ลากิจ ตามกฎหมายแรงงาน 2564

สำหรับเด็กจบใหม่ที่กำลังจะก้าวสู่อีกหนึ่งช่วงของชีวิตที่กินเวลานาน..น...น...คือช่วงของวัยทำงาน มารู้จักกับกฎหมายแรงงานของไทยฉบับปรับปรุงล่าสุด รวมถึงสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการจ้างงานก่อนเข้าสู่สนามจริง

สำหรับเด็กจบใหม่ที่กำลังจะก้าวสู่อีกหนึ่งช่วงของชีวิตที่กินเวลานาน..น...น...คือช่วงของวัยทำงาน มารู้จักกับกฎหมายแรงงานของไทยฉบับปรับปรุงล่าสุด รวมถึงสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการจ้างงานก่อนเข้าสู่สนามจริง

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562 และสิทธิตามกฎหมายแรงงานที่กระทรวงแรงงาน ระบุไว้ดังนี้

ลากิจ ตามกฎหมายแรงงาน 2564

วันลาและสิทธิการลาตามกฎหมาย ประกอบด้วย

  • ลาพักร้อน : ไม่น้อยกว่าปีละ 6 วัน ให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานมาเกิน 1 ปี สามารถยกหรือเลื่อนไปสะสมในปีอื่นได้
  • ลาป่วย : ลาป่วยได้ตามจริง โดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30 วัน และหากลาติดต่อกัน 3 วันขึ้นไปต้องมีใบรับรองแพทย์
  • ลากิจ : ลาโดยมีเหตุธุระจำเป็นได้ไม่น้อยกว่า 3 วันต่อปี โดยมีสิทธิได้รับค่าจ้างตามปกติไม่เกิน 3 วันต่อปี
  • ลาคลอด : และลาตรวจครรภ์ก่อนคลอดได้รวม 98 วัน โดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 45 วัน
  • ลาทำหมัน : โดยต้องมีใบรับรองให้หยุดงานจากแพทย์แผนปัจจุบัน สามารถหยุดได้ตามแพทย์สั่ง และยังได้รับค่าจ้าง
  • ลารับราชการทหาร : ลาได้เท่ากับจำนวนวันที่ทางการทหารเรียก และได้รับค่าจ้างตลอดเวลาที่ลาแต่ไม่เกิน 60 วันต่อปี
  • ลาฝึกอบรม : ลาได้โดยไม่ได้รับค่าจ้างในวันนั้น

ทั้งนี้ จำนวนวันหยุดอาจแตกต่างกันไปตามนโยบายของบริษัท แต่ตามกฎหมายแล้วจะต้องไม่ต่ำกว่าที่กำหนด

ลากิจ ตามกฎหมายแรงงาน 2564

วันหยุดประจำสัปดาห์

  • กรณีทั่วไป กำหนดให้ต้องมีวันหยุดประจำสัปดาห์ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน ระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน โดยยังได้รับค่าจ้างอยู่ (ไม่รวมลูกจ้างรายวันและรายชั่วโมง)
  • กรณีลูกจ้างในกิจการที่วันหยุดไม่แน่นอน เช่น งานโรงแรม งานในป่า งานขนส่ง งานในที่ทุรกันดาร เช่น งานประมง งานดับเพลิง สามารถตกลงวันหยุดกับเจ้านายได้ และสามารถสะสมวันหยุดและเลื่อนวันหยุดไปใช้ตอนไหนก็ได้ภายในระยะเวลา 4 สัปดาห์ติดต่อกัน

ลากิจ ตามกฎหมายแรงงาน 2564

การทำงานล่วงเวลา

  • ล่วงเวลาในวันธรรมดา ต้องมีการจ่ายค่าล่วงเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ
  • ล่วงเวลาในวันหยุด ต้องมีการจ่ายค่าล่วงเวลา 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ
  • ทำงานเวลาปกติในวันหยุด ต้องมีการจ่ายค่าล่วงเวลาเพิ่มอีก 1 เท่าของค่าจ้างปกติ

ทั้งนี้ การทำงานล่วงเวลาต้องรวมกันไม่เกิน 36 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

ลากิจ ตามกฎหมายแรงงาน 2564

การเลิกจ้าง

บริษัทต้องจ่ายค่าชดเชยให้พนักงานในกรณีเลิกจ้าง โดยแบ่งตามอัตรา ดังนี้

  • ทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
  • ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
  • ทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
  • ทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน
  • ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 300 วัน
  • ทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน
  • หากนายจ้างจ่ายค่าชดเชยช้ากว่ากำหนด จะต้องเสียดอกเบี้ยให้ลูกจ้าง 15% ต่อปี

ชาย-หญิงเท่าเทียม

สำหรับงานที่มีค่าเท่ากัน ลูกจ้างทั้งผู้ชายและผู้หญิงมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนต่างๆ เช่น ค่าล่วงเวลา ค่าจ้างอย่างเท่าเทียมกันด้วย

การเปลี่ยนนายจ้าง

กรณีที่นายจ้างเกิดต้องการโยกย้ายลูกจ้างให้ไปอยู่ใต้บังคับบัญชาของนายจ้างใหม่ ต้องมีการแจ้งให้ลูกจ้างทราบและยินยอมก่อน

การย้ายสถานประกอบการ

นายจ้างต้องแจ้งลูกจ้างก่อนอย่างน้อย 30 วัน โดยหากไม่มีการแจ้งก่อนจะต้องจ่ายค่าชดเชยเป็นค่าจ้าง 30 วันสุดท้ายของการทำงาน หากลูกจ้างไม่สะดวกไปทำงานในที่ตั้งใหม่ สามารถยื่นหนังสือขอยกเลิกสัญญาจ้างได้ภายใน 30 วัน โดยจะได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย

หมายความว่า วันที่ลูกจ้างใช้สิทธิหยุดงานอันเนื่องจากเหตุจำเป็นต่าง ๆ โดยได้รับอนุญาตจากนายจ้าง เช่น ลาป่วย

ลาเพื่อทำหมัน  ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น  ลาเพื่อรับราชการทหาร  ลาเพื่อไปพัฒนาความรู้  ลาเพื่อคลอดบุตร

 

ลาป่วย

ตามมาตรา 32

• ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง

• หากลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป อาจต้องแสดงใบรับรองแพทย์

• ในกรณีที่ลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรองแพทย์ของสถานพยาบาลให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ

ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลาป่วยเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา ไม่เกิน 30 วัน / ปี

(มาตรา 57)

นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 57 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท

(มาตรา 146)

 

ลาเพื่อทำหมัน

ตามมาตรา 33

• ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อทำหมันได้

• ระยะเวลาขึ้นอยู่กับข้อกำหนดและการออกใบรับรองของแพทย์

ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อทำหมันเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา ตามใบรับรองของแพทย์

(มาตรา 57)

นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 57 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท (มาตรา 146)

 

ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น  

ตามมาตรา 34

• ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้

• ต้องเป็นภาระที่บุคคลอื่นไม่สามารถทำแทนได้ ต้องดำเนินการเอง

• การลาเป็นไปตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันเพื่อกิจธุระอันจำเป็น เท่ากับในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา

ไม่เกิน 3 วันทำงาน / ปี

(มาตรา 57/1)

หากนายจ้างไม่จ่าย อาจจำต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน

หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ลาเพื่อรับราชการทหาร  

ตามมาตรา 35

• ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อรับราชการทหารเพื่อฝึกวิชาชีพทหารได้

• ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร

• ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อรับราชการทหาร

เท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา ไม่เกิน 60 วัน / ปี (มาตรา 58)

นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 58 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท  (มาตรา 146)

 

ลาเพื่อไปพัฒนาความรู้ 

ตามมาตรา 36

• ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถได้ ไม่เกิน 30 วัน หรือ 3 ครั้ง / ปี

• ลูกจ้างต้องมีหลักสูตรและกำหนดวันเวลาที่แน่นอนชัดเจน

• ลูกจ้างต้องแจ้งต่อนายจ้างไม่น้อยกว่า 7 วัน

ให้ถือเป็นการลาโดยไม่ได้รับค่าจ้าง(แล้วแต่กรณี)

 

ลาเพื่อคลอดบุตร

ตามมาตรา 41

• ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรไม่เกิน 98 วัน / ปี

• ยื่นคำขอเพื่อลาคลอดล่วงหน้าพร้อมใบรับรองแพทย์

• ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อคลอดบุตร

เท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา ไม่เกิน 45 วัน (มาตรา 59)

นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 59 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท (มาตรา 146)

 

ผลวิเคราะห์กระแสในโลกออนไลน์

ในช่วงสถานการณ์โควิดนี้ มาดูกระแสบนโลกออนไลน์กันว่ามีการพูดถึงหรือค้นหา “วันลาของพนักงาน” อย่างไร โดยเราใช้เครื่องมือที่มีชื่อว่า Zanroo Search ใช้ในการค้นหา พบว่ามีการพูดถึงกันมากบนโลกออนไลน์ โดยใช้ค้นหาข้อมูล ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม– 15 พฤศจิกายน 2563 ช่วงวันที่มีการพูดถึงเรื่องวันลาของพนักงานมากที่สุด คือ ช่วงวันที่ 23 กันยายน 2563 โดยส่วนใหญ่พูดถึงผ่านช่องทาง Twitter

 

ลากิจ ตามกฎหมายแรงงาน 2564

 

โดยมีการพูดถึง “วันลาพนักงาน” ทั้งหมด 7 ข้อความ ซึ่งช่องทางที่มีการเคลื่อนไหวมากที่สุดคือ Twitter จำนวน 3 ข้อความ

 

ลากิจ ตามกฎหมายแรงงาน 2564

 

จะเห็นได้ว่า เนื้อหาที่ได้รับความนิยมและผู้คนมีส่วนร่วมมากที่สุด มาจากช่องทาง Twitter โดยเป็นเรื่องที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งมีการเข้าชมมากกว่า 44 ครั้ง

 

ลากิจ ตามกฎหมายแรงงาน 2564

 

นอกจากนั้น เครื่องมือ Zanroo ยังสามารถบอกได้อีกว่า แต่ละ Channel ที่มีการพูดถึง “วันลาพนักงาน” นั้น ผู้โพสต์หรือผู้มีส่วนรวม มีความรู้สึกหรือความคิดเห็นอย่างไรบ้าง ซึ่งจากภาพแสดงได้ว่าผู้คนมีการกดไลค์ คอมเมนต์ และแชร์เป็นส่วนใหญ่ และยังสามารถดูความรู้สึกได้จาก Emoji ได้อีกด้วย

 

ลากิจ ตามกฎหมายแรงงาน 2564

 

และสุดท้าย โพสต์ที่เกี่ยวข้องจะเป็นของเพจ Pantip มีทั้งหมด 1 โพสต์ และส่วนของ Influencer นั้น อันดับ 1 คือ Herzog & lดO เมาแล้ว ที่ผู้คนมีส่วนร่วมมากถึง 44 ข้อความต่อโพสต์

 

ลากิจ ตามกฎหมายแรงงาน 2564

 

สุดท้าย ต้องขอขอบคุณสำหรับเครื่องมือ Zanroo Search ที่ช่วยให้การค้นหาข้อมูลและการเปรียบเทียบเพื่อทำการตลาดที่ง่ายขึ้น หากใครที่สนใจสามารถทดลองใช้งานได้ที่ https://www.zanroo.com/