จองคิวเปลี่ยนชื่อในใบขับขี่

“จองคิวทำใบขับขี่ออนไลน์” บนแอปฯDLT Smart Queue ผ่าน 2 ขั้นตอนง่ายๆ หลัง กรมการขนส่งทางบก คลายล็อก เปิดให้ทำใบขับขี่ใหม่ 21 มิ.ย.นี้

กรมการขนส่งทางบก เปิดให้จองคิวทำใบขับขี่ออนไลน์ สำหรับผู้ที่ผู้เคยจองคิว ทำใบขับขี่ใหม่/อบรมที่สำนักงาน ที่ได้รับคิวระหว่าง 16 เม.ย. - 18 มิ.ย. 64

ให้เข้าจองคิวใหม่ได้ก่อน ตั้งแต่ 17 มิ.ย. – 31 ก.ค. ผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue หรือ เว็บไซต์ https://gecc.dlt.go.th

 

2 ขั้นตอนง่าย

วิธีที่ 1 สแกนคิวอาร์โค้ดเพื่อเข้าสู่ลิงค์การดาวน์โหลด Application DLT Smart Queue

วิธีที่ 2 ค้นหาชื่อ Application เข้าสู่ Play Store พิมพ์ชื่อ Application (DLT Smart Queue) จากนั้นติดตั้ง

จองคิวเปลี่ยนชื่อในใบขับขี่

ขั้นตอนที่1

กรอกข้อมูลส่วนตัว ลงในช่องข้อมูลต่างๆ

ตรวจความถูกต้องของข้อมูล หลังจากนั้น

ให้กดยืนยันการลงทะเบียน

ขั้นตอนที่2

เมื่อกรอกข้อมูล และ ยืนยันการลงทะเบียน

เป็นที่เรียบร้อย จะเด้งป๊อปอัพเพื่อแจ้งเตือน

ผู้ใช้บริการคุณได้ลงทะเบียนสำเร็จแล้ว

ขั้นตอนที่3

เมื่อผู้ใช้บริการลงทะเบียนเรียบร้อย สามารถเข้าสู่ระบบ

เพื่อเริ่มต้นการใช้งาน Application ได้ทันที

จองคิวเปลี่ยนชื่อในใบขับขี่

  • “กรมขนส่ง”คลายล็อก! เปิดให้บริการใบขับขี่

  • กรมขนส่งฯ เยียวยา อนุมัติแล้ว! ใบขับขี่หมดอายุ ใช้ได้ถึง 31 มี.ค.64
  • ”กรมขนส่ง” ถก สมาคมวินมอไซค์ สวมรอยฉีดวัคซีนโควิด

  • เปิดเงื่อนไข "กรมขนส่ง" ขยายเวลา จองทะเบียนมอไซค์ออนไลน์

  • "กรมขนส่ง" สั่งสอบกลุ่มสวมรอยวินมอไซค์ ฉีดวัคซีนโควิด

เลือก

  • เลือกจังหวัดและสาขาที่เราต้องการใช้บริการ
  • โดยเราสามารถเลือก เข้าใช้บริการสาขาที่เรา
  • อยู่ไกล้ที่สุดและเราสามารถเลือกรูปแบบของ
  • บริการในระบบกรมการขนส่งทางบก

เข้าใช้

  • เข้าใช้บริการตามวันและเวลาที่เราได้จองไว้
  • โดยก่อนใช้บริการ สามารถยื่นโทรศัพท์มือถือ
  • ให้กับเจ้าหน้าที่ เพื่อรับบริการได้ทันทีโดยไม่ต้อง

