ผู้ใดไม่จัดเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์

การสนับสนุนให้เกิดการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมในสังคม ควบคู่กับการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยจิตสำนึก จะสามารถส่งต่อคุณค่าของมรดกทางสังคมและทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในการดำรงชีวิตให้คนรุ่นต่อไป

ธนาคารไทยพาณิชย์ ตระหนักดีถึงคุณค่าในการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม จึงได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยได้ให้การสนับสนุนและส่งเสริมองค์กรการกุศลที่ทำงานในด้านการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ ที่สืบทอดจากบรรพบุรุษ เพื่อถ่ายทอดไปสู่ชนรุ่นหลัง ทำให้ชาติมั่นคงเป็นปึกแผ่นด้วยวัฒนธรรมอันดีงาม ที่หล่อหลอมให้คนในชาติมีความรักความสามัคคีต่อกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมนั้น ถือเป็นวาระสำคัญของโลกที่จะช่วยให้มนุษย์ดำรงชีวิตได้ต่อไปอย่างยั่งยืน

ปัจจุบัน ทุกคนต่างตระหนักดีว่า เป็นหน้าที่ของทุกคนบนโลกในการร่วมกัน ลด ละ เลิก การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีปริมาณจำกัดอย่างสิ้นเปลือง พร้อมกับการรักษาสิ่งแวดล้อมไม่ให้ถูกทำลายจนก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน และภาวะเรือนกระจก จนส่งผลถึงการดำรงชีวิตของเราทุกคน ธนาคารไทยพาณิชย์ภาคภูมิใจที่เป็นธนาคารแห่งแรกในประเทศไทย ที่เสนอให้ลูกค้าเลือกไม่รับใบบันทึกรายการจากเครื่องเอทีเอ็ม และคำนึงถึงการลดการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในกระบวนการทำงานและการออกผลิตภัณฑ์ใหม่

นอกจากนี้ ธนาคารยังร่วมรณรงค์ปลูกฝังให้เกิดการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของพนักงานจิตอาสา SCB ชวนกันทำดี ในการดำเนินกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและลดปริมาณขยะ พร้อมสนับสนุนเครือข่ายพันธมิตรในการดำเนินกิจกรรมเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน 

2. เทคนิคการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

การป้องกันและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมมีรูปแบบการป้องกันและการแก้ไขมากมายขึ้นอยู่กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เราใช้ และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ ในที่นี้จะแนะนำเทคนิคการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สามารถเลือกนำไปใช้ได้ตามความเหมาะสม

2.1 กระบวนการแก้ปัญหาทั่วไป

กระบวนการแก้ปัญหาทั่วไป หมายถึง การนำเทคนิคและวิทยาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาที่ยั่งยืนมาใช้ตลอดไป ซึ่งมีหลักดังนี้

1) พยายามใช้ทรัพยากรและพลังงานที่สามารถทดแทนได้ตามธรรมชาติ ไม่ใช้งานเกินกำลังท ธรรมชาติจะปรับตัวเองได้ทัน และพยายามหลีกเลี่ยงการสร้างมลภาวะให้กับระบบนิเวศ รวมทั้งการเกิดใหม่ ทดแทนของเก่า (Renewable) การปรับปรุงทำของเก่าให้ใหม่และนำมาใช้ได้ (Restoration) และการใช้ กลับคืนไป (Replenishment) เช่น ชาวประมงจะต้องเก็บเกี่ยวผลิตภัณฑ์ทางทะเลในจำนวนเดียวกับที่ ธรรมชาติสร้างใหม่ขึ้นมาทดแทน เกษตรกรจะต้องหาวิธีฟื้นฟความอุดมสมบูรณ์ของดินที่เสื่อมสภาพ โดยการใส่สารอาหารที่จำเป็นลงไปในดิน หรือการนำวัสดุที่ใช้จนเสื่อมสภาพแล้วกลับมาใช้โดยผ่านกระบวนการผลิตใหม่ เป็นต้น

2) ให้พยายามใช้ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้วัสดุ เช่น การรีไซเคิลวัสดุ การลดของเสียวัตถุมีพิษและสิ่งปฏิกูลให้ลดน้อยลง การเพิ่มประสิทธิภาพของพลังงานเชื้อเพลิงในรถยนต์ การ ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ เป็นต้น

3) กำหนดราคาทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานให้เหมาะสม ก่อนอื่นต้องสร้างแนวความคิดว่า วัตถุดิบที่มีน้อย คือวัสดุที่หายาก ไม่ใช่ของฟรีจากธรรมชาติ ควรตั้งราคาให้แพงขึ้นตามวิธีทางเศรษฐศาสตร์ ไม่ใช่ตั้งราคาให้ต่ำกว่าความเป็นจริง วัตถุดิบเหล่านี้ เช่น เนื้อไม้ แร่ และพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ขุดขึ้นมาใช้ อย่างรวดเร็วและหมดสิ้นไปในเวลาสั้น ๆ เป็นต้น รายได้ที่เพิ่มขึ้นนี้ ต้องเข้าสู่ส่วนกลางคือรัฐบาล แล้วกระจาย สู่ชุมชนอย่างทั่วถึงในรูปแบบของการพัฒนาคุณภาพชีวิตต่อไป

