การซื้อขายหุ้นต้องเสียภาษีไหม

สมใจอยากสักทีกับการเก็บภาษีขายหุ้น (Financial Transaction Tax) ของกระทรวงการคลัง หลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) 29 พ.ย.65 อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาแล้ว และคาดว่าจะเริ่มบังคับใช้ได้เร็วสุด มี.ค.66 ที่กำลังจะถึงนี้เลย

ส่วนอัตราที่เรียกเก็บช่วงแรกจนถึงสิ้นปี 66 จะอยู่ที่ 0.055% ถามว่ามากแค่ไหน ? ก็ขายหุ้น 1,000 บาท เสียภาษี 0.55 บาท, ขาย 10,000 เสีย 5.5 บาท, ขาย 100,000 บาท เสีย 55 บาท หรือขาย 1,000,000 บาท เสีย 550 บาท มากกว่านั้นก็ทวีคูณไปเรื่อย ๆ

ขณะที่ปี 67 เป็นต้นไปจะจัดเก็บที่ 0.11% เท่ากับว่าหากขายหุ้น 1,000 บาท เสียภาษี 1.1 บาท, ขาย 10,000 เสีย 11 บาท, ขาย 100,000 บาท เสีย 110 บาท หรือขาย 1,000,000 บาท เสีย 1,100 บาท มากกว่านั้นก็ More and More...

กระทรวงการคลังอธิบายว่า สาเหตุที่ต้องเก็บภาษีขายหุ้นเพราะยกเว้นให้มากว่า 30 ปีแล้ว โดยการปรับปรุงครั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของภาครัฐให้มีความยั่งยืน คาดว่าจะจัดเก็บรายได้ประมาณปีละ 1.6 หมื่นล้านบาท (คำนวณจากอัตราเรียกเก็บที่ 0.11%)

เรื่องนี้กระทบใครบ้าง ? ...

แอดรวบรวมความเห็นจากบรรดาผู้เกี่ยวข้องกับวงการตลาดทุนไทย พบว่า ส่วนใหญ่เห็นเหมือนกันคือ การเก็บภาษีนี้ส่งผลเสียมากกว่าผลดี !!!

อันดับแรกที่โดนตรง ๆ เลยคือนักลงทุน เพราะต้นทุนเพิ่มขึ้นชัดเจน ซึ่งนักวิเคราะห์ บล.ยูโอบีฯ เขามองว่า ภาษีการขายหุ้น จะทำให้ต้นทุนการซื้อขายเฉลี่ยของนักลงทุนทั่วไปเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพราะมีค่าคอมฯ ที่ต้องจ่ายอยู่แล้ว โดยประเมินว่าต้นทุนเฉลี่ยการซื้อขายปีแรกจะเพิ่มขึ้น 18.33% และปีถัดไปเพิ่มขึ้น 37% ซึ่งนักลงทุนรายใหญ่สายเทรดเดอร์ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงจะได้รับผลกระทบมากสุด

เช่นเดียวกับ “เสี่ยป๋อง” วัชระ แก้วสว่าง บอกเลยว่า ได้รับผลกระทบแน่ เพราะยอดเทรดต่อปีค่อนข้างสูง ยกตัวอย่างหากปีนึงขายหุ้นราว 7 หมื่นล้านบาท ต้องเสียภาษีถึง 70 ล้านบาทเลยทีเดียว โดยกลุ่มนักลงทุนสายเก็งกำไร, สายเดย์เทรด และกลุ่มที่ส่งคำสั่งซื้อขายผ่านโปรแกรมเทรด (High FrequencyTrading) จะได้รับผลกระทบมากสุด ซึ่งจะมีผลทำให้วอลุ่มเทรดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

รวมถึงกลุ่มนักลงทุนสถาบันก็มองว่าได้รับผลกระทบเต็ม ๆ โดย "วศิน วณิชย์วรนันต์" แห่ง บลจ.กสิกรไทย บอกว่า กองทุนรวมที่มีขนาดระดับ 500 - 1,000 ล้านบาทขึ้นไปจะได้รับผลกระทบจากภาษีขายหุ้น โดยเฉพาะกองทุนรวมแบบ Passive Fund (กองทุนรวมดัชนี หรือ Index Fund) ซึ่งต้องมีการปรับพอร์ตตามดัชนีฯ และจะส่งผลมายังนักลงทุนอีกทอดหนึ่ง เพราะส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนรายย่อยที่เข้ามาลงทุนเพื่อการออมเป็นหลัก

