แรม 4 ชิป กับ 8 ชิป ใส่ด้วยกันได้ไหม

การเลือกซื้อสมาร์ทโฟนในทุกวันนี้หากจะบอกว่าเป็นเรื่องง่ายก็คงไม่ใช่ หรือจะบอกว่าเป็นเรื่องยากก็ไม่เชิงนัก เพราะรายละเอียดของสมาร์ทโฟนแต่ละเครื่อง หรือที่เรียกง่ายๆ ว่า สเปก นั้น มีรายละเอียดรวมค่อนข้างมาก และส่วนใหญ่เป็นตัวเลขชนิดที่ว่าเต็มหน้ากระดาษกันเลยทีเดียว ซึ่งคุณสมบัติตัวเครื่องประการหนึ่งที่ผู้ใช้ยังคงมีความสับสนกันอยู่มาก นั่นก็คือ หน่วยความจำแรม (RAM) ว่าจริงๆ แล้วหน่วยความจำชนิดนี้มีไว้ทำอะไร และความจุขนาดไหนถึงจะพอดีสำหรับการใช้งานในปัจจุบัน ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ หน่วยความจำแรม (RAM) ว่าหน้าที่ของฮาร์ดแวร์ชนิดนี้ทำงานในรูปแบบใด และส่งผลกับการใช้งานอย่างไรบ้าง

หน่วยความจำแรม (RAM) ทำงานอย่างไร?

แรม 4 ชิป กับ 8 ชิป ใส่ด้วยกันได้ไหม


ส่วนประกอบหลักๆ สำหรับการใช้งานของสมาร์ทโฟนนั้นจริงๆ แล้วมีเพียงไม่กี่ส่วน เช่น เราติดตั้งแอปพลิเคชันลงในหน่วยความจำภายใน (Internal Storage), ชิปเซ็ตประมวลผลการทำงาน (CPU) และชิปเซ็ตประมวลผลกราฟิก (GPU) เป็นตัวประมวลผล หรือเปรียบเป็นมันสมองของโทรศัพท์ ส่วนหน่วยความจำแรม (RAM หรือ Random Access Memory) หน้าที่ของอุปกรณ์ส่วนนี้ก็คือ การประมวลผลแอปพลิเคชันแบบ Multitasking สำหรับการเปิดใช้งานแอปพลิเคชันหลายๆ โปรแกรมพร้อมกัน

เมื่อผู้ใช้เปิดแอปพลิเคชันใดๆ ก็ตามขึ้นมาหนึ่งโปรแกรม ตัวโปรแกรมนั้นจะถูกโหลดเข้าไปสู่หน่วยความจำแรม จากนั้นเมื่อผู้ใช้ปิดแอปพลิเคชัน ตัว RAM ก็จะเก็บ และพักข้อมูล ณ จุดที่ผู้ใช้กดออกเอาไว้ เมื่อผู้ใช้กลับเข้ามาใช้งานแอปพลิเคชันเดิมอีกครั้งก็จะสามารถใช้งานต่อได้ทันทีโดยไม่ต้องโหลดโปรแกรมใหม่ตั้งแต่ต้น ซึ่งจำนวนแอปพลิเคชันที่สามารถพักไว้ใน RAM ได้ก็ขึ้นอยู่ความจุของ RAM และตัวแอปพลิเคชันเองว่าต้องการใช้งานหน่วยความจำแรมสำหรับพักข้อมูลเป็นขนาดเท่าใด

นอกจากนี้ หน่วยความจำแรมยังใช้งานร่วมกับการประมวลผลแบบ Background App Refresh ได้ด้วย เช่น แอปพลิเคชัน Mail ที่มีการรีเฟรชโปรแกรมตลอดเวลาเพื่อตรวจสอบอีเมลที่เข้ามาใหม่ และทำการแจ้งเตือน เป็นต้น