อีกประการหนึ่ง คือ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติพื้นฐาน เช่น อากาศและน้ำ ซึ่งคนส่วนมาก ถือว่าเป็นทรัพยากรสาธารณะ ไม่มีเจ้าของ เป็นของฟรี ไม่สนใจว่าจะเกิดมลภาวะอย่างไร และมองว่าสภาวะ แวดล้อมโดยทั่วไปเป็นถังขยะที่เก็บของเสียจากการกระทำของมนุษย์ แต่โดยแท้จริงแล้ว ผู้ก่อมลภาวะ จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ เช่น ลงทุนในการใช้เทคโนโลยีบำบัดมลพิษเหล่านั้น ก่อนปล่อยลงสู่สิ่งแวดล้อมหรือการ จ่ายเงินในรูปของภาษีให้แก่รัฐหรือองค์กรท้องถิ่น เพื่อนำไปพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อไป วิธีนี้เรียกว่า “ผู้ใดสร้างมลภาวะผู้นั้นต้องเป็นคนจ่ายเงิน (Pollution Pays)”

4. ใช้หลักการความเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ (Property Rights Reform) ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เป็นส่วนกลางหรือของหลวง มักถูกเข้าใจว่าเป็นของฟรีที่เรียกว่า “ถนนเปิด” (Opan Access)” ใครมือยาวหรือมีอำนาจก็มักหาประโยชน์ได้มาจากของส่วนกลางนั้นซึ่งเป็นวิถีทางที่ไม่ถูกต้องวิธีควบคุมไม่ให้เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเหมือนของฟรีดังกล่าวนี้ คือ ต้องตั้งกติกาให้มีการยอมรับสิทธิส่วนบุคคลในการเป็นเจ้าของร่วมกัน แม้กระทั่งให้เอกชนมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของในรูปของกลุ่ม ชมรมสหกรณ์ โดยมีการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรเหล่านั้นให้แก่สมาชิกอย่างเป็นธรมม ลักษณะเช่นนี้จะทำให้สมาชิกในกลุ่มเกิดความหวงแหนและช่วยกันดูแลแหล่งทรัพยากรร่วมกันได้ในระยะยาว เช่น ป่าชุมชน สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์หมู่บ้าน เป็นต้น

2.2 วิธีการเทคโนโลยีสะอาด (Cleaner Technology)

เทคโนโลยีสะอาด หมายถึง วิธีการผสมผสานการป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิตและ การบริการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมทั่วไป

วิธีการทางเทคโนโลยีสะอาดเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและพลังงานมุ่งเน้นการบริหารจัดการในงาน อุตสาหกรรมการผลิตสินค้า เพื่อวัตถุประสงค์ต่อไปนี้

1) ลดของเสียให้ปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด 

2) ช่วยสนับสนุนการจัดการสิ่งแวดล้อมในหน่วยงาน 

3) เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้วัตถุดิบและกระบวนการผลิต 

4) ช่วยสร้างความได้เปรียบในทางธุรกิจ 

5) ลดต้นทุนและความเสี่ยงทั้งด้านเครื่องจักร คนงานและผลกระทบสิ่งแวดล้อม 

6) สร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่หน่วยงาน 

7) เป็นวิธีการที่นำไปสู่มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001

การดำเนินงานเพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของวิธีการเทคโนโลยีสะอาด หน่วยงานสามารถเลือกปฏิบัติในกิจกรรมที่เห็นว่าสำคัญตามลำดับและมีความเหมาะสม ดังนี้

1) การปรับเปลี่ยนวัตถุดิบ ได้แก่ 

1.1) เลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพสูง เพื่อหลีกเลี่ยงขั้นตอนการปรับคุณภาพวัตถุดิบ

1.2) ลดหรือยกเลิกการใช้วัตถุดิบที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้วัตถุดิบที่ปลอดภัยแทน เช่น ลดการใช้สารซีเอฟซีในผลิตภัณฑ์ ยกเลิกการใช้โลหะหนักในกระบวนการผลิต

1.3) เลือกใช้วัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ หรือย่อยสลายได้ง่าย 

2) การปรับปรุงระบบการทำงานและระบบการบริหารการจัดการในหน่วยงาน ได้แก่

2.1) หาวิธีลดการสูญเสียของวัตถุดิบ พลังงานและผลิตภัณฑ์จากการรัวไหล หกล้นหรือชำรุด ในกระบวนการผลิต

2.2) ติดตั้งอุปกรณ์และเครื่องจักรในลักษณะที่ช่วยลดการรั่วไหล ปนเปื้อนในระหว่างการผลิต ตลอดจนการเคลื่อนย้าย ขนถ่ายสิ่งของต่าง ๆ

2.3) ติดตั้งถาดรองรับการหยดของของเหลว และแผ่นกันกระเด็นของของเหลา

2.4) หลีกเลี่ยงไม่ให้ของเสียหรือวัสดุเหลือทิ้งต่างชนิดมารวมกันในแหล่งเก็บเดียวกัน เพราะจะ ทำให้กำจัดยากหรือนำไปใช้ประโยชน์ได้ยาก

2.5) จํากัดจำนวนผลผลิตแต่ละครั้งให้เหมาะสม โดยคำนึงถึงปริมาณของเสียที่ถูกปล่อยออกมา ให้สามารถกำจัดได้ทัน

2.6) การวางแผนในกระบวนการผลิต เพื่อช่วยลดกิจกรรมการล้างทำความสะอาดให้น้อยลง

2.7) ปิดไฟฟ้า น้ำ เมื่อไม่ใช้งาน โดยอาจใช้ระบบอัตโนมัติเข้ามาควบคุม 

3) การปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีหรือวิธีการผลิต ได้แก่

3.1) ใช้ระบบอัตโนมัติหรืออุปกรณ์ควบคุมการผลิตเพื่อช่วยลดผลผลิตที่คณะ ฯ ได้ มาตรฐานให้มีจำนวนน้อยลง

3.2) ใช้ระบบมอเตอร์ที่มีคุณภาพสูง สามารถควบคุมความเร็วและการหยุดของมอเตอร์เพื่อลดการสิ้นเปลืองของพลังงาน

3.3) หลีกเลี่ยงการใช้ตัวทำลายที่เป็นเคมีอันตรายในการล้าง แต่ติดตั้งอุปกรณ์ทำความสะอาดแบบเครื่องกลแทน

3.4) เลือกใช้สารเร่งปฏิกิริยาเคมีที่เหมาะสม ไม่มีโลหะหนักเป็นองค์ประกอบ

3.5) ปรับปรุงการดำเนินการผลิต เช่น อัตราการไหล อุณหภูมิ ความดันหรือระยะเวลา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตหรือเพื่อลดปริมาณของเสีย

3.6) ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ เครื่องมือ ตลอดจนปรับปรุงตำแหน่งการวางอุปกรณ์ เครื่องมือหรือ ระบบต่าง ๆ ให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเคลื่อนย้ายหรือขนถ่ายอุปกรณ์และผลผลิต

3.7) ติดตั้งอุปกรณ์การล้างน้ำ ทำความสะอาดแบบสวนกระแส เพิ่มประสิทธิภาพการหลุดจาก ผิวยึดเกาะของสิ่งสกปรก

4) การปรับเปลี่ยนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ได้แก่

4.1) ปรับปรุงระบบการหีบห่อผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสม เช่น ประหยัดวัสดุ สามารถเข้าสู่ กระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และมีสารประกอบที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

4.2) ปรับเปลี่ยนชิ้นส่วนหรือองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ มา เป็นชนิดที่สามารถผ่านกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 

4.3) ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีอายุการใช้งานเพิ่มขึ้น ทันสมัย อยู่ได้นาน

4.4) ปรับเปลี่ยนสูตรส่วนผสมของผลิตภัณฑ์หรือลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อผู้บริโภคนำไปใช้

5) การนำกลับมาใช้ใหม่ในกระบวนการผลิต ได้แก่

5.1) หาวิธีการแยกสกัดวัสดุที่ปนอยู่ในของเสียมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงการค้า 

5.2) หาวิธีการปรับปรุงวัตถุดิบที่มีคุณภาพต่ำมาใช้ประโยชน์โดยมีความคุ้มทุนในเชิงเศรษฐกิจ

5.3) นำน้ำหล่อเย็นและน้ำเสียจากกระบวนการผลิตที่ผ่านการบำบัดแล้วกลับมาใช้ใหม่กับงานที่เหมาะสมแทนการนำน้ำใหม่มาใช้อยู่ตลอดเวลา

5.4) หาวิธีการนำพลังงานความร้อนส่วนเกินที่เหลือจากการใช้งานกลับมาใช้ใหม่ เช่น ความร้อนที่คายออกมาจากน้ำหล่อเย็น อาจนไปอบวัตถุดิบบางชนิดได้

การใช้วิธีการเทคโนโลยีสะอาดในงานอุตสาหกรรมด้วยเทคนิควิธีต่าง ๆ ดังที่กล่าวมานี้ ล้วน นการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานจะประสบผลสำเร็จ มากน้อยเพียงใดยังขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน เช่น ความคุ้มค่าในการลงทุน แรงจูงใจ ตลอดจนการมีจิตสำนึกที่ ดีต่อส่วนรวม 

2.3 การแก้ปัญหาโดยใช้การศึกษาและจริยธรรม

เกษม จันทร์แก้ว และคณะ ได้ให้ความหมายของคำว่า การศึกษาและจริยธรรมไว้ ดังนี้ 

การศึกษา (Education) คือ กระบวนการฝึกอบรมให้บุคคลมีความรู้ ความเข้าใจในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตและสามารถใช้ความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับนั้นมาแก้ไขปัญหาและพัฒนาชีวิตให้เจริญก้าวหน้าทาง ด้านอารมณ์ สังคม สติปัญญา สุขภาพอนามัยและคุณธรรมอย่างสมบูรณ์และอย่างมีคุณภาพ

