สัญลักษณ์ในการเขียนแบบพื้นฐาน

          ประโยชน์ของงานเขียนแบบมีผลต่อการปฏิบัติงานช่างที่จะกำหนดรายละเอียดของงานและดำเนินงานไปได้ตามขั้นตอนอย่างเหมาะสม การศึกษาวิธีการเขียนแบบเราจะต้องศึกษาหลักการเบื้องต้นของการเขียนแบบได้อย่างถูกวิธี จะช่วยให้มีความเข้าใจและนำไปเขียนแบบได้ความสำคัญของงานเขียนแบบนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเรา คือ

สัญลักษณ์ในการเขียนแบบพื้นฐาน

สัญลักษณ์ในงานเขียนแบบ
      สัญญลักษณ์ที่ใช้ในงานเขียนแบบ
      1. สัญลักษณ์เกลียว
      2. สัญลักษณ์ผิวงาน
      3. สัญลักษณ์แนวเชื่อม
      4. พิกัดความเผื่อเบื้องต้น
1. เกลียว ( Thread)
      เกลียวเป็นชิ้นงาน ส่วนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการหมุน ให้เคลื่อนที่เป็นแนวเส้นตรงเพื่อยึดชิ้นงาน หรือ ทำให้ชิ้นส่วนเคลื่อนที่ เกลียวมีรูปร่างเป็นร่องวนรอบ ตัวอย่างดังภาพที่ 9.1 เพื่อให้สะดวกในการเขียนแบบ จึงมีการกำหนดเป็นภาพสัญลักษณ์แทน ดังภาพที่แสดงต่อไปนี้

สัญลักษณ์ในการเขียนแบบพื้นฐาน

ที่มาของภาพ : https://sites.google.com/site/chaowpreeya/home/sayy-laksn-thi-chi-ni-ngan-kheiyn-baeb
2. สัญลักษณ์ความหยาบละเอียดของผิวงาน
      ผิวชิ้นงานที่ผ่านการะบวนการผลิตด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น งานหล่อ งานรีด งานกดอัดขึ้นรูป และ งานขึ้นรูปด้วยเครื่องมือกล (งานกัด งานกลึง งานเจียระไน ฯลฯ) เมื่อมองด้วยสายตาเราจะเห็นว่าผิวของชิ้นงานมีความเรียบ แต่เมื่อนำมาขยาย ก็จะพบว่าผิวงานเหล่านั้นขรุขระเป็นคลื่นสูง-ต่ำไม่เท่ากัน โดยเฉพาะถ้าผิวของชิ้นงานใดมีความสูง-ต่ำแตกต่างกันมาก แสดงว่าผิวของชิ้นงานนั้นมีความหยาบของผิวมาก แต่ถ้าผิวของชิ้นงานใดมีความสูง-ต่ำน้อย ก็แสดงว่ามีความหยาบของผิวน้อย และละเอียดมากกว่า ซึ่งความหยาบละเอียดของผิวงานนี้ จะมีความจะเป็นสำหรับงานที่ต้องการความละเอียดสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตชิ้นส่วนของเครื่องจักรกลบางชนิด เช่น ตลับลูกปืน เป็นต้น แต่สำหรับชิ้นงานบางชนิด อาจจะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องระบุความหยาบ ละเอียดของผิวงาน เพราะจะทำให้เสียเวลาในการผลิต
สัญลักษณ์ในการเขียนแบบพื้นฐาน

ที่มาของภาพ : https://sites.google.com/site/chaowpreeya/home/sayy-laksn-thi-chi-ni-ngan-kheiyn-baeb

3. สัญลักษณ์แนวเชื่อม
       การกำหนดสัญลักษณ์งานเชื่อม (Weld Symbols) มาตรฐาน ISO 2553: 1992 (E) มีรายละเอียดดังนี้คือ
       3.1. สัญลักษณ์เบื้องต้น เป็นแบบของการเชื่อมชนิดต่าง ๆ ที่แสดงด้วยสัญลักษณ์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีรูปร่างคล้ายกับพื้นที่หน้าตัดของแนวเชื่อมดังที่แสดงไว้ในตาราง

สัญลักษณ์ในการเขียนแบบพื้นฐาน

สัญลักษณ์ในการเขียนแบบพื้นฐาน

ที่มาของภาพ : https://sites.google.com/site/chaowpreeya/home/sayy-laksn-thi-chi-ni-ngan-kheiyn-baeb

4. พิกัดความเผื่อ
      ในการผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ ของชิ้นงานอาจเกิดข้อผิดพลาด ในกระบวนการต่าง ๆได้ ไม่ว่าจะเกิดจากผู้ปฏิบัติงาน เครื่องจักร กระบวนการผลิต เป็นต้น แต่ค่าผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับชิ้นงาน อาจมีค่ามากหรือน้อย ซึ่งจะมากหรือน้อย ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ดังนั้น เพื่อเป็นการง่ายต่อการกำหนดค่าความผิดพลาดที่ยอม ให้เกิดขึ้นได้ในการผลิตชิ้นงาน เพื่อให้สามารถนำมาใช้งานได้ ซึ่งเราจะเรียกค่าผิดพลาดที่สามารถยอมรับได้ หรือค่าผิดพลาดที่ยอมให้เกิดขึ้นได้ว่า “ ค่าพิกัดความเผื่อ (Tolerances)”

สัญลักษณ์ในการเขียนแบบพื้นฐาน

https://sites.google.com/site/chaowpreeya/home/sayy-laksn-thi-chi-ni-ngan-kheiyn-baeb

สัญลักษณ์ในการเขียนแบบพื้นฐาน
 

ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนว่า การทำคอนกรีตเปลือยผิวหล่อในที่ ต่างจากการทำผนังก่ออิฐฉาบปูนแล้วค่อย “ทำผิวขัดมัน” โดยไม่ทาสีภายหลัง เพราะแบบ “หล่อในที่” นั้นคือการเทหรือหล่อคอนกรีตลงในแบบที่ทำขึ้น

โดยเฉพาะ (ไม้แบบเหล็ก) ในหน้างาน เมื่อคอนกรีตเซ็ทตัวก็นำไม้แบบออก และโชว์ผิวตามธรรมชาติของมัน ที่เห็นอยู่ทั่วไปคือ งานตอม่อสะพาน ทางด่วน หรืออาคารสาธารณะหลายๆแห่ง รวมเรียกว่าคอนกรีตเปลือยผิวแบบหล่อในที่
ตัวอย่างผนังคอนกรีตเปลือยผิวหล่อในที่ จะมีความเรียบเนียน แต่อาจมีร่องลอยของน็อตเป็นรูๆบ้าง เป็นส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นขณะก่อสร้างนั่นเอง

ขอตอบข้อสอบถามดังนี้ครับ

1. ข้อดี สวยงามแบบดิบๆ (เนื้อคอนกรีตจะเรียบเนียนสวยกว่าการทำผิวคอนกรีตแบบขัดมันมาก) ทำงานรวดเร็ว ประหยัดเวลา และ พื้นที่ก่อสร้างไม่สกปรก /ข้อเสีย ราคาแพงกว่าการก่ออิฐฉาบปูนทำผิวขัดมัน และคอนกรีตเปลือยผิวแบบหล่อในที่นั้นต้องมีเทคโนโลยีอย่างอื่นเข้ามาประกอบ กล่าวคือสถาปนิกรวมถึงช่างต้องทำการบ้านเพิ่มขึ้นอีก รายละเอียดในการก่อสร้างมากกว่า เมื่อเทียบกับต่างประเทศ เรายังมีช่างเฉพาะทางด้านนี้น้อยมาก ความเสี่ยงในการได้งานที่ไม่ดีจึงมีสูง

สัญลักษณ์ในการเขียนแบบพื้นฐาน
คอนกรีตหล่อในที่

2. ค่าก่อสร้างในการหล่อคอนกรีตกับที่ให้เนี้ยบ บางครั้งแพงกว่าบุหินอ่อนอีก ถ้าจำนวนที่ทำนั้นไม่มากจริงๆ บางทีราคาสูงถึง 3000-5000 บาท/ตารางเมตร แต่ถ้าสนใจงานแนวนี้ บางทีอาจจะหาวิธีที่ได้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกันเช่น

– Precast Concrete Wall หรือ ผนังคอนกรีตอัดแรง เป็นคอนกรีตเปลือยที่ทำสำเร็จมาจากโรงงาน ทำให้เนี้ยบได้ไม่ยาก เพราะใช้เครื่องจักรในโรงงานเป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่แนะนำสำหรับโครงการขนาดเล็กครับ เพราะราคาจะสูง ลองติดต่อ บริษัท ซี-โพส จำกัด (โทร. 0-2968-9311-3) หรือ บริษัท เจนเนอรัล เอนจิเนียริ่ง จำกัด (โทร. 0-2501-2020) สอบถามเรื่องราคาได้ครับ

สัญลักษณ์ในการเขียนแบบพื้นฐาน
ผนังคอนกรีตอัดแรง

– ปูนทำผิวขัดมัน ทำได้โดยการผสมปูนเทพื้นหรือฉาบผนังตามปกติ หนาประมาณ 3 เซนติเมตร พอปูนเริ่มเซ็ทตัว ช่างจะใช้ผงปูนโรยและใช้เกรียงปาดหน้า ลงแว็กซ์น้ำที่ผิวปูนขัดเพื่อความทนทาน

สัญลักษณ์ในการเขียนแบบพื้นฐาน
ผนังคอนกรีตขัดมัน

อย่างไรก็ดีถ้ายังคงต้องการสร้างบ้านด้วยคอนกรีตเปลือยผิวแบบหล่อในที่อยู่ อาจติดต่อบริษัทรับเหมาที่มีประสบการณ์สูง สอบถามเรื่องการก่อสร้างดังกล่าว และขอดูผลงานที่ผ่านมา เช่น บริษัท M.K.S Engineering Co., LTD. โทร. 02-294-0202 หรือ บริษัท ทวีมงคล ก่อสร้าง (2000) จำกัด โทร. 02-866-1180-3 ลองสอบถามด้วยตนเองก่อนการตัดสินใจครับ

DsignSomething Team

มีคำถามเรื่องการออกแบบ เรื่องบ้าน ส่งมาได้ที่ [email protected] หรือที่https://www.facebook.com/DsignSomething ครับ เรายินดีหาคำตอบมาให้

Writer

สัญลักษณ์ในการเขียนแบบพื้นฐาน

Ekkarach Laksanasamrith

สถาปนิกที่เชื่อว่า "ตัวหนังสือ" มีพลังพอๆกับ "สเปซ" และ "การเขียนหนังสือ" ก็ใช้สกิลไม่ต่างจาก "การเขียนแบบ" ใน AUTO Cad