ่งเมื่อผู้นั้น

ได้รับการเรียกบรรจุของส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา จะมีหนังสือมายังส านักงาน
ก.ค.ศ.เพื่อขอให้ ก.ค.ศ.รับรองคุณวุฒินั้นเป็นการเฉพาะราย และในเดือน มิถุนายน 2557 ที่ผ่าน

มา ก.ค.ศ.

ก ค. ศ รับรอง วุฒิ ต่างประเทศ

ศธ 0206.6/ว 3 ลว. 5 มี.ค.63

แนวปฏิบัติการรับรองคุณวุฒิของผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ

เหตุผล : นำมาใช้โดยอนุโลม กรุงเทพมหานครใช้การรับรองคุณวุฒิของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ตามที่ สำนักงาน ก.ค.ศ. กำหนดโดยอนุโลมแล้ว 

ผู้รับผิดชอบ : กองอัตรากำลัง

ก ค. ศ รับรอง วุฒิ ต่างประเทศ
  อ่านรายละเอียด

ก ค. ศ รับรอง วุฒิ ต่างประเทศ

การรับรองคุณวุฒิบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการ และกำหนดอัตราเงินเดือนที่ควรได้รับ เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.พ.และสำนักงาน ก.พ.ตามนัยมาตรา8(10) และมาตรา13(11) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ 2551

การรับรองคุณวุฒิของ ก.พ. จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทางราชการได้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่ ก.พ. กำหนด มาปฏิบัติราชการ และกำหนดเงินเดือนที่ควรได้รับให้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ ก.พ. จะรับรองคุณวุฒิการศึกษาในระดับต่าง ๆ ตามหลักสูตรการศึกษา ที่สถาบันการศึกษาได้จัดทำขึ้น และได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการแล้วหมายถึง ก.พ. รับรองคุณวุฒิ แต่มิได้รับรองวิทยฐานะสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

หลักเกณฑ์การรับรองคุณวุฒิของผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ก.พ. จะรับรองคุณวุฒิที่ได้รับด้วยวิธีการศึกษาตามหลักสูตรเต็มเวลา (full time) จากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองวิทยฐานะจากหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของประเทศนั้น ๆ ให้บรรจุเข้ารับราชการได้

  • การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถานศึกษาภาครัฐ
  • การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
  • ระบบการพิจารณารับรองคุณวุฒิด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-accreditation)

สำนักงาน ก.พ. มีอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ดำเนินการพิจารณารับรองคุณวุฒิของผู้ที่ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิอย่างอื่นจากสถานศึกษาทั้งในและต่างประเทศ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน กำหนดเงินเดือนที่ควรจะได้รับ และระดับตำแหน่งที่ควรแต่งตั้ง

สำหรับสถานศึกษาในต่างประเทศ โดยหลักการ สำนักงาน ก.พ. จะรับรองคุณวุฒิที่ได้รับจากการศึกษาในหลักสูตรปกติจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับรองวิทยฐานะจากรัฐบาลในประเทศนั้นๆ ให้บรรจุเข้ารับราชการได้ ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ. จะตรวจสอบจากหลักฐานการศึกษา เช่น ใบปริญญาบัตร ใบรายละเอียดคะแนน (Transcript of records) ซึ่งระบุสาขาวิชาและจำนวนหน่วยกิตที่ศึกษาในสาขา เพื่อเทียบว่าปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพเป็นคุณวุฒิทางต่างๆ

อนึ่ง การรับรองวุฒิโดยสำนักงาน ก.พ. ไม่เกี่ยวกับการพิจารณาจัดลำดับความมีชื่อเสียงของสถาบันการศึกษา (Ranking) แต่ประการใด โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติม และดูรายชื่อสถานศึกษาในต่างประเทศที่สำนักงาน ก.พ. รับรองคุณวุฒิได้จาก www.ocsc.go.th หัวข้อการตรวจสอบคุณวุฒิ

การเทียบวุฒิ (Reconnaissance des diplômes/ Title Recognition)

ในปัจจุบัน ยังไม่มีกฎหมายกำหนดหลักการเทียบเท่า (équivalence) ระหว่างวุฒิบัตรซึ่งได้รับจากการสำเร็จการศึกษาในต่างประเทศกับวุฒิบัตรซึ่งรับรองฐานะโดยกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวง การอุดมศึกษาและวิจัยของประเทศฝรั่งเศส อย่างไรก็ดี ตั้งแต่เดือนมกราคม 2551 เป็นต้นมา ได้มีการจัดตั้งหน่วยงาน ENIC-NARIC (European Network of Information Centres – National Academic Recognition Information Centres) ซึ่งเป็นหน่วยงานเดียวที่มีอำนาจออกเอกสารรับรองเทียบเท่าระดับวุฒิบัตรระหว่างวุฒิบัตรจากต่างประเทศและวุฒิบัตรของฝรั่งเศส

การเทียบระดับวุฒิบัตรต่างประเทศเพื่อสมัครเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาของฝรั่งเศส มีกระบวนการซึ่งจำแนกได้ดังนี้

1. ผู้ที่จบการศึกษาระดับมัธยมปลายในประเทศไทยและประสงค์จะสมัครเข้าศึกษาต่อชั้นปีที่หนึ่งหลักสูตรปริญญาตรี (หรือหลักสูตรอื่นเทียบเท่าปริญญาตรี) ในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศฝรั่งเศส จะต้องดำเนินการตามกฎระเบียบที่กำหนดโดยรัฐบาลฝรั่งเศสเพื่อการนี้โดยเฉพาะ

2. ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาจากต่างประเทศและประสงค์จะศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นในสถาบันอุดมศึกษาของฝรั่งเศส จะต้องติดต่อสถาบันที่ประสงค์จะสมัครเข้าศึกษาต่อ ซึ่งจะเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาว่าจะรับให้เข้าศึกษาต่อในระดับใดเป็นแต่ละกรณีๆ โดยผู้สมัครต้องแสดงหลักฐานวุฒิบัตรและคำแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส ตลอดจนรายละเอียดหลักสูตรที่จบการศึกษา

ทั้งนี้ การสมัครเข้าศึกษาต่อในบางสาขา เช่น วิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ สัตวแพทย์ เกษตรศาสตร์ ดนตรี ศิลปะ ฯลฯ จะมีการกำหนดเงื่อนไขและกระบวนการเฉพาะ ซึ่งควรศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากสถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของรัฐบาลฝรั่งเศส โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากแหล่งข้อมูล : www.ciep.fr/es/enic-naricfr ; www.enic-naric.net ; www.diplomatie.gouv.fr

การแปลเอกสารการศึกษา

สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในประเทศฝรั่งเศสไม่มีบริการแปลและรับรองเอกสารการศึกษาให้แก่นักเรียน หรือบุคคลภายนอก