การนําหลักธรรมคําสอนของแต่ละศาสนาไปใช้ในการดําเนินชีวิตประจําวัน

พระผู้ช่วยให้รอด พระปรมาจารย์ เป็นแบบอย่างที่ดีพร้อมที่สุดของการเชื่อฟังพระบิดาของพระองค์ การเป็นครูเหมือนดังพระคริสต์ บางทีสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ท่านทำได้คือทำตามแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดเรื่องการเชื่อฟังและดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณด้วยสุดใจของท่าน—ที่บ้าน ที่โบสถ์ และทุกแห่งหน นี่คือวิธีสำคัญที่สุดในการมีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการมีพระวิญญาณบริสุทธิ์อยู่เป็นเพื่อน ท่านไม่จำเป็นต้องดีพร้อม แค่พยายามอย่างขยันขันแข็ง—แสวงหาการให้อภัยผ่านการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอดเมื่อใดก็ตามที่ท่านสะดุดล้ม ประธานบอยด์ เค. แพคเกอร์สอนว่า “พลังอำนาจเกิดขึ้นเมื่อครูทำทุกสิ่งที่ทำได้เพื่อเตรียมพร้อม ไม่ใช่เตรียมบทเรียนแต่ละบทเท่านั้น แต่ดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับพระวิญญาณด้วย”1

ทำตามแบบอย่างพระชนม์ชีพของพระผู้ช่วยให้รอด

สิ่งที่เป็นประโยชน์คือ ศึกษาวิธีที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอน—วิธีการที่พระองค์ทรงใช้และสิ่งที่พระองค์ตรัส แต่พลังอำนาจของพระผู้ช่วยให้รอดในการสอนและยกระดับจิตใจผู้อื่นมาจากวิธีที่พระองค์ทรงดำเนินชีวิตและพระลักษณะที่พระองค์ทรงเป็น ยิ่งท่านพยายามอย่างขยันขันแข็งที่จะ ดำเนินชีวิต อย่างพระเยซูคริสต์มากเท่าไหร่ ท่านก็จะยิ่งสามารถ สอน เหมือนพระองค์มากเท่านั้น

คำถามให้ไตร่ตรอง เมื่อฉันคิดถึงครูที่มีอิทธิพลในชีวิตฉัน ฉันสังเกตุเห็นคุณลักษณะเหมือนอย่างพระคริสต์อะไรบ้างในตัวพวกเขา คุณลักษณะเหมือนอย่างพระคริสต์อะไรบ้างที่ฉันคิดว่าควรจะพัฒนาอย่างเต็มที่ (สำหรับแบบฝึกหัดประเมินส่วนตัว ดู “การพัฒนาเป็นครูอย่างพระคริสต์” ในแหล่งช่วยนี้)

ตัวอย่างในพระคัมภีร์: หลักคำสอนและพันธสัญญา 4:5–6 กล่าวถึงคุณลักษณะที่ทำให้เรามีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการรับใช้ในงานของพระเจ้า พระผู้ช่วยให้รอดทรงเป็นแบบอย่างถึงคุณลักษณะเหล่านี้อย่างไร ฉันจะพัฒนาคุณลักษณะดังกล่าวได้อย่างไร

จงเป็นประจักษ์พยานที่มีชีวิต

“ท่านสอนสิ่งที่ท่านเป็น” เอ็ลเดอร์นีล เอ. แมกซ์เวลล์สอนไว้ “คุณลักษณะของท่านจะเป็นที่จดจำมาก … กว่าความจริงข้อหนึ่งในบทเรียนบทหนึ่ง นี่เป็นดังที่ควรจะเป็น เพราะหากสานุศิษย์ของเราเอาจริงเอาจัง สิ่งนี้จะแสดงออกมา”2 เมื่อท่านต้องการสอนเรื่องการให้อภัย จงพยายามเป็นพิเศษที่จะให้อภัยคนที่ทำให้ท่านขุ่นเคือง เมื่อท่านต้องการสอนเรื่องการสวดอ้อนวอน ขอให้แน่ใจว่าคำสวดอ้อนวอนของท่านเองนั้นสม่ำเสมอและมีความหมาย ประสบการณ์ส่วนตัวของท่านจะทำให้ท่านสามารถแสดงประจักษ์พยานที่ทรงพลังถึงหลักธรรมที่ท่านสอนได้ เพราะท่านดำเนินชีวิตตามนั้น พระวิญญาณบริสุทธิ์จะทรงเป็นพยานถึงความจริงของสิ่งที่ท่านกำลังสอนได้ และคนที่ท่านสอนจะเห็นพรของการดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณในชีวิตของท่าน

คำถามให้ไตร่ตรอง หลักธรรมพระกิตติคุณใดที่ฉันจะสอนในอีกสองสามสัปดาห์ต่อไป ฉันจะทำอะไรได้บ้างเพื่อดำเนินชีวิตตามหลักธรรมเหล่านั้นอย่างเต็มที่ยิ่งขึ้น

ตัวอย่างในพระคัมภีร์ ระหว่างพระกระยาหารมื้อสุดท้าย สานุศิษย์โต้เถียงกันว่าใครในบรรดาพวกเขาที่เป็นใหญ่ที่สุด (ดู ลูกา 22:14, 24–27) พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนพวกเขาอย่างไรเกี่ยวกับความเป็นใหญ่ที่แท้จริง (ดู ยอห์น 13:1–17)

ดู วีดิทัศน์เรื่อง “การดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณนำมาซึ่งพลัง” (LDS.org) ด้วย

