ยกเลิกประกัน ของ สยาม ส ไมล์

ปัจจุบันคนไทยรู้จักผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตกันเป็นอย่างดี แต่มีประเด็นหนึ่งที่ยังมีข้อสงสัยกันอยู่ คือ การเวนคืนกรมธรรม์ โดยคำถามหลักที่หลายคนสงสัยคงหนีไม่พ้น “การเวนคืนกรมธรรม์มีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไร”

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า คำว่า “เวนคืนกรมธรรม์” คืออะไร

การเวนคืนกรมธรรม์ คือ การขอยกเลิกกรมธรรม์เดิม เพื่อรับเงินสดจากบริษัทประกัน ซึ่งจะขอเวนคืนได้เมื่อกรมธรรม์มีมูลค่าเงินสดเกิดขึ้นแล้ว โดยทั่วไปมูลค่าเงินสดจะเกิดขึ้นในปีที่ 2 หรือมีการจ่ายชำระเบี้ยประกันไปแล้ว 2 ปี หลายคนเลือกที่จะเวนคืนเมื่อประสบกับปัญหาการเงินและต้องการเงินสดมาหมุนเวียนใช้จ่าย หรือบางครั้งก็เกิดจากการที่ซื้อกรมธรรม์ผิดประเภทแล้วต้องการเปลี่ยนเป็นกรมธรรม์ฉบับใหม่ที่มีสัญญาการคุ้มครองตามที่ต้องการ

ข้อดีของการเวนคืนกรมธรรม์

  1. กรณีซื้อประกันชีวิตผิดแบบตั้งแต่ต้นเพราะส่วนใหญ่คนไทยจะซื้อประกันชีวิตเนื่องจากถูกขายมากกว่าอยากซื้อ หลายคนจึงซื้อประกันชีวิตด้วยความเกรงใจ ไม่มีความรู้ความเข้าใจในกรมธรรม์ที่ซื้อ การเวนคืนกรมธรรม์เดิม เพื่อซื้อกรมธรรม์ที่เหมาะสมก็เหมือนการเริ่มต้นใหม่ ทำให้เลือกประกันที่มีความคุ้มครองตามที่ตัวเองต้องการได้
  1. กรณีที่กรมธรรม์เดิมไม่ได้ตอบโจทย์ความต้องการเช่น เดิมซื้อกรมธรรม์ที่ทุนประกันสูงๆ เนื่องจากมีภาระความรับผิดชอบมาก เช่น มีภาระหนี้สินสูง แต่ปัจจุบันภาระความรับผิดชอบลดลงหรือหนี้สินไม่มีแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องแบกภาระการจ่ายเบี้ยประกันสูงๆ เพื่อทุนประกันสูงอีกต่อไป การเวนคืนกรมธรรม์ เพื่อลดภาระหรือมองหาช่องทางการออมเงินใหม่ที่ดีกว่า ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี
  1. กรณีที่กรมธรรม์ใหม่ให้ประโยชน์มากกว่ากรมธรรม์เดิมการเลือกซื้อกรมธรรม์ก็เหมือนการตัดเสื้อผ้าที่ขนาด รูปแบบ สไตล์ เนื้อผ้า ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามยุค การเลือกเปลี่ยนกรมธรรม์แบบใหม่ที่เหมาะกับตัวเองน่าจะดีกว่า เช่น อยากซื้อประกันชีวิตที่คุ้มครองการศึกษาของลูก แต่เมื่อลูกเรียนหนังสือจบพ่อแม่ก็เข้าสู่วัยกลางคนหรือใกล้เกษียณ ควรเลือกซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญ เพื่อสร้างกระแสเงินที่มั่นคงในยามเกษียณแทน
  1. เป็นการบริหารรายจ่ายเพราะภาระการจ่ายเบี้ยประกันชีวิตไม่ควรเกิน 10% ของเงินได้สุทธิหลังหักภาษี เนื่องจากประกันชีวิตเป็นสัญญาการออมเงินระยะยาวที่ต้องปฏิบัติตามสัญญา คือ ชำระเบี้ยในจำนวนและภายในเวลาที่กำหนด ดังนั้น หากรายได้ในอนาคตไม่แน่นอน แต่มีค่าใช้จ่ายสูง หากมีภาระต้องจ่ายเบี้ยประกันชีวิตเยอะเกินไป อาจทำให้ไม่สามารถชำระเบี้ยได้ จะเป็นผลเสียต่อแผนการบริหารความเสี่ยงหรือบริหารเงินออม ดังนั้น ควรเลือกจ่ายเบี้ยประกันในแบบประกันที่เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด และเวนคืนแบบประกันที่ไม่เหมาะสม