ความเป็นมาของหน่วยความจำแรม (RAM) บนสมาร์ทโฟน

แรม 4 ชิป กับ 8 ชิป ใส่ด้วยกันได้ไหม


สมาร์ทโฟน Android รุ่นแรกอย่าง HTC Dream ที่วางจำหน่ายเมื่อปี 2008 นั้น มาพร้อมกับหน่วยความจำแรมขนาด 192MB ขณะที่ iPhone รุ่นแรกที่เปิดตัวในปี 2007 มาพร้อมกับหน่วยความจำแรมขนาด 128MB เท่านั้น ซึ่งตัวเลขของหน่วยความจำแรมบนสมาร์ทโฟนนี้เพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี จนกระทั่งในปัจจุบัน สมาร์ทโฟนสามารถใช้งานหน่วยความจำแรมขนาด 8GB ได้แล้ว และสมาร์ทโฟนรุ่นนั้นก็คือ OnePlus 5

แม้ว่าการมีหน่วยความจำแรมความจุสูงๆ จะเป็นเรื่องที่ดี แต่แท้จริงแล้ว หน่วยความจำแรม (RAM) ขนาด 8GB นี้เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อผู้ใช้หรือไม่ เพราะแม้หน่วยความจำแรมจะเพิ่มขนาด แต่ประสิทธิภาพตัวเครื่องก็ไม่ได้เพิ่มตามขนาดแรมเสียทีเดียว

ผลการสำรวจการใช้งานสมาร์ทโฟนของผู้ใช้ทั่วไปจาก App Annie ระบุว่า ผู้ใช้ส่วนใหญ่มีการใช้งานแอปพลิเคชันโดยเฉลี่ยประมาณ 9 โปรแกรมต่อวัน และใช้งานแอปพลิเคชันแตกต่างกันประมาณ 30 โปรแกรมต่อเดือน ซึ่งจำนวนแอปพลิเคชันประมาณนี้ยังใช้งานหน่วยความจำแรมประมาณ 2-3GB เท่านั้น ซึ่งสมาร์ทโฟนรุ่นอื่นๆ ที่มีแรมขนาด 4GB ก็ถือว่าสามารถใช้งานได้อย่างสบายๆ แล้ว ถึงแม้ว่าซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือฟังก์ชันบางอย่างที่ใช้งานหน่วยความจำมากขึ้นก็ตาม ซึ่งนาย John Poole แห่ง Primate Labs ผู้ก่อตั้งแอปพลิเคชัน GeekBench ก็ได้แสดงความเห็นส่วนตัวไว้ว่า "ผมเห็นว่าแรมขนาด 4GB ก็เพียงพอแล้วสำหรับสมาร์ทโฟนในปัจจุบัน แต่ที่แบรนด์ผู้ผลิตต้องพัฒนาแรมให้มีความจุเพิ่มมากขึ้นเพราะมันคือ "จุดขาย" ที่สามารถเปรียบเทียบให้ลูกค้าเห็นได้อย่างชัดเจนว่า สมาร์ทโฟนของเขามีแรมเยอะกว่ารุ่นอื่น จึงทำให้สมาร์ทโฟนรุ่นนี้ดีกว่ารุ่นอื่นอย่างแน่นอน"

การเพิ่มความจุของแรม (RAM) เป็นผลดีจริงหรือ?

ถ้าหากว่าหน่วยความจำแรมเป็นส่วนประกอบสำคัญจริงๆ สำหรับการใช้งานสมาร์ทโฟน แล้วทำไมแบรนด์ผู้ผลิตหลายๆ รายถึงไม่เพิ่มความจุของแรมให้มากขึ้น จะได้มียอดขายที่ดีขึ้น? คำตอบก็คือ การเพิ่มความจุของแรมให้มากขึ้นเท่ากับการเพิ่มความต้องการพลังงานให้มากขึ้นตามไปด้วยแม้ว่าคุณจะได้ใช้งาน หรือไม่ได้ใช้งานแรมก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น การมีหน่วยความจำแรมขนาด 8GB แต่ใช้งานจริงเพียงแค่ 3GB แม้ว่าจะเหลือพื้นที่อีก 5GB แต่การใช้พลังงานของตัวฮาร์ดแวร์ก็ยังคงเท่าเดิม อีกทั้งถ้าเกิดผู้ใช้มีการเปิดใช้งาน Backgroud App Refresh ทุกโปรแกรม ก็แน่นอนว่าแรมจะยิ่งสูบพลังงานเพิ่มมากขึ้น เพราะฮาร์ดแวร์มีการประมวลผลตลอด แม้ความจุจะยังไม่เต็มก็ตาม

ถ้าหากแรม (RAM) สำคัญจริง ทำไม iPhone ถึงมีแรม (RAM) น้อย?

แรม 4 ชิป กับ 8 ชิป ใส่ด้วยกันได้ไหม


แม้ว่าในปัจจุบันนี้ สมาร์ทโฟน Android ส่วนใหญ่จะมีมาตรฐานหน่วยความจำแรมอยู่ที่ขนาด 2GB-4GB เป็นหลัก ส่วนสมาร์ทโฟนเรือธงบางรุ่นอาจมีแรมขนาดใหญ่ถึง 6GB หรือ 8GB อีกด้วย แต่สำหรับมือถือคู่แข่ง Android อย่าง iPhone นั้นมาพร้อมกับแรมที่มีขนาดเล็กกว่ามากทีเดียว โดย iPhone 7 มีแรมเพียง 2GB ขณะที่ iPhone 7 Plus รุ่นท็อปก็ยังมีแรมเพียง 3GB ซึ่งการใช้งานแรมที่มีขนาดเล็กของ Apple นี้ชี้ให้เห็นว่าความจุของหน่วยความจำแรมไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด แต่การจัดการระบบหน่วยความจำ (Memory Management) เป็นเรื่องที่สำคัญกว่า

สิ่งที่แตกต่างกันระหว่าง Android กับ iOS ก็คือ การจัดการหน่วยความจำ ที่ทั้งสองแพล็ตฟอร์มนั้นมีระบบที่ถูกเขียนขึ้นมาคนละแบบ ทำให้ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ตรงๆ แต่ก็สามารถชี้ให้เห็นได้ว่า การเพิ่มความจุของแรมนั้น ไม่ได้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพตัวเครื่องให้มากขึ้นตามไปด้วย แต่การจัดการระบบหน่วยความจำให้ใช้งานได้อย่างราบรื่น โดยไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพตัวเครื่อง เป็นเรื่องที่แบรนด์ผู้ผลิตทั้งหลายควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก

แรม (RAM) ใช้งานเยอะแล้ว เคลียร์แรม (RAM) สักครั้งจะดีหรือไม่?

แรม 4 ชิป กับ 8 ชิป ใส่ด้วยกันได้ไหม


ผู้คนส่วนใหญ่มีความเชื่อฝังใจว่า ถ้าหากแรมยิ่งมีพื้นที่เหลือมากเท่าไหร่ จะยิ่งช่วยให้ตัวเครื่องใช้งานได้ลื่นไหลมากขึ้นเท่านั้น บางคนถึงขั้นปิดแอปพลิเคชันแบบ Force Close ทุกครั้งที่เลิกใช้งานเลยทีเดียว หรือบางคนลงทุนดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Clean App มาใช้เพื่อเคลียร์แรมตลอดเวลา ซึ่งเป็นความเชื่อที่ "ผิด"

ความเข้าใจผิดของผู้ใช้ส่วนใหญ่ส่งผลให้เกิดการใช้งานแบบผิดๆ อย่างต่อเนื่อง เพราะการเคลียร์แรม หรือการปิดแอปพลิเคชันทุกครั้งที่เลิกใช้งาน เมื่อผู้ใช้ต้องการเข้าใช้งานอีกครั้ง ระบบจะต้องเรียกประมวลผลแอปพลิเคชันใหม่ตั้งแต่ต้น ซึ่งทำให้สูญเสียพลังงานเพิ่มมากขึ้นด้วย ดังนั้น การใข้งานแรมที่ดีที่สุดก็คือ ปล่อยให้แรมถูกใช้งานไปเรื่อยๆ แต่ถ้าหากเกือบจะเต็มความจุแล้วก็ให้เลือกลบเฉพาะโปรแกรมที่คิดว่าจะไม่ใช้งานแล้วเท่านั้น รวมไปถึงการปิด Background App Refresh ด้วย

