ประเพณี แข่งเรือ จังหวัดพิษณุโลก ความ เป็น มา


ชวนเที่ยวงานแข่งขันเรือยาวประเพณี ชิงถ้วยพระราชทานฯ ประจำปี 2565 วันที่ 17-18 กันยายน 2565 ณ ลำน้ำน่าน หน้าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรวิหาร(วัดใหญ่) จ.พิษณุโลก

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพิษณุโลก ชวนร่วมงานประเพณีแข่งเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทานฯ ประจำปี 2565 วันที่ 17 – 18 กันยายน2565 วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก สภาวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก ชมรมเรือยาวจังหวัดพิษณุโลก สภาวัฒนธรรมเทศบาลนครพิษณุโลก และเทศบาลนครพิษณุโลก จัดการแข่งขันเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทาน จังหวัดพิษณุโลก ประจำปี 2565 ในระหว่างวันที่ 17-18 กันยายน 2565 ณ ลำน้ำน่าน หน้าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) เรือยาวของพิษณุโลกมีกำเนิดที่บ้านท่าโรง ตำบลวัดพริก อำเภอเมือง


ทุกปีจะมีประเพณีถวายผ้าห่มพระพุทธชินราช หลังจากห่มผ้าพระพุทธชินราชแล้วก็มีการแข่งเรือในแม่น้ำน่านหน้าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เพื่อความสามัคคีระหว่างหมู่คณะ จึงสืบเนื่องมาเป็นงานประเพณีแข่งเรือยาวในปัจจุบัน บรรยากาศในพิธีเปิดการแข่งขัน เริ่มด้วยขบวนเรืออัญเชิญถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ขบวนแห่กองผ้าป่าสามัคคีของทีมเรือที่พร้อมใจกันนำถวายที่วัดใหญ่ การแสดงของเด็กนักเรียนที่สวยงามยิ่งใหญ่อลังการ ชมกองเชียร์จากชุมชน และกองเชียร์จากทีมเรือยาวต่างๆ โดยการแข่งขันจะเริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 10.00 น. เป็นต้นไป เรือแต่ละลำจะตกแต่งอย่างงดงาม มีการตกแต่งขบวนแห่เป็นรูปแบบต่าง ๆ เช่น ขบวนรำมังคละ ขบวนคนป่า ฯลฯ ก่อนการลงแข่งจะมีการบวงสรวงแม่ย่านางเรือ การแข่งขันเป็นแบบแพ้คัดออก และการตัดสินจะถือสุดโคนเรือเป็นเกณฑ์ โดยไม่นับเครื่องตกแต่งหัวโดยแบ่งการแข่งขัน ดังนี้


วันเสาร์ที่ 17 กันยายน 2565
-เรือ 7 ฝีพาย ภายใน (ฝีพายภายในตำบลเดียวกัน) แข่งรอบแรก
-เรือ 30 ฝีพาย ทั่วไป แข่งขันในรอบแรก
-เรือ 12 ฝีพาย ภายใน แข่งขันจนจบรอบชิงชนะเลิศ
-เรือ 40 ฝีพาย ทั่วไป แข่งขันจนจบรอบชิงชนะเลิศ


วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน 2565
-เรือ 3 ฝีพายภายใน (ฝีพายอยู่ในตำบลเดียวกันทั้งลำ)
-เรือ 7 ฝีพายภายใน (ฝีพายอยู่ในตำบลเดียวกันทั้งลำ)
-เรือ 30 ฝีพาย ภายใน
-เรือ 30 ฝีพาย ทั่วไป
-เรือ 55 ฝีพาย ทั่วไป

สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ อีเมล์ หรือ ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Youtube :Travel MGR และ Instagram : @travelfoodonline และ TikTok : @travelfoodonline

ประเพณี แข่งเรือ จังหวัดพิษณุโลก ความ เป็น มา

เวลา 14.00 น วันที่ 7 กันยายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมจุฬามณี 1 สำนักงานเทศบาลนครพิษณุโลก นายรณรงค์ นครจินดา รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ดร.เปรมฤดี ชามพูนท นายกเทศมนตรีนครพิษณุโลก นางวิเชียร น้อยน้ำใส ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลวัดพริก พร้อมด้วยนางศศิวัณย์ ศรีพรหม ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดพิษณุโลก  ร่วมแถลงข่าวการแข่งขันเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทาน ประจำปี 256 ที่จะจัดขึ้นบริเวณแม่น้ำน่านหน้าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ในระหว่างวันที่วันที่ 17 -18 กันยายน 2565 นี้

ประเพณี แข่งเรือ จังหวัดพิษณุโลก ความ เป็น มา
ประเพณี แข่งเรือ จังหวัดพิษณุโลก ความ เป็น มา
ประเพณี แข่งเรือ จังหวัดพิษณุโลก ความ เป็น มา

สำหรับจังหวัดพิษณุโลก เป็นจังหวัดศูนย์กลางการท่องเที่ยวภาคเหนือตอนล่าง มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพมากมาย นักท่องเที่ยวสามารถท่องเที่ยวได้หลายรูปแบบ ทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวทางน้ำและแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีงานประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญและมีชื่อเสียงสืบต่อกันมาแต่ครั้งอดีต ได้แก่การแข่งขันเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทานจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งจัดการแข่งขันสืบทอดกันมาไม่น้อยกว่า 50 ปี ซึ่งในสมัยก่อนนั้นมีการแข่งขันเรือยาวกันหลายสนามได้แก่ สนามหน้าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร สนามหน้าวัดท่ามะปราง สนามหน้าวัดจันทร์ตะวันออก สนามหน้าวัดพันปี สนามหน้าวัดบางทราย เป็นต้น เป็นงานที่เริ่มต้นมาจากการแข่งขันในระดับท้องถิ่นที่นําเรือมาแข่งขัน กันเองและค่อยๆ พัฒนาจากระดับท้องถิ่นเป็นระดับจังหวัด จนปัจจุบัน เป็นงานแข่งขันเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทานในระดับประเทศ โดยมีเรือเข้าร่วมการแข่งขันจากทั่วทุกสารทิศที่มาแข่งขันประลองความเร็วแห่งสายน้ำ น่านและเป็นสนามการแข่งขันที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย

ประเพณี แข่งเรือ จังหวัดพิษณุโลก ความ เป็น มา
ประเพณี แข่งเรือ จังหวัดพิษณุโลก ความ เป็น มา

ดร.เปรมฤดี ชามพูนท นายกเทศมนตรีนครพิษณุโลก  กล่าวว่า จังหวัดพิษณุโลกจึงได้มีการส่งเสริมและพัฒนา การจัดการแข่งขันเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทานมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับนโยบายการท่องเที่ยววิถีไทยของรัฐบาล   จังหวัดพิษณุโลกจึงขอให้ทุกฝ่ายได้ร่วมกันส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ในท้องถิ่นให้มีความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศที่จะเข้ามาท่องเที่ยวบ้านเรา โดยเฉพาะการต้อนรับ การบริการที่เปี่ยมด้วยรอยยิ้มที่มีมิตรไมตรี การให้ความสะดวก ความปลอดภัย โดยเน้นให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน

ประเพณี แข่งเรือ จังหวัดพิษณุโลก ความ เป็น มา

กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจในงานแข่งขันเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทาน ของจังหวัดพิษณุโลก โดยพิธีเปิด การแสดงจากสภาวัฒนธรรมเทศบาลนครพิษณุโลก ขบวนแห่อัญเชิญถ้วยพระราชทานทางบกและขบวนเรืออัญเชิญถ้วยพระราชทานทางน้ำอันงดงามสีสันบนสายน้ำน่านที่น่าประทับใจ ขบวนแห่ผ้าห่มพระพุทธชินราช และขบวนแห่ผ้าป่าหัวเรือ ตลอดจนพิธีทอดผ้าป่าหัวเรือ โดยชาวบ้านท่าโรงและชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในลุ่มน้ำน่าน ซึ่งเป็นจุดกำเนิด การแข่งเรือยาวหน้าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จึงขอเชิญนักท่องเที่ยวที่สนใจ ได้ไปเที่ยวงานประเพณีแข่งขันเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทาน จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นงานประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ มีความสนุกสนาน ท้าทายชิงความเป็นเจ้าแห่งสายน้ำน่านหน้าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร นอกจากนี้ปีนี้ทางเทศบาลนครพิษณุโลก จะได้จัดงานวิถีแห่งสายน้ำในภาคกลางคืนด้วย เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาเที่ยวชมทั้งการแสดงภาพยนตร์ การรำวงย้อนยุค เป็นต้น

ประเพณี แข่งเรือ จังหวัดพิษณุโลก ความ เป็น มา

สำหรับประเภทของการแข่งขันเรือยาวจัดให้มีการแข่งขัน 9 ประเภท คือ

1 เรือยาวใหญ่ประเภท ก. (ฝีพายตั้งแต่ 41 คน ไม่เกิน 55 คน)- ชิงถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว พร้อมรางวัลเงินสด 50,000 บาท และพระพุทธชินราชบูชา

  1. เรือยาวใหญ่พื้นบ้าน (ฝีพายตั้งแต่ 41 คน ไม่เกิน 55 คน )ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี พร้อมรางวัลเงินสด 30,000 บาทและพระพุทธชินราชบูชา

3.เรือยาวกลาง ประเภท ก. ฝีพายตั้งแต่ 31 ไม่เกิน 40 คน)- ชิงรางวัลถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า

กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมรางวัลเงินสด 25,000 บาท และพระพุทธชินราชบูชา

4.เรือยาวเล็ก ประเภท ก. ฝีพายไม่เกิน 30 คน) ชิงรางวัลถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีกรมพระศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารี พร้อมรางวัลเงินสด 20,000 บาท และพระพุทธชินราชบูชา

5.เรือยาวเล็ก ประเภท ก.2 (ฝีพายไม่เกิน 30 คน) ชิงถ้วยรางวัลเกียรติยศ พร้อมรางวัลเงินสด 10,000 บาท

6.เรือจิ๋ว (ฝีพายไม่เกิน 12 คน) – ชิงรางวัลถ้วยประทาน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พร้อมรางวัลเงินสด 10,000 บาท และพระพุทธชินราชบูชา

7.เรือท้องถิ่น (ฝีพายไม่เกิน 3 คน) ชิงรางวัลถ้วยเกียรติยศ พร้อมรางวัลเงินสด 5,000 บาท

8.เรือสิงห์สองแคว 7 ฝีพาย ประเภทเชื่อมความสามัคคี ระหว่างท้องถิ่นชิงรางวัลถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตนราชกัญญาพร้อมรางวัลเงินสด 8,000 บาท และ พระพุทธชินราชบูชา

9.เรือยาวเล็ก ข ภายในจังหวัดพิษณุโลก (ฝีพายไม่เกิน 30 คน) – ชิงรางวัลถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภานเรนทรเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดาพร้อมเงินรางวัล 10,000 บาท

///////////

แสดงความคิดเห็น