เศรษฐกิจ ไม่ ดี เกิด จาก อะไร



ก่อนส่งท้ายปี 2562 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ได้ออกมาแถลงถึงคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจปีหน้า โดยประมาณการว่า จีดีพีจะโตประมาณ 3.3% และการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น 2.6%

ตัวเลขการคาดการณ์จีดีพีของสำนักงานเศรษฐกิจการคลังถือว่าสูงมาก เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ของสำนักวิจัยภาคเอกชน รวมทั้งธนาคารแห่งประเทศไทยที่ประเมินว่า จีดีพีปีหน้าจะโตประมาณ 2.8%

หน่วยงานด้านเศรษฐกิจภาครัฐ มักมีมุมมองเศรษฐกิจในลักษณะโลกสวย เช่นเดียวกับปีที่ผ่าน ซึ่งเดิมคาดว่า จีดีพีจะโตประมาณ 4% แต่ปรับลดลงมาต่อเนื่อง จนสิ้นปีก็ออกมายอมรับว่า จริงๆ แล้วจีดีพีจะโตเพียง 2.5%

ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2563 ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ว่า จะฟื้นตัวขึ้นหรือฟุบต่อ เพราะถ้าฟังจากคนค้าขาย วงสนทนานักธุรกิจ นักวิชาการ และประชาชนทั่วไป จะได้ยินแต่เสียงของคนที่มองโลกในแง่ร้าย กังวลว่า เศรษฐกิจจะทรุดหนักต่อไป

และตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาช่วงปลายปี ก็บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจยังย่ำแย่ และไม่มีใครแน่ใจว่า จุดต่ำสุดได้ผ่านพ้นไปหรือยัง

การส่งออก 11 เดือนแรกปี 2562 ติดลบ 2.8% และคาดว่าทั้งปีจะติดลบไม่ต่ำกว่า 2% การลงทุนภาคเอกชนยังชะลอตัว เพราะนักลงทุนไม่มีความมั่นใจในทิศทางเศรษฐกิจ ขณะที่กำลังซื้อภายในประเทศตกต่ำสุดขีด ส่งผลให้ยอดขายสินค้าต่างๆ หดตัว

หนี้ภาคครัวเรือนพุ่งขึ้นเป็น 340,053 บาทต่อครัวเรือน สูงสุดเป็นประวัติการณ์

ปัญหาหนี้เสียเพิ่มขึ้น จนสถาบันการเงินต้องควบคุมการปล่อยสินเชื่ออย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันตัวเอง เพราะมีบทเรียนจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 มาแล้ว

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซบเซาขนาดหนัก ลูกค้าที่ขอเงินกู้จากธนาคารไม่ผ่านการอนุมัติ บ้านที่ขายได้ แต่กลับโอนไม่ได้ ทำให้บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ต้องเผชิญปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน

การส่งออกที่ซบเซา ส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงธุรกิจเอกชน โดยหลายโรงงานต้องทยอยปลดพนักงาน

ตลาดหุ้นเกิดความผันผวน ดัชนีหุ้นไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จากคาดการณ์กันว่า สิ้นปีดัชนีหุ้นจะพุ่งขึ้นยืนเหนือ 1,700 จุด แต่กลับไปไม่ถึง 1,600 จุด ขณะที่นักลงทุนต่างชาติ ถอนทุนกลับต่อเนื่องจากปี 2561 โดยขายหุ้นทิ้งกว่า 4 หมื่นล้านบาท หลังจากปี 2561 ขายทิ้งแล้วกว่า 2.87 แสนล้านบาท และไม่รู้ว่าปีนี้ต่างชาติจะกลับมาลงทุนใหม่หรือไม่

ความพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจ ผลักดันมาตรการต่างๆ ออกมาต่อเนื่อง อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบมหาศาล แต่ไม่อาจพลิกฟื้นเศรษฐกิจที่ฟุบหนักได้

แม้ว่าปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน มีสัญญาณที่ดีขึ้น โดยจะมีการลงนามข้อตกลงทางการค้าในเดือนมกราคมนี้ แต่เศรษฐกิจโลกยังอยู่ในภาวะชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย โดยเฉพาะภาคการส่งออก

ขณะที่ค่าเงินบาทที่แข็ง ยังบั่นทอนขีดความสามารถในการแข่งขัน ขณะที่นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และอาจไม่เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวลดลง

ธุรกิจขนาดใหญ่ของกลุ่มเจ้าสัวเท่านั้นที่ยังยืนอยู่ได้ และกอบโกยกำไรต่อไป แต่ธุรกิจโดยทั่วไปกำลังล้มหายตายจาก เพราะยอดขายตกฮวบ แม้แต่การค้าขายระดับรากหญ้า เพราะกำลังซื้อตกต่ำ จนได้รับผลกระทบกันทุกหย่อมหญ้า

ความตกต่ำทางเศรษฐกิจ ไม่ใช่เพียงแค่ความรู้สึกเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่สัมผัสได้ ตามห้างสรรพสินค้าแทบไม่มีคนเดินจับจ่าย ร้านอาหารว่างเปล่า ร้านค้าข้างทางแทบไม่มีคนเดิน ธุรกิจทั่วไปดูวังเวง ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ และพยายามเตือนกันให้ระมัดระวังการใช้จ่าย หลีกเลี่ยงการลงทุน โดยถือเงินสดไว้แน่นๆ

เพราะเชื่อกันว่า เศรษฐกิจปีนี้ อาจเลวร้ายกว่าปีที่ผ่านมา ปี 2562 ที่คิดกันว่า ถึงจุดต่ำสุดแล้ว แต่ปีนี้สถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมอาจตกต่ำกว่า

ปีที่ผ่านมา ภาคธุรกิจต้องพยายามประคับประคองตัวเพื่อความอยู่รอด แต่ปีนี้ ภาคธุรกิจทนต่อไปไม่ไหว แบกภาระค่าใช้จ่ายต่อไปไม่ได้ ปัญหาที่ตามมาคือการเลิกจ้างพนักงาน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมาตลอดปี 2562

บรรดากูรูตลาดหุ้น ไม่กล้ามองโลกสวยเท่าใดนัก โดยทำนายเป้าหมายดัชนีหุ้นปีนี้ในกรอบแคบๆ เพราะเดาผิดมา 2 ปีติดแล้ว และคาดการณ์ว่า ดัชนีหุ้นปีนี้อาจขยับขึ้นไปแถว 1,700 จุดเท่านั้น

ส่วนสำนักวิจัยเศรษฐกิจภาคเอกชนโดยทั่วไป ได้แต่คาดหวังว่า เศรษฐกิจปีนี้น่าจะดีกว่าปีก่อน โดยจะฟื้นตัวอย่างช้าๆ

แต่สำหรับประชาชนทั่วไป สำหรับนักธุรกิจส่วนใหญ่ ไม่มีความมั่นใจว่า เศรษฐกิจจะฟื้น แต่หวาดผวาว่าจะทรุดหนัก และเตรียมตัวเตรียมใจเพื่อรับมือกับสถานการณ์เลวร้ายที่อาจเกิดขึ้น

จะจับจ่ายใช้สอยต้องคิดให้หนัก จะลงทุนอะไรต้องระมัดระวัง ถ้าเลือกได้ ควรชะลอการลงทุน เพื่อรอดูเหตุการณ์ไปก่อน

รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สอบตกการแก้ปัญหาเศรษฐกิจมา 5 ปีแล้ว ปีนี้ถ้าเศรษฐกิจไม่ฟื้น ประชาชนยังเดือดร้อนกันทุกหย่อมหญ้า ธุรกิจอยู่กันไม่ได้ พล.อ.ประยุทธ์คงอยู่ยากเหมือนกัน



  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
  • เศรษฐกิจแย่
  • ภาวะเศรษฐกิจ

Recession คือ การถดถอยของภาวะเศรษฐกิจที่แผ่ผลในวงกว้าง มีนัยยะสำคัญ และมีการตกต่ำของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในกรอบเวลาที่ค่อนข้างยืดเยื้อ (มีผลในช่วงเวลาหนึ่ง) โดยกฎเหล็กของ Recession ที่เรามักเอามายึดถือในโลกปัจจุบันก็คือการที่…

“GDP ติดลบติดต่อกัน 2 ไตรมาส”

Recession จะส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางเศรษฐกิจ ความต้องการของผู้บริโภคและการจ้างงาน

รูปแบบของ Recession รู้ไว้ก่อน จะได้เข้าใจเกมภาพใหญ่โลกลงทุน

Boom and Bust Recession

เศรษฐกิจ ไม่ ดี เกิด จาก อะไร

ที่มา: netsuite.com

ตลาดหุ้นผันผวนอย่างไร การเติบโตเศรษฐกิจก็มีความผันผวนเช่นกัน ปกติเวลาที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างร้อนแรงจะก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “เงินเฟ้อ” ซึ่งเป็นสิ่งที่ธนาคารกลางหรือรัฐบาลให้ความสำคัญ เพราะ เงินเฟ้อในอัตราที่พอเหมาะพอดีอ่อน ๆ เช่น ประมาณ 2% จะช่วยให้คนอยากใช้จ่ายหน่อย ๆ กู้นิด ๆ ลงทุนเพิ่มและทำกิจกรรมอื่น ๆ อย่างเสถียรด้วยอัตราที่พอเหมาะ

นั่นคือสิ่งที่ธนาคารกลางมักจะตั้งเป้าหมายเอาไว้ แต่โลกความเป็นจริงอาจไม่ได้มี perfect case เกิดขึ้นได้ขนาดนั้น เพราะเรื่องของเงินเฟ้อไม่สามารถคุมให้จบโดยใครคนใดคนหนึ่งได้ เช่น หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันอย่างสงคราม โรคระบาด หรือการดำเนินนโยบายที่เกินตัว เงินเฟ้อก็อาจเกินควบคุม

นั่นจึงนำไปสู่การขึ้น “ดอกเบี้ย” ซึ่งเปรียบเสมือนการทำให้ต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น เช่น การกู้ยืมแพงขึ้น ดอกเบี้ยบ้านแพงขึ้น ส่งผลให้คนอาจจะใช้จ่ายน้อยลงและเมื่อการใช้จ่ายน้อยลง สินค้าขายไม่ค่อยออก ผู้ผลิตคงไม่อยากขึ้นราคาหรือลดราคาเพื่อขายสินค้า ทำให้เงินเฟ้อหรือราคาลดลง เป็นต้น

Balance Sheet Recession

เศรษฐกิจ ไม่ ดี เกิด จาก อะไร

ที่มา: netsuite.com

การถดถอยของเศรษฐกิจในรูปแบบนี้หากยกตัวอย่างให้เห็นภาพได้ง่ายที่สุดคือ “ญี่ปุ่น” ประเทศที่กำลังเผชิญกับ “ทศวรรษที่สูญหาย” หรือ “Lost Decades” 

Balance sheet recession เกิดขึ้นจากพฤติกรรมการใช้จ่ายที่เปลี่ยนแปลงไปจากภาระหนี้ที่สูงเกินตัว จนส่งผลให้คนไม่กล้าใช้จ่าย (ลำพังก็มีหนี้อยู่แล้ว) อีกทั้งยังทำให้คนให้ความสำคัญกับการจ่ายหนี้ หรือพูดง่ายก็คือการ เคลียร์งบดุลตนเอง (clean up their balance sheets)*

เหตุการณ์ดังกล่าวจึงอาจส่งผลให้การกระตุ้นจากภาครัฐ เช่น เงินอัดฉีด หรือ การลดอัตราภาษี ไม่ทำให้คนนำเงินไปใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการจนเศรษฐกิจเติบโต แต่กลับกันคนดันเอาเงินไปชำระหนี้ที่ตนเองมีก่อน คล้าย ๆ กับการที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคหดตัวลงจนส่งผลให้การให้ความสำคัญในแต่ละเรื่องของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป

*งบดุลประกอบไปด้วยสินทรัพย์และหนี้สิน

Depression

เศรษฐกิจ ไม่ ดี เกิด จาก อะไร

ที่มา: netsuite.com

Depression คือการถดถอยเวอร์ชั่นอัปเกรดของ Recession ที่มีความรุนแรงกว่ามาก โดย GDP อาจมีการติดลบได้ถึงกว่า 10% และอัตราการว่างงานอาจใกล้เคียงหรือสูงถึง 30% ตัวอย่างของ Depression ง่าย ๆ คือวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงปี 1930s (Great Depression) ของสหรัฐฯ ในช่วงหลังสงครามโลกที่เศรษฐกิจกำลังรอการฟื้นฟู รวมไปถึงเคสสงครามอื่น ๆ ที่อาจยืดเยื้อจนเศรษฐกิจถดถอยยาวนาน

Supply-Side Shock

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดสำหรับวิกฤตนี้คงเป็นช่วงหลังวิกฤติโควิด-19 ที่ฝั่งการผลิตตั้งตัวไม่ทันและผลิตสินค้าไม่ได้ตาม Demand ที่เกิดขึ้นหลังจากการเปิดเมือง รวมถึงเคสยอดฮิตอย่างในช่วงปี 70s ที่เกิดเงินเฟ้อร้อนแรงและราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นแบบมหาโหด ซึ่งวิกฤติเหล่านี้ถ้าอยากให้จบเร็วก็ต้องเร่งสร้างสมดุลระหว่าง Demand และ Supply ให้เร็วที่สุด มิเช่นนั้นเหตุการณ์เหล่านี้อาจคงอยู่อีกนานหลายปี

ผลกระทบของ Recession ต่อตลาดหุ้น และสินทรัพย์อื่น ๆ

ในวิกฤติมืด 8 ด้าน จริง ๆ แล้วหากมองอีกมุมนึงคือโอกาสชั้นยอดในการเข้าลงทุนตัวอย่างเหตุผลต่าง ๆ จะมีอะไรบ้างเราลองมาดูกัน

