ผล ดี ของ การเปิดเสรี ทาง เศรษฐกิจ ของ ประเทศไทย ที่มี ต่อ ภาค เกษตร

ศุกร์ พ.ค. 15

ผู้เขียน:  เจ้าหน้าที่ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จาก สำนักงานพาณิชย์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เมื่อวันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เวลา 10:13 น.

 

อ่าน 5,424

ผลกระทบจากภาคอุตสาหกรรมต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

    การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของภาคอุตสาหกรรม ภายใต้การเปิดเสรีการค้าตามกรอบเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) มีผลเช่นเดียวกับภาคเกษตร กล่าวคือ การลดและยกเลิกภาษี ได้กำหนดให้ประเทศสมาชิกอาเซียนดั้งเดิม 6 ประเทศ ยกเลิกภาษีสินค้าภายในปี พ.ศ.2550 แบ่งเป็น สิ่งทอ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมทั้งดำเนินการขจัดมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี ซึ่งกำหนดเป็นระยะเวลาต่างๆ กันสำหรับแต่ละกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน อีกทั้ง ยังมีการเปิดเสรีการลงทุนภายใต้ ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ACIA) โดยมีการคุ้มครองการลงทุนในภาคการผลิต และเหมืองแร่ รวมทั้งการลงทุนโดยตรง

     ภายใต้ AFTA อาเซียนได้ส่งเสริมการสร้างฐานการผลิตร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอย่างต่อ เนื่อง และได้จัดตั้ง ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (ASEAN Industrial Cooperation Scheme: AICO) เพื่อสร้างแรงจูงใจด้านภาษีและศุลกากรสำหรับภาคเอกชนที่มีการลงทุนร่วมกัน ภายในอาเซียน ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลไทยมีนโยบายจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ภายใต้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ.2556 เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนของประเทศบริเวณพรมแดนระหว่างไทยกับประเทศ เพื่อนบ้านด้วย ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบพื้นที่จุดยุทธศาสตร์ความเชื่อมโยงกับแนวเส้นทาง เศรษฐกิจ (Economic Corridor) พื้นที่ชายแดน อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ในภาคเหนือ พื้นที่ชายแดนจังหวัดมุกดาหาร นครพนมและหนองคาย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ชายแดนจังหวัดสระแก้วในภาคตะวันออก พื้นที่ชายแดนจังหวัดกาญจนบุรี ในภาคตะวันตก และพื้นที่ชายแดนอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา และพื้นที่ชายแดนจังหวัดนราธิวาส ในภาคใต้

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ได้แก่

1.การเร่งใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติจนเกินขีดความสามารถในการรองรับของระบบนิเวศ โดยที่การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะกระตุ้น ให้กลุ่มประเทศสมาชิกอา เซียน โดยเฉพาะเมียนมา ลาว และกัมพูชา ซึ่งยังมีรายได้ต่ำ มุ่งเน้นที่จะใช้ความได้เปรียบจากความมั่งคั่งของทรัพยากรธรรมชาติในการแข่งขันทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศและหากกลุ่มประเทศอาเซียนไม่มีมาตรการ ควบคุมดูแลการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว จะทำให้ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอและเสื่อมโทรมลง

2.การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษอาจนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมที่กระจุกตัวในบริเวณ หนึ่ง ๆ ซึ่งมีการปล่อยมลพิษโดยรวมมากเกินขีดความสามารถในการรับรองของพื้นที่ดังเช่น กรณีโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งภาคตะวันออกของไทย (Eastern Seaboard) บริเวณมาบตาพุดที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของชุมชนบริเวณ ใกล้เคียงระยะต่อมา

โดย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วันที่ 15 พฤษภาคม 2558

ผล ดี ของ การเปิดเสรี ทาง เศรษฐกิจ ของ ประเทศไทย ที่มี ต่อ ภาค เกษตร

คำค้นหา

excerpt

ปัจจุบันมูลค่าการค้า การลงทุน และการดึงดูดเม็ดเงินลงทุกจากต่างชาติของไทยเริ่มด้อยกว่าคู่แข่งสำคัญ หลายฝ่ายเสนอว่าหนึ่งในวิธีแก้ไขคือไทยต้องขยายพันธมิตรในข้อตกลงทางการค้าเสรี (FTA) เพื่อเปิดตลาดให้ทัดเทียมกับบรรดาคู่แข่งในภูมิภาคและดึงดูดเงินลงทุนต่างชาติ แต่ FTA สมัยใหม่อย่าง CPTPP (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership) ล้วนมีเงื่อนไขที่มุ่งลดการอุดหนุนโดยรัฐหรือการตั้งกำแพงกีดกันธุรกิจต่างชาติให้ขยายขอบเขตไปครอบคลุมภาคบริการซึ่งรวมถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วย รวมทั้งมีเงื่อนไขที่มุ่งคุ้มครองการคิดค้นนวัตกรรมอย่างจริงจังโดยเฉพาะการขยายพันธุ์พืชและการผลิตยา การเข้าร่วม CPTPP จึงมีผลกระทบด้านลบต่อหลายภาคส่วนเช่นกัน บทความนี้จะชี้ให้เห็นว่าภาคส่วนใดบ้างที่จะได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์หากไทยเข้าร่วม CPTPP จากการรวบรวมข้อเท็จจริงและผลการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ทั้งฝั่งผู้สนับสนุนและผู้คัดค้าน และชี้ให้เห็นภาพรวมกฎกติกาและระบบการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการค้าใหม่ซึ่งหน่วยงานรัฐต้องเตรียมการรองรับ ทั้งผ่านกลยุทธ์การเจรจา มุ่งหน้าพัฒนาระบบงานภาครัฐและกฎระเบียบในประเทศ และเตรียมกระบวนการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ

CPTPP คืออะไรแล้วทำไมไทยต้องสนใจ

CPTPP ถือเป็นหนึ่งใน FTA สมัยใหม่ที่ข้อตกลงคลอบคลุมมากกว่าด้านการค้า การลงทุน แต่ขยายขอบเขตไปถึงภาคบริการ การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา (เช่น สมาชิกต้องเข้าร่วมอนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ หรือ International Union for the Protection of New Varieties of Plants (UPOV) 1991 รวมทั้งต้องมีการเชื่อมโยงระบบแจ้งเตือนสิทธิบัตรยา) หรือแม้แต่การคุ้มครองสิทธิแรงงาน (ตามอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เช่น การให้มีสหภาพแรงงานข้ามชาติ) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่สูงกว่า FTA ที่ไทยได้ร่วมลงนามทั้งหมด และเป็นข้อตกลงพหุภาคีที่ครอบคลุมตลาดขนาดใหญ่ ปัจจุบันมีสมาชิก 11 ประเทศ ครอบคลุมประชากร 7% และขนาดเศรษฐกิจ 13% ของโลก รวมถึงมีมหาอำนาจทางเศรษฐกิจให้ความสนใจเข้าร่วมเพิ่มเติมทั้งสหราชอาณาจักร (อยู่ระหว่างเจรจา) รวมถึงจีนและไต้หวัน (ยื่นหนังสือขอเจรจาเมื่อ 16 และ 22 ก.ย. 2564 ตามลำดับ) ซึ่งหากรวมกลุ่มประเทศที่สนใจเหล่านี้จะทำให้มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ถึง 1 ใน 3 ของโลก

คำถามที่ตามมาคือ ทำไมไทยต้องสนใจ? เพราะว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ความสามารถในการแข่งขันของไทยในเวทีโลกเป็นประเด็นที่น่ากังวล สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกและการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนต่างชาติของไทยที่เริ่มแพ้คู่ค้าคู่แข่งสำคัญในภูมิภาคอาเซียนโดยเฉพาะเวียดนามและมาเลเซีย รวมถึงเริ่มเห็นการถอนการลงทุนของ MNCs ในบางอุตสาหกรรม เช่น MNCs จากญี่ปุ่นที่เป็นผู้ลงทุนโดยตรงอันดับหนึ่งของไทย ซึ่งมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากคู่แข่งของไทยเปิดตลาด FTA มากกว่า (รูปที่ 1) โดยมุมมองของนักลงทุนญี่ปุ่นต่อ FTA จาก Jetro Survey 2020 สะท้อนว่าบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นสนใจลงทุนในเวียดนามมากที่สุดในภูมิภาค เนื่องจากบริษัทญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับ FTA ในการเลือกประเทศที่จะลงทุน ผลสำรวจแสดงว่า จากตัวเลือกข้อเสนอแนะต่อทางการไทยทั้งหมด 8 ข้อ บริษัทญี่ปุ่นเลือกข้อเสนอแนะให้ไทยเข้าร่วม CPTPP พร้อมกับทำ FTA Thai-EU สูงเป็นอันดับที่ 2 จาก 8 อันดับ (30% ของผู้ตอบ) ดังนั้น การขยายตลาดผ่าน FTA อย่าง CPTPP จึงเป็นหนึ่งในแนวทางการยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศให้ทัดเทียมกับคู่แข่งได้

รูปที่ 1: เปรียบเทียบความตกลงทางการค้าระหว่างไทยและคู่แข่งในภูมิภาค

ผล ดี ของ การเปิดเสรี ทาง เศรษฐกิจ ของ ประเทศไทย ที่มี ต่อ ภาค เกษตร

ใครได้: ภาคการค้า ลงทุน การคิดค้นนวัตกรรม

มิติที่ 1: ผลดีต่อการค้า

การเข้า CPTPP จะนำไปสู่การลดกำแพงภาษีสินค้านำเข้าระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งจะช่วยให้ไทยสามารถขยายตลาดไปยังประเทศที่ไทยยังไม่ได้มี FTA และช่วยเพิ่มโอกาสของผู้บริโภคในประเทศในการเข้าถึงตัวเลือกสินค้ามากขึ้น โดยผลการศึกษาผลกระทบจากการเข้าร่วม CPTPP ของไทยด้วยแบบจำลอง Global Trade Analysis Project (GTAP)1 ภายใต้ข้อสมมติให้ระบบเศรษฐกิจเปิดเสรีทันทีและใช้สิทธิประโยชน์ (FTA utilization) เต็มที่พบว่า การส่งออกและการนำเข้าจะเพิ่มขึ้น 3.5% และ 5.6% ตามลำดับ (กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ร่วมกับ บริษัท โบลลิเกอร์ แอนด์ คอมพานี (ประเทศไทย) จำกัด, 2561) ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาร่วมกับสัดส่วน FTA utilization เทียบกับมูลค่าการค้าทั้งหมดกับคู่ค้าเฉลี่ยในอดีตที่ 31% และ 26% ตามลำดับ (อาชนัน เกาะไพบูลย์ และศวีระ ธรรมศิริ, 2564) จะทำให้ผลประโยชน์ของการเข้า CPTPP ต่อการส่งออกและการนำเข้าประมาณ 1.1% และ 1.4% ต่อปี หรือคิดเป็น 2.7 และ 3.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ (หากคำนวณจากข้อมูลปี 2562)

นอกจากนี้ รายการสินค้าที่คาดว่าจะมีปริมาณการค้ากับประเทศ CPTPP มากขึ้นจากประโยชน์ด้านภาษี จะต้องเข้าข่ายเงื่อนไขทั้ง 3 ข้อ ได้แก่

  1. ได้รับการลดอัตราภาษีนำเข้าเพิ่มเติมจากสิทธิทางภาษีจากความตกลงในปัจจุบัน ประกอบกับ
  2. สมาชิก CPTPP ต้องการนำเข้าสินค้านั้น ๆ จากไทย หรือไทยต้องการนำเข้าจากสมาชิก2เป็นพื้นฐานเดิม
  3. สินค้านั้น ๆ ของไทยแข่งขันได้ในตลาดโลกแต่เข้าไม่ถึงตลาด CPTPP เท่าที่ควร หรือสินค้าจากสมาชิกที่มีศักยภาพในตลาดโลกแต่ยังเข้าถึงตลาดไทยไม่มากเท่าที่ควร3 ซึ่งจะพบว่าปัจจุบันมีสินค้าส่งออกและนำเข้าสัดส่วน 0.3% (เฉลี่ยปี 2561–2563) คิดเป็นมูลค่า 0.7 และ 0.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ ที่จะได้ประโยชน์และมีปริมาณการค้าเพิ่มขึ้น โดยสินค้าส่งออกที่คาดว่าจะได้ประโยชน์ อาทิ กลุ่มสินค้าเกษตรแปรรูป สิ่งทอ โลหะ เครื่องจักร และยานยนต์ เป็นต้น (รูปที่ 2) ซึ่งปัจจุบันมีผู้ส่งออกสินค้าดังกล่าวไปยังสมาชิก CPTPP จำนวน 1.9 พันราย ครอบคลุมแรงงาน 9.6 แสนคน ขณะที่สินค้านำเข้าที่คาดว่าจะได้ประโยชน์ อาทิ กลุ่มสินค้าโลหะ เครื่องจักร อาหารและสินค้าเกษตร สิ่งทอ ยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ (รูปที่ 2) ซึ่งผู้ได้ประโยชน์คือผู้ผลิตตลอดห่วงโซ่การผลิตที่ใช้วัตถุดิบนำเข้าและผู้บริโภคขั้นสุดท้ายที่มีโอกาสเข้าถึงสินค้าที่มีคุณภาพแต่เดิมมีราคาสูงได้มากขึ้น

