ก่อนการพัฒนาสมรรถภาพทาง กาย นักเรียน ควร เตรียม ความพร้อม อย่างไร

การวางแผนพัฒนาสมรรถภาพทางกายและสมรรถภาพทางลักษณะ

การออกกำลังกายมีหลายลักษณะ ในที่นี้จะแบ่งตามลักษณะวิธีฝึกได้ดังนี้
การออกกำลังกายแบบไอโซเมตริก (Isometric Exercise) เป็นการออกกำลังกาย โดยการเกร็งกล้ามเนื้อ โดยไม่มีการเคลื่อนไหวส่วนใดๆ ของร่างกาย ได้แก่ การเกร็งกล้ามเนื้อมัดใดมัดหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งสักครู่ แล้วคลายและเกร็งใหม่ทำสลับกันหรือการออกแรงดันดึงวัตถุที่ไม่เคลื่อนไหว เช่น การดันกำแพง ดันวงกบประตู หรือพยายามยกเก้าอี้ตัวที่เรานั่งอยู่ เป็นต้น
การออกกำลังกายแบบไอโซทอนิก (Isotonic Exercise) เป็นการออกกำลังกายต่อสู้กับแรงต้านทาน โดยให้กล้ามเนื้อมีการหดตัวหรือคลายตัวด้วย ซึ่งหมายถึง มีการเคลื่อนไหวข้อต่อหรือแขนขาด้วย ได้แก่ การยกหรือวางสิ่งของ
การออกกำลังกายแบบไอโซคิเนติก (Isokinetic Exercise) เป็นการออกกำลังกาย โดยให้ร่างกายต่อสู้กับแรงต้านทานด้วยความเร็วคงที่ นับเป็นการออกกำลังกายแบบใหม่ เช่น การวิ่งบนลู่กล หรือการขี่จักรยานวัดงาน เป็นต้น
การออกกำลังกายแบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic Exercise) เป็นการออกกำลังกายโดยใช้พลังงาน ATP ที่สะสมอยู่ในเซลล์กล้ามเนื้อ ได้แก่ การออกกำลังกายเบาๆ หรือการออกกำลังกายที่หนักในช่วงเวลาสั้นๆ เช่น ยกน้ำหนัก วิ่งเร็ว 100 เมตร การฝึกแบบไม่ใช้ออกซิเจนจะใช้วิธีการฝึกน้ำหนักหรือฝึกแบบมีช่วงพักเข้าช่วย ซึ่งโอกาสที่จะทำให้กล้ามเนื้อฉีกขาดมีสูง การอบอุ่นร่างกายจึงมีความสำคัญมากโดยหลัก “FITT” ดังน

F = Frequency ความถี่ของการฝึก 2-3 วันต่อสัปดาห์

I = Intensity ความเข้มของการฝึกประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ของ HRmax

