ตัว ย่อ ธนาคาร ธ. ก ส ภาษาอังกฤษ

ตัว ย่อ ธนาคาร ธ. ก ส ภาษาอังกฤษ

  

BAC ย่อมาจากอะไร ?

อักษรย่อ คำเต็ม รายละเอียด / ความหมาย
BAC Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส)  ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์   มีชื่อย่ออย่างเป็นทางการคือ BAAC

อักษรย่อใกล้เคียง

อักษรย่อ คำเต็ม รายละเอียด
ธ.บ. ธรรมศาสตรบัณฑิต (มิได้หมายถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
ธกส. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (เดิมใช้ ธ.ก.ส.)
ธ.ค. เดือนธันวาคม
ธปท. ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธ. ธนาคาร
ธสอ. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
ธอส. ธนาคารอาคารสงเคราะห์

พจนานุกรมธกส. : พจนานุกรม ออนไลน์ แปลภาษา คือ อะไร แปลว่า หมายถึง

ค้นหาคำศัพท์ :

  • หน้าหลัก
  • ภาษาน่ารู้
  • พจนานุกรมทั้งหมด
  • เพิ่มคำศัพท์ใหม่

หน้าหลัก > พจนานุกรมทั้งหมด > แปล ไทย-อังกฤษ lexitron > ธกส.

ธกส.

ธกส.

  • ธกส.

    [n.] Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives
    [syn.] ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

    ดูคำอื่นๆในหมวดแปล ไทย-อังกฤษ LEXiTRON

    กรมพัฒนาฝีมือแรงงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การศึกษานอกระบบการศึกษาเฉพาะกรณีการสำรองข้อซักถามคบหาสมาคมความสูญเปล่าความเสถียรคูปอง

ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-อังกฤษ NECTEC's Lexitron Dictionary

ตัว ย่อ ธนาคาร ธ. ก ส ภาษาอังกฤษ

ธกส.ภาษาอังกฤษ

ธกส.ภาษาไทย ธกส.ความหมาย Dictionary ธกส.แปลว่า ธกส.คำแปล

ธกส.คืออะไร

Tweets by andrewbiggs

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ธนาคารเพื่อการเกษตร
และสหกรณ์การเกษตร

Bank for Agriculture and
Agricultural Cooperatives
ตัว ย่อ ธนาคาร ธ. ก ส ภาษาอังกฤษ
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509 (56 ปี)
หน่วยงานก่อนหน้า

  • ธนาคารเพื่อการเกษตร

สำนักงานใหญ่2346 ถนนพหลโยธิน, 23/25 ถนนประเสริฐมนูกิจ แขวงเสนานิคม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
งบประมาณประจำปี66,835.3604 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน

  • พชร อนันตศิลป์, ประธานกรรมการ
  • ดร.ทองเปลว กองจันทร์, รองประธานกรรมการ
  • ธนารัตน์ งามวลัยรัตน์, ผู้จัดการ
  • สมเกียรติ กิมาวหา, รองผู้จัดการ
  • สุรชัย รัศมี, รองผู้จัดการ
  • กษาปณ์ เงินรวง, รองผู้จัดการ
  • ภานิต ภัทรสาริน, รองผู้จัดการ
  • เสกสรรค์ จันทร์ขวาง, รองผู้จัดการ
  • พีระพงศ์ คำชื่น, รองผู้จัดการ

ต้นสังกัดกระทรวงการคลัง
เว็บไซต์www.baac.or.th

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. (อังกฤษ: Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ในการกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง โดยปัจจุบันกระทรวงการคลังถือหุ้นร้อยละ 99.79 กลุ่มสหกรณ์การเกษตรต่างๆ ถือหุ้นร้อยละ 0.18 และบุคคลทั่วไปถือหุ้นร้อยละ 0.03[2]

ประวัติ[แก้]

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2486 ในชื่อ "ธนาคารเพื่อการเกษตร"[3] เพื่อทำหน้าที่เป็นแหล่งเงินทุนแก่สหกรณ์ในประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2509 จึงได้มีการจัดตั้งธนาคารใหม่ขึ้นแทน เพื่อให้ครอบคลุมถึงเกษตรกรด้วย โดยใช้ชื่อว่า "ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์"[4] ทำหน้าที่อำนวยสินเชื่อทางการเกษตรอย่างกว้างขวาง ทั้งโดยตรงและสู่สถาบันเกษตรกร มุ่งให้ความช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อส่งเสริมอาชีพการเกษตรหรือการดำเนินงานของเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร หรือสหกรณ์การเกษตร ตลอดจนส่งเสริมให้ เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร หรือ สหกรณ์การเกษตร สามารถประกอบอาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องในการเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวเกษตรกร รวมทั้งให้บริการรับฝากเงินในโอกาสที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ก้าวเข้าสู่ปีที่ 50 กับภารกิจที่เปลี่ยนแปลงไปตามการพัฒนาประเทศ รวมถึงการพัฒนาของลูกค้าเกษตรกรที่มีความต้องการแตกต่างจากตอนเริ่มก่อตั้ง บทบาทของ ธ.ก.ส. ในแต่ละช่วงมีความแตกต่างกันดังนี้