รอคิว

  • เลือกประเภทงานที่ต้องการเข้ารับบริการ
  • ขอแก้ไงรายการชื่อ - สกุล /เปลี่ยนยศ / เปลี่ยนที่อ
  • ขอใบแทน กรณีใบอนุญาตขับรถชำรุด หรือ หาย
  • งานทะเบียน โอน,ย้าย และอื่น ๆ ที่ไม่ต้องตรวจสภาห
  • ชำระภาษี
  • ต่อใบอนุญาตขับรถ 5 ปี ต่อ 5 ปี
  • มีหนังสือผ่านการอบรม 15 ชั่วโมง
  • มีหนังสือผ่านการอบรม 5 ชั่วโมง
  • เปลี่ยนประเภทใบอนุญาต 2 ปี เป็น 5 ปี
  • ใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศ

จอง

  • จองคิวของเราโดยระบุวันเวลาที่เราจะเข้าใช้บริการ เงื่อนไข ต้องจองล่วงหน้า 1 วัน ก่อนเข้าใช้บริการ

จองคิวเปลี่ยนชื่อในใบขับขี่

 ส่วนผู้ที่ยังไม่เคยจองคิวมาก่อน เริ่มจองคิวได้ตามปกติตั้งแต่ 1 ส.ค. 64 เป็นต้นไป

ขณะเดียวกัน สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ผ่อนผันการบังคับใช้กฎหมาย กรณีใบขับขี่และใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถที่สิ้นอายุแล้ว ให้สามารถใช้ได้ถึง 30 ก.ย. 64

ในปัจจุบัน เรามักจะเห็นคนเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลกันเป็นเรื่องปกติ เหตุผลของการเปลี่ยนโดยมากมักจะเป็นในเรื่องของการอยากมีชีวิตที่ดีขึ้น มีความเชื่อว่าหากเปลี่ยนชื่อนามสกุลแล้ว ชีวิตจะเปลี่ยนไปในทางที่ดี

ซึ่งขั้นตอนการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลนั้นไม่ได้ซับซ้อนยุ่งยากสักเท่าไร แต่ที่ยากกว่าก็คือขั้นตอนที่จะต้องตามไปเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลในเอกสารที่สำคัญทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของเรา ดังนั้นใครที่ต้องการอยากเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลก็ขอให้คิดถึงเรื่องนี้และเตรียมใจยอมรับไว้ล่วงหน้า “ถึงผลที่จะตามมา”

ตามพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 มีใจความสำคัญว่า บุคคลสัญชาติไทย สามารถมีชื่อตัว นามสกุล และจะมีชื่อรองด้วยก็ได้

ชื่อตัว คือ ชื่อประจำตัวบุคคล
ชื่อรอง คือ ชื่อซึ่งประกอบถัดจากชื่อตัว
ชื่อสกุล คือ ชื่อประจำวงศ์สกุล

ทั้งนี้ กฎหมายการเปลี่ยนนามสกุลยังระบุถึงข้อห้ามในการเปลี่ยนนามสกุล หรือตั้งนามสกุลใหม่ ไว้ดังนี้

(1) ไม่พ้องหรือคล้ายกับพระปรมาภิไธย หรือพระนามพระราชินีและราชทินนามของพระองค์ทั้งสอง

(2) ไม่ไปพ้องกับราชทินนาม นอกจากจะเป็นราชทินนามที่ทรงประทานให้ตัวคนยื่นคำร้องขอเปลี่ยนเองหรือของบุพการีหรือของผู้สืบสันดาน

(3) ไม่ซ้ำกับนามสกุลอื่น ๆ ที่มีคนใช้แล้ว (ในส่วนนี้สามารถค้นหาจากอินเทอร์เน็ตได้ว่าซ้ำหรือไม่)

(4) ไม่ใช่คำหยาบคายหรือเป็นคำที่มีความหมายไปในทางหยาบคาย

(5) ต้องมีความยาวไม่เกิน 10 พยางค์ เว้นแต่กรณีใช้ราชทินนามเป็นชื่อสกุล

(6) ผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานชื่อสกุล ห้ามใช้คำว่า " ณ " นำหน้าชื่อสกุล