ฟาก ตลท. เคยประเมินเอาไว้ว่า การเก็บภาษีขายหุ้นจะทำให้ต้นทุนการซื้อขายหุ้นของนักลงทุนสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่ใช้โปรแกรมซื้อขาย (High-frequency Trading: HFT) ที่ปัจจุบันมีสัดส่วนประมาณ 20-30% ของการซื้อขายต่อวัน นอกจากนี้ ยังมีข้อกังวลเรื่องต้นทุนการระดมทุน (Cost of Capital) ที่จะสูงขึ้น และต้นทุนภาษีที่ซ้ำซ้อน (Double Taxation) ในผลิตภัณฑ์การลงทุนบางประเภท เช่น ETF, Derivative Warrant และ Single Stock Futures

ลำดับต่อมา การเก็บภาษีนี้จะกระทบวอลุ่มตลาดอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) ที่นำโดย "กอบศักดิ์ ภูตระกูล" และ "ไพบูลย์ นลินทรางกูร" ยังยืนยันไม่เห็นด้วยแบบเต็มลำ โดยมองว่า ภาวะตอนนี้ยังไม่เหมาะสม ทั้งมูลค่าซื้อโดยรวมของตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวลดลงเบาบางอย่างหนักในรอบหลายปี โดยการเก็บภาษีจะซ้ำเติมให้สภาพคล่องลดลงไปอีก เพราะนักลงทุนจะมีภาระต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น

การเก็บภาษีขายหุ้น จะทำให้มูลค่าการซื้อขายลดลงระดับ 30-40% ซึ่งตอนที่กระทรวงการคลังคาดว่าจะเก็บภาษีได้ปีละ 1-2 หมื่นล้านบาท แต่ประเมินตอนมูลค่าการซื้อขายตลาดฯ อยู่ระดับเฉลี่ย 8-9 หมื่นล้านบาท ซึ่งปัจจุบันขนาดยังไม่เริ่มเก็บภาษียังมีมูลค่าการซื้อขายเพียง 3-4 หมื่นล้านบาทต่อวัน และหากเริ่มเก็บภาษีจะลดลงไปอีก ดังนั้นเมื่อมูลค่าการซื้อขายลดลง ไม่มีทางที่จะเก็บภาษีจากตรงนี้ได้ระดับ 1-2 หมื่นล้านบาทต่อปีอย่างแน่นอน...

นอกจากนี้เม็ดเงินต่างชาติจะหายไป ซึ่งปริมาณการซื้อขายหุ้นไทยปัจจุบันเกือบครึ่งเป็นนักลงทุนต่างชาติ หากมีการเก็บภาษีจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่เข้ามาเทรดระยะสั้น และจะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องแน่นอน ซึ่งน่าเสียดายปีนี้เม็ดเงินต่างชาติไหลเข้าซื้อหุ้นไทยจนทำสถิติใหม่ ไม่อยากให้สะดุดลง เพราะการลงทุนของต่างชาติผลักดันสภาพคล่องและศักยภาพตลาดหุ้นไทยได้เป็นอย่างดี

ขณะที่ขีดความสามารถในการแข่งขันของตลาดทุนไทยยังถือว่าจำกัด เพราะยังอยู่ในช่วงของการพัฒนา ยังต้องแข่งขันกับต่างประเทศในการที่จะทำให้ตลาดทุนมีทั้งความลึกและความกว้าง

นอกจากนี้ตลาดทุนไทยกำลังต้องการให้เอสเอ็มอี สตาร์ตอัพ สามารถเข้ามาระดมทุนในตลาดทุนไทยได้ ซึ่งจำเป็นต้องมีสภาพคล่องที่เพียงพอ ไม่เช่นนั้นจะกระทบต่อแนวโน้มในอนาคต เพราะหากสภาพคล่องลดลง จะกระทบไปสู่ภาคธุรกิจเวลาเข้ามาระดมทุนหรือออกไอพีโอ ที่อาจทำได้ไม่ดีเท่าเดิมเพราะสภาพคล่องหายไป

อีกส่วนที่จะได้รับผลกระทบคือ ธุรกิจ บล. หรือโบรกเกอร์ ที่อาจจะต้องเฉือนเนื้อด้วยการลดค่าคอมมิชชั่นลงอีก เพื่อรักษาฐานลูกค้าไว้ (เมื่อลูกค้าต้นทุนภาษีเพิ่ม ย่อมมองหาทางเลือกอื่นมาชดเชย เช่น ย้ายไปเทรดกับโบรกฯ ค่าคอมฯ ต่ำกว่า) ซึ่งสวนทางกับปริมาณการซื้อขายที่จะลดลงหากมีการเก็บภาษีขายหุ้น และต้องจับตาว่าภาษีขายหุ้นนี้ จะครอบคลุมในส่วนของธุรกรรมที่ไม่ได้เก็บค่าธรรมเนียม เช่น Derivative Warrants (DW), Block trade ด้วยหรือไม่ ซึ่งหากมีการเก็บทั้งหมด เพิ่มต้นทุนให้กับโบรกเกอร์มหาศาลแน่นอน

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าจะมีแต่ข้อเสียทั้งหมดนะ....

เพราะผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เป็นเพียง Effect ระยะสั้นในช่วงแรกที่เริ่มเก็บภาษีเท่านั้น อาจจะ 1-2-3 ปีแรก เพราะนักลงทุนรายใหญ่หลายรายเชื่อว่าเมื่อทุกคนปรับตัวหรือตั้งหลักได้แล้ว ปริมาณการซื้อขายก็จะกลับมาปกติ เหมือนก่อนสมัยตอนที่สมาคมโบรกเกอร์มีการปรับขึ้นค่าคอมมิชชั่น ก็มีความกังวลในลักษณะแบบนี้ แต่หลังจากนั้นก็กลับมาเทรดกันปกติ

ข้อดีอีกประการ การเก็บภาษีครั้งนี้จะลดความร้อนแรงของหุ้นเก็งกำไรไปได้มาก ซึ่งเป็นกลุ่มยอดฮิตในช่วงหลังที่สร้างกำไรมโหฬารและขาดทุนบานเบอะเพียงช่วงเวลาไม่กี่วัน การเก็บภาษีจะทำให้นักลงทุนปรับพอร์ตเป็นระยะยาวมากขึ้น ใช้สติและความรอบคอบมากขึ้น และอาจจะส่งผลดีต่อภาพรวมตลาดหุ้นไทยในระยะยาว

อ้อออออ....นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มที่ได้รับยกเว้นภาษีต่อไปด้วยนะ ประกอบด้วย

1.ผู้ดูแลสภาพคล่องที่ได้ขึ้นทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เฉพาะกิจการขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่บุคคลนั้นได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ดูแลสภาพคล่องของหลักทรัพย์นั้น
2.สำนักงานประกันสังคม
3.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
4.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
5.กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
6.กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
7.กองทุนการออมแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนการออมแห่งชาติ
8.กองทุนรวมที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมแก่สำนักงานประกันสังคม หรือกองทุนตาม 3-7 เท่านั้น

อ่านกันมาถึงตรงนี้ ลูกเพจมีความคิดเห็นอย่างไรกับการเก็บภาษีขายหุ้นที่กำลังจะเกิดขึ้นบ้าง แชร์ให้อ่านมั่งจิ...

กำไรจากการขายหุ้นเสียภาษีไหม

เป็นภาษีจากธุรกรรมการขายหุ้น (Transaction Tax) ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งคำนวณจากรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น โดยจะต้องเสียภาษีในอัตรา 0.10% (อัตราตามมาตรา 91/6(1)) ของมูลค่าที่ขาย แต่ภาษีดังกล่าวได้รับการยกเว้นมาตั้งแต่ปี 2534 ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 240) พ.ศ.2534 จนถึงปัจจุบัน

หุ้นเก็บภาษีไหม

แชร์บทความ คัดลอกแล้ว บ่ายวันนี้ (29 พ.ย. 2565) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบหลักการการเก็บภาษีขายหุ้น (Transaction Tax) ในอัตรา 0.11% โดยให้เวลาเตรียมตัว 3 เดือน ก่อนจะเริ่มเก็บจริงวันที่ 1 เม.ย.

ภาษีหุ้น เก็บยังไง

การจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์) การเก็บภาษีขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอในอัตรา 0.10% โดยเก็บภาษีจากธุรกรรมการขายหุ้น (Transaction Tax) ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งคำนวณจากรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ ทั้งสิ้น โดยจะต้องเสียภาษีในอัตรา 0.10% (อัตราตามมาตรา 91/6(1)) ของ ...

เล่นหุ้นอเมริกาต้องเสียภาษีไหม

คุณจะเห็นว่าอเมริกาจะไม่เก็บภาษีเวลาขายหุ้นได้กำไร แต่จะเก็บภาษีเงินปันผลเยอะมาก (30%) ดังนั้นถ้าคุณคิดจะลงทุนหุ้นอเมริกา ควรเลือกซื้อหุ้นที่จ่ายปันผลต่ำ ลงทุนแบบเน้นให้ราคาหุ้นขึ้นสูง (Capital Gains) เพื่อที่จะได้ไม่ต้องจ่ายภาษีเงินปันผล