ข้อเสียของการเวนคืนกรมธรรม์

  1. ถ้าจะเวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิต ควรเวนคืนหรือยกเลิกภายใน 15 วันหลังจากเซ็นรับเอกสารกรมธรรม์ประกันชีวิตซึ่งกฎหมายให้สิทธิขอยกเลิกสัญญาและเวนคืนเงินประกัน โดยได้รับเงินที่ชำระไปคืน (มีค่าธรรมเนียมเล็กน้อย) แต่หากเลย 15 วันไปแล้ว ก็จะได้มูลค่าเงินสด หรือเรียกว่า มูลค่าเงินเวนคืน โดยทั่วไปจะน้อยกว่าเบี้ยที่จ่ายไป ดังนั้น ถ้าอยากรู้ว่ากรมธรรม์ที่ซื้อแต่ละปีมีมูลค่าเงินสดอยู่เท่าไหร่ สามารถดูได้จากตารางมูลค่ากรมธรรม์ประกันภัยในกรมธรรม์ประกันชีวิต
  1. เมื่ออายุมากขึ้น การซื้อประกันชีวิตใหม่ในแบบเดียวกัน จะต้องจ่ายเบี้ยประกันแพงขึ้นและเนื่องจากเบี้ยประกันชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นอัตราคงที่ คือ ปีแรกจ่ายเบี้ยเท่าไหร่ก็จ่ายเท่ากันตลอดอายุกรมธรรม์ ดังนั้น หากเลือกเวนคืนแล้วทำประกันแบบเดิมก็ต้องยอมจ่ายเบี้ยที่แพงกว่าเดิมไปเรื่อยๆ ไม่ใช่จ่ายเบี้ยแพงกว่าเดิมแค่ปีเดียว แต่หากซื้อประกันคนละแบบกับของเดิมที่เวนคืน ก็ต้องดูรายละเอียดเบี้ยประกันที่ต้องชำระอีกที จึงไม่แน่เสมอไปว่าเบี้ยจะแพงขึ้น
  1. เวลาทำประกันชีวิตใหม่ ถ้ามีปัญหาสุขภาพ บริษัทประกันชีวิตก็อาจไม่รับหรือถ้ารับก็ต้องจ่ายเบี้ยประกันเพิ่มหรือยกเว้นไม่คุ้มครองความเสียหายจากโรคที่เป็นอยู่ ขณะที่ประกันชีวิตตัวเดิมอาจจะให้ความคุ้มครองทุกอย่างเหมือนเดิม ไม่มีข้อยกเว้น

ดังนั้น ก่อนจะเวนคืนกรมธรรม์ต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียดว่าคุ้มค่าหรือไม่? ประกันใหม่ที่จะซื้อมีความเหมาะสมกว่าประกันเดิมหรือไม่? ทุนประกันเพียงพอกับความต้องการหรือไม่? จ่ายเบี้ยประกันได้หรือไม่? ระยะเวลาความคุ้มครองเหมาะสมแค่ไหน? และควรตรวจสุขภาพตามที่บริษัทประกันแนะนำ เพื่อจะได้รู้ว่าได้รับความคุ้มครองเต็ม 100% หรือมีข้อยกเว้นอะไรบ้าง และหากพิจารณาแล้วการเวนคืนไม่คุ้มค่าก็ควรอยู่กับกรมธรรม์เดิม

สำหรับใครที่สนใจอยากเรียนรู้เทคนิคและวิธีการวางแผนจัดการเงินอย่างเป็นระบบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ และสามารถต่อยอดความมั่งคั่งไปสู่การมีอิสรภาพทางการเงินได้ สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมผ่าน e-Learning หลักสูตร “เงินทองต้องวางแผน” ฟรี!!! >> คลิกที่นี่