รูปที่ 2: สินค้าที่คาดว่าจะมีการส่งออก-นำเข้ากับประเทศสมาชิก CPTPP มากขึ้น

ผล ดี ของ การเปิดเสรี ทาง เศรษฐกิจ ของ ประเทศไทย ที่มี ต่อ ภาค เกษตร

ที่มา: กรมศุลกากร และสินค้าที่คาดว่าจะส่งออก-นำเข้าเพิ่มขึ้นตามการประเมินโดย Bollinger, 2561 คำนวณโดย ธปท.

นอกจากนี้ ผู้ได้ประโยชน์จะรวมถึงผู้บริโภคที่มีโอกาสเข้าถึงบริการในราคาถูกลงหรือมีตัวเลือกมากขึ้นเช่นกัน อาทิ บริการโอนเงินตราต่างประเทศ จากการเปิดตลาดให้มีผู้ให้บริการเป็นทางเลือกมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันค่าธรรมเนียมบริการดังกล่าวในไทยสูงกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค (รายงานนโยบายการเงินฉบับธันวาคม 2563) หรือแม้แต่บริการจากสินค้าสาธารณะที่ประชาชนจะได้รับจากภาครัฐ เช่น ถนน สะพาน และโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม จากการเปิดตลาดการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐให้สามารถมีการแข่งขันกับผู้ให้บริการจากต่างชาติ เป็นต้น

มิติที่ 2: ผลดีต่อการลงทุน

การเข้าร่วม CPTPP คาดว่าจะทำให้ไทยสามารถขยายการลงทุนเพิ่มขึ้น โดยหากคำนวณผลกระทบจากแบบจำลอง GTAP (กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ร่วมกับ บริษัท โบลลิเกอร์ แอนด์ คอมพานี (ประเทศไทย) จำกัด, 2561) คาดว่าการลงทุนจะขยายตัวถึง 5.5% ต่อปี หรือคิดเป็น 2 แสนล้านบาท (หากคำนวณจากข้อมูลปี 2562) นอกจากนี้ หากไทยไม่เข้าร่วม จะทำให้เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสให้คู่แข่ง โดยอาจทำให้ไทยไม่สามารถดึงดูดเงินลงทุนใหม่ได้ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะมีความต้องการสูงในอนาคต รวมทั้งอาจเสียเงินลงทุนเดิมเมื่อบริษัทต่างชาติที่เคยลงทุนในไทยย้ายเงินลงทุนออกไปยังประเทศคู่แข่ง ซึ่งท้ายที่สุดจะทำให้ไทยหลุดจากการเป็นประเทศผู้ผลิตสำคัญใน supply chain ในช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญที่ไทยมีระดับการลงทุนต่ำและกำลังต้องการ engine of growth ในอนาคต ขณะที่บริษัทข้ามชาติกำลังปรับเปลี่ยนห่วงโซ่การผลิตให้สอดรับกับโลกหลัง COVID-19 โดยจากการสำรวจบริษัทสัญชาติอเมริกาที่ปัจจุบันลงทุนอยู่ในภูมิภาคอาเซียน พบว่า 76% ยังมีแผนเพิ่มการลงทุนและการค้าในอาเซียนในอีก 5 ปี เนื่องจากผู้บริโภคในอาเซียนมีกำลังซื้อสูงขึ้นและธุรกิจเหล่านั้นต้องการขยายห่วงโซ่อุปทานในระดับภูมิภาค รวมถึง 21% ของธุรกิจข้ามชาติมองว่าสิทธิประโยชน์ทางการค้าที่เพิ่มขึ้นและการยกระดับกฎเกณฑ์มาตรฐานด้านต่าง ๆ จาก CPTPP เป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญกับการตัดสินใจลงทุนเพิ่มเติมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ASEAN Business Outlook Survey, 2021)

การตกขบวน supply chain ดังกล่าวจะกระทบต่อศักยภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจรวมถึงการจ้างงานในอนาคต เนื่องจากธุรกิจต่างชาติในไทยเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ โดยแม้จะมีจำนวนเพียง 13% ของจำนวนผู้ส่งออกทั้งหมด แต่คิดเป็นสัดส่วนมูลค่าถึง 54% ของการส่งออกรวม มีการจ้างงานกว่า 1 ใน 3 ของการจ้างงานของผู้ส่งออกทั้งหมด และส่วนใหญ่อยู่ในหมวดอุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อนต้องอาศัยองค์ความรู้สูงในการผลิต การเข้า CPTPP จึงจะมีส่วนช่วยรักษาแรงงานที่มีทักษะและองค์ความรู้ในภาคอุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อนและไทยยังมีบทบาทสำคัญ เช่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องจักร โดยแรงงานกลุ่มนี้กว่า 1.2 ล้านคน เป็นกลุ่มที่มีรายได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยถึง 15% ซึ่งหากแรงงานกลุ่มนี้สูญเสียอาชีพเพราะธุรกิจต่างชาติลดบทบาทไทยในห่วงโซ่อุปทานจะทำให้ไทยมีปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะยิ่งขึ้น

มิติที่ 3: ผลดีระยะยาวจากการยกระดับมาตรฐาน

จากกรณีศึกษาของเวียดนามที่มีโครงสร้างเศรษฐกิจและระดับการพัฒนาคล้ายคลึงกับไทย การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาโดยเฉพาะกติกาคุ้มครองพันธุ์พืชและสิทธิบัตรยาช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการวิจัยและพัฒนาสินค้าหรือทรัพย์สินทางปัญญา (incentivize intellectual property) โดยการเข้าร่วม UPOV1991 และการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชจากภาครัฐของเวียดนามช่วยสร้างแรงจูงใจต่อนักปรับปรุงพันธุ์ และทำให้ผลิตภาพในภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2 ต่อปี รวมทั้งธุรกิจและผู้บริโภคจะได้รับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและยาที่มีคุณภาพและหลากหลายมากขึ้น สะท้อนจากจำนวนการจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ของเวียดนามที่เพิ่มขึ้นประมาณ 5 เท่า ภายใน 10 ปี (Noleppa, 2560)

การเปิดเสรีด้านจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐฯ ให้มีการแข่งขันมากขึ้น และการยกระดับสิทธิพื้นฐานแรงงานให้สอดคล้องกับกติกาสากลของโลก (improve regulatory infrastructure) จะกระตุ้นให้ผู้ประกอบการไทยยกระดับมาตรฐานการผลิต และคุณภาพสินค้าและบริการให้มีมาตรฐานเพื่อแข่งขันกับชาติสมาชิก โดยการยกระดับสิทธิสวัสดิการแรงงานโดยเฉพาะแรงงานต่างด้าวที่กฎหมายไทยยังไม่ได้เปิดให้มีเสรีภาพในการสมาคมและการเลือกปฏิบัติจะช่วยให้ไทยเป็นที่ยอมรับจากสมาชิก CPTPP รวมถึงสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปที่นำการดูแลสิทธิแรงงานมาเป็นหนึ่งในเงื่อนไขกีดกันการนำเข้าสินค้าและบริการ โดยล่าสุดไทยถูกจัดอันดับด้านสิทธิแรงงานอยู่ที่ 104 จากทั้งหมด 141 ประเทศ (World Economic Forum, 2562)

ใครเสีย: ภาคเกษตรและยา รวมถึงผู้ที่เผชิญการแข่งขันกับต่างชาติสูงขึ้น

มิติที่ 1: การแข่งขันที่สูงขึ้น

การลดกำแพงภาษีศุลกากร และเปิดตลาดการค้าภาคบริการ รวมถึงเปิดตลาดการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ จะเป็นความ ท้าทายกับผู้ประกอบการในประเทศที่เคยได้รับการคุ้มครองทั้งด้านภาษีและกฎเกณฑ์ในการกีดกันผู้ประกอบการต่างชาติ โดยคาดว่า ผู้ประกอบการ 3 กลุ่มที่จะได้รับผลกระทบจากการแข่งขันกับชาติสมาชิกที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้แก่

  1. ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสำคัญในประเทศจำนวนกว่า 1.1 หมื่นราย4ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเหล็ก เบียร์ อาหารสัตว์ รถจักรยานยนต์ อาหารทะเล และปุ๋ย เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็น SMEs (2.6% ของผู้ประกอบการในภาคการผลิตทั้งหมด ครอบคลุมแรงงาน 2.9 แสนคน) ที่จะเผชิญการแข่งขันที่สูงขึ้น เพราะเป็นสินค้าที่ต้องเปิดตลาดและคาดว่าไทยจะนำเข้าจากประเทศสมาชิก CPTPP เพิ่มขึ้น รวมทั้งมีผู้ประกอบการผลิตในไทยอยู่แล้ว
  1. ผู้ประกอบการในธุรกิจประเภท modern services เพราะความตกลง CPTPP กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติต่อผู้ให้บริการจากประเทศสมาชิกอื่น ไม่ด้อยไปกว่าที่ปฏิบัติต่อผู้ให้บริการในประเทศ หรือจากประเทศนอกภาคี และต้องไม่ใช้หรือคงไว้ซึ่งมาตรการที่มีการกำหนดข้อจำกัดในการเข้าสู่ตลาด ทั้งนี้ แต่ละประเทศสมาชิกมีระดับการเปิดตลาดการค้าบริการแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับข้อผูกพันในภาคผนวกของความตกลง (กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ร่วมกับ บริษัท โบลลิเกอร์ แอนด์ คอมพานี (ประเทศไทย) จำกัด, 2561) ส่งผลให้ธุรกิจบริการในสาขาที่ยังเปิดตลาดน้อยในความตกลง FTA อื่น เช่น โทรคมนาคม บริการทางการเงิน และบริการขนส่ง อาจเผชิญการแข่งขันที่สูงขึ้น
  2. ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจจัดซื้อจัดจ้างกับภาครัฐ เพราะต่างชาติจะเข้ามาประมูลงานแข่งขันได้ รวมทั้งทำให้ภาครัฐอาจใช้นโยบายสนับสนุนธุรกิจในประเทศได้น้อยลง ทั้งนี้ ผลกระทบส่วนนี้อาจลดลงได้จากการเจรจาขอกำหนดมูลค่าขั้นต่ำของสัญญาเพื่อปกป้องผู้ประกอบการรายเล็กอย่างกรณีของเวียดนามที่กำหนดมูลค่าขั้นต่ำแบบขั้นบันได เช่นใน 5 ปีแรก การจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการต้องมีมูลค่ามากกว่าประมาณ 2.8–4.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. และโครงการก่อสร้างต้องมีมูลค่ามากกว่าประมาณ 93 ล้านดอลลาร์ สรอ.

นอกจากนี้ กลุ่มผู้ประกอบการทุกกลุ่มที่พึ่งพาแรงงานต่างด้าวอาจเผชิญต้นทุนส่วนเพิ่มที่เพิ่มขึ้น จากการยกระดับสิทธิสวัสดิการของแรงงานต่างด้าว เพราะกลุ่มแรงงานอาจมีอำนาจในการเจรจาต่อรองมากขึ้น ซึ่งจะกระทบความสามารถทางการแข่งขัน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการซึ่งที่ผ่านมาอาจไม่ได้คำนึงถึงหรือมีต้นทุนส่วนนี้ต่ำ (underpaid) ซึ่งอาจต้องปรับเพื่อให้แรงงานต่างด้าวมีสวัสดิการที่เหมาะสม

มิติที่ 2: ต้นทุนจากมาตรฐานการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มงวดขึ้น

การเข้าสู่กฎระเบียบและมาตรฐานการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มงวดขึ้น ทั้งจากการยอมรับอนุสัญญา UPOV1991 และ การเชื่อมโยงระบบสิทธิบัตรกับการขึ้นทะเบียนตำรับยา (patent linkage) ภายใต้สถานะความพร้อมในปัจจุบันของไทย คาดว่าจะก่อให้เกิดต้นทุนส่วนเพิ่มสำคัญใน 2 ด้าน ได้แก่

1. ต้นทุนในภาคเกษตรจากการคุ้มครองการคิดค้นเมล็ดพันธุ์ใหม่

หากไทยยอมรับอนุสัญญา UPOV1991 ไทยจะต้องปรับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองเมล็ดพันธุ์ให้สอดคล้องกัน5 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรทั้งส่วนที่ข้อบทเข้มงวดขึ้นและส่วนที่ข้อบทยืดหยุ่นซึ่งขนาดผลกระทบจะขึ้นอยู่กับกฎหมายแต่ละประเทศ กล่าวคือ กติกาใหม่นี้จะคุ้มครองสิทธินักปรับปรุงพันธุ์พืชมากขึ้น (รูปที่ 3) โดยเฉพาะการห้ามไม่ให้ผู้ใดนำพันธุ์พืชใหม่ที่ได้รับการคุ้มครอง (Protected Variety Plant: PVP)6 มาทำการค้าหรือขยายพันธุ์ต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของพันธุ์ (กรอบสีส้ม) แต่ก็มีข้อยกเว้นให้สามารถขยายพันธุ์เพื่อการบริโภคในครัวเรือนหรือเพื่อการทดลองพัฒนาพันธุ์ได้ (กรอบสีเขียว) รวมทั้งให้ประเทศสมาชิกพิจารณาเองว่าจะให้สิทธิเกษตรกรในประเทศเก็บเมล็ดพันธุ์ PVP จากผลผลิตในแปลงของตน (farm-saved seed) ชนิดใดไว้ใช้ในฤดูกาลถัดไปได้บ้าง (กรอบสีเทา)

รูปที่ 3: การคุ้มครองสิทธินักปรับปรุงพันธุ์พืชภายใต้ UPOV1991 และผลกระทบต่อเกษตรกร

ผล ดี ของ การเปิดเสรี ทาง เศรษฐกิจ ของ ประเทศไทย ที่มี ต่อ ภาค เกษตร

ที่มา: รายงานการพิจารณาศึกษาผลกระทบจากการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP), UPOV1991, ธิดากุญ และคณะ คำนวณโดยคณะผู้เขียน

ในกรณีของไทย ผลกระทบต่อเกษตรกรที่ชัดเจน คือ ผลกระทบต่อเกษตรกรที่มีพฤติกรรมการเพาะปลูกแบบ farm-saved seed ซึ่งครอบคลุมเกษตรกรประมาณ 39% ของเกษตรไทยทั้งหมด (คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบจากการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP)) โดยผลกระทบสามารถแบ่งได้ตาม 2 กลุ่มพืช ดังนี้

  • ได้รับผลกระทบแน่นอน: พืชปลูกด้วยส่วนขยายพันธุ์อื่นที่ไม่ใช่เมล็ด ได้แก่ อ้อย มัน มะพร้าวและสับปะรด ซึ่งครอบคลุมเกษตรกร 9.8 แสนครัวเรือน และพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 15%7
  • ได้รับผลกระทบหาก พ.ร.บ. ฉบับใหม่ไม่อนุญาตให้ทำ farm-saved seed: พืชที่ปลูกด้วยเมล็ด ได้แก่ ข้าว กาแฟ และชา ครอบคลุมเกษตรกร 2.3 ล้านครัวเรือน และพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 26% ที่ทำ farm-saved seed

ทั้งนี้ จำนวนครัวเรือนที่ได้ผลกระทบอาจต่ำกว่าที่ประเมินไว้ได้ในกรณีที่เกษตรกรใช้พันธุ์ดั้งเดิมหรือพันธุ์พื้นเมืองในการเพาะปลูก หรือกรณีที่เงื่อนไขใน พ.ร.บ. ฉบับใหม่อนุญาตให้เกษตรกรทำ farm-saved seed ได้โดยไม่กระทบวิถีเกษตรกรท้องถิ่นโดยไม่จำเป็น

นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบจากความเสี่ยงที่เกษตรกรอาจถูกฟ้องร้องจากการละเมิด UPOV1991 โดยไม่ได้ตั้งใจจากความไม่รู้หรือขาดข้อมูลที่ถูกต้อง เนื่องจากยังไม่มีระบบและฐานข้อมูลการคุ้มครองพันธุ์พืชที่เข้าถึงได้ง่ายเพื่อให้เกษตรกรทราบว่าสามารถทำ farm-saved seed พันธุ์พืชใด หรือในกรณีใดได้บ้าง รวมถึงข้อจำกัดของเกษตรกรจากความหลากหลายของทางเลือกพันธุ์อื่น ซึ่งรวมถึงพันธุ์ดั้งเดิมจากภาครัฐที่เกษตรกรสามารถเลือกนำมาเพาะปลูกได้

2. ต้นทุนด้านสาธารณสุขจากการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

ข้อกำหนดเรื่องการคุ้มครองสิทธิบัตรของ CPTPP เข้มงวดกว่ากฎหมายของไทยที่อิงจากข้อตกลง Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights (TRIPS) ของ WTO แต่ก็ยังไม่เท่ากับที่เคยตกลงกันไว้เมื่อครั้งเจรจากรอบ Trans-Pacific Partnership Agreement (TPP) หรือแม้แต่กรอบ EU-Vietnam Free Trade Agreement (EVFTA) ระหว่างยุโรปและเวียดนาม8 เพราะชาติสมาชิก CPTPP ร่วมกันยกเว้นข้อบทส่วนที่เข้มงวดออกไปอย่างไม่มีกำหนด และบังคับใช้เพียงข้อบทเดียว คือ การเชื่อมโยงระบบสิทธิบัตรกับการขึ้นทะเบียนตำรับยา (patent linkage) เพื่อให้เจ้าของสิทธิบัตรทราบและยินยอมก่อนที่ผู้ผลิตยาจะนำสูตรยานั้นไปขึ้นทะเบียนเป็นยาสามัญก่อนหมดอายุสิทธิบัตรแล้วนำออกขายในราคาที่ต่ำกว่าเมื่อสิ้นอายุสิทธิบัตร โดยให้ประเทศสมาชิกมีทางเลือก 2 กรณี

  • ไม่อนุญาตให้ผู้ประกอบการที่ผลิตยาชื่อสามัญขึ้นทะเบียนตำรับยาจนกว่าจะได้รับความยินยอมจากเจ้าของสิทธิบัตร (เข้มงวดมาก): คาดว่าจะทำให้ยาสามัญใช้เวลาออกสู่ตลาดช้าลงประมาณ 2–5 ปี

  • อนุญาตให้บริษัทยาขึ้นทะเบียนตำรับยาสามัญ (generic drug) ก่อนการคุ้มครองสิทธิบัตรยาต้นแบบหมดอายุได้ แต่ประเทศสมาชิกต้องมีกลไกแจ้งเตือนให้บริษัทเจ้าของสิทธิบัตรรับทราบอย่างเป็นระบบและให้ระยะเวลาในการเจรจาหาทางเยียวยาที่เหมาะสมก่อนนำออกขายในตลาดหากเป็นการละเมิด (เข้มงวดน้อยกว่า): คาดว่าจะทำให้ยาสามัญใช้เวลาออกสู่ตลาดโดยเฉลี่ยช้าลง แต่อาจมีกรณีที่สามารถขึ้นทะเบียนได้ก่อนสิทธิบัตรหมดอายุได้อยู่เช่นกัน

ปัจจุบันระบบตรวจสอบ แจ้งเตือน และฐานข้อมูลสืบค้นสิทธิบัตรของไทยอาจยังไม่เข้าเกณฑ์ที่จะดำเนินการตามข้อ (2) แต่หากไทยมีระบบดังกล่าว ภาครัฐจะสามารถเลือกแนวทางที่เข้มงวดน้อยกว่าได้ และอาจทำให้ยาสามัญเข้าสู่ตลาดได้ไม่ช้านักแต่ไม่ว่ากรณีใด งานศึกษาของ รุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์ และคณะ (2563) คาดว่ายาสามัญจะออกสู่ตลาดช้าลงประมาณ 2–5 ปี ซึ่งจะทำให้ต้นทุนยาทางสาธารณสุขเพิ่มขึ้น 1.9–3.8 แสนล้านบาทในอีก 30 ปีข้างหน้าจากการพึ่งพาการนำเข้ายาในสัดส่วนสูงขึ้น หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1.4–2.6 พันล้านบาทต่อปี ในช่วง 3 ปีแรก (หากคำนวณจากข้อมูลปี 2562)9

นอกจากนี้ งานศึกษาชิ้นนี้ประเมินด้วยว่าการเปิดตลาดการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางยาของประเทศ จากการที่องค์การเภสัชกรรม (อภ.) อาจถูกจำกัดสิทธิในการรับนโยบายควบคุมราคายาและการเป็นทางเลือกหลักในการจัดหายาสามัญราคาย่อมเยาให้โรงพยาบาลรัฐ โดยหากไทยไม่สามารถเจรจาขอยกเว้นการเปิดตลาดยาโดยถือว่า อภ. เป็นกิจการของรัฐเพื่อรักษาความมั่นคงทางสาธารณสุข จะส่งผลให้ไทยต้องมีค่าใช้จ่ายด้านยาสูงขึ้น 1.4 แสนล้านบาทภายใน 30 ปี หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1 พันล้านบาทต่อปี ในช่วง 3 ปีแรก (หากคำนวณจากข้อมูลปี 2562)8

ทั้งนี้ ในความเป็นจริง ข้อสมมติด้านระยะเวลาที่ยาสามัญออกสู่ตลาดอาจนานเกินไป เพราะปัจจุบันการออกตลาดของยาสามัญมีข้อจำกัดซึ่งอาจทำให้ต้องออกหลังจากสิทธิบัตรสิ้นการคุ้มครองอยู่ก่อนแล้วจากปัญหา อาทิ การฟ้องร้องจากเจ้าของสิทธิบัตรว่าอาจมีการละเมิดเพื่อยืดระยะเวลาการคุ้มครองระหว่างที่อยู่ในกระบวนการฟ้องร้องและเยียวยาออกไป รวมถึงปัญหาสิทธิบัตรที่ไม่มีวันหมดอายุ (evergreen patent) ที่มีลักษณะการปรับปรุงยาเพียงเล็กน้อย (minor change) เพื่อยืดระยะเวลาคุ้มครอง ดังนั้น ผลกระทบส่วนเพิ่มจากการเข้าร่วม CPTPP ต่อต้นทุนทางสาธารณสุขอาจต่ำกว่าที่ประเมินไว้ได้

โดยสรุป ประเทศไทยจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบว่าคนได้มากกว่าเสียหรือไม่ โดยประโยชน์ประการสำคัญของการเข้าร่วม CPTPP ซึ่งมีความสำคัญมากในช่วงนี้ คือ การดึงดูดเม็ดเงินลงทุนที่จะช่วยเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ นอกเหนือจากการขยายตลาดการค้า เพราะไทยเสี่ยงต่อการหลุดจากห่วงโซ่การผลิตในอุตสาหกรรมสำคัญ แม้การเข้าร่วมจะมีผลกระทบด้านลบตามมา โดยเฉพาะด้านเกษตรและสาธารณสุข แต่การเลี่ยงปรับตัวในโลกที่ประเทศมหาอำนาจกำลังเพิ่มความเข้มงวดของกติกามาตรฐานการค้าการผลิตในกระแสโลกใหม่อาจทำได้แค่ชั่วคราว จะช้าหรือเร็ว ไทยจำเป็นต้องยกระดับมาตรฐานตัวเองให้เทียบเท่าคู่แข่งที่พัฒนาตลอดเวลาเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน แม้ว่า ขนาดของผลกระทบส่วนเพิ่มยังไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่สามารถบริหารจัดการในประเทศได้ (ตารางที่ 1) หากไทยสามารถเจรจาขอระยะเวลาผ่อนผันควบคู่กับการเตรียมความพร้อมและปรับตัวได้เร็ว ต้นทุนส่วนเพิ่มที่เรากังวลสามารถแปรเปลี่ยนเป็นผลดีต่อประเทศในระยะยาวได้ โดยเฉพาะจากการเพิ่มแรงจูงใจในการวิจัยและพัฒนาสินค้าหรือทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นมิติที่ไทยยังสู้คู่แข่งไม่ได้และเป็นปัจจัยที่อยู่ในการพิจารณาของนักลงทุนต่างชาติ

ตารางที่ 1: สรุปผลกระทบ: ใครได้ ใครเสีย จากการเข้าร่วม CPTPP10

ใครได้ใครเสีย
ผู้ส่งออกโดยตรง 1.9 พันราย คาดว่ามูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น 2.5 พันล้านบาท ต่อปี อุตสาหกรรมในประเทศ 1.1 หมื่นราย เผชิญการแข่งขันและต้นทุนด้านแรงงานที่สูงขึ้น
มูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้น 2.6 พันล้านบาท ต่อปี (ผู้ส่งออก ผู้ผลิต ผู้บริโภคขั้นสุดท้าย) ธุรกิจบริการประเภท modern services
มูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้นรวม 2 แสนล้านบาท ต่อปี ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจจัดซื้อจัดจ้างกับภาครัฐขนาดกลาง-ใหญ่
ประชาชนผู้ใช้สินค้าและบริการสาธารณูปโภคจากภาครัฐ เกษตรกร 1–3.3 ล้านครัวเรือน ที่มีพฤติกรรมการเพาะปลูกแบบ farm-saved seed
แรงงาน 1.2 ล้านคน ในธุรกิจข้ามชาติและ supplier ในห่วงโซ่อุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อน เช่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องจักร ต้นทุนยาเพิ่มขึ้น 2.4–3.6 พันล้านบาท ต่อปี จากการต้องพึ่งพาการนำเข้ายา และ อภ. ไม่สามารถดำเนินนโยบายควบคุมราคายาต่อไปได้
ผู้วิจัยและพัฒนาสินค้าหรือทรัพย์สินทางปัญญา
แรงงานต่างชาติมีอำนาจต่อรองสิทธิสวัสดิการมากขึ้น

การเตรียมความพร้อมของภาครัฐ: กุญแจสำคัญสู่การจำกัดผลกระทบ พร้อมกับการกระจายประโยชน์จาก CPTPP อย่างทั่วถึง

หากประเทศไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าคนได้น่าจะมากกว่าคนเสียและภาครัฐตัดสินใจจะเข้าร่วมความตกลง ผู้เขียนเห็นว่าภาครัฐและเอกชนควรมีการเตรียมความพร้อม ดังนี้

  1. เข้าสู่กระบวนการเจรจาเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่กระจ่าง (seek clarification) ในประเด็นที่มีข้อถกเถียงเกี่ยวกับการตีความและสื่อสารให้สาธารณชนทราบ ซึ่งจะเป็นการส่งสัญญาณให้ภาคเอกชนและ MNCs เห็นว่าไทยพร้อมที่จะปรับตัวในหลายด้าน รวมถึงไทยจะพร้อมเข้าเจรจาข้อตกลงการค้าสมัยใหม่ที่มีมาตรฐานสูง เพื่อเข้าอยู่ในห่วงโซ่การผลิตโลกใหม่ ควบคู่ไปกับการสร้างความมั่นใจแก่สาธารณชนว่าไทยจะเข้าเจรจาด้วยเงื่อนไขที่จะปกป้องผลประโยชน์ส่วนรวมมากที่สุด ด้วยกระบวนการที่โปร่งใส และจะตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลที่ถูกต้องของทุกฝ่าย

  2. เตรียมกลยุทธ์และข้อต่อรองเจรจาสงวนสิทธิ์ หรือการผ่อนปรนเกณฑ์ต่าง ๆ รวมถึงเสนอระยะเวลาปรับตัวที่เหมาะสมเพื่อลดผลกระทบ โดยเฉพาะต่อรายย่อยในหลายอุตสาหกรรมให้น้อยที่สุด โดยภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียในประเทศมีส่วนร่วมหารือเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันตลอดกระบวนการเจรจาก่อนตัดสินใจเข้าร่วม ทั้งนี้ การเจรจาผ่อนผันการบังคับใช้เกณฑ์ข้างต้นอาจมีความท้าทายมากกว่ากรอบ FTA พหุภาคีอื่นอย่าง Regional Comprehensive Economic Partnership Agreement (RCEP) ที่ไทยอยู่ร่วมเจรจากับสมาชิกอื่นตั้งแต่แรก เพราะต้องให้ภาคีสมาชิก CPTPP เห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์ ซึ่งหากไทยไม่สามารถเจรจาได้ผลเป็นที่น่าพอใจและเป็นประโยชน์ต่อประเทศในภาพรวม ไทยอาจพิจารณาทบทวนท่าทีในการเข้าร่วมความตกลงได้

  3. มุ่งหน้าพัฒนาระบบงานภาครัฐและกฎระเบียบในประเทศอย่างต่อเนื่อง ให้พร้อมรับการแข่งขันที่จะสูงขึ้นเพื่อปกป้องเอกชนรายย่อย รวมถึงสนับสนุนการเข้าถึงประโยชน์จากสิทธิประโยชน์ของข้อตกลง เช่น

    • พัฒนาฐานข้อมูล กระบวนการของภาครัฐ และเตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องให้มีความเข้าใจกฎหมายและขั้นตอนการตรวจสอบหากต้องบังคับใช้เกณฑ์ต่าง ๆ หลังเข้าร่วม CPTPP อาทิ ปรับขั้นตอนการคุ้มครองพันธุ์พืช จัดตั้งศูนย์ตรวจสอบคุณภาพพันธุ์พืชพร้อมทั้งเตรียมฐานข้อมูลสิทธิบัตรเมล็ดพันธุ์ป้องกันการสวมสิทธิ ยกระดับศูนย์พัฒนาปรับปรุงพันธุ์ของภาครัฐให้มีคุณภาพ และปรับกระบวนการจดสิทธิบัตรยาให้การขึ้นทะเบียนยาสามัญเร็วขึ้น การปฏิรูปกฎหมายที่ปัจจุบันยังคุ้มครองไม่เท่ากับมาตรฐานสากล อาทิ พ.ร.บ. คุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ และมาตรฐานด้านแรงงาน เป็นต้น
    • ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการได้ประโยชน์จากข้อตกลงทางการค้ามากขึ้น (FTA utilization) เพื่อให้คุ้มกับต้นทุนด้านอื่น ๆ ของการเข้าร่วม FTA อาทิ ปรับปรุงกฎเกณฑ์และขั้นตอนการใช้สิทธิประโยชน์ให้สะดวกและเข้าถึงได้ง่าย
    • เตรียมกระบวนการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ อาทิ จัดตั้งและกำหนดกฎเกณฑ์กองทุน FTA ให้สามารถกระจายผลประโยชน์จากผู้ได้รับประโยชน์ทางการค้าให้ทั่วถึง และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบได้จริง11
    • สนับสนุนการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศเพื่อให้ผู้ประกอบการแสวงหาผลประโยชน์ในประเทศสมาชิกได้มากขึ้น

สุดท้ายนี้ จังหวะเวลาเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เนื่องจากมหาอำนาจหลักมีโอกาสเข้าร่วม CPTPP เช่นกัน ซึ่งจะยิ่งทำให้ไทยต้องเผชิญกับเงื่อนไขการรับเข้าเป็นสมาชิกฯ ที่ยอมรับได้ยากขึ้นและมีค่าเสียโอกาสหากไม่เข้าร่วมที่สูงขึ้นตามไปด้วย ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐฯ และผู้มีส่วนได้เสียจึงควรเร่งให้ความชัดเจนและเตรียมความพร้อมร่วมกันโดยเร็วเพื่อรักษาผลประโยชน์โดยรวมของประเทศ

เอกสารอ้างอิง

American Chamber of Commerce (Amcham). (2021). ASEAN Business Outlook Survey: ASEAN’s Role in the Asia-Pacific.

Department of Foreign Affairs and Trade. (2019). CPTPP suspensions explained. Australian government. CPTPP suspensions explained (dfat.gov.au)

New Zealand Foreign Affairs & Trade. (2018). Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership National Interest Analysis.

Noleppa, S. (2017). The socio-economic benefits of UPOV membership in Viet Nam: An ex-post assessment on plant breeding and agricultural productivity after ten years.

UPOV Convention 1991 Act. (1991). International Convention for the Protection of New Varieties of Plants of December 2, 1961, as Revised at Geneva on November 10, 1972, on October 23, 1978, and on March 19, 1991. intergovernmental organization. https://www.upov.int/meetings/en/doc_details.jsp?meeting_id=1881&doc_id=284036

World Economic Forum. (2019). The Global Competitiveness Report 2019. https://www3.weforum.org/docs/WEF_TheGlobalCompetitivenessReport2019.pdf

World Health Organization (WHO). (2017). Data exclusivity and other UHC Technical brief “trips-plus” measures. UHC Technical brief.

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ร่วมกับ บริษัท โบลลิเกอร์ แอนด์ คอมพานี (ประเทศไทย) จำกัด. (2561). ประโยชน์ ผลกระทบ และความพร้อมด้านการเปิดตลาดและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรของไทย ในการเข้าร่วม CPTPP. https://www.bolliger-company.com/seminar/data/seminar/files/DTN_CPTPP_Focus_Group_Agriculture_v4.pdf

กรมบัญชีกลาง. (2563). ผลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (ตุลาคม 2562 - กันยายน 2563).

คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบจากการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP). (2563). รายงานการพิจารณาศึกษาผลกระทบจากการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP).

ไทยถอดบทเรียนเวียดนาม อนุสัญญา UPOV ก่อนเข้า CPTPP. (2562). หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ. ฉบับที่5118. หน้า 5. https://www.prachachat.net/economy/news-282930

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). รายงานนโยบายการเงิน ฉบับธันวาคม 2563. https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/MonetPolicyComittee/MPR/DocLib/MPRthai_December2563_hge65g.pdf

ธิดากุล แสนอุดม, และคณะ. (2561). เอกสารประกอบการเสวนาเรื่องความพร้อมของไทยในการเข้าร่วม CPTPP ประเด็นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา (IP). สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร.

บริษัท โบลลิเกอร์ แอนด์ คอมพานี (ประเทศไทย) จำกัด. (2561). การเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP). https://api.dtn.go.th/files/v3/5e2516efef4140f97040bcf8/download

รุ่งเพชร สกุลบำรุงศิลป์, และคณะ. (2563). การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศ ด้านความพร้อมของอุตสาหกรรมและการเข้าถึงยา. โครงการนโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข. https://www.iththailand.net/th/resources/research-report-detail/17/128

ลัทธกิตติ์ ลาภอดุมการ, และเคนเน็ท โดนัลท์ นีลเวล. (2563). CPTPP: อนาคตไทยที่ใหญ่กว่าแค่ข้อตกลงทางการค้า. KKP Research: June 10, 2021. กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร. https://advicecenter.kkpfg.com/th/money-lifestyle/money/economic-trend/issue-on-cptpp

วิฑูรย์ เลี่ยนจํารูญ. (2564). CPTPP โอกาสและความท้าทายในภาคเกษตรกรรม. มูลนิธิชีววิถี. http://prp.trf.or.th/wp-content/uploads/2021/04/TSRI-Expert-Judgement-Year-10-Vol.02.pdf

วิฑูรย์ เลี่ยนจํารูญ. (2556). การยกเลิกกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช 2542 และร่างกฎหมายใหม่ตามแนวทาง UPOV1991 ผลกระทบต่อเกษตรกรรายย่อยและทรัพยากรชีวภาพ. มูลนิธิชีววิถี. http://www.biothai.net/sites/default/files/2013_food-doc_15witoon.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฏร. (2560). ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืชฉบับใหม่: เกษตรกรได้หรือเสียประโยชน์. https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/519959

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). จำนวนและการจ้างงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2562. https://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20200825165227.pdf

สมพร อิศวิลานนท์. (2560). “อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ของไทย: สถานภาพและความท้าทาย”. ในการบรรยายพิเศษในการประชุมวิชาการเมล็ดพันธุ์พืชแห่งชาติ ครั้งที่ 14. วันที่ 30 พฤษภาคม 2560. ณ ห้องงประชุมดาวดึง อาคารเฉลิมพระเกียรติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร.

อาชนัน เกาะไพบูลย์, และศวีระ ธรรมศิริ. (2564). การประเมินผลของการเปิดเสรีของความตกลงการค้าเสรีต่อการค้าและการลงทุนในไทย. กลุ่มคลัสเตอร์ความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อุษาวดี มาลีวงศ์, และคณะ. (2555). โครงการสิทธิบัตรยาที่จัดเป็น evergreening patent ในประเทศไทยและการคาดประมาณผลกระทบที่เกิดขึ้น. http://digital.nlt.go.th/items/show/7522