ประโยชน์ที่ไทยได้รับจากอาเซียน ด้านแรงงาน

   การเข้าร่วมประชาคมอาเซียนส่งผลต่อสังคมไทยเป็นอย่างมาก  จำเป็นที่ผู้นำชุมชนต้องเตรียมตัวให้พร้อมทั้งในส่วนของตัวผู้นำโดยตรง  ตลอดจนสร้างสรรค์ชุมชนให้พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลง จะทำให้สังคมไทยได้รับประโยชน์จากงานด้านต่างๆของประชาคมอาเซียนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ  ขณะเดียวกันก็สามารถปกป้องตัวเองจากผลลบที่อาจเกิดจากประชาคมอาเซียนได้อย่างดีด้วยเช่นกัน  ปัญหาสำคัญอยู่ที่ว่าเวลานี้  ผู้นำชุมชนตระหนักและเห็นความสำคัญของการเตรียมตัวและสร้างความพร้อมให้กับตนเองและชุมชน และหาทางผลักดันให้เกิดการเตรียมความพร้อมในชุมชนแล้วหรือยัง  คำตอบของคำถามนี้อยู่ที่ผู้นำชุมชนทุกคน  เพราะท่านคือผู้นำคนสำคัญของชุมชน.

          3. การจัดตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินการตามแผนงานไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน   (ตามคำสั่ง กนศ. ที่ 1/2550  ลงวันที่  14  มิถุนายน  2550)  เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนงานและเตรียมการรองรับผลกระทบที่จะ เกิดขึ้นในการดำเนินงานไปสู่การเป็น AEC โดยมีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน

สืบเนื่องจากประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่จุดเริ่มของการเป็นประชาคมอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบในปลายปี 2558 ซึ่งเหลือเวลาไม่ถึง 15 เดือน ประเทศสมาชิกอาเซียนมีขนาดของประเทศแตกต่างกันมากจากประเทศสิงคโปร์ที่เล็กที่สุด (714 ตร.กม.) ไปจนถึงประเทศอินโดนีเซียที่มีพื้นที่มากที่สุดประมาณมา 1.86 ล้าน ตร.กม. สำหรับประเทศไทยอยู่ลำดับที่ 3 มีพื้นที่ 513.12 ตร.กม. ซึ่งมีประชากรอาเซียนรวมกันถึง 604 ล้านคน ประเทศไทยมีประชากรประมาณ 67.5 ล้านคน (ลำดับที่ 4) ส่วนประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงที่สุดแน่นอนคือ สิงคโปร์ (5,116 USD) ตามด้วยบรูไน (3,870 USD) มาเลเซีย (9,941 UDS) และไทย (5,116 USD) ความแตกต่างทางฐานะและทางเศรษฐกิจดังกล่าวบ่งชี้ถึงสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและการจ้างงาน ซึ่งแตกต่างกันไปตามระดับของการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศในอาเซียน

ตารางที่ 1 กำลังแรงงานและอัตราว่างงานของประเทศต่างในอาเซียน

ประเทศกำลังแรงงาน (2553)  (พันคน)จำนวน/อัตราว่างงงาน (ร้อยละ)บรูไน197.9(10)7,520/3.8(4)กัมพูชา18,989.7(6)284,845/1.5(8)อินโดนีเซีย114,879.3(1)7,582,860/6.6(2)ลาว3,074.1(8)39,963/1.3(9)มาเลเซีย11,996.5(7)371,892/3.1(5)ฟิลิปปินส์38,561.8(4)2,699,326/7.0(10)สิงคโปร์2,733.1(9)76,527/2.8(6)ไทย38,949.1(3)272,644/0.7(1)เวียดนาม46,655(2)1,035,741/2.2(7)พม่า27,052.9(5)1,109,169/4.1(3)อาเซียน (ล้านคน) อัตราว่างงานรวม303.1 13.484.4 

ที่มา: รวบรวมและสังเคราะห์โดยผู้เขียน

จากตารางที่ 1 ข้างต้น จะเห็นว่าขนาดของกำลังแรงงานในแต่ละประเทศแตกต่างกันมาก ความสามารถในการดูดซับแรงงานแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ ประเทศสิงคโปร์เปิดโอกาสให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือระดับสูงเข้าประเทศได้ง่ายตราบใดก็ตามที่ผ่านกระบวนการคัดกรองของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ขณะเดียวกันก็รับแรงงานฝีมือในระดับกลางในกิจกรรมเกี่ยวกับการก่อสร้างและภาคบริการจากประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งประเทศขนาดเล็กอย่างบรูไนเปิดโอกาสให้ผู้มีฝีมือแรงงานเข้าไปทำงานคล้ายกับสิงคโปร์ ถึงแม้ว่าจะมีการว่างงานอยู่ในระดับที่สูง (มากกว่า 2%) แต่ทั้งสองประเทศไม่มีปัญหาในการดูแลประชากรของตนเองซึ่งอยู่ในฐานะร่ำรวยที่สุดในอาเซียน

ประเทศมาเลเซียกับประเทศไทยมีลักษณะคล้ายกันคือ เป็นประเทศมีจำนวนแรงงานย้ายถิ่นเข้าประเทศสุทธิ (Net immigration) เป็นประเทศขาดแคลนแรงงานระดับล่างเหมือนกันโดยประเทศไทยมีแรงงานต่างด้าวระดับล่างทำงานอยู่แล้วประมาณ 3 ล้านคนเศษ มาเลเซียมีแรงงานต่างด้าวทำงานอยู่ประมาณ 4 ล้านคนเศษเช่นกัน จุดที่แตกต่างกันระหว่างไทยกับมาเลเซียคือการนำเข้าแรงงานระดับฝีมือระดับกลางและระดับสูง ซึ่งมาเลเซียนำเข้าเฉพาะแรงงานฝีมือระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ แต่ประเทศไทยนำเข้าแรงงานฝีมือระดับกลาง (เทคนิเซียน) และระดับผู้บริหารนักวิชาการและนักกฎหมาย เป็นต้น สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ มาเลเซียมีฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่าไทย มีกำลังแรงงานน้อยกว่าไทย 3 เท่า ซึ่งแน่นอนทำให้มีแรงงานไทยไปทำงานในมาเลเซียในพื้นที่รัฐที่ไม่ไกลจากชายแดนไทยเป็นจำนวนมากกว่า 4 แสนคน ส่วนใหญ่ทำงานเกี่ยวข้องกับภาคการเกษตรและภาคบริการ (อาทิ ร้านอาหารเมนูไทย ฯลฯ) สำหรับประเทศไทยเมื่อรวมตัวเป็นประเทศอาเซียนแล้วในปลายปีหน้า (2558) ยังไม่ต้องห่วงมากนักเกี่ยวกับ 7 วิชาชีพที่ได้ทำข้อตกลงกันเอาไว้คือ แพทย์ ทันตแพทย์ วิศวกรรม ช่างสำรวจ สถาปนิก พยาบาล และวิชาชีพบัญชี ซึ่งทุกกลุ่มจะมีสภาวิชาชีพดูแลอยู่แล้วตามกติกาเมื่อเริ่มเคลื่อนย้ายบุคลากรเสรีปลายปีหน้าทุกประเทศที่สนใจที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตามกรอบของกฎหมายและกฎระเบียบในการประกอบวิชาชีพเหล่านี้ในประเทศไทยอยู่ดีขณะเดียวกันแรงงานฝีมือของไทยปกติไปทำงานในประเทศที่มีค่าแรงสูงกว่าประเทศไทยคือประเทศสิงคโปร์เป็นหลักแต่สำหรับผู้ทีไปทำงานที่มาเลเซียอาจจะมีค่าจ้างไม่สูงเท่าสิงโปร์แต่ที่เดินทางไปทำงานส่วนหนึ่งเป็นเพราะไม่มีปัญหาด้านการปรับตัวแต่ยังมีปัญหาข้อจำกัดของตลาดแรงงานในภาคใต้ประเทศไทย

ที่จริงแล้ว ถ้าประเทศไทยขาดแคลนบุคลากรในหลายสาขา อาทิ สาขาด้านที่เกี่ยวข้องกับช่างเทคนิคหรือช่างฝีมือชั้นสูง ทุกวันนี้มีแรงงานจากต่างประเทศทำงานอยู่ในประเทศไทยนับหมื่นคนอยู่แล้วภายใต้กรอบกติกาการส่งเสริมการลงทุนของประเทศไทยหรือในกรณีที่ขาดแคลนบุคลากรด้านการศึกษาและ/หรือการวิจัยก็สามารถนำเข้าและขอใบอนุญาตทำงานได้อยู่แล้ว ซึ่งปัจจุบันมีบุคลากรจากต่างประเทศทำงานในภาคการศึกษานับหมื่นคน

สิ่งที่น่าห่วงคงเป็นอาชีพอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งได้ทำข้อตกลงกับประเทศในกลุ่ม 10 ประเทศไปแล้วคือ ได้มีการลงนามตามกรอบความร่วมมือแห่งอาเซียนใน 6 สาขาอาชีพ (32 ตำแหน่งงาน) ที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยว (MRA-Tourism Professional (TP)) ซึ่งประกอบด้วย ด้านบริการโรงแรม (Hotel Services) มีแผนกต้อนรับ แผนกแม่บ้าน แผนกอาหาร แผนกอาหารและเครื่องดื่ม ด้านการเดินทาง (Travel Services) งานบริษัททัวร์ และตัวแทนท่องเที่ยว ซึ่งมีคนทำงานอยู่ในธุรกิจท่องเที่ยวในอาเซียนมากกว่า 25 ล้านคน

ตารางที่ 2 งานที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวของประเทศในกลุ่มอาเซียน

ประเทศจำนวน (ล้านคน)สัดส่วน (ร้อยละ)สถานภาพตลาดแรงงานบรูไน0.0130.05–กัมพูชา1.8057.08ส่วนเกินอินโดนีเซีย8.90934.95ส่วนเกินมากลาว0.4331.70ส่วนเกินมาเลเซีย1.7086.70ขาดแคลนบางสาขาฟิลิปปินส์0.7112.79ส่วนเกินสิงคโปร์2.91111.42ส่วนเกินไทย0.2911.14ขาดแคลนมากเวียดนาม4.81818.90ส่วนเกินมากพม่า3.89215.27ส่วนเกินมากอาเซียน (ล้านคน)25.494
  1. 0
 

ที่มา: รวบรวมและสังเคราะห์โดยผู้เขียน

จากตารางที่ 2 ข้างต้นจะเห็นว่าประเทศไทยมีแรงงานทำงานเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวมากกว่า 4.8 ล้านคนจากจำนวนนักท่องเที่ยวมากกว่า 24 ล้านคน (ข้อมูลปี 2556) กระจายไปตามแหล่งท่องเที่ยวของไทยทั่วประเทศ ซึ่งบุคลากรด้านการท่องเที่ยวของไทยยังมีจุดอ่อนที่สำคัญคือ ด้านภาษาต่างประเทศและความสนใจในอาชีพด้านการท่องเที่ยวถ้าจะเทียบกับประเทศที่มีแรงงานส่วนเกินจำนวนมาก และมีประสบการณ์อยู่ในกิจกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยว อาทิ ประเทศอินโดนีเซีย เวียดนาม และพม่า ซึ่งประเทศเหล่านี้มีแรงงานระดับล่างทำงานอยู่ในประเทศอาเซียนอยู่แล้ว อาทิ แรงงานอินโดนิเซีย พม่าและ ไทยทำงานอยู่ในประเทศมาเลเซียรวมหลายล้านคน รวมทั้งบางอาชีพในประเทศสิงคโปร์ ขณะที่แรงงานเวียดนามทำงานอยู่ในประเทศมาเลเซียอยู่หลายแสนคนและมีบางส่วนลักลอบทำงานอยู่ในประเทศไทยในภาคบริการเป็นส่วนใหญ่มากกว่า 5 หมื่นคน ขณะที่แรงงานพม่าทำงานที่ประเทศไทยมากกว่า 1 ล้านคน และทำงานอยู่ในมาเลเซียหลายแสนคน อย่างไรก็ตาม แรงงานย้ายถิ่นเหล่านี้ทำงานอยู่ในประเทศอาเซียนบางส่วนถูกกฎหมายบางส่วนผิดกฎหมาย ซึ่งเชื่อว่ามีจำนวนมากที่ลักลอบทำงานอยู่ในภาคบริการโดยเฉพาะภัตตาคาร ร้านอาหาร และกิจกรรมเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว

ประเด็นที่สำคัญมีบางประเทศในอาเซียน อาทิ ประเทศฟิลิปปินส์มีความพร้อมเป็นอย่างมากที่จะเข้ามาทำงานในสาขาบริการไม่ว่าจะเป็นงานด้านการต้อนรับ งานนักร้อง งานแม่บ้าน งานด้านบริหาร เป็นต้น ซึ่งอาศัยความได้เปรียบด้านภาษาอังกฤษ และเป็นภาษากลางของอาเซียน และความมุ่งมั่นในการทำงานในต่างประเทศมากกว่าหลายประเทศในอาเซียน อีกประเทศที่น่าจับตามากที่สุดคือ แรงงานจากประเทศเวียดนามมีการเตรียมพร้อมเรียนภาษาอังกฤษในหลักสูตรเป็นปีๆ และบางส่วนยังเรียนภาษาไทยอีกด้วย กอรปกับประเทศสังคมนิยมเวียดนามมีจำนวนแรงงานมาก มีค่าแรงที่ต่ำกว่าประเทศไทยมาก จึงมีโอกาสเข้ามาแย่งงานที่คนไทยเกี่ยงกันทำในหลายตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับโรงแรม ภัตตาคาร ร้านอาหาร และการท่องเที่ยว ซึ่งประเทศไทยขาดแคลนแรงงานทั้งระดับฝีมือและกึ่งฝีมือ  ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีการจัดการเรียนการสอน มีผู้จบการศึกษาเกี่ยวกับสาขาการท่องเที่ยวในระดับประกาศนียบัตรจนถีงระดับปริญญาตรีจำนวนมากก็จริง แต่ส่วนใหญ่ไม่สนใจทำงานในภาคบริการโดยเฉพาะการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเพราะบางคนที่จบคิดเลยเถิดว่าเป็นงานที่ หนัก ต่ำต้อย ไร้ศักดิ์ศรี และไม่มีอนาคต

กล่าวโดยสรุปคือ ประเทศไทยอยู่ในสภาพที่เสียเปรียบหลายประเทศในอาเซียน โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว เนื่องจากขาดความพร้อมของบุคลากร โดยเฉพาะด้านภาษาอังกฤษและภาษาประเทศต่างๆ ในอาเซียน รวมทั้งภาษาอื่นๆ จากนักท่องเที่ยวนอกอาเซียน อีกทั้งผู้จบการศึกษาเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวคิดแต่เพียงว่าเรียนอะไรก็ได้จบง่ายๆ แต่เมื่อจบแล้ว “เสียของ” ไม่สนใจทำงานในสาขาเกี่ยวกับท่องเที่ยว ถ้าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่มีความมุ่งมั่น (Commitment) ที่จะเร่งพัฒนาบุคลากรเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ในที่สุดประเทศไทยจะได้ประโยชน์จากการรวมตัวเป็นประเทศอาเซียนไม่มากดังที่คาดหวังไว้ แต่อาจเสียเปรียบประเทศอื่นๆ ที่อยู่ในอาเซียน ซึ่งมีความพร้อมกว่าประเทศไทยดังที่ได้กล่าวมา การเร่งจัดทำมาตรฐานสมรรถนะและทดสอบสมรรถนะให้กับแรงงานไทยที่ทำงานและที่คาดว่าจะเข้ามาทำงาน จะทำให้แรงงานไทยมีความพร้อมที่จะแข่งขันได้กับทุกฝ่ายที่จ้องจะแย่ง 32 ตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพท่องเที่ยว โดยเฉพาะในประเทศไทย