คือประกันสุขภาพอันดับต้นๆ ของประเทศไทย เพราะแข็งแรงและผู้ใช้แน่น เพราะมีรูปแบบประกันสุขภาพให้เลือกเยอะแยะมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ซื้อประกันสุขภาพ ประกันสยามสไมล์เดือนละ 390 ประกันสยามสไมล์เดือนละ 490 และราคาที่มากกว่านี้ก็ได้ถ้าท่านต้องการ การเบิกจ่าย พร้อมกับ การจ่ายเบี้ยที่สูงสุด โดยหลายๆ คนสงสัยกันว่าควรเลือกใช้บริการ เช็คประกันสยามสไมล์ดีไหม? เพราะรูปแบบริษัทอื่นก็ดีเหมือนกัน แต่วันนี้เราขอแนะนำ สยามสไมล์ประกันสุขภาพ สิทธิประโยชน์ คือ สามารถทำการเคลมประกันสยามสไมล์ pantip พร้อมกับ การเช็คกรมธรรม์สยามสไมล์ และ สามารถทำการยกเลิกประกันสยามสไมล์ ได้ทันทีผ่านช่องทางออนไลน์ รวมถึงการใช้บริการ สยามสไมล์ประกันสุขภาพ ในรูปแบบอื่นๆ เช่น

เจ้าของกระทู้ได้เล่าเรื่องว่าเมื่อปีที่ผ่านมาได้หลวมตัวไปทำประกันชีวิตกับรุ่นพี่ที่รู้จักกัน คงจะติดที่เกรงใจ โดยประกันชีวิตที่ซื้อเป็นแบบออมทรัพย์ 29/99 จริง ๆ แล้วไม่ได้อยากซื้อ แต่รุ่นพี่คะยั้นคะยอก็เลยซื้อจ่ายค่าเบี้ยประกันงวดแรกไป นี่ครบกำหนด 1 ปีแล้ว ถึงเวลาที่จะต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันปีที่ 2 ไม่อยากจ่ายเลย ตั้งใจว่าจะยกเลิกกรมธรรม์ แต่พอไปคุยกับรุ่นพี่ที่เป็นตัวแทน รุ่นพี่ก็ไม่ยอมให้ยกเลิก ชักแม่น้ำทั้งห้ามาพูดหว่านล้อม ให้จ่ายต่อเถอะนะ จ่ายก่อนอีกปี ถ้ายกเลิกจะถือว่าผิดจรรยาบรรณ ตอนนี้มาคิดว่าถ้าไม่ให้รุ่นพี่เค้ายกเลิกให้ เราสามารถติดต่อบริษัทเพื่อยกเลิกประกันชีวิตเองได้หรือไม่ หรือมีทางใดที่จะทำได้บ้างหรือเปล่า

ยกเลิกประกัน ของ สยาม ส ไมล์

เป็นปัญหาที่คนส่วนใหญ่มักจะเจอ เมื่อต้องการยกเลิกประกันโดยแจ้งตัวแทน ตัวแทนส่วนใหญ่ก็มักจะไม่ค่อยยอมให้เลิก ด้วยหลายเหตุผล เหตุผลหนึ่งก็คือตัวแทนเขาก็ต้องการรักษาผลประโยชน์ให้เราเหมือนกัน เพราะประกันชีวิตส่วนใหญ่เป็นระยะยาว การยกเลิกประกันก่อนถึงกำหนดโดยมากแล้วผู้เอาประกันจะเสียเปรียบ เพราะเงินที่ได้คืนจะเหลือน้อยมาก ไม่คุ้มกับค่าเบี้ยประกันที่จ่ายไป ก็เลยอยากให้เราคิดให้ดีก่อน ส่วนอีกเหตุผลก็อาจเป็นเรื่องผลประโยชน์ของตัวแทนเอง ที่จะได้ค่าคอมมิชชั่นจากการขายประกันชีวิตให้กับเรา โดยมีรายละเอียดกำหนดไว้ ปีแรก ๆ อย่างปีที่ 1 กับ ปีที่ 2 ตัวแทนมักจะได้ค่าคอมมิชชั่นสูงมาก พอผ่านไปนาน ๆ ค่าคอมมิชชั่นก็จะลดลงไป ดังนั้นตัวแทนส่วนใหญ่จึงมักแนะนำให้ลูกค้าเลือกส่งค่าเบี้ยประกันต่อ เพื่อผลประโยชน์ของทั้งผู้เอาประกันเองและผลประโยชน์ของตัวแทนด้วยนั่นเอง

ส่วนเรื่องของการยกเลิกประกันนั้น ที่จริงแล้วเป็นสิทธิ์โดยชอบธรรมของตัวผู้เอาประกันเอง ตัวแทนมีหน้าที่เพียงประสานงานและคอยอำนวยความสะดวกในเรื่องเอกสารและการติดต่อกับบริษัทประกันให้เท่านั้น ดังนั้นถ้าตัวแทนไม่ยกเลิกให้ ผู้เอาประกันก็สามารถแจ้งยกเลิกโดยตรงที่บริษัทประกันได้ โดยให้โทรไปสอบถามรายละเอียดกับทาง Call Center ของบริษัทประกันที่เราทำอยู่ว่าถ้าต้องการยกเลิกกรมธรรม์มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง และต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง ก็ทำไปตามนั้น เมื่อยกเลิกเรียบร้อยจะได้รับเอกสารให้เก็บหลักฐานการยกเลิกนั้นไว้ด้วย

มีบางความเห็นบอกว่าถ้าอยากยกเลิกประกันก็แค่ไม่ต้องจ่ายค่าเบี้ยประกัน เดี๋ยวบริษัทประกันก็จะยกเลิกประกันไปเอง ข้อนี้อาจไม่จริงเสมอไป เพราะถ้ารายละเอียดในกรมธรรม์มีการเลือกว่าในกรณีที่ขาดส่งเบี้ยประกัน ให้บริษัททำการกู้เงินจากมูลค่าเงินสดในกรมธรรม์มาจ่ายเบี้ยประกันให้อัตโนมัติ เพื่อไม่ให้กรมธรรม์หมดอายุ ถึงหยุดส่งค่าเบี้ยประกันไป ประกันก็จะไม่ถูกยกเลิก แต่บริษัทจะทำการกู้จากมูลค่าเงินสดและจะส่งใบแจ้งหนี้มาคิดกับเรา โดยมาทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ดังนั้นถ้าต้องการยกเลิกประกันชีวิตจริง ๆ ก็ควรติดต่อโดยตรงที่บริษัทประกัน ต้องทำตามขั้นตอน ไม่ควรแค่หยุดส่งค่าเบี้ยประกันไปเฉย ๆ


ปกติการจ่ายค่าเบี้ยประกันไปแค่งวดเดียวแล้วต้องการยกเลิก มักจะไม่ได้เงินคืนเลย เพราะมูลค่าเวนคืนจะเกิดขึ้นเมื่อส่งค่าเบี้ยประกันไปแล้วอย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป ถ้าส่งเบี้ยประกัน 2 งวดขึ้นไปแล้วต้องการยกเลิก ทำได้ 3 วิธี คือ เวนคืนเงินสดตามมูลค่าในตาราง การใช้เงินสำเร็จคือไม่ต้องชำระค่าเบี้ยต่อ แต่จำนวนเงินเอาประกันลดลงโดยระยะเวลาคุ้มครองยังเท่าเดิมจนครบกำหนดตามสัญญา วิธีสุดท้ายคือการขยายเวลา ไม่ต้องชำระค่าเบี้ยต่อเหมือนกัน แต่ระยะเวลาเอาประกันลดลงตามที่กำหนดในกรมธรรม์ โดยจำนวนทุนเอาประกันคงเดิม


อย่างกรณีเจ้าของกระทู้ที่ส่งค่าเบี้ยประกันไปแค่งวดเดียว ถ้าต้องการยกเลิก คงไม่น่าจะได้เงินคืน นั่นก็เป็นเพราะประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์นั้นไม่เหมือนกับบัญชีออมทรัพย์ที่จะได้แต่ผลตอบแทนในเรื่องดอกเบี้ยเท่านั้น แต่ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์จะได้ทั้งผลตอบแทนจากการออมเงินควบคู่ไปกับความคุ้มครองชีวิตด้วย ค่าเบี้ยประกันที่จ่ายไปก็ต้องถือว่าเป็นค่าความคุ้มครองชีวิตในปีที่ผ่านมาด้วย เพราะหากเราเป็นอะไรขึ้นมา บริษัทประกันชีวิตก็ต้องรับผิดชอบจ่ายเงินชดเชยให้เราตามวงเงินที่เอาประกัน