ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบัญชี 5 หมวด

บัญชีเบื้องต้น 1  (2201 – 1002)

แบบทดสอบก่อนเรียน

บทที่ 5 การบัันทึกรายการในสมุดบัญชีแยกประเภท

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบัญชี 5 หมวด
ความหมายและรูปแบบของบัญชีแยกประเภท
       บัญชีแยกประเภท (Ledger Accounts) หมายถึง รูปแบบซึ่งรวบรวมการบัน
ทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นไว้เป็นหมวดหมู่ ต่อจากสมุดรายวันทั่วไป

รูปแบบบัญชีแยกประเภทที่นิยมใช้ มี 2 รูปแบบ
       1. แบบตัว ที (T) ในภาษาอังกฤษ
       2. แบบมีช่องยอดคงเหลือ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบัญชี 5 หมวด
ประเภทของบัญชีแยกประเภท
ประเภทของบัญชีแยกประเภท แบ่งออกได้ดังนี้
          1.บัญชีประเภทสินทรัพย์ (Assets) หมายถึง บัญชีที่แสดงสินทรัพย์ที่กิจการเป็นเจ้าของแยกตามประเภทสินทรัพย์ เช่น บัญชีเงินสด บัญชีเงินฝากธนาคาร บัญชีลูกหนี้ บัญชีสินค้าคงเหลือ บัญชีวัสดุสำนักงาน บัญชีเครื่องใช้สำนักงาน บัญชีธนาคาร บัญชีที่ดิน เป็นต้น
          2.บัญชีประเภทหนี้สิน (Liabilities) หมายถึง บัญชีที่แสดงมูลค่าของหนี้สินที่กิจการต้องชำระให้กับบุคคลภายนอก เช่น บัญชีเจ้า
หนี้การค้า บัญชีเงินกู้ธนาคาร บัญชีค่าใช้จ่ายค้างจ่าย บัญชีตั๋วเงินจ่าย เป็นต้น
          3. บัญชีประเภทส่วนของเจ้าของ (Owner’s equity) หมายถึง บัญชีที่แสดงส่วนของเจ้าของที่เพิ่มหรือลดลง ได้แก่
          บัญชีทุน บัญชีถอนใช้ส่วนตัว บัญชีรายได้ บัญชีค่าใช้จ่าย
          บัญชีรายได้ เมื่อมีรายได้ ทำให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น
          บัญชีค่าใช้จ่าย เมื่อมีค่าใช้จ่าย ทำให้ส่วนของเจ้าของลดลง
          บัญชีถอนใช้ส่วนตัว เมื่อมีการถอนเงินสดและนำสินทรัพย์ไปใช้ส่วนตัว ทำให้ส่วนของเจ้าของลดลง
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบัญชี 5 หมวด
หมวดบัญชี
 การจัดหมวดบัญชี
การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ รายได้ และค่าใช้จ่าย เพื่อปะโยชน์ในการอ้างอิง และสะดวกในการค้นหา แบ่งได้ 5 หมวด
           -->หมวดที่ 1  บัญชีหมวดสินทรัพย์
           -->หมวดที่ 2  บัญชีหมวดหนี้สิน
           -->หมวดที่ 3  บัญชีหมวดส่วนของเจ้าของ
           -->หมวดที่ 4  บัญชีหมวดรายได้
           -->หมวดที่ 5  บัญชีหมวดค่าใช้จ่าย

แบบทดสอบหลังเรียน


1.1 ความหมายของการบัญชี (Book  Keeping )

การบัญชี (Book Keeping) หมายถึง การจดบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการรับ - จ่ายเงิน หรือสิ่งของที่กำหนดมูลค่าเป็นเงินไว้เป็นหลักฐานไว้ในสมุดบัญชีอย่างสม่ำเสมอ  จัดแยกประเภทต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบถูกต้องตามหลักการ และแสดงผลการดำเนินงาน และฐานะการเงินของกิจการในระยะเวลาหนึ่งได้ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน ตลอดจนการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานนั้น ซึ่งการบัญชีนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการบัญชี (Accounting)

1.2 ความหมายของวิชาการบัญชี (Accounting)

ความหมาย วิชาบัญชี ในทางธุรกิจ หมายถึง การบันทึกรายการค้าและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอันที่

จะทำให้สามารถบันทึกรายการนั้น ๆ ได้ การบัญชีได้แก่

1. การออกแบบและวางระบบบัญชี
2. การจดบันทึกรายการค้า
3. กรจัดทำงบการเงิน
4. กรตรวจสอบบัญชี
5. การบัญชีเกี่ยวกับภาษีอากร
6. การจัดทำงบประมาณ
7. การบัญชีต้นทุน
8. การควบคุมภายใน
9. การตรวจสอบโดยเฉพาะ

1.3 การบัญชีมีจุดประสงค์ดังนี้

1. เพื่อจดบันทึกรายการค้าต่างๆ     ที่เกิดขึ้นโยเรียงลำดับก่อนหลังและจำแนกประเภทของรายการค้าไว้

     อย่างสมบูรณ์
2. เพื่อให้การจดบันทึกรายการค้านั้นถูกต้อง  เป็นตามหลักการบัญชีและตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี
3. เพื่อแสดงผลการดำเนินงานในรอบระยะเวลาหนึ่ง  และแสดงฐานะการเงินของกิจการในระยะเวลา

    หนึ่ง

1.4  ประโยชน์ของข้อมูลการบัญชี

ประโยชน์ของการบัญชีพอสรุปได้ดังนี้
1. ช่วยให้เจ้าของกิจการสามารถ ควบคุมดูแล รักษาสินทรัพย์ของกิจการได้
2. ช่วยให้ทราบผลการดำเนินงานของกิจการ ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่งว่ามีผลกำไรหรือขาดทุนเป็น

     จำนวนเงินเท่าใด
3. ช่วยให้ทราบฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง ว่ามีสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ

    เป็นจำนวนเงินเท่าใด
4. ข้อมูลทางการบัญชีเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหาร ช่วยในการกำหนดนโยบายในการวางแผนและช่วยใน

    การตัดสินใจต่าง ๆ ในการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ข้อมูลทางบัญชีที่จดบันทึกไว้ สามารถช่วยในการตรวจสอบหาข้อผิดพลาด ในการดำเนินงานได้

1.5  ประวัติและความเป็นมาของการบัญชี

การบัญชี แบ่งออกเป็น 3 ยุค ตามระยะเวลาที่เปลี่ยนแปลงดังนี้

                1. ยุคก่อนระบบบัญชีคู่ เกิดขึ้นก่อน ค.ศ. 3000 ปี จนถึงศตวรรษที่ 13 มีการจดบันทึกข้อมูลทางบัญชี เนื่องจากการลงทุนในการค้า สภาพเศรษฐกิจและการเมืองจากระบบการแลกเปลี่ยนมาเป็นระบบการซื้อขาย และมีการพัฒนาทางเทคโนโลยี การจัดบันทึกข้อมูลทางบัญชีในยุคนี้ได้จดบันทึกไว้บนแผ่นขี้ผึ้ง

 2. ยุคระบบบัญชีคู่ (Double Entry Book - keeping) ในปลายศตวรรษที่ 13 ในยุคนี้มีการลงทุนทางการค้าในรูปของการค้าร่วม หรือห้างหุ้นส่วน เริ่มมีการก่อตั้งธนาคารมีเรือใบในการขนส่งสินค้า และมีการพิมพ์หนังสือลงในกระดาษ ค.ศ. 1202 ได้ค้นพบการจัดบันทึกบัญชีตามหลักบัญชีคู่ทีสมบูรณ์ชุดแรก ที่เมืองเจนัว ประเทศอิตาลี ในปี ค.ศ. 1340 ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการค้า ต่อมาในศตวรรษที่ 15 อิตาลีเริ่มเสื่อมอำนาจลงศูนย์การค้าได้เปลี่ยนไปยังประเทศในยุโรป เช่น สเปน โปรตุเกส และเนเธอร์แลนด์การบันทึกข้อมูลทางบัญชีในยุคนี้ได้มีการหาผลการดำเนินงานเมื่อสิ้นงวดบัญชี

3. ยุคปัจจุบันในศตวรรษที่ 20 มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้ความต้องการทางบัญชีมีมากขึ้น และวัตถุประสงค์ของข้อมูลทางบัญชีเปลี่ยนไปจากเดิมผู้บริหารเป็นผู้ใช้ข้อมูลมาเป็นผู้ลงทุนเจ้าหนี้ และรัฐบาลเป็นผู้ใช้ข้อมูลทางการบัญชี

1.6 ข้อแนะนำในการเรียนบัญชีมีหลักเกณฑ์ดังนี้

1. ควรอ่านเนื้อหาวิชาการบัญชีแต่ละเรื่อง โดยละเอียดอย่างน้อย 2 ครั้งเนื้อหาตอนใดไม่เข้าใจต้อง   สอบถามผู้สอนทันที่ อย่าปล่อยให้เลยไป มิฉะนั้นจะไม่เข้าใจในเรื่องต่อ ๆ ไป
2. ทำแบบฝึกหัดทุกข้อด้วยตนเอง เพื่อฝึกฝนให้การทำงานนั้น มีประสิทธิภาพถูกต้องรวดเร็ว และแม่นยำ
3. ในการเขียนตัวหนังสือและตัวเลข นักบัญชีที่ดีควรเขียนให้ชัดเจนอ่านง่าย และสะอาดเรียบร้อย
4. คุณสมบัติที่จำเป็นในการทำบัญชี คือต้องมีความละเอียดรอบคอบ และความถูกต้องแม่นยำในตัวเลข
5. ต้องฝึกหัดให้เป็นผู้ทีทำงานได้รวดเร็วและไม่ผิดพลาด
6. ฝึกให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง

1.7  ข้อแนะนำในการเขียนตัวเลข

1. ตัวเลยนิยมเขียนด้วยเลขอารบิค 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
2. ตัวเลขทุกจำนวนตั้งแต่ 3 หลักขึ้นไป ให้ใส่เครื่องหมาย “,” (จุลภาค) โดยนับจากจุดทศนิยมไปทางซ้ายมือทุก 3 ตัวเช่น

  31,000.50         บาท

              450,000.81         บาท

       596,452,000.75         บาท

3. การเขียนตัวเลขลงในช่องจำนวนชิดเส้น แบ่งช่องบาทและช่องสตางค์เสมอ

 ผิด                                                     

จำนวนเงิน

บาท

สต.

1,600

50

400

50

135,750

50

ถูก

จำนวนเงิน

บาท

สต.

1,600

50

400

50

135,750