จบครุศาสตร์ เป็นครูได้เลยไหม

หลายๆ ครั้ง ของการสมัครสอบบรรจุครู มักจะได้ยินเสียงตัดพ้อต่อว่าจากผู้สมัครสอบมากมายหลายคน บ้างก็ว่า คุรุสภาหลอกให้เรียน แต่ได้ใบปฏิบัติการสอน , ก.ค.ศ. ออกกฎบ้าบออะไรกัน ทำให้เขาเสียสิทธิ์ในการสมัครสอบ สพท. ทำไมทำงาน 2 มาตรฐาน เหตุการณ์เหล่านี้วนเวียนอยู่อย่างนี้ตลอด ในช่วงหน้าสอบรรจุ

เรามาดูความเกี่ยวข้องกันก่อนนะคะ

1. “ คุรุสภา ”  เป็นผู้ดูแลมาตรฐานวิชาชีพ  ผู้ประสงค์จะเป็นครูทุกคน จะต้องกระทำตนเพื่อให้มีคุณสมบัติในการเป็นครู เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

2. หน่วยงานผู้รับผิดชอบในการสอบบรรจุครู อาทิ  สพฐ. , สอศ. ฯ เป็นต้น  จัดการให้มีการ “สอบบรรจุครู” เพื่อ ทำหน้าที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา

3. ก.ค.ศ.  ทำหน้าที่ในการ ออกข้อบังคับต่างๆ อันเกี่ยวเนื่องกับ วิทยาฐานะของครู อันหมายถึง งานด้านบุคคลากร (งานการเจ้าหน้าที่) รวมทั้ง คุณสมบัติในการสมัครสอบบรรจุเป็นครู

4. สกอ. ทำหน้าที่ดูแล ให้ หน่วยผลิตครู (มหาวิทยาลัย ฯ) ผลิตครูให้ตรงตามหลักสูตร

 หน่วยงานทั้งสี่ มีความเกี่ยวเนื่องกันโดยตลอด  แต่ ลักษณะการปฏิบัติต่างกันแน่นอน  ซึ่งจะยังไม่ลงรายละเอียด

มาดูกันเรื่องของ ว่าด้วยการสอบบรรจุ กับ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ก่อน

กรณีเรื่องของการสอบบรรจุนี้ แน่นอนว่า ผู้ที่จะสอบบรรจุ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู”

แต่การสอบบรรจุ ประกอบด้วยสองส่วน คือ "วิชาเอก" + "ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ"

ใครอยากสอบบรรจุ ไปสำรวจตนเองก่อนว่า 

ปริญญาตรีที่เรียบจบมาแล้วนั้น ก.ค.ศ. เขาเทียบให้สอบบรรจุในวิชาเอกอะไร

หมายเหตุ ในที่นี้ เรากำลังพูดถึง ผู้ที่จบปริญญาตรีอื่น  ส่วน ผู้ที่เรียนสายตรง สามารถเลือกสอบได้ตามวิชาเอกที่เราเรียนมาได้เลยนะคะ

เมื่อคุณพบว่าวิชาเอกที่คุณเรียนมานั้น 

1. เทียบวุฒิกับ ก.ค.ศ. แล้ว มีวิชาเอกเทียบเท่าให้คุณสอบบรรจุได้  = เช่นนี้ ให้คุณเข้าสู่กระบวนการเทียบโอน/ทดสอบความรู็ฯ ของคุรุสภา ให้ครบ 9 มาตรฐาน ต่อไปได้เลย

2. เทียบวุฒิกับ ก.ค.ศ. แล้ว ไม่มีวิชาเอกเทียบเท่าให้คุณสอบบรรจุ  =  อย่างนี้ คุณควรไปหาปริญญาตรีเรียนให้ตรงเอก ถ้าจะให้ดี ไหนๆ จะเรียนแล้ว ควรเรียนปริญญาตรีทางการศึกษาหลักสูตรใหม่ จะดีมาก 

ทั้งนี้ จงระลึกไว้ว่า ณ ปัจจุบัน(9 เมษายน 2556) ป.บัณฑิต ทุกสถาบัน ทุกแขนง มีมติให้ปิดไปแล้ว เมื่อ 19 สิงหาคม 2553
เฉพาะโครงการพัฒนาครูฯ ที่กรมต้นสังกัดของผู้ที่เป็นครูอยู่แล้วเท่านั้น มีสิทธิที่จะขอหลักสูตร ป.บัณฑิตนี้ไปพัฒนาครูในสังกัดของตน  แต่กรณีทั่วไป ยุติโดยสิ้นเชิง

ดังนั้น ในที่นี้ จะแนะนำ ผู้ที่ต้องการรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูว่า

“ สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับการยื่นขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู คือ การเรียน ปริญญาทางครู หลักสูตร 5 ปี ที่ได้รับการรับรองโดยสมบูรณ์และมีการจัดการเรียนการสอนตามที่ขอรับรองมาเท่านั้น ”

ปัจจุบัน หลักสูตร ป.บัณฑิต สำหรับบุคคลทั่วไปได้ถูกยกเลิกไปตั้งแต่ 19 สิงหาคม 2553 คงเหลือเพียงหลักสูตร ป.บัณฑิตที่หน่วยงานระดับกรมที่มีครูในสังกัดจัดทำขึ้นเท่านั้น

1. อยากเป็นครูต้องเรียนคณะอะไร ?