ในช่วงวิกฤต เป็นจังหวะสำหรับเข้าลงทุนในบางสินทรัพย์ ที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาว

เศรษฐกิจ ไม่ ดี เกิด จาก อะไร

ที่มา: investingcaffeine.com

เรามักได้ยินมาว่ายามวิกฤตคือโอกาส

ภาพที่ว่าน่าจะสื่อความหมายเรื่องนี้ได้ดีที่สุด เพราะอะไร? เพราะหากเราดูจากภาพสินทรัพย์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ตราสารหนี้ หรือพันธบัตรรัฐบาล ในระยะยาวดูเหมือนจะสามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างต่อเนื่อง (โดยเฉพาะหุ้น) ในขณะที่ทองคำและเงินดอลลาร์ในระยะยาวดูจะสร้างผลตอบแทนไม่ค่อยดีนัก เมื่อเทียบกับการฝากเงินเฉย ๆ

ดังนั้นเวลาเกิดวิกฤติเราอาจจะลองหยิบภาพนี้มาดูสักนิด เหมือนกระเถิบออกมาดูภาพกว้างว่าการขยึกขยักของสินทรัพย์บางประเภทถ้าเทียบกับภาพกว้างมาก ๆ แล้ว ถือว่าไม่ได้ผันผวนเท่ากับตอนที่เรายืนอยู่ในจุดหนึ่ง ๆ ของช่วงเวลา

อีกทั้งถ้าเราเข้าลงทุนในจังหวะที่สินทรัพย์นั้น ๆ ย่อตัวลง อาจทำให้เราได้จุดเข้าซื้อที่ดีกว่า (สร้างผลตอบแทนได้มากกว่า) อีกด้วย

วิกฤตก่อให้เกิดจังหวะในการเข้าลงทุนในหุ้นบางประเภทที่มีช่วงเวลาเฉิดฉายต่างกันตามช่วงวัฏจักรเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจ ไม่ ดี เกิด จาก อะไร

ที่มา: investing.com

บางคนอาจจะอยากได้หุ้นที่วิ่งแรงสุด ๆ กอบโกยให้มาก ๆ จากในช่วงขาขึ้น ภาพนี้น่าจะช่วยทุกคนได้ โดยในแต่ละช่วงเวลาของตลาดจะมีหุ้นบางกลุ่มทำผลงานได้ดีอยู่เสมอ เช่น หลังฟื้นตัวกลุ่มขนส่ง (ตัวอย่างเช่น หุ้นเรือ) ทำผลงานได้ดี และมาต่อที่หุ้นเทคโนโลยีและอื่น ๆ ในช่วงถัด ๆ ไป

ดังนั้นหากใครพอจะรู้ว่าเรายืนอยู่ ณ จุดไหนของวัฏจักร เราอาจจะลงทุนดักไว้ล่วงหน้าก็ได้ 

หลัง Recession จบตลาดหุ้นมักจะสร้างผลตอบแทนที่ดีในปีถัด ๆ ไป

เศรษฐกิจ ไม่ ดี เกิด จาก อะไร

ที่มา: forbes.com

จากภาพเราจะเห็นได้ว่าในช่วง 6 เดือน 12 เดือน และ 2 ปี หลังจากเกิดภาวะถดถอยตลาดหุ้นอเมริกาทำผลตอบแทนหลังจากนั้นได้ดีในปีถัด ๆ ไป โดยในช่วง 6 เดือนหลังจากการถดถอยตลาดหุ้นทำผลตอบแทนได้เฉลี่ย 7% ช่วง 12 เดือน ทำผลตอบแทนเฉลี่ย 16% และในช่วง 2 ปีหลังจากการถดถอยทำผลตอบแทนได้เฉลี่ย 20%

แต่หากกรณีที่เกิดการปรับตัวลงแบบโหด ๆ อย่างเช่นในช่วง Great Depression เราจะสังเกตได้ว่าผลตอบแทนหลังจากนั้นจะสูงลิบตาเลยทีเดียว โดย 2 ปี ให้หลังจาก Great Depression จบ S&P 500 ทำผลตอบแทนได้ถึง 55%

นี่คือเหตุผลในบางส่วนว่าทำไมวิกฤตถึงเป็นโอกาสในการลงทุนชั้นยอด 

หวังว่าข้อมูลที่ผมนำมาเสนอในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะครับ

ขอให้ทุกคนโชคดีครับ

Mr. Serotonin

References

https://investingcaffeine.com/2014/05/24/searching-for-the-market-boogeyman/

.

https://www.forbes.com/sites/kristinmckenna/2022/04/01/how-stocks-perform-before-during-and-after-recessions-may-surprise-you/?sh=3d028eb3249d