ทศวรรษ 1 (พ.ศ. 2509 - 2519) มุ่งลดบทบาทเงินกู้นอกระบบ ด้วยการให้สินเชื่อเพื่อการผลิตระยะสั้น และระยะปานกลาง แก่เกษตรกรให้ทั่วถึงอย่างรวดเร็ว เพื่อลดบทบาทของเงินกู้นอกระบบ โดยสร้างนวัตกรรมทางการเงินใหม่ที่ให้สินเชื่อแก่เกษตรกรรายคน โดยใช้บุคคลในกลุ่มค้ำประกันรับรองรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกัน สร้างรากฐานความพร้อมของเกษตรกรเพื่อสร้างรายได้ และฐานะทางการเงินที่มั่นคงให้แก่เกษตรกร

ทศวรรษ 2 (พ.ศ. 2520 - 2529) พัฒนาการให้สินเชื่อและบริการครบวงจร เริ่มดำเนินงานบนพื้นฐานความร่วมมือกับส่วนราชการและเอกชน ในการช่วยหาปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ที่อำนวยต่อการพัฒนาการเกษตรอย่างครบวงจร ในรูปของวัสดุอุปกรณ์การเกษตร และเชื่อมโยงการตลาด โดยการจัดตลาดกลางพืชผลการเกษตรตลอดจนการรับจำนำข้าวเปลือก

ทศวรรษ 3 (พ.ศ. 2530 - 2539) ช่วยเหลือเกษตรกรชั้นเล็กและยากจน จัดตั้งสถาบันเกษตรกร ขยายการให้บริการเกษตรกรให้ทั่วถึงและครอบคลุมยิ่งขึ้นโดยเฉพาะเกษตรกรชั้นเล็กและยากจน ซึ่งปกติจะไม่สามารถขอใช้บริการสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้ ธ.ก.ส. จึงกำหนดหลักเกณฑ์เป็นการเฉพาะเพื่อให้บริการสินเชื่อแก่เกษตรกรดังกล่าว ขณะเดียวกันยังสนับสนุนให้เกษตรกรลูกค้ารวมตัวกันจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. (สกต.) เพื่อเป็นองค์กรของเกษตรกรลูกค้าในการสร้างอำนาจต่อรองทางการตลาด และได้ริเริ่มโครงการวัฒนธรรมบริการ เพื่อพัฒนาพนักงานให้มีทักษะความรู้ และตระหนักถึงความสำคัญในการให้บริการที่ดีแก่ลูกค้า

ทศวรรษ 4 (พ.ศ. 2540 - 2549) น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาชนบท เพื่อให้เกษตรกรลูกค้าสามารถดำรงชีวิตได้อย่างพอเพียงและมั่นคง สร้างความเข้มแข็งสู่ชุมชนควบคู่ไปกับการส่งเสริมและสนับสนุนการรักษาสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังปลูกฝังให้พนักงานดูแล และให้บริการลูกค้าอย่างใกล้ชิดและทั่วถึง 

ทศวรรษ 5 (พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน) ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเกษตรกรรายย่อยและให้บริการสินเชื่อที่หลากหลาย ธ.ก.ส. ยังคงมุ่งมั่นกับภารกิจพัฒนาชนบทภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเกษตรกรรายย่อย อีกทั้งขยายการให้บริการสินเชื่อไปสู่บุคคล กลุ่มบุคคล ผู้ประกอบการ กองทุนหมู่บ้านหรือชุมชน องค์กรที่เกี่ยวข้อง และสหกรณ์ทุกประเภท ให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุนในระบบ พร้อมทั้งสนับสนุนสินเชื่อเพื่อสร้างรายได้เพิ่ม เพื่อให้เกษตรกรลูกค้ามีฐานะและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อีกทั้งสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้พนักงานทำงานเป็นทีม มีความซื่อสัตย์ มีสำนึกรับผิดชอบ และใช้ชีวิตพอเพียงบนมาตรฐานเดียวกัน 

จากจุดเริ่มต้น เมื่อปี พ.ศ. 2509 จนกระทั่งปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2559 ธ.ก.ส. ได้ก้าวเข้าสู่ปีที่ 50 ด้วยรากฐานที่มั่นคง และมีแนวทางการขับเคลื่อนภารกิจที่ยั่งยืน โดยกำหนดเป็นวิสัยทัศน์สำหรับการดำเนินงานเอาไว้ว่า

“เป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบทที่มั่นคง มีการจัดการที่ทันสมัย ให้บริการทางการเงินครบวงจร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรอย่างยั่งยืน”

การดำเนินงาน[แก้]

ธ.ก.ส. เป็นธนาคารประเภทรัฐวิสาหกิจ มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล อาทิ โครงการประกันรายได้เกษตรกร โครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ และโครงการจำนำผลผลิตทางการเกษตร

ธ.ก.ส. มีผลการดำเนินงานได้กำไรสุทธิจำนวน 8,012 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2553[5]

รางวัล[แก้]

ธ.ก.ส. ได้รับรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น (SOE Award) ประจำปี พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2553 ในด้านการดำเนินการเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมดีเด่น อีกทั้งยังได้รับราลวัลผลการดำเนินงานดีเด่น และรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ในปี พ.ศ. 2551[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  2. โครงสร้างผู้ถือหุ้น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  3. พระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตร พุทธศักราช 2486
  4. พระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509
  5. ↑ 5.0 5.1 รายงานผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจประจำปี 2553[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร