ยกเลิกการยื่นแบบ ภพ.30 อินเตอร์เน็ต

username/password ไม่ถูกต้อง กรุณาทำการกรอกใหม่

session ของการเข้าสู่ระบบได้สิ้นสุดแล้ว กรุณา reload หน้าเว็บอีกครั้งและเข้าสู่ระบบใหม่อีกครั้ง

ท่านได้เข้าสู่ระบบอยู่แล้ว กรุณาออกจากระบบก่อนหากท่านต้องการเปลี่ยน user

ตั้งแต่ 6 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป กรมสรรพากรจะเปิดให้บริการใหม่ สำหรับการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต โดยมีการปรับปรุงหลักๆ 3 ด้านคือ 1. ระบบการลงทะเบียนและช่องทางการยื่นแบบ 2. การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการยื่นแบบแสดงรายการ และ 3. ระบบการชำระเงิน 

ตั้งแต่ 6 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป กรมสรรพากรจะเปิดให้บริการใหม่ สำหรับการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต หลายคนได้ยินประโยคนี้แล้วอาจจะรู้สึกตกใจ ว่าจะมีเรื่องใหม่มาให้ปรับตัวกันอีกแล้วใช่ไหมครับ 

 

แต่อย่าเพิ่งตกใจไปครับ จากที่ผมทราบมา การเปลี่ยนแปลงระบบครั้งนี้น่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีประโยชน์มากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเจ้าของธุรกิจและนักบัญชี เพราะมีหลากเรื่องที่ช่วยให้ทำงานได้ง่ายและสะดวกมากขึ้นครับ โดยมีการปรับปรุงสำคัญทั้งหมด 3 ด้านหลักๆ ดังนี้

 

เลือกอ่านได้เลย!

  • เรื่องแรก: การลงทะเบียนและการเข้าสู่ระบบยื่นแบบแสดงรายการภาษี
  • เรื่องที่สอง: การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการยื่นแบบแสดงรายการ
  • เรื่องที่สาม: การชำระเงิน

เรื่องแรก: การลงทะเบียนและการเข้าสู่ระบบยื่นแบบแสดงรายการภาษี

 

  • ผู้ประกอบการสามารถยื่นแบบแยกสาขา หรือรวมสาขาได้ สำหรับกรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มและธุรกิจเฉพาะ (จากเดิมที่ต้องยื่นแยกเป็นรายสาขาเท่านั้น)
  • เพิ่มช่องทางหลากหลายให้สามารถช่วยยื่นแบบ หรือจัดเตรียมแบบแสดงรายการภาษีให้ได้ด้วย จากเดิมที่เข้าสู่ระบบด้วย Username / Password เพียงช่องทางเดียว แต่ระบบใหม่สามารถกำหนดอำนาจในการยื่นแบบให้กับผู้ที่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ให้บริการอย่าง Service Provider (อย่าง FlowAccount) ก็สามารถเชื่อมต่อระบบยื่นภาษีระบบใหม่ได้เช่นเดียวกัน (ซึ่งอยู่ระหว่างกำลังพัฒนาระบบ คาดว่าจะใช้ได้ในปี 2565)

 

เรื่องที่สอง: การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการยื่นแบบแสดงรายการ

 

  • ยื่นแบบแสดงรายการได้เกือบครบทุกแบบแสดงรายการ ยกตัวอย่างเช่น จากเดิมที่ไม่สามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด.2ก ได้ ก็จะสามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีต่างๆ เหล่านี้ได้แล้วละครับ 
  • กรณีของภาษีมูลค่าเพิ่ม มีระบบช่วยคำนวณค่าความคลาดเคลื่อน ±20 ภาษีที่ชำระ(ขอคืน) สำหรับแบบ ภ.พ.30 โดยหากค่าความคลาดเคลื่อนมากกว่า 20 บาท ระบบจะไม่ให้ยื่นแบบ เพื่อป้องกันการกรอกข้อมูลที่ผิดพลาด
  • สามารถยื่นแบบเกินกำหนดเวลาได้แล้ว โดยระบบจะช่วยคำนวณเบี้ยปรับเงินเพิ่ม ค่าปรับอาญาที่ประหยัดเงินผู้เสียภาษีมากที่สุดให้ได้ 
  • หากมีการยื่นภาษีผิดไป (ถึงแม้ว่าจะไม่มีภาษีที่ต้องชำระ) ผู้เสียภาษีก็สามารถยกเลิกแบบแสดงรายการเองได้
  • ยื่นได้ทุกแบบ ทุกเบราว์เซอร์ และสามารถบันทึกร่าง (Save) แบบแสดงรายการภาษีเก็บไว้ได้อีกด้วย

 

เรื่องที่สาม: การชำระเงิน

 

  • ระบบสามารถออกใบเสร็จรับเงินได้ทันทีที่ชำระภาษี ไม่ต้องรอ 3 วันทำการอีกต่อไป
  • หากต้องการชำระภาษีแบบไม่ปัดเศษ เพื่อให้ง่ายต่อการบันทึกบัญชีก็สามารถทำได้แล้ว  

 

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม ลองดูได้ที่คลิปด้านล่างนี้ครับ ผมสรุปรายละเอียดทั้งหมดไว้ในรูปแบบวิดีโอให้รับชมกันครับ

 

อัพเดต! ระบบยื่นภาษี e-Filing แบบใหม่ของกรมสรรพากร เริ่มใช้ปี 2564 มีอะไรที่เราต้องรู้บ้าง

 

ทีนี้ 3 ประเด็นสำคัญที่ต้องรู้นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงในเรื่องเหล่านี้มีอะไรบ้าง ผมคิดว่าผู้เสียภาษีอย่างเราทุกคนควรทำความเข้าใจเรื่องสำคัญดังต่อไปนี้ครับ 

 

1. การเปลี่ยนแปลงระบบใหม่ เริ่มใช้งานในวันที่ 6 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป โดยในระหว่างช่วงเวลาก่อนปรับปรุงสู่ระบบใหม่ ทางกรมสรรพากรมีการปิดระบบการใช้งานตามช่วงเวลาต่อไปนี้ครับ

  • ปิดระบบบริการสมัครสมาชิกเพื่อยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน –  5 ตุลาคม 2564
  • ปิดระบบยื่นและชำระภาษีผ่านเน็ตตั้งแต่วันที่ 1 –  5 ตุลาคม 2564 

และสำหรับผู้เสียภาษีที่มีความจำเป็นในการยื่นแบบแสดงรายการช่วงนี้ สามารถยื่นแบบได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาครับ 

 

2. ในอนาคตต้องมีการยืนยันเพื่อเข้าสู่ระบบใหม่ เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มรูปแบบ โดยการยืนยันบัญชีเพื่อเข้าสู่ระบบใหม่ จะเริ่มให้ยืนยันได้ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป เพื่อเปลี่ยนเลขประจำตัวผู้ใช้งานระบบ (Username) เป็นเลขนิติบุคคล 13 หลัก แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังสามารถยื่นด้วยเลขผู้ใช้งานเก่าได้อยู่ (คาดว่าจะใช้ได้ถึงสิ้นปี 2564) ซึ่งผมแนะนำว่าถ้ามีเวลาก็ทยอยเปลี่ยนข้อมูลตรงส่วนนี้ไปได้เลยครับ 

 

3. สิ่งที่ผู้เสียภาษีอย่างเราต้องเตรียมตัวเพิ่มเติมคือ การเรียนรู้ระบบใหม่ เพราะแน่นอนว่าย่อมมีการเปลี่ยนแปลงระบบต่างๆ ดังนั้นเราทุกคนควรเตรียมตัวเตรียมพร้อมสำหรับความเข้าใจระบบเหล่านี้ไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ครับ เพื่อความสะดวกในอนาคตครับ เพราะนี่น่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สำหรับระบบการยื่นภาษีของกรมสรรพากรในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาครับ 

 

ท้ายที่สุดแล้ว การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของหลายอย่างที่ตามมาในอนาคตของระบบการรับชำระภาษีของประเทศไทย ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ใช่หน้าที่ของใครโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นนักบัญชี เจ้าของธุรกิจ หรือ Service Provider เจ้าไหน 

 

เพราะมันเป็นภารกิจที่ทุกคนจะต้องทำความเข้าใจไปด้วยกันครับ 

 

ผู้ที่มีหน้าที่ยื่นแบบภาษี หัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด. 3 และ 53 ให้กับบริษัท สามารถใช้โปรแกรม FlowAccount ในการออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย และดาวน์โหลดไฟล์ .txt สำหรับอัพโหลดในโปรแกรมโอนย้ายข้อมูลของกรมสรรพากรได้ เรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่บทความ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita