ราย ได้ พัน ล้าน เสียภาษี เท่า ไหร่

ฐานภาษีสำหรับการประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่ รายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ที่ผู้ประกอบกิจการได้รับ หรือพึงได้รับเนื่องจากการประกอบกิจการ

"รายรับ" หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ใด ๆ อันมีมูลค่าที่ผู้ประกอบกิจการ ได้รับหรือพึงได้รับ ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรอันเนื่องมาจากการประกอบกิจการ

กิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ จะต้องเสียภาษีโดยคำนวณจากฐานภาษี ซึ่งได้แก่ รายรับตามฐานภาษี ของแต่ละประเภทกิจการ คูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนดไว้ และจะต้องเสียภาษีท้องถิ่นอีก ร้อยละ 10 ของจำนวนภาษี ธุรกิจเฉพาะดังกล่าว

กิจการฐานภาษีอัตราภาษีร้อยละ1.   กิจการธนาคาร,ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์, ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และการประกอบกิจการเยี่ยง ธนาคารพาณิชย์-   ดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือกำไรก่อนหักรายจ่าย ใดๆ จากการซื้อหรือขายตั๋วเงินหรือ ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ3.0-   กำไรก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากการ แลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตรา การออกตั๋วเงินหรือการส่งเงินไปต่างประเทศ3.02.   กิจการรับประกันชีวิต-   ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ2.53.   กิจการโรงรับจำนำ-   ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม2.5-  เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือ ประโยชน์ใดๆ อันมีมูลค่าที่ได้รับ หรือพึงได้รับจากการขายของที่ จำนำหลุดเป็นสิทธิ2.54.   การค้าอสังหาริมทรัพย์- รายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ0.15.   การขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์-   รายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ0.1
(ยกเว้น)6.   การซื้อและการขายคืนหลัก ทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจาก คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์-   กำไรก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากการขายคืนหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึง ดอกเบี้ย เงินปันผล หรือประโยชน์ใดๆ ที่ได้จากหลักทรัพย์3.07.   ธุรกิจแฟ็กเตอริง-   ดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการ3.08.   การประกอบกิจการตามพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 469-   ดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการ0.01-   กำไรก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากการ แลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตรา0.01-   กำไรก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากการขายคืนหลักทรัพย์0.01

หมายเหตุ อัตราภาษีของการค้าอสังหาริมทรัพย์ให้ลดและคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 0.1 สำหรับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ได้กระทำภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้ ( ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2551 ถึงวันที่ 28 มีนาคม 2552 พระราชกฤษฎีกา ( ฉบับที่ 472 ) พ.ศ.2551)

มูลนิธิหรือสมาคมซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจะต้องเสียภาษีจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายในอัตรา ดังนี้

(ก) เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1)-(7) แห่งประมวลรัษฎากร เช่น เงินได้จากดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า ค่าสิทธิ ค่านายหน้า เป็นต้น เสียภาษีในอัตราร้อยละ 10.0

(ข) เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งได้แก่เงินได้จากธุรกิจการพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่น ๆ นอกเหนือจาก(ก) เสียภาษีในอัตราร้อยละ 2 .0

การคำนวณภาษี

เมื่อมูลนิธิหรือสมาคมมีรายได้จากการประกอบกิจการจะต้องนำรายได้ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นมาคำนวณภาษี โดยคำนวณจากรายได้ก่อนหักรายจ่าย คูณด้วยอัตราภาษีร้อยละ 10.0 หรือร้อยละ 2.0 แล้วแต่กรณี ผลที่ได้เป็นภาษีที่ต้องเสีย

การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลของมูลนิธิหรือสมาคม จะต้องคำนวณตามรอบระยะเวลาบัญชีเช่นเดียวกับ “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล”

ตัวอย่างการคำนวณภาษี

สมาคม ก. มีรายได้จากการประกอบกิจการ และไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ในปี 2555 สมาคมมีรายได้ ดังนี้

          หากทราบจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายในแต่ละปีไว้ล่วงหน้าก็จะช่วยให้เราวางแผนภาษีได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะการมองหาตัวช่วยลดหย่อนภาษีที่เหมาะสมกับรายได้ของตัวเอง เพื่อเตรียมตัวยื่นภาษี หรือขอคืนภาษีต่อไป

วิธีคำนวณ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามกฎหมายไทยจะคิดเป็นรายปีปฏิทิน (ปีภาษี) โดยต้องใช้ 2 วิธีคู่กันแล้วเลือกใช้วิธีที่คำนวณแล้วเสียภาษีสูงกว่า ได้แก่

  • วิธีคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ (อัตราภาษีก้าวหน้าแบบขั้นบันได) และ
  • วิธีคำนวณภาษีแบบเหมา 0.5%

วิธีคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ (แบบขั้นบันได)

วิธีนี้คำนวณจากจากเงินได้สุทธิด้วยสมการง่ายๆ คือ

เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ

จากนั้น

เงินได้สุทธิ × อัตราภาษี = เงินภาษีที่ต้องจ่าย

เทคนิคการคำนวณภาษีอย่างง่าย

1. เงินได้สุทธิไม่เกิน ฿150,000 (ขั้นบันได 0%)

ด้วยฐานภาษีขั้นแรกนี้ คุณจะไม่ต้องเสียภาษีเลย เนื่องจากเงินได้สุทธิ ฿150,000 แรก ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี

2. เงินได้สุทธิ ฿150,001 – ฿300,000 (ขั้นบันได 5%)

ด้วยฐานภาษีขั้นบันไดนี้ คุณจะเสียภาษีสูงสุดไม่เกิน ฿7,500

3. เงินได้สุทธิ ฿300,001 – ฿500,000 (ขั้นบันได 10%)

ด้วยฐานภาษีขั้นบันไดนี้ คุณจะเสียภาษีราวๆ ฿7,500 – ฿27,500

4. เงินได้สุทธิ ฿500,001 – ฿750,000 (ขั้นบันได 15%)

ด้วยฐานภาษีขั้นบันไดนี้ คุณจะเสียภาษีราวๆ ฿27,500 – ฿65,000

5. เงินได้สุทธิ ฿750,001 – ฿1,000,000 (ขั้นบันได 20%)

ด้วยฐานภาษีขั้นบันไดนี้ คุณจะเสียภาษีราวๆ ฿65,000 – ฿115,000

6. เงินได้สุทธิ ฿1,000,001 – ฿2,000,000 (ขั้นบันได 25%)

ด้วยฐานภาษีขั้นบันไดนี้ คุณจะเสียภาษีราวๆ ฿115,000 – ฿365,000

7. เงินได้สุทธิ ฿2,000,001 – ฿5,000,000 (ขั้นบันได 30%)

ด้วยฐานภาษีขั้นบันไดนี้ คุณจะเสียภาษีราวๆ ฿365,000 – ฿1,265,000

8. เงินได้สุทธิมากกว่า ฿5,000,000 (ขั้นบันได 35%)

ด้วยฐานภาษีขั้นบันไดนี้ คุณจะเสียภาษีมากกว่า ฿1,265,000 อย่างแน่นอน

วิธีคำนวณแบบเหมา 0.5%

วิธีคำนวณแบบเหมา 0.5% จะถูกนำมาใช้ก็ต่อเมื่อคุณมีรายได้ทางอื่นนอกเหนือจากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว โดยการนำรายได้ทางอื่นทั้งหมดที่ไม่ใช่เงินเดือนไปคูณ 0.5% ก็จะได้เป็นค่าภาษี

เงินได้ที่ไม่ใช่เงินเดือน x 0.005 = ค่าภาษี

วิธีคำนวณแบบเหมา 0.5% จะนำมาใช้ก็ต่อเมื่อเข้าเงื่อนไขครบทุกข้อต่อไปนี้เท่านั้น

  • คำนวณจากรายได้ทุกทางยกเว้น เงินเดือน
  • คำนวณแล้วค่าภาษีต้องเกิน ฿5,000 (ถ้าคำนวณแล้วได้ ฿5,000 พอดีหรือต่ำกว่าจะไม่นำวิธีนี้มาใช้) แปลได้อีกทาง คือ ต้องมีรายได้ทุกทาง (ยกเว้นเงินเดือน) รวมกันแล้วเกิน ฿1,000,000 นั่นเอง
  • คำนวณภาษีแบบเหมาแล้วได้มากกว่าคำนวณภาษีแบบขั้นบันได

การคำนวณภาษีกรณีเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเฉพาะกิจ

ในกรณีที่ทำธุรกิจใน เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเฉพาะกิจ (ท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดสงขลาเฉพาะในท้องที่อําเภอจะนะ อําเภอเทพา อําเภอนาทวี และอําเภอสะบ้าย้อย และจังหวัดสตูล) และมี รายได้จากการรับเหมา หรือ รายได้จากการทำธุรกิจ ในรูปแบบ บุคคลธรรมดา จะได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตรา 0.1% จากยอดรายรับโดยไม่ต้องไปรวมคำนวณกับเงินได้ประเภทอื่นๆ ก็ได้

เรื่องที่มักเข้าใจผิดบ่อย

  • หลายคนมักเข้าใจผิดว่าบ้านเรามีแค่คำนวณภาษีแบบขั้นบันไดอย่างเดียวเท่านั้น แต่ที่จริงแล้วถ้าคุณมีรายได้ทางอื่นนอกเหนือจากเงินเดือนจะต้องใช้วิธีคำนวณแบบเหมา 0.5% มาคำนวณคู่กันด้วย
  • เวลาคำนวณภาษีแบบขั้นบันไดหลายคนเข้าใจผิดว่า ถ้าทั้งปีเรามีรายได้ ฿500,000 ก็จะเอา ฿500,000 มาคูณ อัตราภาษี ทันที (เช่น เอารายได้ ฿500,000 x อัตรา 10% ทันที) ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ยังไม่ถูกต้องและทำให้เราเสียเปรียบ เพราะเรายังไม่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอื่นๆ ทั้ง ค่าใช้จ่าย และ ค่าลดหย่อน ซึ่งจะช่วยลดภาระภาษีได้อีกมาก ดังนั้น เราจึงต้องเอาเงินได้พึงประเมินลบด้วย ค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนก่อนจึงจะเป็นฐานภาษีที่ถูกต้อง ที่เราเรียกว่า เงินได้สุทธิ

เพราะภาษีเป็นเรื่องที่ทำให้หลายคนปวดหัวได้ไม่หยุดหย่อน iTAX จึงอยากมีส่วนช่วยให้ผู้ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีทุกคน สามารถคำนวณภาษีได้ถูกต้องครบถ้วนแม้จะไม่มีความรู้พื้นฐานภาษี และหากคุณเป็นหนึ่งคนที่ไม่อยากทนปวดหัวกับวิธีการคำนวณภาษีที่ยุ่งยาก ยื่นภาษีปีนี้ลองคำนวณภาษีผ่าน iTAX รับรองเลยว่า iTAX จะทำให้ชีวิตคุณง่ายขึ้นเยอะ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita