ความสัมพันธ์ของอยุธยากับฝรั่งเศส

ละครเรื่องบุพเพสันนิวาส ที่สร้างจากนวนิยายเรื่องดังชื่อเดียวกันของ “รอมแพง” นับเป็นนิยายที่มีการดึงเอาประวัติศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3) ทรงปกครองบ้านเมืองอันเป็นช่วงที่อยุธยามีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดมาเป็นฉากหลังได้อย่างน่าสนใจ

ตัวละครในนิยายนั้นมีอยู่จริงตามประวัติศาสตร์อยู่หลายคน แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนวนิยายเรื่องนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงการเจริญความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ในยุคแรกได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับคณะทูตที่ถูกส่งไปยังฝรั่งเศส เพื่อเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 อันเป็นกุศโลบายของ สมเด็จพระนารายณ์ ที่ทรงต้องการคานอำนาจของชาว ฮอลันดา (เนเธอร์แลนด์) ที่เริ่มจะมีท่าทีไม่น่าไว้ใจในแผ่นดินอยุธยา ด้วยการแสดงให้เห็นว่า อยุธยา เองก็ได้มีการเจริญความสัมพันธ์กับประเทศที่เป็นมหาอำนาจในยุโรปอย่างฝรั่งเศสเช่นกัน

คณะทูตอยุธยา คณะแรก ไปไม่ถึงฝรั่งเศส

ถ้าใครได้ดูละครบุพเพสันนิวาส จะมีช่วงหนึ่งที่มีการกล่าวถึงคณะทูตชุดแรกที่ออกเดินทางจากอยุธยา ไปยังฝรั่งเศส แต่ไปไม่ถึง เพราะเรืออัปปางเสียก่อน ซึ่งเรื่องนี้ตามประวัติศาสตร์นั้นเป็นเรื่องจริง

โดยรายละเอียดตามที่ระบุไว้ในประวัติศาสตร์นั้นสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงแต่งราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส คณะทูตชุดแรกของอยุธยา ได้เดินทางไปยังฝรั่งเศสในปี พุทธศักราช 2223 โดยมีจุดมุ่งหมายนอกจากพระราชไมตรีแล้วยังต้องการทราบพระราชอำนาจของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และความเจริญ ของประเทศฝรั่งเศสเมื่อเทียบกับเมืองจีน แต่คณะทูตชุดนี้เรือไปอับปางที่ฝั่งตะวันออกของเกาะมาดากัสการ์

คณะทูตอยุธยาชุดที่สองได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14

หลังจากคณะทูตอยุธยาคณะแรกไปไม่ถึงฝรั่งเศสเพราะเรืออัปปางเสียก่อน จากนั้นอีก 4 ปีได้มีการส่งคณะทูตไปอีกครั้งในปี พ.ศ. 2227 จุดประสงค์เพื่อสืบข่าวทูตชุดแรกและกระชับสัมพันธไมตรีกับ ฝรั่งเศส คณะทูตได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และกลับมากรุงศรีอยุธยาพร้อมกับคณะราชทูตฝรั่งเศส มีหัวหน้าคือ เชอวาเลีย เดอ โชมองต์ มาเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จุดมุ่งหมายเพื่อให้พระองค์เปลี่ยนใจมานับถือศาสนาคริสต์เผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และส่งเสริมการค้า

ซึ่งความพยายามที่จะให้สมเด็จพระนารายณ์ ทรงเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์นั้นไม่สำเร็จ พระองค์กลับทรงพยายามชี้แจงให้ เชอวาเลีย เดอ โชมองต์ เห็นความสำคัญของปัญหาที่ฮอลันดากำลังขยายอำนาจและความร่วมมือกันระหว่างกรุงศรีอยุธยากับฝรั่งเศส

ส่วนการเจรจาด้าน การค้ามีการลงนามในอนุสัญญาการค้า ที่มีใจความสำคัญคือการอนุญาตให้ฝรั่งเศสค้าดีบุกที่เกาะถลาง และดินแดนที่ขึ้นกับเกาะถลาง บริษัทอินเดีย ตะวันออกฝรั่งเศลมีสิทธิเปิดสถานีการค้าขึ้นในที่ใด ๆ ก็ได้ถ้าเสนาบดีไทย เห็นชอบ สำหรับประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการติดต่อกับฝรั่งเศสก็มี เช่น ได้วิศวกรชาวฝรั่งเศสชื่อ เดอ ลามาร์ มาสร้างป้อมที่บางกอก มีบาทหลวงเยซูอิต 5 รูป เป็นนักดาราศาสตร์มาดูแลหอดูดาว ซึ่งสร้างจวนจะเสร็จที่เมืองลพบุรี

คณะทูต ออกพระวิสูตรสุนทร หรือ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน)

หลังจากมีการส่งคณะราชทูตจากอยุธยาไปยังฝรั่งเศสมาแล้ว 2 ครั้งโดยไปถึง 1 ครั้งและไม่ถึง 1 ครั้ง ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2228 ได้มีการส่งคณะราชทูตสยาม (ชุดที่ 3) เดินทางไปฝรั่งเศส กับคณะราชทูตของเชอร์วาเลียร์ เดอ โชมองต์ คณะราชทูตจากอยุธยา ถึงฝรั่งเศสโดยมาขึ้นบกที่ท่าเรือเมืองแบร็สต์นี้เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2229 ถือเป็นจุดแรกที่เข้าสู่ประเทศฝรั่งเศส และเดินทางผ่านถนนสายดังกล่าว ต่อมา ชาวเมืองจึงได้เปลี่ยนชื่อถนนเป็นถนนสยาม (Rue de Siam) เพื่อระลึกถึงการเดินทางของคณะราชทูตครั้งนี้ โดยเริ่มใช้ชื่อดังกล่าวอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2354

คณะราชทูตชุดนี้มีออกพระวิสูตรสุนทร (โกษาปาน) เป็นราชทูต หลวงกัลป์ยาณราชไมตรีและขุนศรีวิศาลวาจา เป็นทูต มีเจ้าอาวาสวัดเดอลีอองเป็นล่ามคณะราชทูตเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่พระราชวังแวร์ชายเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2229 แล้วเดินทางกลับถึงกรุงศรีอยุธยาเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2230 พร้อมกับลาลูแบร์ ราชทูตของฝรั่งเศส
ซึ่งคณะราชทูตจากอยุธยาชุดนี้ เรียกได้ว่าเป็นคณะราชทูตที่ได้รับการจารึกลงในประวัติศาสตร์ของทั้งไทยและฝรั่งเศส

อยุธยาผลัดแผ่นดิน ความสัมพันธ์ ฝรั่งเศส หยุดชะงัก

ภายหลังจากการส่งคณะราชทูตชุด เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ไปยังฝรั่งเศสแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับฝรั่งเศส ก็แน่นแฟ้นขึ้นเรื่อยๆ จนทั่งถึงช่วงปลายของแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์เนื่องมาจากการเมืองภายในของอยุธยา

ตลอดรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์นั้น พระองค์ทรงโปรดปราน เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ขุนนางชาวกรีก ที่มีความสามารถพูดได้หลายภาษาและได้รับใช้ใกล้ชิดเป็นอย่างมาก และเป็นคอนสแตนติน ฟอลคอน ที่ทำหน้าที่ประสานให้อยุธยาเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส ความสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้ปลายรัชกาลขุนนางผู้ใหญ่พากันเกรงว่าฟอลคอนจะคิดร้ายต่อบ้าน เมือง เพราะสถานการณ์และรูปการณ์บ่งบอก

โดยฟอลคอนก็ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญในกรมพระคลังสินค้าเป็นสมุหนายก ซึ่งกุมอำนาจทั้ง ทางเศรษฐกิจและการเมือง การติดต่ออันใกล้ชิดกับฝรั่งเศสทำให้พระเพทราชาร่วมมือกับขุนนางไทยทั้งหลายยึดอานาจการปกครอง ขณะสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระประชวร เมื่อพระเพทราชา ได้กุมอำนาจในแผ่นดินแล้ว ก็ได้มีการจัดการชาวต่างชาติในอยุธยาที่ไม่น่าไว้วางใจ รวมไปถึง เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) จากนั้นพระเพทราชาได้ปราดาภิเษกขึ้นครองอาณาจักรอยุธยา และนับเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199 - 2231) -- ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2394 - 2411) -- ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411 - 2453) -- ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2453 - 2468)-- ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (พ.ศ. 2477 -2489) -- ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐฝรั่งเศสในปัจจุบัน

  1. ไทย -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- ฝรั่งเศส
  2. ฝรั่งเศส -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- ไทย
  3. ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงศรีอยุธยา
  4. 1893-2310
  5. ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์
  6. 2325-

เพราะเหตุใดฝรั่งเศสจึงมาเจริญสัมพันธไมตรีกับอยุธยา

5. ฝรั่งเศส สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงต้องการให้ฝรั่งเศสเป็นพันธมิตรกับกรุงศรี อยุธยา เพื่อถ่วงดุลอ านาจของฮอลันดา ซึ่งมีท่าทีคุกคามไทย จึงมีการติดต่อทางการค้าและ ทางการทูตกัน พ่อค้าฝรั่งเศสได้เข้ามาตั้งสถานีการค้าในอยุธยาเป็นครั้งแรก ทางฝรั่งเศสได้จัดส่ง คณะทูตชุดใหญ่ซึ่งมีเชอวาเลีย เดอ โชมองต์เป็นหัวหน้าเดินทางมา ...

กษัตริย์ฝรั่งเศสพระองค์ใดที่มีความสัมพันธ์กับอยุธยา

ไทยกับฝรั่งเศสเริ่มมีความสัมพันธ์ระหว่างกันตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยของสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช และพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ซึ่งได้ส่งราชทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับสยามเมื่อปี ๒๒๒๘ ต่อมา ราชทูตสยาม (โกษาปาน) ได้เดินทางไปเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ณ พระราชวังแวร์ซายส์ เมื่อปี ๒๒๒๙

กรุงศรีอยุธยามีความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยใด

ชาติตะวันตกเริ่มเข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พ.ศ. 2060) โดยโปรตุเกสเป็นชาติแรก แต่การค้ากับชาติตะวันตกเริ่มขึ้นอย่างจริงจังและกว้างขวางในรัชสมัยสมเด็จพระเอกทศรถเป็นต้นไป และถือว่าเจริญถึงขีดสุดในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

เพราะเหตุใดสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงทรงมีความสัมพันธ์กับฝรั่งเศส

สมเด็จพระนารายณ์ทรงพยายามเจริญสัมพันธไมตรีกับราชอาณาจักรฝรั่งเศสมากเป็นพิเศษ เพื่อถ่วงดุลอำนาจของชาวโปรตุเกสและชาวฮอลันดาที่มีต่อราชอาณาจักรของพระองค์ และทรงปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ผู้เป็นอัครมหาเสนาบดี ทั้งนี้ ปรากฏหลักฐานว่าทั้งสองฝ่ายมีการส่งคณะทูตแลกเปลี่ยนกันหลายครั้ง

เพราะเหตุใดฝรั่งเศสจึงมาเจริญสัมพันธไมตรีกับอยุธยา กษัตริย์ฝรั่งเศสพระองค์ใดที่มีความสัมพันธ์กับอยุธยา กรุงศรีอยุธยามีความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยใด เพราะเหตุใดสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงทรงมีความสัมพันธ์กับฝรั่งเศส ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยอยุธยา สรุป ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ความสัมพันธ์ของอยุธยากับอังกฤษ ความสัมพันธ์ของอยุธยากับประเทศใดมีลักษณะของการผูกมิตร และเชื่อมสัมพันธไมตรี ความสัมพันธ์ของอยุธยากับสเปน ราชทูตฝรั่งเศส มาไทย สมัยพระนารายณ์ จุดประสงค์แรกที่ฮอลันดาเข้ามาติดต่อกับอยุธยา คืออะไร