ขอคืนเงินประกันสังคมได้ไหม

สำนักงานประกันสังคม สำนักงานใหญ่

เลขที่ 88/28 หมู่ 4 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11000

จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ : 13420709 คน

ช่องทางการติดต่อ

ขอคืนเงินประกันสังคมได้ไหม

หากมีข้อสงสัยในการเข้าสู่ระบบ ติดต่อที่ E-mail:

สปส.เปิดทางออกผู้ใช้แรงงาน ม.33 หลังการปรับแก้ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับใหม่ เพิ่มสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน “3 ขอ” สามารถ “ขอเลือก-ขอกู้-ขอคืน” เพื่อเป็นทางเลือกสิทธิประโยชน์ได้เองตามความต้องการ มั่นใจสถานะภาพกองทุนเพียงพอในการรองรับ


น.ส.ลัดดา แซ่ลี้ โฆษกสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยผ่านรายการ “เคลียร์คัด ชัดเจน” ทางช่อง NBT 2HD เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2565 ให้ข้อมูลถึงความเป็นไปได้ตามแนวทาง “3 ขอ” ใน ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ฉบับใหม่ ที่อยู่ระหว่างการแก้ไข ตามที่ผู้ใช้แรงงานได้ออกมาเรียกร้องยัง สปส. เพื่อให้ผู้ประกันตนมีโอกาสได้รับทางเลือกและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาวิกฤตทางการเงินของตนเองได้

น.ส.ลัดดา กล่าวว่า เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 สามารถเข้าไปตรวจสอบเงินของประกันสังคมว่ามียอดเท่าไร และทำให้เกิดเสียงข้อเรียกร้องต่างๆ จนเกิดเป็นแนวทาง “3 ขอ” ขึ้นมา ซึ่งประกอบด้วย 1.ขอเลือก ตามกฎหมายประกันสังคมฉบับเดิม กำหนดว่าผู้ที่ส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน และเป็นผู้ที่ลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนในอายุ 55 ปี จะได้สิทธิรับเงินบำนาญชราภาพรายเดือนตลอดชีวิต ส่วนผู้ที่ลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนในอายุ 55 ปี แต่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน จะได้สิทธิชราภาพในการรับเงินบำเหน็จ

อย่างไรก็ตามในส่วนนี้ทำให้ผู้รับเงินบำนาญบางราย ซึ่งมีความต้องการที่จะรับเงินเป็นบำเหน็จตามเหตุผลส่วนตัวของแต่ละราย ทางกระทรวงแรงงานจึงได้ให้ สปส. หาทางออกให้ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน สามารถรับเป็นบำเหน็จได้ตามความต้องการ

“ตามเจตนารมณ์ของ สปส. คืออยากให้เป็นบำนาญมากกว่า เพราะจะได้มีเงินใช้ได้ตลอดทุกเดือนไม่เป็นภาระให้กับลูกหลาน แต่ด้วยความจำเป็นของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เราจึงจะออกกฎหมายฉบับนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนสามารถเลือกได้ตามเจตนารมณ์ของตนเอง” น.ส.ลัดดา กล่าว

ขอคืนเงินประกันสังคมได้ไหม

2. ขอกู้ มาจากการที่ผู้ประกันตนเกิดความเดือดร้อน และมีคำถามถึงความต้องการกู้เงินของตนเองที่อยู่ในระบบประกันสังคมจะสามารถทำได้หรือไม่ แต่เนื่องจากประกันสังคมไม่มีการปล่อยกู้ ฉะนั้นในส่วนนี้จึงจะต้องทำ MOU กับธนาคารทั้งหมด ซึ่งหากมีธนาคารใดตอบรับข้อเสนอและมีข้อตกลงร่วมกันได้ ก็สามารถทำได้เลย โดยที่ธนาคารก็ต้องไม่คิดดอกเบี้ยแพง เพราะผู้ประกันตนสามารถกู้ได้โดยที่ สปส. เข้าไปสนับสนุนในเรื่องของการค้ำเงินกู้

“ตามกฎหมายลูกที่กำลังอยู่ในช่วงระหว่างการดำเนินการนี้ คาดว่าจะสามารถกู้ได้ไม่เกิน 30% ของเงินสมทบของผู้ประกันตน หรือไม่เกิน 3 ล้านบาท ซึ่งหากเกิดการผิดนัดชำระ จนธนาคารยืนยันว่าผู้ประกันตนไม่ชำระแล้ว และลาออกจากงาน ทางประกันสังคมก็จะส่งเงินให้ธนาคารตามยอดที่เหลือ ซึ่งก็จะทำให้เงินชราภาพของเขาต้องถูกหักในส่วนนี้ไปด้วย” น.ส.ลัดดา กล่าว

3. ขอคืน (บางส่วน) เป็นการขอคืนเงินบางส่วนจากเงินสมทบที่ส่งมายังประกันสังคมทุกเดือน ซึ่งจะต้องเป็นผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 60 เดือน และมีเงื่อนไขว่าต้องเกิดเหตุการณ์วิกฤตในประเทศ หรือพื้นที่นั้นๆ ออกมาประกาศชัดเจน เช่น วิกฤตทางเศรษฐกิจ วิกฤตภัยพิบัติ หรือโรคระบาด ที่ทำให้ผู้ประกันตนไม่สามารถออกมาทำงานได้อย่างปกติ แต่หากเป็นวิกฤติเรื่องส่วนตัวจะไม่สามารถขอคืนได้

น.ส.ลัดดา กล่าวว่า ปัจจุบันมีแรงงานที่ใช้ ม.33 ประมาณ 11 ล้านคน ซึ่งประกันสังคมจะรวมเงินไว้อยู่ในถังเดียวกัน ดังนั้นการขอคืนไปบางส่วนจะทำให้ สปส. เสียโอกาสในการนำเงินไปลงทุน ฉะนั้นหากจะต้องคืนเงิน ก็ต้องคืนค่าเสียโอกาสนั้นให้ สปส. ด้วยเช่นกัน เพราะผู้ที่ไม่ได้กู้หรือขอคืนเงินจะได้รับเงินที่นำไปลงทุนกลับมา เพื่อเป็นสิทธิประโยชน์ของพวกเขาบวกจากในส่วนนี้ไปด้วย

“การแก้กฎหมายไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนเจตนารมณ์ พ.ร.บ.ประกันสังคม แต่อย่างใด แต่เป็นการเพิ่มช่องทางเลือกให้กับผู้ประกันตน เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความจำเป็นต่างๆ หรือมีความเดือดร้อน สามารถจัดการตัวเองได้” น.ส.ลัดดา กล่าว

น.ส.ลัดดา กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ทางกระทรวงการคลังได้ให้ สปส. เข้าไปชี้แจงถึงสถานภาพทางกองทุน ว่าการออกกฎหมาย “3 ขอ” นี้จะทำให้กองทุนมีปัญหาหรือไม่ ซึ่งทาง สปส. มีกฎหมายรองที่คอยดูแลอยู่แล้วว่าจะสนับสนุนตนเองอย่างไรไม่ให้เสียศูนย์ มีข้อระเบียบและข้อบังคับจากผู้ประกันตนที่ชัดเจน จึงมั่นใจได้ว่าจะไม่มีปัญหาเรื่องกองทุนอย่างแน่นอน

ประชาสัมพันธ์

07 มิ.ย. 2565 เวลา 16:04 น.11.5k

ใครจ่ายเต็ม จ่ายเกิน งวดเดือน ส.ค. 64-ม.ค. 65 และงวดเดือน ก.พ.-ก.ค.65 ไม่ต้องกังวล "ประกันสังคม" เปิดวิธีขอคืน "เงินสมทบ" สำหรับผู้ประกันตน ม.40 เช็กขั้นตอน และเอกสารได้ที่นี่

ผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่จ่ายเงินสมทบเต็มจำนวน งวดเดือน ส.ค. 64-ม.ค. 65 และงวดเดือน ก.พ.-ก.ค.65 สามารถขอรับเงินคืนได้ โดยยื่นคำขอรับเงินสมทบที่นำส่งไว้เกินจำนวนได้ที่ สำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานคร พื้นที่/จังหวัด/สาขา ทั่วประเทศ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่) หรือยื่นทางไปรษณีย์ ลงทะเบียนตอบรับภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ทราบว่ามีสิทธิรับเงิน หรือภายใน 10 ปี นับแต่วันที่นำส่งเงินสมทบเข้ากองทุน

เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นคำขอรับคืนเงินสมทบ มีดังนี้

  1. แบบคำขอรับเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่นำส่งไว้เกินจำนวนที่ต้องชำระคืนกรณีลดอัตราเงินสมทบ (สปส.1-40/7) โดยโหลดแบบฟอร์ม (สปส.1-40/7) ในเว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคม
  2. บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
  3. หนังสือมอบอำนาจ กรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นรับเงินแทน พร้อมบัตรประชาชนฉบับจริงของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
  4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก ประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง 
  • ธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน) 
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) 
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)
  • ธนาคารออมสิน

ขอคืนเงินประกันสังคมได้ไหม

ทั้งนี้ ผู้ประกันตน สามารถยื่นแบบคำขอรับเงินสมทบมาตรา 40 ที่นำส่งไว้เกินจำนวนที่ต้องชำระคืนของงวดเดือนสิงหาคม 2564 ถึงเดือนมกราคม 2565 และงวดเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนกรกฎาคม 2565 ในคราวเดียวกันได้

ยอดเงินที่ผู้ประกันตนนำส่งไว้เกินสามารถคำนวณ ได้ดังนี้

งวดเดือนสิงหาคม 2564 ถึงเดือนมกราคม 2565

  • ทางเลือกที่ 1 ปกตินำส่งเดือนละ 70 บาท ลดเหลือ 42 บาท ยอดเงินคืน 28 บาท
  • ทางเลือกที่ 2 ปกตินำส่งเดือนละ 100 บาท ลดเหลือ 60 บาท ยอดเงินคืน 40 บาท
  • ทางเลือกที่ 3 ปกตินำส่งเดือนละ 300 บาท ลดเหลือ 180 บาท ยอดเงินคืน 120 บาท

งวดเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนกรกฎาคม 2565

  • ทางเลือกที่ 1 ปกตินำส่งเดือนละ 70 บาท ลดเหลือ 42 บาท ยอดเงินคืน 28 บาท
  • ทางเลือกที่ 2 ปกตินำส่งเดือนละ 100 บาท ลดเหลือ 60 บาท ยอดเงินคืน 40 บาท
  • ทางเลือกที่ 3 ปกตินำส่งเดือนละ 300 บาท ลดเหลือ 180 บาท ยอดเงินคืน 120 บาท

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันสังคม ได้ที่ สำนักงานประกันสังคม หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

ขอคืนเงินประกันสังคมได้ไหม