ศูนย์ความ ปลอดภัย ในการ ทํา งาน

ประเด็น ระบบบริหารจัดการความปลอดภัย

- จัดและดูแลสถานประกอบกิจการและลูกจ้างให้มีสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนการปฏิบัติงานของลูกจ้างมิให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจและสุขภาพอนามัย

- กำหนดให้นายจ้างต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายให้นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย

- ให้นายจ้างบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวง

- ให้ลูกจ้างมีหน้าที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานตามมาตรฐานที่กำหนด

- จัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากรหน่วยงานหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานและบุคลากรตามวรรคหนึ่งจะต้องขึ้นทะเบียนต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

- กรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในสภาพการทำงานหรือสภาพแวดล้อมในการทำงานที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขอนามัย ให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงานและแจกคู่มือปฏิบัติงานให้ลูกจ้างทุกคนก่อนที่ลูกจ้างจะเข้าทำงาน เปลี่ยนงานหรือเปลี่ยนสถานที่ทำงาน

- จัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัย

- กรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชึวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขอนามัยให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมลุกจ้างทุกคนก่อนการเริ่มทำงาน

- ติดประกาศสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมทั้งข้อความแสดงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างตามที่อธิบดีประกาศกำหนดในที่ที่เห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบกิจการ

- ในกรณีที่สถานที่ใดมีสถานประกอบกิจการหลายแห่ง ให้นายจ้างทุกรายของสถานประกอบกิจการในสถานที่นั้น มีหน้าที่ร่วมกันดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เป็นไปตามพรบ.นี้

- ในกรณีที่นายจ้างเช่าอาคาร สถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่นำมาใช้ในสถานประกอบกิจการ ให้นายจ้างมีอำนาจดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับอาคารสถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์หรือสิ่งอื่นใดที่เช่านั้น ตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวง

- ให้ผู้บริหารหรือหัวหน้างานมีหน้าที่สนับสนุนและร่วมมือกับนายจ้างและบุคลากรอื่น เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย

- ลูกจ้างมีหน้าที่ดูแลสภาพแวดล้อมในการทำงานตามมาตรฐานที่กำหนดกฏกระทรวง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพอนามัยโดยคำนึงถึงสภาพของงานและพื้นที่รับผิดชอบ

- จัดและดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยต่อส่วนบุคคลที่ได้มาตรฐานตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ในกรณีที่ลูกจ้างไม่สวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าว ให้นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดการทำงานนั้นจนกว่าลุกจ้างจะสวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าว

- ให้ผู้รับเหมาชั้นต้นและผู้รับเหมาช่วงตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานมีหน้าที่ดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของลูกจ้างเช่นเดียวกับนายจ้าง

- ให้นายจ้างดำเนินการ ดังต่อไปนี้ 1. จัดให้มีการประเมินอันตราย 2. ศึกษาผลกระทบของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีผลต่อลูกจ้าง 3. จัดทำแผนดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานและจัดทำแผนการควบคุมดูแลลูกจ้างและสถานประกอบกิจการ

- ส่งผลการประเมินอันตราย การศึกษาผลกระทบ แผนการดำเนินงานและแผนการควบคุมตาม (1) (2) และ(3) ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ประเภทกิจการ ขนาดของกิจการที่ต้องดำเนินการและระยะเวลาที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

- กรณีที่ลูกจ้างเสียชีวิต ให้นายจ้างแจ้งต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยในทันที่ที่ทราบโดย โทรศัพท์ โทรสารหรือวิธีอื่นใดที่มีรายละเอียดพอสมควรและให้แจ้งรายละเอียดและสาเหตุเป็นหนังสือภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ลูกจ้างเสียชีวิต

- กรณีมีบุคคลในสถานประกอบกิจการประสบอันตรายหรือได้รับความเสียหาย อันเนื่องจากเพลิงไหม้ การระเบิดสารเคมีรั่วไหล หรืออุบัติภัยร้ายแรงอื่น ให้นายจ้างแจ้งต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยในทันทีที่ทราบโดยโทรศัพท์ โทรสาร หรือวิธีอื่นใด และให้แจ้งเป็นหนังสือโดยระบุสาเหตุอันตรายที่เกิดขึ้น ความเสียหาย การแก้ไขและวิธีการป้องกันการเกิดซ้ำอีกภายใน 7 วันนับแต่วันเกิดเหตุ

- กรณีที่ลูกจ้างประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน เมื่อนายจ้างแจ้งการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยต่อสำนักงานประกันสังคมตามกฎหมายดังกล่าวแล้ว ให้นายจ้างส่งสำเนาหนังสือแจ้งนั้นต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยภายใน 7 วัน

ศึกษากฎหมายฉบับเต็ม ตามไฟล์แนบท้ายนี้

  • ศูนย์ความ ปลอดภัย ในการ ทํา งาน

    สมัครอบรมออนไลน์หลักสูตรตามกฎหมาย

  • ศูนย์ความ ปลอดภัย ในการ ทํา งาน

    โครงการ​​“การอบรมออนไลน์แบบ In-House Training หลักสูตรตามกฎหมายสำหรับกลุ่มสถานประกอบการธุรกิจขนาดเล็ก (SME)”

  • ศูนย์ความ ปลอดภัย ในการ ทํา งาน
  • ศูนย์ความ ปลอดภัย ในการ ทํา งาน
  • ศูนย์ความ ปลอดภัย ในการ ทํา งาน

    ดาวน์โหลดแผนการจัดอบรมประจำปี 2565

  • ศูนย์ความ ปลอดภัย ในการ ทํา งาน

    ศูนย์ฝึกอบรมความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

  • ศูนย์ความ ปลอดภัย ในการ ทํา งาน

    ศูนย์เทคโนโลยีความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

  • ศูนย์ความ ปลอดภัย ในการ ทํา งาน

    สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ

  • ศูนย์ความ ปลอดภัย ในการ ทํา งาน

    คำแนะนำในการเตรียมรับมือ covid19 สำหรับสถานประกอบการ

ศูนย์ความ ปลอดภัย ในการ ทํา งาน
ศูนย์ความ ปลอดภัย ในการ ทํา งาน
ศูนย์ความ ปลอดภัย ในการ ทํา งาน
ศูนย์ความ ปลอดภัย ในการ ทํา งาน

ศูนย์ความ ปลอดภัย ในการ ทํา งาน

ศูนย์ความ ปลอดภัย ในการ ทํา งาน

ศูนย์ความ ปลอดภัย ในการ ทํา งาน

ศูนย์ความ ปลอดภัย ในการ ทํา งาน

SHAWPAT ปันเพื่อก้าวปีที่ 1 ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ



[ดูทั้งหมด]

ศูนย์ความ ปลอดภัย ในการ ทํา งาน

ศูนย์ความ ปลอดภัย ในการ ทํา งาน

ศูนย์ความ ปลอดภัย ในการ ทํา งาน