T = Time ระยะเวลาของการฝึกแต่ละครั้ง 3-5 นาที

T = Type ชนิดของกิจกรรมที่ฝึกควรสอดคล้องกับกีฬาที่เล่น
การออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจน (Aerobic Exercise) มักเรียกทับศัพท์ว่า “การออกกำลังกายแบบแอโรบิก” ศาสตราจารย์ นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ นักวิทยาศาสตร์การกีฬาของไทยได้ใช้คำว่า “อากาศนิยม” เป็นการออกกำลังกายที่ทำให้ร่างกายเพิ่มพูนความสามารถสูงสุดในการรับออกซิเจนทำให้ได้บริหารปอด หัวใจและกล้ามเนื้อเป็นเวลานานพอที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ขึ้นต่อร่างกายด้วยความเร็วต่ำหรือปานกลาง ในระยะเวลาอย่างน้อย 15 นาทีขึ้นไป การออกกำลังกายแบบแอโรบิกนับว่าเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมากที่สุด จะเป็นการออกกำลังกายชนิดใดก็ได้ที่จะกระตุ้นให้หัวใจและปอดต้องทำงานมากขึ้นถึงจุดจุดหนึ่ง และด้วยระยะเวลาหนึ่งซึ่งนานพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ว่ายน้ำ วิ่ง ขี่จักรยาน เดินเร็ว เต้นรำแอโรบิก กรรเชียงเรือ กระโดดเชือก เป็นต้น คำว่า “แอโรบิก” ถูกนำมาใช้ในการออกกำลังกายเมื่อปี ค.ศ. 1968 โดยนายแพทย์คูเปอร์ (Kenneth H. Cooper) และคณะ นายแพทย์คูเปอร์ได้เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่งชื่อ “Aerobic” ซึ่งได้รับความสนใจมากในระยะนั้น การออกกำลังกายแบบแอโรบิกนั้นร่างกายจะทำงานอย่างต่อเนื่องช้าๆ เป็นเวลานาน และใช้ระยะทางไกล โดยยึดหลัก “FITT” เช่นกัน ดังนี้

F = Frequency ความถี่ของการฝึก 2-3 วันต่อสัปดาห์

I = Intensity ความเข้มของการฝึก 70-85 เปอร์เซ็นต์ของ HRmax

T = Time ระยะเวลาของการฝึกแต่ละครั้ง 15-60 นาที หรือมากกว่า

T = Type ชนิดของกิจกรรมที่ใช้ เช่น ว่ายน้ำ วิ่งเหยาะ เดินเร็ว เต้นรำแอโรบิก

ขี่จักรยาน กระโดดเชือก ยกน้ำหนักแบบแอโรบิก เป็นต้น

อ้างอิง https://sites.google.com/site/32548bodyfitness9/home/kar-wangphaen-phathna-smrrthphaph-thang-kay-laea-smrrthphaph-thang-laksna

         การเตรียมร่างกายในการทดสอบสมรรถภาพ

ตามคำสั่งกองทัพอากาศ (เฉพาะ) ที่ 47/60 ให้มีการทดสอบสมรรถภาพทางกายกำลังพล ทอ. ปีละ 2 ครั้ง ภายในห้วงเวลาครั้งที่ 2 ระหว่างเดือน มิ.ย. – ส.ค.63 นั้น
          การเตรียมร่างกายในการทดสอบสมรรถภาพ
1.ฝึกร่างกายให้พร้อม
2.งดรับประทานยาที่เป็นสารกระตุ้น อย่างน้อย 7 วัน
3.งดออกกำลังกายอย่างหนัก อย่างน้อย 24 ชั่วโมง ชั่วโมง
4.งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
5.รับประทานอาหารประจำวันตามปกติ
6.พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 8 ชั่วโมง
          วันเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพ
1. รับประทานอาหารมื้อหลักอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
2. งดสูบบุหรี่ งดดื่มกาแฟและเครื่องดื่มชูกำลัง
3. แต่งกายด้วยชุดกีฬาที่เหมาะสมกับสภาพอากาศ
4. ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีทดสอบ
5. ดื่มน้ำให้เพียงพอก่อนเข้ารับการทดสอบ
6. แจ้งภาวะเจ็บป่วย จนท.ทดสอบสมรรถภาพ เช่น โรคประจำตัว,อาการเจ็บป่วยปัจจุบัน,อุบัติดหตุที่เคยประสบ
7.หากมีอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทดสอบทราบทันที

ก่อนการพัฒนาสมรรถภาพทาง กาย นักเรียน ควร เตรียม ความพร้อม อย่างไร

ผู้ลงข้อมูล : พ.อ.ต.ธีรวัฒน์ ดีเจย หน่วยสารสนเทศฯ กวป.พอ. โทร 2-3075

หลักการจัดการเพื่อสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย

ก่อนการพัฒนาสมรรถภาพทาง กาย นักเรียน ควร เตรียม ความพร้อม อย่างไร

            เมื่ออกกำลังกาย มีหลายคนเกิดอาการบาดเจ็บหรือการปฏิบัติกิจกรรมนั้นเป็นเวลานานติดต่อกันแล้วยังไม่ได้ผล ทำให้เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการสร้างเสริมสมรรถภาพของตนเอง ดังนั้น การรู้จักหลักการจัดการเพื่อสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายและทางกลไกจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยมีหลักการ ดังนี้

1) การรู้จักประมาณตนเอง รู้จักสภาพของร่างกายและสมรรถนะตนเอง ซึ่งจะมีผลต่อการเลือกประเภทของกิจกรรมที่เหมาะสม รวมทั้งการปฏิบัติในเรื่องความบ่อย ความหนักความนานให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของตนเอง

2) ควรคำนึงถึงความปลอดถัยเป็นอันดับแร และพึงระลึกถึงเสมอว่า
    1. สุขภาพว่าจะสร้างได้ต้องใช้เวลา ทุน และแรงจำนวนมากในการพัฒนาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
    2. อุบัติเหตุเกิดง่ายแต่ยากต่อสุขภาพทั้งกายและทางจิต
    3. การบาดเจ็บเกิดได้ง่าย ตายากต่อการรักษาและต้องใช้เวลา ทุน จำนวนมาก ในการดูแลและฟื้นฟูให้สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้

3) การออกกำลังกายและกีฬา มีหลักการและวิธีการดังนี้
    1. วิธีการที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อการพัฒนาและสร้างข้อจำกัดในการฝึกที่แตกต่างกัน

    2. การออกกำลังกายที่ได้ผลต้องดำเนินการด้วยหลักการและวิธีการและการที่ถูกต้องจึงจะประสบผลสำเร็จได้

                - การฝึกความอดทน ต้องออกแรงหนักปานกลางแต่ทำซ้ำกันนานๆ จนหมดแรงหรือล้า

                - การฝึกความเร็ว ใช้น้ำหนักน้อย แต่ควรเคลื่อนเร็ว

                - การฝึกความแข็งแรง ใช้น้ำหนักค่อนข้างมาก แต่ควรเคลื่อนไหวช้าๆ

                - สร้างกล้ามเนื้อให้โตหรือแข็งแรงขึ้น ใช้น้ำหนักปานกลาง ทำจนหมดแรง

    3. การออกกำลังกายเพื่อให้มีการพัฒนา ต้องมีความหนักของงาน ระยะเวลาการทำงานที่นาพอในการกระตุ้นร่างกายปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

    4.การพัฒนาต้องมีความต่อเนื่อง สม่ำเสมอในการสร้างเสริมสมรรถภาพในแต่ละสัปดาห์

                - บุคคลทั่วไป 3-5 วันต่อสัปดาห์ อย่างน้อยวันละ 30-45นาที

                - นักกีฬา5-6วันต่อสัปดาห์

    5.สมรรถภาพทางกายและทางกลไกมีได้และคงอยู่ด้วยการฝึกเท่านั้น ไม่มีวิธีการใดๆ ที่จะสร้างได้ ต้องมีการพัมนาอย่างต่อเนื่อง มีความรับผิดชอบต่อตนเองและมีความอดทน

    6.การพักผ่อนและการเลือกรับประทานอาหารที่พอเหมาะ จะช่วยเสริมสร้างสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น

    7.ร่างกายจะพัฒนาตนเองให้สามารถรับสภาพกับงานหนักที่สุดที่เคยทำไว้ ดังนั้นหากต้องการขยายขีดความสามารถของตนเองจะต้องเพิ่มความหนักของงานและการฝึกเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง จนถึงขีดสูงสุดของร่างกายที่จะพร้อมและรับได้ ไม่ควรฝืนความสามารถของตนเอง เพราะอาจเกิดอันตรายได้

            4) การออกกำลังกายเพื่อสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายและทางกลไกต้องเป็นไปตามขั้นตอน

         1. การอบอุ่นร่างกาย
                               - ยึดเหยียดกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ
                               - เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดสำคัญ และกล้ามเนื้อที่ใช้เฉพาะกีฬา

                               - ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ประมาณ 34.5 – 39 องศาเซลเซียส

                               - ทำให้หัวใจและหลอดเลือดสามารถที่จะทำงานหนักได้

                               - การทบทวนทักษะการฝึกทุกครั้ง

             2. ปฏิบัติหรือเล่นกีฬาตามความสามารถ

              3. การผ่อนคลายหลังจากออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา

            5) หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายก่อนหรือหลังปรับประทานอาหาร ควรงดหรือเว้นระยะประมาณ 

- 3 ชั้วโมง เพราะจะทำให้จุกหรือได้รับอันตรายขณะออกกำลังกายหรือภายหลังการออกกำลังกายได้ จึงควรปฏิบัติ

ตนให้ถูกต้องในการออกกำลังเพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่ดี

             6) ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล มีส่วนสำคัญต่อร่างกายและชีวิตดังนั้นไม่ควรมุ่งผล

แพ้ชนะเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดต่อการฝึกปฏิบัติ เพราะแต่ละบุคคลมีควาสารถสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายและ

สมรรถภาพทางกายไม่เท่ากัน

             7) การใช้น้ำหนักในการฝึกต้องระวังผลเสียด้วยเสมอ เช่น ในวัยเด็กไม่ควรใช้น้ำหนักมากเกินไป ไม่

ควรออกแรงแบบกระแทก โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับเข่า และ กระดูกสันหลัง เพราะอาจเกิดอันตรายได้ถ้าได้รับการสอน

 การแนะนำที่ถูกต้องจากผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ เป็นต้น

ที่มา : https://sites.google.com/site/30873anat/home/hlak-kar-cadkar-pheux-srang-serim-smrrthphaph-thang-kay-laea-smrrthphaph-thang-klki

การพัฒนาสมรรถภาพทางกายควรเตรียมความพร้อมอย่างไร

การเตรียมร่างกายในการทดสอบสมรรถภาพ.
ฝึกร่างกายให้พร้อม.
2.งดรับประทานยาที่เป็นสารกระตุ้น อย่างน้อย 7 วัน.
งดออกกำลังกายอย่างหนัก อย่างน้อย 24 ชั่วโมง ชั่วโมง.
งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์.
รับประทานอาหารประจำวันตามปกติ.
พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 8 ชั่วโมง.

นักเรียนมีวิธีการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายอย่างไร

ควรออกกำลังกายความหนักระดับปานกลางอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์หรืออย่างน้อย 75 นาทีสำหรับระดับความหนักมาก ออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 10 นาที.
การทำกิจกรรมนันทนาการ (Recreational activity) เช่น เดินเล่น เดินทางไกล ปีนเขา ถีบจักรยาน ว่ายน้ำ ลีลาศ รำมวยจีน เล่นโยคะ ฯลฯ.
การเล่นกีฬา ( Competitive sports).

ก่อนเทสร่างกายควรทำอะไร

1.ฝึกร่างกายให้พร้อม 2.งดรับประทานยาที่เป็นสารกระตุ้น อย่างน้อย 7 วัน 3.งดออกกำลังกายอย่างหนัก อย่างน้อย 24 ชั่วโมง ชั่วโมง 4.งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การพัฒนาสมรรถภาพทางกายมีคุณค่าอย่างไร

ประโยชน์ของการสร้างเสริม สมรรถภาพทางกาย มีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง สามารถทากิจกรรมต่าง ๆ ได้นานโดยไม่เหนื่อยง่าย เคลื่อนไหวร่างกาย ได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว กระฉับกระเฉง ทากิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาทักษะ ในด้านต่าง ๆ ให้ดีขึ้น