หากจะสรุปเรื่องราวเกี่ยวกับหน่วยความจำแรม (RAM) ให้เข้าใจกันแบบง่ายๆ ก็คือ หน่วยความจำแรมบนสมาร์ทโฟนจะต้องมีขนาดเท่าไหร่นั้นก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของตัวผู้ใช้เอง ถ้าหากใครที่ต้องการใช้งานเพียงแค่การเล่น LINE, Facebook หรือดู Youtube หน่วยความจำแรมประมาณ 2GB-3GB ก็เพียงพอแล้วแต่ถ้าหากใครที่ต้องการใช้งานแบบสบายๆ ไม่ต้องเป็นกังวลมากนักก็เลือกรุ่นที่ใช้งานแรมขนาด 4GB ก็ถือว่าเพียงพอต่อการใช้งานในทุกๆ ด้านแล้วเช่นกัน แต่สำหรับใครที่อยากสัมผัสประสบการณ์แบบเปิดโปรแกรมมากขนาดไหนก็ยังสลับกันใช้งานได้อย่างลื่นไหล ก็คงต้องมองสมาร์ทโฟนที่มีแรมขนาด 6GB-8GB เป็นรุ่นหลักแล้วล่ะครับ และทางทีมงานก็หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ท่านผู้อ่านหลายๆ ท่านได้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหน่วยความจำแรม (RAM) เพิ่มมากขึ้นนะครับ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้า สวัสดีครับ

แรม ใช้ร่วมกันได้ไหม

1. "สามารถผสมขนาด RAM ได้" หรือ "สามารถผสมแบรนด์ RAM ได้" ส่วนใหญ่แล้วในคอมพิวเตอร์ มักจะมีช่องใส่ RAM มาให้อย่างน้อย 2 ช่อง เมนบอร์ดในปัจจุบันนิยมให้มาถึง 4 ช่อง เรื่องที่หลายคนมักเข้าใจผิด คือ คุณไม่สามารถใส่ RAM คนละขนาดคู่กัน หรือไม่ก็ห้ามใส่ RAM คนละยี่ห้อพร้อมกัน

ใส่ แรม 8 GB กับ 16 GB ใส่ด้วยกันได้ไหม

สรุปส่งท้ายจากการทดสอบ แม้แรมจะต่างความจุกัน ก็สามารถทำงานร่วมกันได้ 100% ไม่มีปัญหาใดๆในการใช้งาน ถ้างบไม่เยอะมาก อาจจะใส่แรม 8GB ไปก่อน แต่ถ้าอยากอัพเกรทครั้งเดียวแล้วจบเลย ตัดใจซื้อแรม 16GB ไปเลย เพิ่มอีกไม่กี่ร้อย แต่ให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่า และไม่จำเป็นต้องถอดแรมตัวเก่าออกด้วยครับ

ใส่แรมความจุไม่เท่ากัน ได้ไหม

ถ้าถามว่าแรมต่างความจุกันใช้ด้วยกันได้ไหม ตอบได้เลยว่าได้ไม่ต้องห่วง เพราะแรมออกแบบมาให้สามารถใช้งานต่างสเปคกันได้อยู่แล้ว แต่ถ้าความจุเหมือนกัน สเปคเหมือนกันอาจจะสามารถทำ Dual Channel ได้ก็เท่านั้นเอง แต่ถึงไม่ใช่ Dual Channel ก็ไม่ได้ให้ประสิทะิภาพที่ต่างกันมากนัก เอาตามความจุที่เราต้องการดีกว่า สมมุติว่าเดิมมีแรม ...

เพิ่มแรมแล้วดียังไง

คำตอบ การอัปเกรด Ram ช่วยให้คุณสามารถเปิดใช้งานโปรแกรมได้เยอะและเร็วขึ้น โดยเฉพาะสายเกมออนไลน์ที่ชื่นชอบเกมที่มีภาพกราฟิกสวย ๆ รับรองว่าหน่วยความจำที่สูงขึ้น ช่วยให้เล่นเกมได้ลื่นไหล ภาพไม่กระตุกแน่นอน สุดท้ายถ้าเพิ่ม Ram แล้วเกมกระตุกอาจต้องพิจารณาเพิ่ม CPU หรือการ์ดจอควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้การเพิ่มแรมมีประสิทธิภาพ ...