จริยธรรม (Ethic) หมายถึง กฎเกณฑ์ในการตัดสินความประพฤติของมนุษย์ว่าอย่างไหนถูก อย่างใหนไม่ดี ควรไม่ควร และการกำหนดคุณค่าทางศีลธรรมสำหรับการประพฤติปฏิบัติของมนุษย์

1) สิ่งแวดล้อมศึกษาในประเทศไทย แหล่งเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย บน เป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

1.1) สิ่งแวดล้อมศึกษานอกระบบโรงเรียน ในปัจจุบันประชาชนโดยทั่วไปได้ให้ความสำคัญ เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง จึงมีหน่วยงานและสถาบันต่าง ๆ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมแก ประชาชนที่สนใจอย่างหลากหลาย เช่น

• สื่อมวลชน ให้ความสำคัญในการนำเสนอเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโดยผ่านสื่อโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสารและวารสารต่าง ๆ ส่วนมากจะนำเสนอในรูปแบบสารคดี ปัญหามลพิษ การพัฒนา สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวผจญภัยในธรรมชาติ ตลอดจนการจัดเกมโชว์

• ระบบสารสนเทศ ได้แก่ การเสนอข้อมูลผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการให้ ข้อมูลทางการศึกษาครอบคลุมติดต่อกันได้ทั่วโลกที่เรียกว่าการศึกษาแบบไร้พรมแดน สำหรับในประเทศไทย มีหน่วยงานที่ทำข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและพลังงานมากมาย ผู้เรียนควรหาโอกาสศึกษาการสืบค้นข้อมูล ทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อมและพลังงานด้วยตนเอง

• กลุ่มหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ มีอยู่หลายหน่วยงานที่ให้บริการเผยแพร่ความรู้ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและพลังงานสู่ประชาชนอย่างกว้างขวาง เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ประเทศไทย กรมป่าไม้ กรมประมง กรมควบคุมมลพิษ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

การท่องเที่ยวแห่ง เป็นต้น

• กลุ่มเอกชนและองค์กรอิสระ ในกลุ่มนี้พวกแรกต้องการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยการ รวมกลุ่มกันรณรงค์ในเรื่องต่าง ๆ เช่น ปัญหาขยะ อนุรักษ์แหล่งน้ำ อนุรักษ์สัตว์ป่า พลังงานทดแทน โดยไม่หวัง ผลตอบแทนใด ๆ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งอาจมีเป้าหมายทางการค้าโดยใช้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงาน เป็นเครื่องมือสร้างภาพพจน์ที่ดีของสินค้า ซึ่งเห็นได้ทั่วไป

• กลุ่มศาสนา ได้แก่ วัดหรือสำนักปฏิบัติธรรมต่าง ๆ จัดเป็นกลุ่มที่สามารถเข้าถึง ประชาชนได้ง่ายที่สุด บนพื้นฐานของความเลื่อมใสศรัทธาของประชาชน และมีอยู่อย่างกระจัดกระจายทั่ว ทุกภาค ในกลุ่มนี้หากบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจที่ดีในแนวคิดหลักเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมแล้ว จะเป็นกลุ่มที่ช่วย ปลูกฝังจริยธรรมที่ดีให้กับชุมชนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

1.2) สิ่งแวดล้อมศึกษาในระบบโรงเรียน ได้แก่ การจัดให้มีเนื้อหาทางสิ่งแวดล้อมและพลังงาน แทรกอยู่ในหลักสูตรอย่างชัดเจนทั้งในระดับโรงเรียนประถม มัธยมศึกษา วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย เช่น คง ระบบนิเวศ พลังงานทดแทน มลพิษสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรน้ำ ดิน อากาศ ฯลฯ ซึ่งเป็นการปลก สร้างจริยธรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมให้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง ตามความเหมาะสมของวัยโดยทั่วถึงกัน

2) แนวทางการสร้างจริยธรรมทางสิ่งแวดล้อม การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยการสร้างจริยธรรม ให้เกิดขึ้นกับประชาชนในชาติจะต้องทำความเข้าใจเรื่องจิตสำนึกและความต้องการบนพื้นฐานการดำรงชีวิต ของมนุษย์ให้ชัดเจน และวางแผนให้รอบคอบ หากไม่ยึดหลักการที่สำคัญนี้แล้ว การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ทุกเรื่องจะล้มเหลว เพราะเมื่อเริ่มต้นก็จะเกิดแรงต่อต้านจากชุมชน จนสุดท้ายไม่สามารถแก้ปัญหาใด ๆ ได้เลย

2.1) ระดับของพัฒนาการทางจริยธรรม โคลเบิร์ก (Kohlberg) นักวิชาการทางจิตวิทยา กล่าวว่า มนุษย์มีจิตสำนึกที่สามารถพัฒนาจริยธรรมในเรื่องใด ๆ ได้ 6 ระดับ คอ

ระดับที่ 1 บุคคลที่ปฏิบัติตามจริยธรรมเพราะความกลัว เช่น กลัวถูกลง ตำหนิ กลัวบาดเจ็บ เป็นต้น

ระดับที่ 2 บุคคลที่ปฏิบัติตามจริยธรรมได้เพราะได้ประโยชน์ตอบแทน เช่น อาจได้รับ ประโยชน์ในรูปของคำชมเชยหรือสิ่งของทรัพย์สิน

ระดับที่ 3 บุคคลที่ทำความดี เพราะต้องการเป็นที่ยอมรับจากบุคคลอื่น โดยตนเองยัง ไม่เข้าใจจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของจริยธรรมที่ได้ปฏิบัติไปด้วยซ้ำ

ระดับที่ 4 บุคคลที่ปฏิบัติตามระเบียบของสังคม เพราะมีความเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ต้องทำ เพื่อจรรโลงองค์กรส่วนรวมที่ตนเองอาศัยอยู่ให้ดำเนินต่อไปได้ 

ระดับที่ 5 บุคคลปฏิบัติตามจริยธรรม เพราะมีความตระหนักที่จะต้องทำตามคำมั่น สัญญาและข้อตกลงของสังคม มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ไม่ทำสิ่งใดด้วยอารมณ์ที่ขัดแย้งในตัวเอง 

ระดับที่ 6 บุคคลที่ปฏิบัติตามจริยธรรม เพราะมีความสำนึกรับผิดชอบชั่วดี มีความรู้ ความเข้าใจถึงคุณธรรมและความดีว่าเป็นหลักสากล มีความรัก เมตตา ความเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัวและ เข้าใจกฎเกณฑ์การดำรงชีพตามธรรมชาติของสรรพสิ่งต่าง ๆ เป็นอย่างดี

ดังนั้น ภารกิจในการสร้างจริยธรรมเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จึงต้องอาศัยการให้ ความรู้และการปลูกฝังวิถีทางการดำเนินชีวิตแก่บุคคลในสังคมตามลำดับขั้นตอน และจะยั่งยืนที่สุดเมื่อทุกคน พัฒนาถึงระดับ 6 คือ การทำความดีต่อส่วนรวมด้วยจิตสำนึกที่ดีของตนเองโดยแท้ 

2.2) วิธีการพัฒนาจริยธรรมทางสิ่งแวดล้อม มีแนวทางดังนี้

(1) ใช้มาตรการที่เป็นบรรทัดฐานทางสังคม เช่น กฎหมาย ระเบียบ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ อย่าง จริงจังและต่อเนื่อง มีการลงโทษผู้กระทำการละเมิดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ตั้งไว้

(2) ปลูกฝังความรู้สึกการเป็นเจ้าของร่วมกัน โดยจัดให้มีการเอื้อประโยชน์ในการ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแก่บุคคลในสังคมนั้นตามสมควร แต่ไม่ให้มีการทำลาย เช่น เมื่อจะ แก้ปัญหาเรื่องป่าไม้ ก็ต้องหาทางออกให้ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์จากป่าด้วย แล้วเขาก็จะร่วมมือช่วยกัน รักษาป่า ไม่ใช่เป็นผู้เสียสละอย่างเดียว ซึ่งเป็นการขัดต่อกระแสความต้องการในเบื้องต้นของมนุษย์

(3) การประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่สังคม ได้แก่ ผู้นำในระดับต่าง ๆ ทั้งในระดับ ครอบครัว ท้องถิ่น และระดับชาติ ต้องประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดี มีจิตสำนึกสาธารณะและสร้างความศรัทธา ให้ผู้มีฐานะต่ำกว่ายึดเป็นแบบอย่างได้

(4) ปลูกฝังให้รู้จักความพอเพียงในการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติและให้ความสำคัญของ สิ่งแวดล้อมที่มีต่อคุณภาพชีวิต การสร้างจริยธรรมในข้อนี้ต้องอาศัยการวางพื้นฐานทางการศึกษาที่สูงขึ้น

วิธีการต่าง ๆ ดังที่กล่าวมานี้ เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ต้องอาศัยการปลูกฝัง พฤติกรรมซึ่งใช้เวลายาวนาน และจะต้องมีระบบบูรณาการ 3 ระดับ คือ

• ระดับพฤติกรรม จะต้องมีเครื่องมือพื้นฐานมาบังคับใช้ ได้แก่ กฎเกณฑ์ ระเบียบหรือข้อบังคับในสังคมที่เรียกว่า “กติกาสังคม” ให้สมาชิกในสังคมถือปฏิบัติ จนกระทั่งเกิดความเคยชิน และพัฒนาเป็นระดับ ที่สองต่อไป

• ระดับจิตใจ องค์ประกอบในการแก้ปัญหาในระดับจิตใจนี้มีมากมาย เช่น การมีจิตสำนึก อผิดชอบ ความมีเมตตา กรุณา ท่าทีของจิตใจที่ชื่นชมความงามของธรรมชาติและความรู้สึกเป็นสุขในการอยู่ กับธรรมชาติ ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องสร้างขึ้นจนฝังลึกในใจ -

• ระดับปัญญา การแก้ปัญหาในระดับปัญญา คือ การมองเห็นเหตุผลหรือมองเห็นประโยชน์ในการประพฤติอย่างนั้นว่า ตนเองได้ประโยชน์อย่างไร สังคมส่วนรวมได้ประโยชน์อย่างไร เกิดความพอใจและมี ความสุขในการประพฤติเช่นนั้น โดยไม่มีสิ่งใดมาบังคับ จึงถือว่าเป็นการสร้างจริยธรรมทางสิ่งแวดล้อมในระดับปัญญา เป็นจริยธรรมที่มีคุณค่าสูงสุดที่สังคมต้องการ  