(7) ห้ามเอานามพระมหานคร และศัพท์ที่ใช้เป็นพระปรมาภิไธยมาใช้เป็นชื่อสกุล


สำหรับขั้นตอนการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล มีดังนี้

- ผู้ยื่นคำขอตามแบบ ช1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

- นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบคำขอกับทะเบียนบ้าน และชื่อที่ขอเปลี่ยนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์

- กรณีอนุญาตสำหรับบุคคลสัญชาติไทย นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยน ชื่อตัวชื่อรอง (แบบช.3) ให้เป็นหลักฐาน

- กรณีบุคคลต่างด้าว นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือรับรองการเปลี่ยนชื่อตัวของคนต่างด้าวให้ เพื่อประกอบหลักฐานการแปลงชาติ หรือคืนสัญชาติเป็นไทยเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว นายทะเบียน ท้องที่ จึงออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อรองให้เป็นหลักฐาน และเรียกเก็บค่า ธรรมเนียม 50 บาท

- เมื่อได้รับหนังสือสำคัญแล้ว ให้ผู้ขอนำหนังสือดังกล่าวไปขอแก้ไขรายการในทะเบียนบ้านและ หลักฐานอื่น ๆ ให้ถูกต้อง และขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนด้วย
.
เอกสารประกอบการดำเนินการ

1.) สำเนาทะเบียนบ้าน
2.) บัตรประจำตัวประชาชน
3.) ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีบุคคลต่างด้าว)

** ค่าธรรมเนียม : ฉบับละ 100 บาท

เมื่อได้นามสกุลใหม่อย่างที่เราต้องการแล้ว แน่นอนว่าบัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงนามสกุลใหม่ของเราเรียบร้อยตั้งแต่วันที่ยื่นคำร้องขอเปลี่ยนนามสกุล แต่ที่นี้ยังมีเอกสารอื่น ๆ ที่เราต้องตามไปเปลี่ยนนามสกุลใหม่ เพื่อความสะดวกในการติดต่อส่วนราชการหรือเอกชน ทีนี้ลองมาดูกันว่ามีเอกสารอะไรบ้างที่ถือว่าสำคัญและจำเป็นที่ต้องตามไปเปลี่ยนนามสกุลใหม่ให้เรียบร้อย

เปลี่ยนนามสกุล โฉนดที่ดิน

หากเรามีชื่อเป็นเจ้าของอยู่ในโฉนดที่ดิน เมื่อมีการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลก็จำเป็นต้องไปทำเรื่องให้เรียบร้อย โดยเอกสารที่ต้องเตรียมไปก็เป็นบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านตัวจริง พร้อมสำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อพร้อมสำเนาและโฉนดที่ดิน ไปติดต่อที่สำนักงานที่ดิน

เปลี่ยนนามสกุล ใบขับขี่

กรณีเป็นใบขับขี่แบบตลอดชีพที่คุณไม่ต้องไปติดต่อเพื่อต่ออายุใบใหม่อีกแล้ว สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานขนส่งพื้นที่ที่สะดวกได้เลย โดยเตรียมเอกสาร คือ ใบขับขี่ตัวจริง บัตรประชาชน ทะเบียนบ้านและใบเปลี่ยนชื่อ พร้อมสำเนา เจ้าหน้าที่ขนส่งจะออกใบขับขี่ใหม่ให้โดยที่เราไม่ต้องสอบใบขับขี่ใหม่ แต่จะมีค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยนตามที่ขนส่งกำหนดไว้

เปลี่ยนนามสกุล ประกันสังคม

ในฐานะผู้ประกันตน เมื่อมีการเปลี่ยนนามสกุล ควรการแจ้งเปลี่ยนนามสกุลที่ประกันสังคมด้วย เพื่อไม่ให้พลาดสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ โดยการติดต่อก็ให้ฝ่ายบุคคลช่วยจัดการเปลี่ยนให้ หรือหากต้องการติดต่อเองก็ให้กรอกเอกสาร สปส.6-10 พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้านและใบเปลี่ยนชื่อ ติดต่อได้ที่สำนักงานประกันสังคมในเขตพื้นที่

เปลี่ยนนามสกุล บัญชีธนาคาร

โดยปกติทุกธนาคาร หรือแม้แต่สถาบันการเงินต่าง ๆ ต้องยื่นเอกสารขอเปลี่ยนแปลงนามสกุลที่สาขาที่เราไปเปิดบัญชีไว้ เพื่อทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลหลักในระบบทั้งหมด หากในกรณีที่คุณมีบัตรเครดิตของธนาคารนั้นด้วยให้ทำการยื่นเพื่อขอแก้ไขข้อมูลไปพร้อมกันได้เลย ทั้งนี้ บางธนาคารอาจมีการคิดค่าธรรมเนียม

เปลี่ยนนามสกุล บัตรเครดิต

เมื่อมีการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลก็ควรตามเปลี่ยนแปลงข้อมูลในบัตรเครดิตด้วย โดยสามารถนำบัตรเครดิตใบเดิม พร้อมบัตรประชาชนใหม่และใบเปลี่ยนชื่อ ติดต่อที่ธนาคารเจ้าของบัตรได้ทุกสาขา ธนาคารจะทำการออกบัตรโดยเป็นเลขที่เดิม แต่หน้าบัตรเป็นชื่อใหม่ส่งไปรษณีย์ถึงบ้านให้หลังจากที่ติดต่อประมาณ 1 สัปดาห์ โดยธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียมการออกบัตรใหม่ในกรณีของการเปลี่ยนชื่อด้วย

เปลี่ยนนามสกุล กรมธรรม์ประกัน

หากมีการทำประกันภัยไว้ ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ หรือประกันภัยทรัพย์สินอื่น ๆ ที่มีชื่อเราเป็นผู้เอาประกันหรือเป็นเจ้าของกรมธรรม์ ควรทำเรื่องเปลี่ยนชื่อให้เรียบร้อย เมื่อถึงเวลาที่มีเงินคืนหรือครบกำหนดชำระ หรือรับเงินชดเชยหรือผลประโยชน์ใดใดจากประกันจะได้ไม่ยุ่งยาก

เปลี่ยนนามสกุล ทะเบียนรถ (เจ้าของรถ)

การเปลี่ยนนามสกุลของเจ้าของรถ สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยให้ยื่นคำร้องเปลี่ยนนามสกุล พร้อมใบคู่มือจดทะเบียนรถ (สมุดเล่มน้ำเงิน ที่รถทุกคันจะต้องมี) บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน และหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล ณ สำนักงานที่รถนั้นจดทะเบียนอยู่ จังหวัดไหน ไปจังหวัดนั้น

นอกจากเอกสารที่ว่ามาข้างต้น ก็ยังมีเอกสารอีกมากมายที่ควรต้องตามไปเปลี่ยนนามสกุลให้เรียบร้อย เพื่อที่การติดต่อหรือการทำธุรกรรมในอนาคตจะเกิดความสะดวกและไม่ยุ่งยาก ส่วนหลักฐานการเปลี่ยนชื่อก็เป็นเอกสารสำคัญที่เราควรเก็บไว้ให้ดี เพราะอาจมีชื่อนามสกุลเก่าของเราไปปรากฏอยู่ในเอกสารราชการอื่น ๆ ที่จำไม่ได้ ถึงเวลานั้นต้องใช้ใบเปลี่ยนชื่อเป็นหลักฐานสำคัญ

เมื่อรู้แบบนี้แล้ว ใครที่อยากเปลี่ยนนามสกุลก็ขอให้คิดถึงเรื่องนี้และเตรียมใจยอมรับไว้ล่วงหน้า เพราะต้องตามไปเปลี่ยนนามสกุลในเอกสารที่สำคัญทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของเรา แต่บางคนก็ยอมเพราะบอกว่าคุ้มหากเปลี่ยนแล้วชีวิตจะดีขึ้น