ลูก5ขวบ ยื่นสงเคราะห์บุตรได้ไหม

สำนักงานประกันสังคม เชิญชวนผู้ประกันตนมาตรา 33 และ มาตรา 39 ยื่นรับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800 เช็คเงื่อนไขสำคัญ สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันตน

สำนักงานประกันสังคม เชิญชวนผู้ประกันตนมาตรา 33 และ มาตรา 39 ที่มีบุตรอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ ยื่นรับเงินสงเคราะห์บุตร สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันตนรับเงินเดือนละ 800 บาทต่อบุตร 1 คน คราวละไม่เกิน 3 คน 

สำหรับเงื่อนไขรับสิทธิยื่นรับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800 บาท

  • เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39
  • จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือนก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน
  • เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย (ยกเว้นบุตรบุญธรรม)
  • อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน 
  • ผู้ประกันตนพ่อหรือแม่ สามารถเลือกใช้สิทธิได้ 1 สิทธิ

การหมดสิทธิรับเงินกรณีสงเคราะห์บุตร 

  • เมื่อบุตรมอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
  • บุตรเสียชีวิต 
  • ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น
  • ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

สามารถยื่นเรื่องได้ที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา/ที่ท่านสะดวก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่สายด่วน 24 ชั่วโมง โทร 1506 หรือ www.sso.go.th 

          ผู้ประกันตนชายสามารถเบิกเงินสงเคราะห์ จำนวน 800 บาท/เดือน ได้เช่นเดียวกันกับผู้ประกันตนหญิงเลย แต่จะใช้สิทธิ์ได้เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้นนะ คือ ถ้าทั้งคุณพ่อและคุณแม่เป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ ต้องเลือกว่าจะให้ใครใช้สิทธิ์ ไม่สามารถใช้สิทธิพร้อมกันทั้งสองคนได้

“เงินสงเคราะห์บุตร” คือ เงินที่สำนักงานประกันสังคม มอบสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 ที่มีบุตรแรกเกิด สามารถยื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตรได้จนถึงอายุ 6 ปีบริบูรณ์

สิทธิประโยชน์จะเกิดขึ้นได้ เมื่อ..

1. เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือมาตรา 39 ของสำนักงานประกันสังคม

2. ผู้ประกันตน ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์

3. เป็นบุตรที่ชอบด้วยด้วยกฎหมาย (ยกเว้นบุตรบุญธรรม)

เมื่อผ่านข้อกำหนดเงื่อนไขนั้น ผู้ประกันตนจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรจำนวน 800 บาทต่อ 1 คนต่อเดือน คราวละไม่เกิน 3 คน ตั้งแต่อายุแรกเกิดจนมีอายุถึง 6 ปีบริบูรณ์ โดยผู้ประกันตนที่เป็นพ่อหรือแม่สามารถใช้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวได้เพียง 1 คนเท่านั้น

ขั้นตอนการยื่นขอรับ “เงินสงเคราะห์บุตร”

1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01) สามารถดาวน์โหลดได้ผ่านเว็บของสำนักงานประกันสังคม

2. กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิ ต้องแนบสำเนาสูติบัตรบุตร จำนวน 1 ชุด หากเป็นผู้ชาย ต้องยื่นสำเนาทะเบียนสมรส สำเนาทะเบียนหย่าพร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตน สำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย อย่างใดอย่างหนึ่ง จำนวน 1 ชุด ประกอบการพิจารณา

3. หากผู้ประกันตนเปลี่ยนชื่อและสกุล ให้แนบสำเนาเอกสารด้วย จำนวน 1 ชุด

4. หากผู้ประกันตนขอรับประโยชน์ทดแทน เป็นชาวต่างชาติ ให้ใช้สำเนาบัตรประกันสังคมและสำเนาหนังสือเดือนทาง (passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราวหรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ จำนวน 1ชุด

5. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน จำนวน 1 ฉบับ

6. หากเอกสารประกอบการยื่นคำขอที่เป็นสำเนาให้รับรองความถูกต้องของสำเนาทุกฉบับ และแสดงเอกสารที่เป็นต้นฉบับเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ

ลูก5ขวบ ยื่นสงเคราะห์บุตรได้ไหม

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ www.sso.go.th หรือ และ Line Official Account @ssothai ของสำนักงานประกันสังคม หรือ สายด่วนประกันสังคม โทร.1506 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขาที่สะดวกได้ทุกแห่งในวันและเวลาราชการ

คุณพ่อคุณแม่ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800 บาทจากประกันสังคมกันแล้วหรือยังเอ่ย ตอนนี้เงินสงเคราะห์บุตร ประกันสังคมให้เพิ่มเป็น 800 บาท บางคนอาจจะกำลังยื่นเรื่อง บางคนงงมากเพราะตัวเองไม่ตรงตามเงื่อนไขหลักเลยยังไม่ยื่น มาค่ะ มาเคลียร์ทุกความสงสัย ทุกปัญหาเรื่องการยื่นเรื่องขอรับประโยชน์ทดแทนเงินสงเคราะห์บุตรที่พ่อแม่อยากรู้และถามมากที่สุด เริ่ม!!!

  1. ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วกี่เดือน จึงจะใช้สิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตรได้

คำตอบ: ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิต่อเมื่อได้มีการนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่ได้รับสิทธิ


  1. สิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตรจ่ายให้บุตรที่มีอายุกี่ปี

คำตอบ: ผู้ประกันตนสามารถขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์


  1. กรณีเป็นผู้ประกันตนทั้งสามีและภรรยา สามารถใช้สิทธิสงเคราะห์บุตรทั้ง 2 ฝ่าย ได้หรือไม่

คำตอบ: สามารถใช้สิทธิฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น 


  1. บุตรบุญธรรมสามารถนำมายื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตรได้หรือไม่

คำตอบ: บุตรบุญธรรมไม่สามารถนำมาเบิกสงเคราะห์บุตรได้


  1. ผู้ประกันตนมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์บุตรได้กี่ครั้ง

คำตอบ: ใช้สิทธิเบิกได้คราวละไม่เกิน 3 คน 


  1. ถ้าผู้ประกันตนมีบุตรอายุ 3 ปี แต่ไม่ได้ยื่นเรื่องขอรับเงินสงเคราะห์บุตร สามารถยื่นขอรับเงินย้อนหลังได้หรือไม่  สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายย้อนหลังให้หรือไม่ / อย่างไร

คำตอบ: การเบิกสิทธิกรณีสงเคราะห์บุตรทางสำนักงานประกันสังคมจะต้องทำการตรวจสอบ การนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน  หากมีการนำส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน ภายใน 36 เดือนก่อนบุตรคลอด จึงจะมีการย้อนหลังให้ไม่เกิน 1 ปี  ตามที่กฎหมายกำหนด ยกเว้น กรณีผู้ประกันตนมิได้นำส่งเงินสมทบตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด ทางสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินให้ผู้ประกันตน  ณ วันที่สิทธิเกิดขึ้นเท่านั้น


  1. พ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ยังสามารถเบิกเงินสงเคราะห์บุตรจากประกันสังคมได้ไหม

คำตอบ: สำหรับคุณแม่ที่เป็นผู้ประกันตนอยู่แล้ว และเป็นผู้ยื่นเรื่อง สามารถยื่นขอเงินสงเคราะห์บุตรได้ด้วยการใช้หนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรสแทนทะเบียนสมรส สำหรับคุณพ่อเป็นผู้ประกันตนอยู่แล้ว และเป็นผู้ยื่นเรื่อง จะต้องมีหนังสือรับรองบุตรก่อน ขอขอรับสิทธิ์สงเคราะห์บุตร ต้องไปที่เขต/อำเภอที่เราอาศัยครับ แล้วร้องขอรับรองบุตรก่อน โดยยื่นคำร้อง ณ สำนักทะเบียนอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต และใช้เอกสารดังนี้ บัตรประจำตัวประชาชน ของบิดา มารดา สูติบัตรของบุตร / พยานบุคคลจำนวน 2 คน


  1. พ่อหรือแม่เป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 สามารถใช้สิทธิเบิกเงินสงเคราะห์บุตรจากประกันสังคมได้ไหม

คำตอบ: ได้ แต่ต้องเป็นในเงื่อนไข คือ เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 นำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ใน 36 เดือน โดยจ่ายเงินสมทบ 9% จากฐานเงินเดือนเฉลี่ยที่ 4,800 บาท (4,800 x 9% = 432 บาทต่อเดือน)


  1. เงินสงเคราะห์บุตรเข้าทุกวันที่เท่าไหร่

คำตอบ: โดยปกติแล้วจะได้รับทุกสิ้นเดือน แต่หากมีตรงกับวันหยุดอาจจะมีการเลื่อนออกไปบ้างเล็กน้อย หากเงินสงเคราะห์บุตรไม่เข้าบัญชี สามารถติดต่อประกันสังคมสาขาที่เคยยื่นเรื่องไว้ หรือโทรสอบถามกับสายด่วนประกันสังคม 1506 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลให้อีกครั้ง


  1. ไม่ได้ยื่นเรื่องขอเงินสงเคราะห์บุตร ยื่นเรื่องและขอเบิกย้อนหลังได้ไหม

คำตอบ: ได้ แต่ทางสำนักงานประกันสังคมจะต้องทำการตรวจสอบ การนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน หากมีการนำส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน ภายใน 36 เดือนก่อนบุตรคลอดจึงจะมีการย้อนหลังให้ไม่เกิน 1 ปีตามที่กฎหมายกำหนด ยกเว้น กรณีผู้ประกันตนมิได้นำส่งเงินสมทบตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด ทางสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินให้ผู้ประกันตน  ณ วันที่สิทธิเกิดขึ้นเท่านั้น


ขอบขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม และหากคุณพ่อคุณแม่อยากรู้ข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติม สามารถเข้าไปสอบถามได้ที่เว็บไซต์ www.sso.go.th หรือ  SSO สายด่วน 1506