ถ้าอยากเรียนคณะที่เป็นครูโดยตรง แนะนำให้เลือกเรียนคณะหรือสาขาตามนี้ครับ :
– คณะศึกษาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
– สาขาย่อยในคณะอื่นๆ ที่มีวงเล็บว่า กศ.บ. เช่น คณะมนุษย์ศาสตร์ สาขาภาษาไทย (กศ.บ.)
– คณะหรือสาขาที่ต้องสอบ PAT5 (รหัสวิชา 75. ความถนัดทางวิชาชีพครู)

2. คณะที่เกี่ยวกับ “ครู” มีเปิดที่ไหนบ้าง?

🏫 คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ (หลักสูตร 5 ปี)
– สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
– สาขาวิชาประถมศึกษา
– สาขาวิชามัธยมศึกษา
– สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
– สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
– สาขาวิชาศิลปศึกษา
– สาขาวิชาดนตรีศึกษา
– สาขาวิชาธุรกิจศึกษา
– สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน
– สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา การแนะแนว และการศึกษาพิเศษ
วิชาสอบ (รอบแอดมิชชัน):
– O-NET : ไทย, การงาาน
– GAT, PAT5
– และสามารถเลือกสอบ PAT2, PAT 7.1, PAT 7.2, PAT 7.3, PAT 7.4, PAT 7.5, PAT 7.6 (อย่างใดอย่างหนึ่ง)

🏫 คณะศึกษาศาสตร์ มศว. หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ. หลักสูตร 5 ปี)
เป็นหลักสูตรที่ร่วมมือกัน 6 คณะ คือ คณะศึกษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และ คณะศิลปกรรมศาสตร์ เพื่อการผลิตครู (หลักสูตร 5 ปี) มีดังนี้ครับ:
– คณะศึกษาศาสตร์
—– วิชาเอกการประถมศึกษา (กศ.บ. 5 ปี)
—– วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว (กศ.บ. 5 ปี)
—– วิชาเอกเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา (กศ.บ. 5 ปี)
– คณะมนุษยศาสตร์
—– วิชาเอกภาษาไทย (กศ.บ. 5 ปี)
—– วิชาเอกภาษาอังกฤษ (กศ.บ. 5 ปี)
– คณะสังคมศาสตร์
—– วิชาเอกสังคมศึกษา (กศ.บ. 5 ปี)
– คณะวิทยาศาสตร์
—– วิชาเอกคณิตศาสตร์ (กศ.บ. 5 ปี)
—– วิชาเอกวิทยาศาสตร์-ชีววิทยา (กศ.บ. 5 ปี)
—– วิชาเอกวิทยาศาสตร์-ฟิสิกส์ (กศ.บ. 5 ปี)
—– วิชาเอกวิทยาศาสตร์-เคมี (กศ.บ. 5 ปี)
—– วิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป (กศ.บ. 5 ปี)
– คณะศิลปกรรมศาสตร์
—– วิชาเอกศิลปกรรมศาสตร์ศึกษา สาขาทัศนศิลปศึกษา (กศ.บ. 5 ปี)
—– วิชาเอกศิลปกรรมศาสตร์ศึกษา สาขาดนตรีศึกษา-ดนตรีไทย (กศ.บ. 5 ปี)
—– วิชาเอกศิลปกรรมศาสตร์ศึกษา สาขาดนตรีศึกษา-ดนตรีสากล (กศ.บ. 5 ปี)
—– วิชาเอกศิลปกรรมศาสตร์ศึกษา สาขาศิลปะการแสดงศึกษา (กศ.บ. 5 ปี)
– คณะพลศึกษา
—– วิชาเอกพลศึกษา (กศ.บ. 5 ปี)
—– วิชาเอกสุขศึกษา (กศ.บ. 5 ปี)
—– วิชาเอกพลศึกษา-สุขศึกษา (กศ.บ. 5 ปี)

🏫 คณะศึกษาศาสตร์ ม.ศิลปากร
– สาขาวิชาการประถมศึกษา (หลักสูตร 5 ปี)
– สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (หลักสูตร 5 ปี)
– สาขาวิชาภาษาไทย (หลักสูตร 5 ปี)
– สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (หลักสูตร 5 ปี)
– สาขาวิชาสังคมศึกษา (หลักสูตร 5 ปี)
– สาขาวิชาการสอนภาษาจีน ในฐานะภาษาต่างประเทศ (หลักสูตร 5 ปี)
– สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิต
– สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
– สาขาวิชาจิตวิทยา
– สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา

🏫 คณะศึกษาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตบางเขน) (หลักสูตร 5 ปี)
– สาขาวิชาสุขศึกษา
– สาขาวิชาพลศึกษา
– สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์
– สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์
– สาขาวิชาคหกรรมศาสตรศึกษา
– สาขาวิชาธุรกิจและคอมพิวเตอร์ศึกษา

🏫 คณะศึกษาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตกำแพงแสน) (หลักสูตร 5 ปี)
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการเรียนรู้
– เกษตรและสิ่งแวดล้อมศึกษา
– พลศึกษาและสุขศึกษา
– ภาษาอังกฤษศึกษา
– คณิตศาสตร์ศึกษา
– วิทยาศาสตร์ศึกษา

🏫 คณะศึกษาศาสตร์ ม.บูรพา หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี)
– สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา
– สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
– สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
– สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
– สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์
– สาขาวิชาการสอนนาฏยสังคีต
– สาขาวิชาการสอนภาษาจีน
– สาขาวิชาการสอนภาษาญี่ปุ่น
– สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ
– สาขาวิชาการสอนภาษาไทย
– สาขาวิชาการสอนฟิสิกส์
– สาขาวิชาการสอนเคมี
– สาขาวิชาการสอนชีววิทยา
– สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ทั่วไป
– สาขาวิชาการสอนศิลปะ
– สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
– สาขาวิชาการสอนสุขศึกษาและพลศึกษา

🏫 คณะศึกษาศาสตร์ ม.ขอนแก่น
– สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา – วิชาเอกเดี่ยววิทยาศาสตร์ทั่วไป
– สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา – วิชาเอกเดี่ยวเคมี
– สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา – วิชาเอกเดี่ยวชีววิทยา
– สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา – วิชาเอกเดี่ยวฟิสิกส์
– สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ
– สาขาวิชาการสอนภาษาญี่ปุ่น
– สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
– สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา
– สาขาวิชาการสอนภาษาไทย
– สาขาวิชาสังคมศึกษา
– สาขาวิชาศิลปศึกษา
– สาขาวิชาพลศึกษา

🏫 คณะศึกษาศาสตร์ ม.เชียงใหม่
– สาขาวิชาภาษาไทย
– สาขาวิชาสังคมศึกษา
– สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
– สาขาวิชาธุรกิจศึกษา
– สาขาวิชาเคมี
– สาขาวิชาฟิสิกส์
– สาขาวิชาชีววิทยา
– สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาพิเศษ
– สาขาวิชาประถมศึกษา
– สาขาวิชาศิลปศึกษา
– สาขาวิชาคณิตศาสตร์
– สาขาวิชาพลศึกษา

🏫 ม.ทักษิณ
– คณะศึกษาศาสตร์
—– เทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา
—– การวัดและประเมินทางการศึกษา
—– สาขาวิชาพลศึกษา
—– สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
– คณะศึกษาศาสตร์ร่วมกับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
—– สาขาวิชาภาษาไทย
—– สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
—– สาขาวิชาสังคมศึกษา
– คณะศึกษาศาสตร์ร่วมกับวิทยาศาสตร์
—– สาขาวิชาคณิตศาสตร์
—– สาขาวิชาวิทยาศาสตร์-เคมี
—– สาขาวิชาวิทยาศาสตร์-ฟิสิกส์
—– สาขาวิชาวิทยาศาสตร์-ชีววิทยา

🏫 ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
– คณะครุศาสตร์
—– วิศวกรรมไฟฟ้า – วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง (ค.อ.บ. 5 ปี)
—– วิศวกรรมไฟฟ้า – วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ค.อ.บ. 5 ปี)
—– วิศวกรรมไฟฟ้า – วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (ค.อ.บ. 5 ปี)
– คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมฯ
—– วิศวกรรมเครื่องกล (ค.อ.บ. 5 ปี)
—– วิศวกรรมอุตสาหการ (ค.อ.บ. 5 ปี)
—– วิศวกรรมโยธา (ค.อ.บ. 5 ปี)
—– วิศวกรรม (ค.อ.บ. 5 ปี)

🏫 คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ส.เทคโนโลยีฯ เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
– สาขาวิชาครุศาสตร์วิศวกรรม (หลักสูตร 5 ปี)
– สาขาวิชาสถาปัตยกรรม (หลักสูตร 5 ปี)
– สาขาวิชาการออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน (หลักสูตร 5 ปี)
– สาขาวิชาครุศาสตร์การออกแบบ (หลักสูตร 5 ปี)
– สาขาวิชาครุศาสตร์เกษตร (หลักสูตร 5 ปี)

🏫 สถาบันอิสลามและอาหรับศึกษา ม.นราธิวาสราชนครินทร์
– กฏหมายอิสลาม
– ภาษาอาหรับ (นานาชาติ)
– อิสลามศึกษา

🏫 คณะศึกษาศาสตร์ ม.นเรศวร (หลักสูตร 5 ปี)
– สาขาวิชาคอมพิวเตอร์
– สาขาวิชาฟิสิกส์
– สาขาวิชาเคมี
– สาขาวิชาชีววิทยา
– สาขาวิชาคณิตศาสตร์
– สาขาวิชาภาษาไทย
– สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
– สาขาวิชาพลศึกษาและวิทยาศาสตร์การออกกำลังกาย

🏫 คณะจีนวิทยา ม.แม่ฟ้าหลวง
– การสอนภาษาจีน (หลักสูตร 5 ปี)

🏫 คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
** คณะนี้ เมื่อจบมาจะได้วุฒิศิลปศาสตร์ จึงไม่ใช่หลักสูตรที่เน้นการผลิตครูโดยตรง แต่จะเน้นให้ออกแบบและจัดกระบวนการเรียนรู้ หากสนใจจะเป็นครู ต้องเรียนต่อบัณฑิตวิชาชีพครู

3. ถ้าไม่ได้เรียนคณะที่เกี่ยวกับ “ครู” มาแต่อยากเป็น “ครู” มากๆๆ ต้องทำอย่างไร?

ถ้าหากเราไม่ได้จบครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ มาแต่อยากเป็นครู อาจจะต้อง
– ต้องเรียนและสอบมาตรฐานวิชาชีพครู 9 มาตรฐาน (โดยคุรุสภา)
– หลังจากที่ได้ใบอนุญาตสอน ก็สมัครเป็นครูตามโรงเรียนต่างๆ เช่น โรงเรียนเอกชนที่ไม่ขอใบประกอบวิชาชีพ
– เมื่อสอนครบ 1 ปี และผ่านการประเมินการสอนแล้วก็จะสามารถขึ้นทะเบียนขอใบประกอบวิชาชีพครูได้ ซึ่งใบประกอบวิชาชีพนี้ต้องต่ออายุทุก 5 ปี


แนะนำคอร์สออนไลน์ TGAT 🔥 A-Level

จบครุศาสตร์ เป็นครูได้เลยไหม

ทดลองเรียนฟรี คลิกเลย

วิดีโอตัวอย่างคอร์ส

เรียนครูจบมาได้เป็นครูเลยไหม

ตอบ : สามารถเป็นครูได้เพียงแต่การบรรจุรับราชการครูกรณีที่จบปริญญาตรีสาขาอื่นมาก็จะต้อง สมัครเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูก่อนใช้เวลาเรียนทั้งหมด 1 ปี หลังจากนั้นติดต่อสอบเพื่อใบประกอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

คณะ ศึกษา ศาสตร์ มีใบประกอบวิชาชีพ ไหม

แล้วสมัครเรียนปริญญาโทศึกษาศาสตร์ ที่ มหาลัยอื่น แล้วต้องประกอบอาชีพ 3 อาชีพนั้น มีใบรับรองจากโรงเรียนหลังจบปริญญาตรีสอนมา 1 ปี เหมือน 3 ข้อแรก และใบรับรองคุรุสภา เรียนจบ ได้ใบประกอบวิชาชีพครู เลย

วุฒิ กศบ เป็นครูได้ไหม

ถ้าอยากเรียนคณะที่เป็นครูโดยตรง แนะนำให้เลือกเรียนคณะหรือสาขาตามนี้ : – คณะศึกษาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม – สาขาย่อยในคณะอื่นๆ ที่มีวงเล็บว่า กศ.บ. เช่น คณะมนุษย์ศาสตร์ สาขาภาษาไทย (กศ.บ.) – คณะหรือสาขาที่ต้องสอบ PAT5 (รหัสวิชา 75. ความถนัดทางวิชาชีพครู)

คณะศึกษาศาสตร์จบมาได้วุฒิอะไร

ครุศาสตรบัณฑิต/ศึกษาศาสตรบัณฑิต/การศึกษาบัณฑิต (อังกฤษ: Bachelor of Education, ตัวย่อ ค.บ./ศษ.บ./กศ.บ. หรือ B.Ed.) คือปริญญาวิชาชีพในระดับปริญญาตรีซึ่งเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาสำหรับการทำงานเป็นครูในโรงเรียน แม้ว่าในบางประเทศจะต้องมีการฝึกงานเพิ่มเติมเพื่อให้นักศึกษามีคุณสมบัติครบถ้วนในการสอน