การกลับใจ

ในความพยายามของท่านที่จะดำเนินชีวิตและสอนดังเช่นพระผู้ช่วยให้รอดมากยิ่งขึ้น บางครั้งท่านจะไม่ได้ทำตามที่คาดหวังไว้ได้เสมอไป จงอย่าหมดกำลังใจ แต่ให้ความผิดพลาดและความอ่อนแอพาท่านหันไปหาพระบิดาบนสวรรค์และพระผู้ช่วยให้รอด จงดึงพละกำลังมาจากการชดใช้ของพระคริสต์ จำไว้ว่าการกลับใจไม่ใช่มีไว้เพื่อแก้ไขบาปร้ายแรงเท่านั้น แต่คือกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นต้องมีเพื่อเป็นเหมือนพระบิดาบนสวรรค์และพระผู้ช่วยให้รอดมากยิ่งขึ้นในแต่ละวัน เพราะสุดท้ายแล้ว นี่คือสิ่งที่ท่านพยายามจะสร้างแรงบันดาลใจให้สมาชิกชั้นเรียนของท่านทำตาม

คำถามให้ไตร่ตรอง เมื่อฉันสำรวจดูชีวิตตนเอง พระวิญญาณทรงกระตุ้นให้ฉันเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างเพื่อจะเป็นเหมือนพระเยซูคริสต์มากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างในพระคัมภีร์ ฉันเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการกลับใจและการสอนจากถ้อยคำของแอมันใน แอลมา 26:21–22

สำหรับผู้นำการสนทนา

แบ่งปันและปรึกษาด้วยกัน เริ่มโดยเชื้อเชิญให้ครูแบ่งปันประสบการณ์การสอนล่าสุดและถามคำถามที่เกี่ยวข้องกับการสอน

เรียนรู้ด้วยกัน เชื้อเชิญให้ครูสนทนาแนวคิดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างที่อยู่ในหมวดนี้ ตัวอย่างเช่น ท่านอาจถามว่า “คุณรู้สึกว่าการเป็นประจักษ์พยานที่มีชีวิตหมายถึงอะไร”

เชื้อเชิญ ขอให้ครูมุ่งความสนใจไปที่ความประทับใจทางวิญญาณที่พวกเขาได้รับระหว่างการสนทนานี้ ขอให้พวกเขาพิจารณาว่าพระวิญญาณทรงบอกพวกเขาว่าควรทำอะไรเพื่อจะดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์อย่างเต็มที่ยิ่งขึ้น กระตุ้นให้พวกเขาบันทึกและกระทำตามการกระตุ้นเตือนเหล่านั้น

เตรียม ตัดสินใจด้วยกันถึงหัวข้อสำหรับการประชุมครั้งต่อไป และเชื้อเชิญให้ครูเตรียมตัว

หลักธรรมกับการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

    1. การทำความดี ละเว้นความชั่ว แนวทางการปฏิบัติของแต่ละศาสนาแตกต่างกันแต่ทุกศาสนาก็สอนให้ทำความดีและละเว้นความชั่วทั้งนั้น เช่น ศีล5 ของศาสนาพุทธ บัญญัติ 10 ประการของศาสนาคริสต์และหลักศรัทธา 6 ประการกับหลักปฏิบัติ 5 ประการของศาสนาอิสลาม เป็นต้น
    2. การพัฒนาตนเองและการพึ่งตนเอง ศาสนาต่างๆ สอนให้คนพึ่งตนเองและพัฒนาตนเองเพื่อให้อยู่ได้ในสังคมอย่างมีความสุข โดยเฉพาะศาสนาพุทธที่มีพุทธศาสนาสุภาษิต ว่า “อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ” หมายถึง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ศาสนาพราหมณ์มีหลักอาศรม 4 ในข้อพรหมจารี ที่ให้นักศึกษาเล่าเรียนและในข้อคฤหัสถ์ที่ให้ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนเอง ศาสนาอิสลามสอนให้คนใฝ่หาความรู้ตั้งแต่เกิดจนตาย
   3. ความยุติธรรม ความเสมอภาพและเสรีภาพ คำสอนของศาสนาจะเน้นในเรื่องเหล่านี้เพราะทุกเรื่องจะทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างันติ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ชาติตระกูลไม่ได้เป็นเครื่องกำหนดความแตกต่างของบุคคล คนที่เกิดมาเท่าเทียมกันทั้งนั้นและสอนให้ทุกคนอยู่ภายใต้อคติ 4 คือ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติและภยาคติ ศาสนาอิสลามก็สอนให้ดำรงความยุติธรรมอย่าถือตามอารมณ์ใคร่ในการรักษาความยุติธรรมแม้บางครั้งจะกระเทือนต่อตนเอง บิดามารดาหรือญาติบ้างก็ตาม
   4. การเสียสละหรือการสังคมสงเคราะห์ศาสนาต่างๆ สอนให้มีความเสียสละเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และสงเคราะห์ซึ่งกันและกันด้วยความเมตตากรุณาไม่ใช่หวังผลตอบแทน เช่นพุทธศาสนามีหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 ได้แก่ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตตา ศาสนาอิสลามมีการบริจาคซากาต แก่ผู้ขัดสน ศาสนาคริสต์ก็จะเน้นให้มนุษย์เสียสละให้อภัย เอื้อเฟื้อเป็นต้น
   5. ความอุตสาหะและความพยายาม ทุกศาสนาสอนให้คนมีความอุตสาหะ มีความเพียร ความอดทนและมีความพยายามอันจะช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จพร้อมทั้งพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ศาสนาพุทธมีคติเตือนใจว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น หรือหลักคำสอนอิทธิบาท 4 ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ศาสนาอิสลามมีการละหมาดวันละ 5 ครั้งจึงถือว่าเป็นความพยายามที่จะขัดเกลาจิตใจให้บริสุทธิ์