2.4 กิจกรรม 5 ส เพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและพลังงาน 

สิ่งแวดล้อมที่อยู่ใกล้ชิดเราอยู่ทุกวัน เช่น โรงเรียน โรงงาน สถานประกอบการหรือแม้แต่ที่อยู่อาศัย หากอยู่ในสภาพที่ไร้ระเบียบแล้วนำมาซึ่งปัญหามากมาย เช่น การเกิดอุบัติเหตุ การไร้ประสิทธิภาพในการ ทำงาน การสิ้นเปลืองทั้งเวลา วัสดุและพลังงาน ตลอดจนการเป็นสาเหตุของโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ อกควย Uญหา ต่าง ๆ เหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการทำกิจกรรม 5 ส

1) ความหมายของ 5 ส หมายถึง แนวความคิดในการจัดระเบียบและปรับปรุงที่ทำงาน สถาน ประกอบการและงานของตนด้วยตนเอง เพื่อก่อให้เกิดสภาพการทำงานที่ดี ปลอดภัย มีความเป็นระเบียบ เรียบร้อย มีคุณภาพและประสิทธิภาพ โดยการใช้วิธีสะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ และสร้างนิสัย

5 ส มาจากคำย่อ “5 S” ซึ่งเป็นตัวย่อตัวแรกของภาษาญี่ปุ่น 5 คำ ได้แก่ 

1.1) สะสาง (Seiri อ่านว่า เชริ) คือ การแบ่งแยกระหว่างสิ่งของที่จำเป็นกับสิ่งของที่ไม่จำเป็น แล้วทิ้งสิ่งของที่ไม่จําเป็นเสีย เพื่อช่วยลดการสูญเสียเวลาในการค้นหาอุปกรณ์และของใช้ต่าง ๆ

1.2) สะดวก (Seiton อ่านว่า เซตง) คือ การจัดวางและบ่งแจ้งสิ่งของที่จำเป็นให้ง่ายต่อการใช้ ให้ทุกคนดูแล้วรู้ว่าเป็นอะไร ซึ่งจะช่วยให้การทำงานคล่องตัวขึ้น

1.3) สะอาด (Seiso อ่านว่า เซโซ) คือ การดูแลสถานที่ทำงาน สิ่งของอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร โดยการปัดกวาด เช็ดถู พร้อมทั้งตรวจเช็กและขจัดสาเหตุของความสกปรก

1.4) สุขลักษณะ (Seiketsu อ่านว่า เซเคทซี) คือ การดำเนินการรักษาความสะอาดให้เรียบร้อย อยู่เสมอด้วยการดําเนินงานสะสาง สะดวก สะอาดอย่างต่อเนื่องตลอดไป

1.5) สร้างนิสัย (Shisuke อ่านว่า ซิทซึเคะ) คือ การปลูกฝังนิสัย การรักษาวินัยในการท กิจกรรม 4 ส ข้างต้นให้ถูกต้องอยู่ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง  

2) การดำเนินงานกิจกรรม 5 ส การดำเนินกิจกรรม 5 ส ของแต่ละหัวข้อมีดังนี้

2.1) สะสาง ผู้เรียนคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้ามีของที่ไม่ต้องการอยู่มากมายในบ้าน ในสำนักงาน หรือในสถานประกอบการ คำตอบคือ สิ่งเหล่านี้ใช่หรือไม่

(1) เสียเวลาในการค้นหา สิ้นเปลืองเนื้อที่ในการวางของ 

(2) ตรวจสอบยากว่ามีของที่ต้องการหรือไม่ 

(3) ดูแลรักษายากและไม่ทั่วถึง ทำให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมเสื่อมลง

(4) ของบางอย่างทำให้สถานที่คับแคบลง ดังนั้นจึงต้องทำการจำแนกสิ่งของที่จำเป็นและไม่จำเป็นออกให้ชัดเจน ของที่จำเป็นก็ให้เก็บรักษาไว้ วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ตามลำดับก่อนหลัง ส่วนของที่ไม่จำเป็นจริง ๆ ก็ให้เคลื่อนย้ายไปที่อื่นหรือทิ้งไป

บริเวณใดบ้างที่ต้องสะสาง สถานที่ที่จะทำการสะสาง ขึ้นอยู่กับการดำเนินการว่าจะทำ ในส่วนใด ระดับโต เช่น

(1) ตู้และลิ้นชักของเราเอง 

(2) ตู้เอกสาร สิ้นชักและชั้นวางของของสำนักงานทั้งหมด 

(3) ห้องครัวและห้องรับประทานอาหาร 

(4) พื้นและบริเวณห้องปฏิบัติงาน

(5) ตู้เก็บเครื่องมือ เครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ

(6) ห้องเก็บของ อะไหล่ วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ 

(7) บริเวณรอบ ๆ อาคาร 

(8) ห้องสมุด ห้องพัก ห้องน้ำ ห้องส้วม เป็นต้น

มีอะไรบ้างที่ต้องกำดออกไป คำถามนี้ไม่ง่ายนักที่จะหาคำตอบได้อย่างทันทีทันใด เนื่องจากการแบ่งแยกระหว่างสิ่งของที่จำเป็นยังขึ้นอยู่กับสถานการณ์เฉพาะ และเมื่อจะทิ้งสิ่งใด คนส่วนมากก็ จะเกิดภาวการณ์คิดหนักมากขึ้น แต่มีข้อเสนอแนะว่าสิ่งที่ควรกำจัดออกไปได้แก่สิ่งต่อไปนี้

(1) เอกสารที่ไม่ใช้แล้ว วารสารเก่า ๆ หนังสือพิมพ์เก่า 

(2) เครื่องมือ เครื่องใช้ที่ชำรุด ล้าสมัย ไม่มีกำหนดการซ่อมหรือนำมาใช้ 

(3) ของที่เก็บไว้หลายปี ของที่มีมากเกินความจำเป็น 

นอกจากนี้ ผู้เรียนคิดว่า มีสิ่งอื่นอีกหรือไม่ ที่ควรกำจัดทิ้งไปโดยแนวทางการสะสาง 

ข้อดีของการสะสาง การทำกิจกรรมสะสางส่งผลดีหลายประการ เช่น 

(1) ขจัดความสูญเสียในการใช้พื้นที่ อุปกรณ์เครื่องมือ ตู้เก็บเอกสารและชั้นวางของ 

(2) ขจัดความผิดพลาดในการทำงาน บริเวณสะอาด น่าทำงาน 

(3) ลดอุบัติเหตุ เพิ่มความปลอดภัยจากการทำงาน 

(4) มีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น

(5) ทำความสะอาดง่ายและมีสุขลักษณะที่ดี เป็นต้น 

2.2) สะดวก มีคำกล่าวสั้น ๆ ที่สื่อความหมายถึงการจัดกิจกรรม “สะดวก” เช่น

• มีที่สำหรับของทุกสิ่ง และทุกสิ่งก็ต้องอยู่ในที่ของมัน ตรงกับคำพูด “หยิบง่าย หายรู้ ดูงามตา”

การดำเนินการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ดังคำกล่าวข้างต้น จะต้องวางแผนการจัดเก็บสิ่งของ ต่าง ๆ โดยคำนึงถึงสถานที่จัดวาง วิธีการจัดวาง รูปร่างและสมบัติของสิ่งนั้น เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพและ การเกิดอุบัติเหตุ

มีข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรม “สะดวก” พอเป็นแนวทางดังนี้ 

(1) ของประเภทเดียวกัน ให้อยู่รวมกัน 

(2) ของใช้บ่อยอาจให้เป็นของประจำตัวพนักงานหรือวางไว้ใกล้ตัว 

(3) ของที่นาน ๆ ใช้ ให้จัดไว้เป็นของส่วนรวมและมีเท่าที่จำเป็น 

(4) ประชุมหาวิธีการเก็บของใช้ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน 

(5) พยายามใช้เนื้อที่จัดเก็บของให้น้อยที่สุด 

(6) สำหรับเอกสาร ให้จัดเก็บตามระบบการจัดเก็บเอกสาร 

(7) จัดทำป้ายชื่อ สิ่งของที่เก็บให้ชัดเจน เห็นได้ชัดเจน 

(8) กำหนดเส้นเขตพื้นที่สำหรับวางสิ่งของต่าง ๆ เช่น ถังขยะ ไม้กวาด ตู้

(9) เขียนแผนผังแสดงไว้ในบริเวณนั้น ระบุว่าอะไร อยู่ที่ไหน เพื่อความสะดวกต่อการ ตรวจสอบและรวบรวมของที่ต้องการด้วยเวลาที่น้อยที่สุด

ข้อดีของกิจกรรม “สะดวก” 

(1) สามารถหยิบมาใช้งานได้เร็วขึ้น 

(2) ประหยัดเวลาในการค้นหาของ 

(3) ดูแลสิ่งของต่าง ๆ ได้ง่าย 

(4) ทำงานได้รวดเร็วขึ้น

(5) มีความปลอดภัยจากอุบัติเหตุมากขึ้น 

2.3) สะอาด การทำกิจกรรม “สะอาด” มีความหมายตรงกับคำกล่าวที่ว่า “ปัดกวาด เซ็ตตูงามตา”

คำว่า “สะอาด” ไม่ใช่เพียงแต่หมายถึงการทำความสะอาดเท่านั้น แต่หมายถึงทุกสิ่ง ทุกอย่างจะต้องไม่อยู่ในสภาพที่ไม่มีเศษฝุ่นผงตลอดเวลาและอย่างต่อเนื่องอีกวย

สิ่งแวดล้อมที่ไม่สะอาดจะส่งผลกระทบอย่างไร 

ผู้เรียนแต่ละคนอาจมีคำตอบที่แตกต่างกันไปตามความเคยชินในการดาเนินชีวิต หรือ ประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เช่น

(1) ไม่สดชื่นแจ่มใส เกิดความหดหู

(2) สุขภาพจิตไม่ดี ทำงานไม่มีสมาธิ 

(3) มีกลิ่นเหม็นรบกวน 

(4) ทำให้ร่างกายอ่อนแอ เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย 

(5) เป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น 

วิธีการทำกิจกรรม “สะอาด” 

(1) ประชุมปรึกษาหารือ เพื่อแสดงเจตจำนงร่วมกันในการ 

(2) จัดแบ่งพื้นที่รับผิดชอบ 

(3) ปัดกวาดเช็ดถูทุกซอกทุกมุมอย่างสม่ำเสมอ 

(4) หาวิธีขจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดความไม่สะอาด 

ข้อดีของการทำกิจกรรม “สะอาด” 

(1) สถานที่ทำงาน เครื่องมือ เครื่องใช้สะอาด น่าอยู่น่าใช้ 

(2) ร่างกายจิตใจสดชื่น สุขภาพดี 

(3) มีความปลอดภัยในการปฏิบัติงานมากขึ้น 

(4) ยืดอายุการใช้งานของเครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ

(5) สร้างความเชื่อถือให้แก่บุคคลภายนอกที่มาพบเห็น

2.4) สุขลักษณะ กิจกรรมนี้เป็นผลมาจากการทำกิจกรรม สะสาง สะดวก และการรักษาความ สะอาดมาอย่างต่อเนื่องและเป็นการดูแลให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ จนกล่าวได้ว่าสิ่งแวดล้อมดี ๆ เหล่านี้ ปรากฏอยู่เป็น ปกติวิสัย

ทำอย่างไร จึงจะเกิด “สุขลักษณะ” ตัวอย่างกิจกรรม ดังนี้ 

(1) ขจัดมลภาวะที่มีผลต่อสุขภาพและจิตใจ เช่น ฝุ่นละออง เสียงดัง แสงสว่างไม่เพียงพอ 

(2) ปรับปรุงสถานที่ให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดี เช่น ปลูกต้นไม้ ทาสีใหม่ 

(3) ปรับปรุงตนเอง โดยการแต่งกายให้สะอาด เรียบร้อย เหมาะสมและปลอดภัย 

(4) ดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของตนเองให้แข็งแรงสมบูรณ์ 

ข้อดีของกิจกรรม “สุขลักษณะ” 

(1) สถานที่น่าอยู่ น่าอาศัย มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย 

(2) บุคลากรทุกคนมีร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงสมบูรณ์ 

(3) เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ จากการร่วมมือกันทำกิจกรรมต่าง ๆ

(4) ผลผลิตจากการปฏิบัติงานสูงขึ้น

2.5) สร้างนิสัย ตรงกับคำว่า “ทำบ่อย ๆ จนเกิดเป็นนิสัย” ซึ่งได้แก่ การร่วมมือร่วมใจกัน ปฏิบัติงานในกิจกรรม 4 ส แรกที่กล่าวมา ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีการปฏิบัติงานโดยการรักษากฎเกณฑ์ที่ ตกลงกันไว้และทำให้เป็นนิสัย เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้น ขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจน ดังนี้

• สถานที่ประกอบการประเภทที่หนึ่ง : มีคนทำให้เกิดความสกปรก แต่ไม่มีคนทำความสะอาด 

• สถานที่ประกอบการประเภทที่สอง : มีคนทำให้เกิดความสกปรก แต่มีคนทำความสะอาด 

• สถานที่ประกอบการประเภทที่สาม : ไม่มีคนทำความสกปรก แต่มีคนทำความสะอาด 

ผู้เรียนคิดว่าสถานประกอบการใดที่แสดงถึงสภาพการสร้างนิสัยในการรักษาสิ่งแวดล้อม

จากตัวอย่างที่ยกมานี้ คงเห็นได้ชัดเจนว่า สถานประกอบการที่สามมีการฝึกการรักษาความสะอาดให้เกิดขึ้นแก่บุคคลในองค์กรจนเป็นนิสัย และกระทำจนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ดังนั้น จึงสรุปได้ กอบการประเภทที่สามนี่เอง ที่แสดงให้เห็นถึงสภาพการสร้างนิสัยของกิจกรรม 5 ส

ทำอย่างไรจึงทำให้เกิดกิจกรรม “สร้างนิสัย” มีข้อเสนอแนะให้ทำกิจกรรม ดังนี้ 

(1) น้า 4 ส ที่กล่าวมาก่อนแล้ว มาทบทวนและกระทำเป็นประจำ

(2) ศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่องกฎเกณฑ์ระเบียบและมาตรฐานของ 5 ส รวมทั้ง ประโยชน์ที่ได้รับ

(3) เคารพและปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรฐาน 5 ส ที่ได้วางไว้ 

ข้อดีของกิจกรรม “สร้างนิสัย” 

(1) เกิดวินัย นิสัยในตัวเองและการทำงานที่ดี 

(2) มีความปลอดภัยมากขึ้น 

(3) การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

(4) ลดค่าใช้จ่าย เพราะลดการสูญเสียในด้านต่าง ๆ ลง 

(5) สถานที่ทำงานสะอาด มีระเบียบ 

(6) ทำให้ได้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพมากขึ้น