ข้อดีของการมีพระคลังสินค้า

ปี 2496 มีพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล กำหนดให้รัฐบาลสามารถจัดตั้งองค์การของรัฐบาลที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยตรงเป็นพระราชกฤษฎีกาขึ้นได้ ตามที่เห็นสมควรเพื่อดำเนินกิจการอันเป็นสาธารณะหรือเพื่อประโยชน์ในการเศรษฐกิจหรือช่วยเหลือในการครองชีพหรืออำนวยบริการแก่ประชาชนโดยใช้เงินทุนจากงบประมาณ แผ่นดิน พระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นรากฐานของการก่อกำเนิดรัฐวิสาหกิจต่างๆ ซึ่งกระทรวงการคลัง มีรัฐวิสาหกิจในสังกัดประกอบด้วย

ก่อนสมัยอยุธยายังไม่มีหน่วยงานนี้เก็บภาษี อีกทั้งยังไม่มีการตั้งสินค้าต้องห้ามตราบจนสมัยอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จึงได้ตั้งพระคลังสินค้าขึ้นโดยให้สังกัดกรมพระคลัง หนึ่งในจตุสดมภ์ มีหน้าที่รับซื้อและเก็บสินค้าต้องห้าม เช่น อาวุธ กฤษณา ฝาง ดีบุก นฤมาต งาช้าง ไม้จันทน์ ละไม้หอม โดยกำหนดให้ประชาชนขายให้กับพระคลังสินค้าเท่านั้น และทำหน้าที่นำสินค้าเหล่านี้ไปขายกับต่างประเทศโดยทางสำเภา หรือขายให้กับชาวต่างชาติทีเข้ามาซื้อ นับเป็นหน่วยงานที่สร้างรายได้ให้กับราชสำนักอย่างมาก

จนมาในสมัยรัตนโกสินทร์ การค้ากับต่างประเทศเฟื่องฟูขึ้นแต่ทว่าต่างชาตินั้นไม่พอใจในระบบพระคลังสินค้าของไทยอย่างมาก ซึ่งทำให้สินค้าราคาแพง ในพ.ศ. 2369 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ไทยก็ได้ทำสัญญาเบอร์นี ทำให้ไทยต้องยกเลิกพระคลังสินค้า รัชกาลที่ 3จึงทรงแก้ปัญหาโดยการตั้งระบบเจ้าภาษีนายอากร โดยให้เอกชนเข้ามาประมูลภาษีสินค้าแต่ละชนิดรับหน้าที่เก็บภาษีแทนรัฐ โดยเอกชนจะจ่ายเงินภาษีที่ประมูลแก่รัฐเป็นรายปี และให้ประชาชนไปขายสินค้าแก่เจ้าภาษีนายอากรแทน ตราบจนสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) อังกฤษได้ส่งเซอร์ จอห์น เบาริงมาไทยในพ.ศ. 2398 เพื่อเรียกร้องให้เลิกระบบเจ้าภาษีนายอากร รัชกาลที่4จึงทรงยินยอมทำสัญญาเบาริงกับอังกฤษ มีผลให้การค้ากับต่างประเทศรุ่งเรืองขึ้น ส่วนระบบเจ้าภาษีนายอากรก็ลดบทบาทลงไป

จนสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ระบบเจ้าภาษีนายอากรนั้นไม่มีประสิทธิภาพ มีการทุจริตภาษี การเก็บภาษีก็กระจัดกระจายไปตามกรมต่างๆ อีกทั้งการทำบัญชีก็ไม่เรียบร้อย จึงนำไปสู่การปฏิรูปภาษีอากร โดยทรงจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้น เพื่อรวบรวมการเก็บภาษีทั้งหมดไว้ที่หน่วยงานนี้ โดยตราพรบ.สำหรับหอรัษฎากรพิพัฒน์ พ.ศ. 2416โดยสังกัดกระทรงพระคลังมหาสมบัติ

นอกจากนี้ ก็ทรงออกพรบ.เจ้าภาษีอากร พ.ศ.2416 และพรบ.ภาษีอากร พ.ศ. 2435 โดยวางกฎเกณฑ์การเก็บภาษี การประมูลภาษี การส่งเงินประมูล และการลงโทษผู้เป็นหนี้หลวง(ผู้ที่ไม่จ่ายภาษี) และยังมีการวางระเบียบเพิ่มเติม เพื่อให้การเก็บภาษีอากรรัดกุมยิ่งขึ้น เช่น พรบ.เพิ่มเติมภาษีภาษีอากร ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2449) แก้ไขการประมูลภาษีในกรุงเทพ ต่อมาก็ทรงพยายามยกเลิกระบบเจ้าภาษีนายอากรโดยใช้กฏเกณฑ์เร่งรัดเงินภาษีอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย จึงไม่มีใครกล้าประมูล ส่วนเจ้าภาษีที่ส่งเงินไม่ครบและทำความผิดก็จะถูกปลด โดยรัฐจะเก็บภาษีชนิดนั้นๆเอง จนจำนวนเจ้าภาษีนายอากรก็ลดลงจนหมดไป และเมื่อทรงตั้งมณฑลเทศาภิบาลแล้ว ก็ได้ทดลองให้มณฑลเทศาภิบาลทำหน้าที่เก็บภาษีแทน โดยทดลองที่มณฑลปราจีนบุรีก่อน เมื่อได้ผลดีจึงได้ใช้ระบบนี้ที่มณฑลอื่นๆ

ส่วนการทำบัญชี ก็ได้ทรงตั้งกรมบัญชีกลางขึ้น ในพ.ศ. 2458 เพื่อรวบรวมบัญชีเงินรายได้และรายจ่ายทั้งหมด

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6)จึงได้ยกเลิกการเก็บภาษีโดยมณฑลเทศาภิบาลและได้ให้ส่วนกลางเก็บแทนในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2458 ต่อมาทรงรวมกรมสรรพากรในและนอก ซึ่งสังกัดกระทรวงนครบาลและมหาดไทยในสมัยรัชกาลที่5 เป็นกรมสรรพากร และให้สังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ส่วนการเก็บภาษีขาเข้าขาออก หรือภาษีศุลกากร ก็ได้ตั้งกรมศุลกากรขึ้น เพื่อทำหน้าที่เก็บภาษีนี้ในพ.ศ. 2469

จนในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2476 กระทรวงพระคลังมหาสมบัติก็เปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงพระคลัง และได้เปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงการคลังในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน และใช้ชื่อนี้มาจนปัจจุบัน

ข้อดีของการมีพระคลังสินค้า
             การบริหารการคลังของไทยได้ดำเนินมาเป็นเวลานานตั้งแต่สมัยสุโขทัย (พ.ศ. ๑๗๘๑ – ๑๙๘๑) เป็นต้นมา แต่ยังมิได้จัดตั้งหน่วยงานเพื่อทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ  สภาพการปกครองของสุโขทัยเป็นแบบธรรมราชา ยึดคุณธรรมเป็นหลักปฏิบัติ ได้แก่ ทศพิธราชธรรม ราชสังคหวัตถุ ราชจรรยานุวัติ และพระจักรวรรดิวัตร ผู้ปกครองมีความใกล้ชิดกับราษฎร และเอาใจใส่ดูแลทุกข์สุขของราษฎรเยี่ยงบุตรของตน ที่ผู้ปกครองปฏิบัติเช่นนี้ได้และมีประสิทธิภาพก็เพราะประชากรของสุโขทัยมีจำนวนไม่มากนัก
ข้อดีของการมีพระคลังสินค้า

           ภาษีในสุโขทัยเท่าที่พบหลักฐานมีอยู่ ๒ ประเภท คือ จังกอบและภาษีข้าว การเก็บภาษีของผู้ปกครองยึดหลักคุณธรรมโดยไม่ต้องการให้ราษฎรเดือดร้อน กล่าวคือ ไม่ให้เก็บมากเกินไป ให้เก็บเพียง ๑ ส่วนจากรายได้ ๑๐  ส่วน ที่ราษฎรหาได้ ถ้าราษฎรผู้ใดหาไม่ได้เลย ก็ไม่ให้เก็บ
            สภาพการปกครองของไทยในสมัยอยุธยาเปลี่ยนแปลงไปจากสมัยสุโขทัย กล่าวคือเป็นแบบเอกาธิปไตย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมุติเทพต่างจากประชาชนสามัญ พระมหากษัตริย์เป็นทั้งเจ้าชีวิตของประชาชนและเจ้าแผ่นดิน มีพระราชอำนาจเป็นล้นพ้น แต่ การที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ทำให้พระองค์มีพระทัยเมตตา ทรงทำทาน รักษาศีล และยึดมั่นในธรรมะ จึงมีพระราชจริยวัตรที่เหมาะสมและยุติธรรม การที่สภาพการปกครองเปลี่ยนแปลงไปเช่นนี้ทำให้พระองค์ต้องแยกออกมาจากกลุ่มชน มักจะประทับอยู่แต่ในพระราชวัง ราษฎรจะมองพระมหากษัตริย์ไม่ได้ ส่วนราษฎรก็ต้องให้แรงงานถวายต่อกษัตริย์ตามกำหนดเวลา ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับประชาชนจึงห่างเหินมาก ในสังคมมีชนหลายชั้น ชั้นสูงสุดคือพระมหากษัตริย์ รองลงมาคือ เจ้านาย ขุนนาง ไพร่และทาส 
ข้อดีของการมีพระคลังสินค้า

             รัฐบาลมีรายได้จาก ส่วยสาอากร หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า ภาษีอากร ๔ ชนิด ได้แก่ จังกอบ อากร ส่วย และ ฤชา ในสมัยอยุธยาตอนต้น ได้มีการจัดระเบียบการปกครองฝ่ายพลเรือนเป็น ๔ แผนก เรียกว่า จตุสดมภ์ ซึ่งประกอบด้วย กรมเมือง กรมวัง กรมพระคลัง และ กรมนา โดยกรมพระคลังทำหน้าที่รักษาราชทรัพย์ผลประโยชน์ของบ้านเมือง มีขุนคลังเป็นหัวหน้าบังคับบัญชา และมีพระคลังสินค้าเป็นที่เก็บและรักษาส่วยสาอากร
            ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. ๑๙๙๑ – ๒๐๓๑) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงแก้ไขระบบราชการวางระเบียบการคลังการส่วยสาอากรและเศรษฐกิจให้รัดกุมทันสมัย ให้ตราพระราชบัญญัติทำเนียบราชการ โดยแบ่งราชการออกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือนซึ่งใช้มาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ฝ่ายทหารมีสมุหพระกลาโหม เป็นหัวหน้าดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี ฝ่ายพลเรือนมีสมุหนายกเป็นหัวหน้าดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีเช่นเดียวกัน และมีตำแหน่งเสนาบดีอีก ๔ ตำแหน่ง คือ
     ๑.  เสนาบดีกรมเมือง บังคับบัญชาการรักษาพระนครและความนครบาล
     ๒.  เสนาบดีกรมวัง บังคับบัญชาการที่เกี่ยวกับพระราชสำนักและพิจารณาคดีความของราษฎร
     ๓.  เสนาบดีกรมพระคลัง บังคับบัญชาเกี่ยวกับการจัดการรักษาพระราชทรัพย์ที่ได้จากส่วยสาอากรและ
          บังคับบัญชากรมท่าซึ่งเกี่ยวกับการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และยังมีหน้าที่เกี่ยวกับกรมพระคลัง
           สินค้าการค้าสำเภาของหลวงด้วย
    ๔.   เสนาบดีกรมนา บังคับบัญชาการเกี่ยวกับเรื่องนาและสวน การเพาะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร

             สำหรับด้านการติดต่อค้าขายกับต่างชาติมีมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี   สมัยนั้นมิได้เรียก “กรมเจ้าท่า” แต่เรียก เจ้าภาษีบ้าง   นายด่านบ้างและนายขนอมตลาดบ้าง    ซึ่งทั้งหมดทำหน้าที่บังคับการจอดสมอเรือค้าขาย เก็บค่าธรรมเนียมเรือค้าขายที่เข้าและออกราชอาณาจักร   โดยอยู่ในความปกครองบังคับบัญชาของกรมพระคลัง ส่วนคำว่า “กรมท่า” แต่เดิมคงหมายถึง เจ้าท่าตามระบบเก่า หากแต่มีความหมายกว้างขวางออกไปอีก กรมท่าเป็นส่วนราชการที่มีแต่สมัยอยุธยา

ข้อดีของการมีพระคลังสินค้า

คลังหลวง กรุงศรีอยุธยา

          ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี (พ.ศ. ๑๘๙๓-๒๓๑๐) ประเทศไทยมีการติดต่อค้าขายทางเรือกับต่างชาติ ทางชาติตะวันออกก่อน เช่น จีน และแขก ชาติตะวันตกมีโปรตุเกสเป็นชาติแรก ต่อมามีสเปน ฮอลันดา ญี่ปุ่น อังกฤษ เดนมาร์ก และฝรั่งเศสเข้ามาติดต่อค้าขายตามลำดับการค้าขายกับต่างชาติอยู่ในความควบคุมดูแลของกรมพระคลังสินค้า ซึ่งเป็นหน่วยงานหลวงเพื่อผูกขาดสินค้าบางอย่างเป็นสินค้าต้องห้ามไม่ให้พ่อค้าประชาชนซื้อขายกันโดยตรง  นอกจากนี้พระคลังสินค้ายังมีหน้าที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเรือสินค้าต่างชาติ ค่าภาษีสินค้าและค่าธรรมเนียมเข้าออก

            แม้ว่าอาณาจักรอยุธยาจะสามารถหารายได้มาเจือจุนบ้านเมืองจากหลายทาง แต่กลับได้รับผลประโยชน์รายได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยนัก เพราะมีการรั่วไหลกันมาก อันเนื่องมาจากการทุจริตของหลายฝ่าย เช่น การทุจริตของเจ้าพนักงานในสมัยนั้น ซึ่งมีวิธีฉ้อโกงหลวงหลายรูปแบบ การไม่ยอมเสียอากรของฝ่ายราษฎรตลอดจนความบกพร่องของกฎหมาย เป็นต้น ซึ่งอันที่จริงกฎหมายอยุธยามีบทลงโทษผู้กระทำผิดเหล่านี้ไว้ตั้งแต่ขั้นภาคทัณฑ์ ขั้นปรับ ขั้นประจาน ขั้นจองจำและขั้นประหารชีวิตตัดคอ ริบราชบาตร แต่ก็มิได้ทำให้การทุจริตเบาบางลง ในขณะเดียวกันมีการให้ขวัญและกำลังใจแก่ผู้กระทำความดี ซื่อสัตย์ในหน้าที่ด้วยการให้รางวัลจากหลวงด้วย
ข้อดีของการมีพระคลังสินค้า

            ชาวต่างชาติได้บันทึกถึงความมั่งคั่งของพระคลังในสมัยอยุธยาไว้ว่า
           ...น้อยนักที่จะมีพระมหากษัตริย์ทางภาคบุรพทิศพระองค์ใด ซึ่งครองราชย์อยู่ในปัจจุบันนี้ที่จะทรงสมบูรณ์ด้วยพระราชทรัพย์เทียบเท่าพระเจ้ากรุงสยาม ไม่เพียงแต่พระองค์จะทรงครอบครองทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่ตกทอดมาทุกชั้นพระราชวงศ์เท่านั้น หรืออีกนัยหนึ่งว่า ที่ได้สะสมมาเป็นเวลาร่วม ๒๐๐ ปี โดยที่ไม่มีข้าศึกมาปล้นพระบรมมหาราชวัง  แล้วยังได้พระราชทรัพย์ที่ได้ทรงสะสมไว้ นับแต่ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นต้นมาอีกด้วย...
ข้อดีของการมีพระคลังสินค้า

               และอีกตอนหนึ่งว่า...พระมหากษัตริย์มีพระราชทรัพย์อยู่ ๘ หรือ ๑๐ ท้องพระคลัง ที่มีทรัพย์สินอันล้ำค่ายิ่งกว่าท้องพระคลังอื่นๆ ในห้องหรือท้องพระคลังแห่งหนึ่งมีใหเป็นอันมากตั้งเรียงสลับซับซ้อนอยู่จนถึงหลังคา เต็มไปด้วยเงินเหรียญบาทและทองคำแท่ง ส่วนใหญ่เป็นนาก (Tambac) อันเป็นส่วนผสมของโลหะหลายชนิดถลุงให้บริสุทธิ์ขึ้น ซึ่งในประเทศสยามถือกันว่ามีค่ากว่าทองคำเสียอีก แม้จะไม่สุกใสเท่าก็ตาม......
             ท้องพระคลังอีกแห่งหนึ่งเต็มไปด้วยดาบญี่ปุ่น ตีด้วยเหล็กเนื้อดี อาจฟันแท่งเหล็กให้ขาดสะบั้นได้โดยง่ายดาย แล้วก็ไม้กฤษณา กะลำพัก ชะมดเชียง และเครื่องกระเบื้องชุดลายครามจากเมืองจีนเป็นอันมาก กับผ้าแพรพรรณอย่างดีทำในชมพูทวีป และในยุโรปและเครื่องกระเบื้องเคลือบชนิดบางลางชนิด ซึ่งเมื่อใส่ยาพิษลงไปแล้วก็จะแตกทันที สรุปแล้ว เราไม่อาจที่จะบอกได้ถูกต้องว่า มีสิ่งอันล้ำค่าหาได้ยากและน่าเห็นน่าชมเชยมากมายสักเท่าไรในท้องพระคลังอื่นๆ อีก...

ข้อดีของการมีพระคลังสินค้า

ความเสียหาย..หลังเสียกรุง
         ในสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี (พ.ศ. ๒๓๑๐-๒๓๒๕) ภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาจากการรุกรานของพม่าเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๐ พระเจ้าตากสินทรงมีพระวิริยะอุตสาหะและความอดทนเป็นอย่างยิ่งกว่าจะกอบกู้บ้านเมืองและตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานีใหม่ที่มั่นคงได้ เนื่องจากระยะนั้นบ้านเมืองได้รับความเสียหายทุกด้านไม่ว่าจะเป็นไร่นาสาโท แรงงาน หรือทรัพย์สินต่างๆ ทั้งที่เป็นของฝ่ายอาณาจักรและศาสนจักร ก็ถูกทำลายเสียสิ้น หลักฐานของบาทหลวงชาวฝรั่งเศสบันทึกว่า
           ...พวกพม่าข้าศึกได้เอาไฟเผาสถานที่บางกอก และทำลายป้อม ทั้งเผาสวนและปล้นบ้านเรือนไม่เว้นเลย ตลอดตั้งแต่ท่าเรือจอดจนถึงชานพระนคร...มิหนำซ้ำพวกพม่ายังคอยรังควานไม่ให้ราษฎรไทยทำมาหากิน และออกคำสั่งห้ามราษฎรทำการเพาะปลูกอีกด้วย...เมื่อพม่าเข้ากรุงได้แล้วนั้น พม่าได้เอาไฟเผาบ้านเรือน ทำลายข้าวของต่างๆ อยู่ ๑๕ วัน และได้ฆ่าผู้ฟันคนไม่เลือกว่า คนมีเงินหรือไม่มีเงิน ก็ฆ่าฟันเสียสิ้น แต่พวกพม่าพยายามฆ่าพวกพระสงฆ์มากกว่า และได้ฆ่าเสียนับจำนวนไม่ถ้วน ข้าพเจ้า (ผู้บันทึก) เองได้เห็นพม่าฆ่าพระสงฆ์ในตอนเช้าเวลาเดียวเท่านั้นกว่า ๒๐ องค์เมื่อพม่าได้เผาบ้านเรือนในพระนคร ตลอดจนพระราชวังและวัดวาอารามหมดสิ้นแล้ว พวกพม่าจึงเตรียมการที่จะยกทัพกลับไป...
           นอกจากนี้การสูญเสียแรงงานชาวไทยก็ยังมีเหตุมาจากการกวาดต้อนคนไทยไปเป็นเชลย กล่าวคือ พม่าพยายามที่จะจับเอาคนดีมีฝีมือทางการช่างทุกแขนงไปเป็นเชลย ทำให้เกิดความขาดแคลนช่างหลายสาขาเมื่อถึงรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ซ้ำร้ายกว่านั้น พม่ายังปล้นเอาของในท้องพระคลัง ซึ่งในพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขาได้บรรยายไว้ว่า
           ...เนเมียวกับนายกองทั้งปวงก็ให้ขนเอาปืนใหญ่น้อยในพระนคร ได้ปืนใหญ่น้อยพันสองร้อยเศษ ปืนกลับเป็นหลายหมื่น เอาลงบรรทุกเรือกับทั้งขุนนางแลครอบครัวราษฎรชายหญิงประมาณสามหมื่นเศษ ที่หนีไปซุ่มซ่อนอยู่ในป่าดง และไป ณ หัวเมืองต่างๆ ก็เป็นอันมาก และได้พระราชทรัพย์ในท้องพระคลังและสิ่งของทองเงินต่างๆ ก็มาก ที่ยักย้ายทรัพย์ สิ่งสินลงเร้นซ่อนฝังไว้ พม่าก็เฆี่ยนตีและย่างเร่งเอาทรัพย์ ให้นำขุดเอาสิ่งของทองเงินได้บ้างไม่ได้บ้าง และฆ่าฟันตายเสียก็มากกว่า แล้วพม่าเอาเพลิงสุมหลอมเอาทองคำซึ่งแผ่หุ้มพระองค์พระพุทธรูปยืนใหญ่ ในพระวิหารหลวง วัดพระศรีสรรเพชญดารามนั้น ขนเอาเนื้อทองคำไปทั้งสิ้น...
               จะเห็นว่า การกระทำของพม่าครั้งนั้น ได้สร้างความพินาศทางเศรษฐกิจให้กับเมืองไทยอย่างใหญ่หลวง เป็นเหตุให้ผู้คนเกิดความอดอยากยากแค้นและล้มตายลงจากการอดอาหาร ดังปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่า
             ...(พระเจ้าตากสินได้)ประทานเงินตราแก่สัปเหร่อ ให้ขนทรากศพอันอดอาหารตาย ทิ้งเรี่ยราดอยู่นั้น เผาเสียให้สิ้น แล้วประทานบังสุกุลทาน...
ข้อดีของการมีพระคลังสินค้า

            กล่าวได้ว่า เมืองไทยในครั้งนั้นต้องสูญเสียคนประมาณสองแสนเศษ ทั้งตายด้วยอาวุธและป่วยไข้อดโซตาย นอกจากหลักฐานของบาทหลวงชาวฝรั่งเศสที่เห็นเหตุการณ์ในขณะนั้น เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๓๑๒ ได้บันทึกถึงความยากจนอดอยากของคนไทยในขณะนั้นไว้ตรงกันว่า
พระเจ้าตากสิน..บำบัดทุกข์ราษฎร

ข้อดีของการมีพระคลังสินค้า

                พระเจ้าตากสินทรงเป็นกษัตริย์ที่ขึ้นครองราชย์ในขณะที่บ้านเมืองประสบกับความพินาศทางเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวง ดังนั้นพระองค์จึงทรงมีภาระอันหนักหน่วงที่จะต้องดูแลราษฎรให้ได้รับความร่มเย็น ในขณะเดียวกันก็ต้องคอยขับไล่พม่าข้าศึกที่คอยรบกวนอยู่เสมอมิขาด สิ่งที่พระองค์ปฏิบัติอย่างเร่งด่วนคือ ทรงแจกอาหาร ส่งเสริมการทำนา เพิ่มแรงงานและส่งเสริมการค้า โดยมิได้ทรงย่อท้อแต่อย่างใด ดังข้อความในพระราชพงศาวดารว่า
               ...ทรงพระกรุณาให้แจกจ่ายอาหารแก่ราษฎรทั้งหลายซึ่งอดโซอนาถาทั่วสีมามณฑล เกลื่อนกล่นกันมารับพระราชทานมากกว่าหมื่น บรรดาข้าราชการฝ่ายทหาร พลเรือน ไทย จีนทั้งปวงนั้น ได้รับพระราชทานข้าวสารเสมอคนละถัง กินคนละยี่สิบวัน ครั้งนั้นยังหามีผู้ใดทำไร่นาไม่ อาหารกันดารนัก และสำเภาบรรทุกข้าวสารมาแต่เมืองพุทไธมาศจำหน่ายถังละสามบาท สี่บาท ห้าบาทบ้าง ทรงพระกรุณาให้ซื้อแจกคนทั้งปวง โดยพระราชอุตสาหะโปรดเลี้ยงสัตว์โลก พระราชทานชีวิตมิให้อาลัยแก่พระราชทรัพย์แล้วแจกจ่ายเสื้อผ้า เงินตราแก่ไพร่ฟ้าประชาชนจักนับมิได้...และในพระราชพงศาวดารกล่าวอีกว่า ใน พ.ศ. ๒๓๑๓...
               ครั้งนั้นข้าวแพงถึงเกวียนละสามชั่ง ด้วยเดชะพระบรมโพธิสมภารบันดาลให้กำปั่นข้าวสารมาแต่เกาะทิศใต้เป็นหลายลำ ในขณะเมื่อจะยกทัพจึงพระกรุณาฯ ให้รอทัพอยู่ แล้วให้จัดซื้อแจกจ่ายให้พลกองทัพจนเหลือเฟือแล้ว ได้แจกจ่ายแก่สมณชีพราหมณ์ยาจกวณิพก และครอบครัวบุตรภรรยาข้าราชการทั้งปวงทั่วกัน...พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกังวลพระทัยเรื่องนี้ถึงกับทรงเคยตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ใดเป็นอาทิคือเทวดา บุคคลผู้มีฤทธิ์มาประสิทธิ์มากระทำให้ข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ขึ้น ให้สัตว์โลกเป็นสุขได้ แม้นผู้นั้นจะปรารถนาพระพาหาแห่งเราข้างหนึ่ง ก็อาจตัดบริจาคแก่ผู้นั้นได้”
              ครั้นบ้านเมืองว่างจากสงคราม พระองค์ก็ชักชวนให้ราษฎรทำนาทำไร่และค้าขายตามปกติ ทำให้ข้าวปลาอาหารค่อยบริบูรณ์ขึ้น และมีอาหารพอที่จะบำเพ็ญกุศล พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายก็ได้รับบิณฑบาตกันถ้วนหน้า ในการตระเตรียมที่ไว้สำหรับทำนาก็เพื่อจะได้มีข้าวไว้ใช้ในยามสงครามได้อีกด้วย ดังจะเห็นได้จากในโอกาสที่ได้กระทำการฐาปนาพระนครขึ้นใหม่
               ...ให้ขุดที่สวนเดิมเป็นที่ท้องนานอกคูเมืองทั้งสองฟาก ให้เรียกว่า ทะเลตม ไว้สำหรับจะได้ทำนาใกล้พระนคร แม้นมาตรว่าจะมีทัพศึกสงครามมา จะได้ไว้เป็นที่ทำเลตั้งค่ายต่อรบข้าศึกถนัด...
              ในโอกาสที่แม่ทัพนายกองหมดภาระศึกสงครามคราวใด พระองค์ก็จะโปรดให้คุมไพร่พลทำนาทันที เพื่อจะได้มีเสบียงอาหารไว้ใช้ในพระนครต่อไป ดังเมื่อครั้งเสร็จศึกพม่าเมืองถลางปี พ.ศ. ๒๓๑๙ พระองค์โปรดให้กองทัพกลับลงมายังพระนครพร้อมกัน แล้วโปรดให้เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ พระยาธรรมาคุมไพร่พลทั้งปวงตั้งทำนา ณ ทะเลตมฟากตะวันออกของกรุงธนบุรี และทุ่งบางกะปิ สามเสน ให้พระยายมราช พระยาราชสุภาวดีคุมไพร่พลทั้งปวงตั้งทำนา ณ ทะเลตมฟากตะวันตก และกระทุ่มแบน หนองบัว แขวงเมืองนครไชยศรีสำหรับทะเลตมฟากตะวันออกของกรุงธนบุรีนั้นได้กลายเป็นแหล่งทำนาที่ดีที่สุดของเมืองไทยไป ดังที่กรมหลวงพิชิตปรีชากรทรงกล่าวไว้ว่า
            “เฉพาะแต่ภายในพระราชอาณาเขตแล้ว ไม่มีที่นาใดจะดีกว่าเนื้อที่ที่ทุ่งทะเลตมแถบที่กรุงเทพฯ ตั้งอยู่ทุกวันนี้ การที่เป็นดังนี้ก็ไม่ต้องสงสัยในความรู้ และความฉลาดในการปลูกสร้างของท่านผู้ดำริการตั้งพระนคร...”
            ในครั้งนั้นอาศัยทางน้ำเป็นเส้นทางในการคมนาคม ขนส่ง และการค้าขาย ซึ่งบาทหลวงชาวฝรั่งเศสได้บันทึกไว้ว่า ที่การค้าขายกระเตื้องขึ้นนั้นก็เพราะคนจีนมีบทบาทนั่นเอง ดังข้อความที่ว่า
              ...การที่ประเทศสยามกลับตั้งตัวได้เร็วเช่นนี้ ก็เพราะความขยันหมั่นเพียรของพวกจีน ถ้าพวกจีนไม่ใช่เป็นคนมักได้แล้ว ในเมืองไทยทุกวันนี้คงจะไม่มีเงินใช้เป็นแน่ เพราะพวกพม่าได้ขนไปจนหมดสิ้น เพราะฉะนั้นการที่ได้มีการค้าขายกันในทุกวันนี้ ก็เป็นด้วยพวกจีนได้ไปเที่ยวขุดเงินทองที่ฝังไว้...
               ด้านการค้ากับต่างประเทศนั้น พระองค์ทรงพยายามฟื้นฟูกับประเทศที่เคยค้าขายด้วยกันมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่ก่อนอื่นพระองค์ทรงดำเนินการตีเอาเมืองท่าสำคัญกลับคืนมา โดยกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองท่าสำหรับเรือมาจากเมืองจีน ญี่ปุ่น ญวน เขมร หมู่เกาะอินเดียตะวันออกและเมืองในคาบสมุทรมลายูที่มีเมืองท่าตั้งอยู่ด้านอ่าวไทย สำหรับเมืองท่าอีกแห่งหนึ่งคือเมืองถลาง ซึ่งแม้จะเป็นรองจากเมืองมะริดที่ถูกพม่าครอบครองไปแล้วเนื่องจากอยู่ห่างไกลจากกรุงเทพ แต่ก็สามารถดึงดูดพ่อค้าต่างชาติมากกว่าเมืองอื่นๆ ในไทย จึงใช้รองรับเรือที่มาจากทวีปยุโรป อิหร่าน อินเดีย ยะไข่ มอญ และเมืองในคาบสมุทรมลายู
               ครั้งนั้นประเทศจีนเป็นประเทศที่ไทยติดต่อค้าขายด้วยมากที่สุด และพ่อค้าจีนก็เข้ามาค้าขายทางหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก เช่น ตราดและจันทบุรี และเมื่อตั้งกรุงธนบุรีขึ้นก็มีเรือสำเภาจีนเข้ามาค้าขายในกรุงธนบุรีอยู่ตลอดรัชกาล พระองค์ทรงสนับสนุนและอุปการะชาวจีนให้เข้ามารับราชการเป็นจำนวนมาก และให้เข้ามาทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการค้าสำเภาก็มาก ส่งเสริมให้ไปค้าขายกับต่างประเทศในนามของพระมหากษัตริย์  และด้วยวิธีนี้จึงเป็นทางนำรายได้หลักเข้าสู่ประเทศได้มากกว่าการเก็บภาษีอากรจากราษฎรในยามที่ต้องฟื้นฟูบ้านเมือง
              ตลอดรัชกาลของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีแทบจะหาเวลาว่างจากศึกสงครามไม่ได้เลย ราษฎรต้องถูกเกณฑ์ไปสงครามอยู่เกือบตลอดเวลา จึงแทบไม่มีเวลาประกอบอาชีพ แม้ว่าพระองค์จะทรงพยายามแก้ไขภาวะการทางด้านเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ แต่ถึงกระนั้นสภาพทางการค้าขายก็ยังไม่เจริญเท่าที่ควร กระทั่งถึงปลายรัชกาลสภาพทางเศรษฐกิจจึงเริ่มดีขึ้น เหตุสำคัญก็เนื่องจากว่างจากสงคราม พม่ามิได้กลับมาก่อกวนอีก
 
ข้อดีของการมีพระคลังสินค้า

คลังหลวง กรุงธนบุรี
         สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงดำเนินวิธีการต่างๆ เพื่อหารายได้มาค้ำจุนประเทศ พอจะสรุปได้ดังนี้
¨     ทรงใช้จ่ายอย่างประหยัด ตามปกติพระมหากษัตริย์จะทรงสร้างพระมหาปราสาทให้สมพระเกียรติยศ
        พระเจ้าแผ่นดินเมื่อขึ้นครองราชย์ พระองค์ก็ทรงตัดพระทัยไม่สร้าง และ การสร้างวัดใหม่ตาม
        ธรรมเนียมของกษัตริย์ไทยสมัยก่อน ก็ทรงไม่ทำตาม กล่าวได้ว่า ทรงพยายามใช้จ่ายอย่างประหยัดที่สุด
        และเป็นเหตุหนึ่งที่ช่วยฟื้นฟูการเงินการคลังของไทยให้กลับมั่นคงภายในเวลาไม่ช้า
¨     ทรงกำชับการเก็บเงินเข้าพระคลังหลวงอย่างเข้มงวด โดยทรงแต่งตั้งขุนนางผู้ใหญ่ออกไปควบคุมและ
       เร่งรัดการเก็บส่วยสาอากรตามหัวเมืองให้ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย และไม่ให้ติดค้างหลายๆ ปีเหมือนอย่าง
       แต่ก่อน
¨     ทรงเก็บอากรชนิดใหม่คือเก็บค่าธรรมเนียมขุดทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของ ซึ่งเกิดขึ้นจากราษฎรสมัยกรุง
        แตกจำต้องหลบหนีข้าศึกเพื่อเอาตัวรอด ครั้นจะหอบเงินทองติดตัวไปด้วยก็กลัวจะหนีไม่รอด ทั้งกลัว
        โจรผู้ร้ายจะแย่งชิง จึงใช้วิธีเอาทรัพย์สินเงินทองข้าวของมีค่าฝังดิน เมื่อข้าศึกยกกลับไปแล้วจะได้กลับ
        มาขุดเอาคืน แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่จำที่ซ่อนไม่ได้เพราะพม่าเผาบ้านเรือนเสียเหี้ยนเตียน จนไม่รู้ว่าบ้าน
        ของตนอยู่ตรงไหน บางคนก็ถูกจับเป็นเชลย และบางคนก็ล้มตายในระหว่างที่หนีข้าศึก จึงมีทรัพย์สินตก

        ค้างอยู่ใต้ดินเป็นอันมาก พวกนายทุนบางคนจึงประมูลเงินให้แก่รัฐบาลเป็นเงินก้อน เพื่อขอสิทธิผูกขาด
        เก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ประสงค์จะขุดทรัพย์ที่ยังซ่อนไว้ รัฐบาลกำลังต้องการได้เงินเข้าท้องพระคลัง จึง
        ยอมให้มีนายอากรผูกขาด
คลังหลวง..พระราชทรัพย์กษัตริย์
           พระคลังสินค้า เป็นคลังสินค้าของหลวง เริ่มปรากฏหลักฐานว่ามีกรมพระคลังสินค้าตั้งแต่สมัยพระเจ้าทรงธรรมแล้ว (พ.ศ. ๒๑๕๔-๒๑๗๑) มีหน้าที่หลักคือเป็นที่เก็บรักษาส่วยสิ่งของและซื้อขายสินค้ากับชาวต่างประเทศ ส่วนอีกพระคลังหนึ่งนั้นคือ พระคลังมหาสมบัติ บางทีก็เรียกกันว่า พระคลังหลวง
                 มีหลักฐานปรากฏในกฎหมายสมัยอยุธยา กฎหมายอาญาหลวง อาญาราษฎร์ บทที่ ๒ ว่า ผู้ใดบังอาจลักพระราชทรัพย์ในพระคลังหลวง นอกพระคลังหลวง ให้ลงโทษ ๘ สถาน คือ บั่นคอริบเรือน เอามะพร้าวห้าวยัดปาก ริบราชบาตรแล้วเอาตัวลงหญ้าช้าง ไหมจตุรคูณแล้วเอาตัวออกจากราชการ ไหมทวีคูณ ทวนด้วยลวดหนัง ๕๐ ที ๒๕ ทีแล้วใส่ครุไว้ จำไว้แล้วถอดเสียเป็นไพร่ ภาคทัณฑ์ไว้   ในกฎหมายอาญาหลวงบทที่ ๑๒๓ ยังมีสำนวนกล่าวด้วยว่าแก้วฤาจะรู้หมอง ทองฤาจะรู้เศร้า พระราชทรัพย์ของพระผู้เป็นเจ้าจิรังกาล นานช้าเท่าใดบ่สูญ เป็นที่มาของข้อความที่ว่า สินทรัพย์ของหลวง ตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้
           ตามโบราณราชประเพณีเท่าที่ปรากฏ พระราชทรัพย์ในพระคลังมหาสมบัติซึ่งหมายถึงเงินผลประโยชน์รายได้แผ่นดินทั้งหมด เป็นพระราชทรัพย์ของพระมหากษัตริย์ด้วย หลักฐานยืนยันถึงความจริงข้อนี้คือคำกราบบังคมทูลของเสนาบดีจตุสดมภ์ทั้ง ๔ เป็นธรรมเนียมเมื่อแรกขึ้นราชาภิเษกของพระเจ้าแผ่นดิน โดยกราบบังคมทูลถวายสรรพราชสมบัติทั้งปวงของแผ่นดินที่อยู่ในหน้าที่ดูแลรักษาของตน ดังความตอนหนึ่งว่า
           “...ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทฯ ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวาย เครื่องพระพัทธยากรราชสมบัติทั้ง ๑๒ พระคลังแด่พระบาทสมเด็จพระบรมนารถบพิตรเจ้าอยู่หัว ขอเดชะ...”

ข้อดีของการมีพระคลังสินค้า

รวบเอาทรัพย์สินของคนที่ต้องพระราชอาญาเข้าเป็นของหลวง

                โบราณถือว่า เงินพระคลังมหาสมบัติเป็นพระราชทรัพย์ของพระเจ้าแผ่นดินแล้วแต่จะใช้จ่ายในการพระองค์หรือในการแผ่นดินได้ตามพระราชอัธยาศัย มิได้แบ่งว่าเป็นเงินในพระองค์หรือเงินแผ่นดิน พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจในการสั่งเบิกจ่ายเพื่อใช้สอยในกิจการต่างๆ ทั้งปวงได้โดยลำพังพระองค์เอง การแบ่งสรรรายได้แผ่นดินเพื่อนำไปใช้จ่ายในส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการแผ่นดินหรือส่วนพระองค์ เป็นพระบรมราชวินิจฉัยของพระมหากษัตริย์เป็นสำคัญ เพราะสมบัติแผ่นดินในเวลานั้นคือ “ราชสมบัติ” ซึ่งหมายถึง พระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นเจ้าของพระราชทรัพย์ทั้งปวงในแผ่นดิน
               เมื่อสมบัติทั้งปวงใน “พระคลังหลวง” เป็นพระราชทรัพย์ของพระมหากษัตริย์เช่นนี้ จึงเป็นภาระหน้าที่อันสำคัญของพระองค์ในการจัดหาทรัพย์สมบัติเข้าสู่คลังหลวง การใช้จ่ายออกไปเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขราษฎร เพื่อการพัฒนาบ้านเมืองและศาสนา ตลอดถึงการจัดสรรพระราชทรัพย์ส่วนหนึ่งเก็บรักษาไว้เป็น “ทุนสำรอง” ของแผ่นดินเพื่อเป็นหลักประกันบ้านเมืองในยามฉุกเฉิน เป็นการเก็บรักษาเพื่อความไม่ประมาทในสถานการณ์บ้านเมืองซึ่งมักไม่แน่นอน เช่น ภัยจากการศึกสงคราม โรคภัยไข้เจ็บระบาด ความไม่แน่นอนของฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารเสียหาย เป็นต้น จึงมีความจำเป็นต้องเก็บรักษาทุนสำรองไว้อย่างมั่นคงมากบ้างน้อยบ้างหรือบางครั้งก็หมดสิ้นไปตามความรุนแรงของสถานการณ์จำต้องสละทุนสำรองในคลังหลวงออกแก้ไขเหตุการณ์นั้นๆ เป็นพักเป็นตอนไป และเมื่อทุนสำรองลดน้อยลงไปทำให้เกิดความเสี่ยง พระองค์ก็ทรงเริ่มต้นเก็บหอมรอมริบสะสมขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง

ข้อดีของการมีพระคลังสินค้า

              ด้วยความสำคัญต่อความมั่นคงของบ้านเมืองเช่นนี้เองทำให้พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ในอดีตทรงจำเป็นต้องเก็บรักษาเป็น “ทุนสำรอง” ไว้อย่างมั่นคงและสืบทอดต่อเนื่องกันมารุ่นแล้วรุ่นเล่าทุกยุคสมัยตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี กระทั่งถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระมหากษัตริย์ทรงเก็บรักษาพระราชทรัพย์ตามหลักการและเจตนารมณ์เช่นนี้ตลอดมา

ข้อดีของการมีพระคลังสินค้าคืออะไร

3. ระบบการค้าโดยพระคลังสินค้าทำให้รัฐบาล สามารถเข้าควบคุมกิจการค้ากับต่างประเทศได้อย่าง ใกล้ชิด เป็นการป้องกันไม่ให้พ่อค้าชาติใดชาติหนึ่งเพิ่ม พูนอำนาจมากเกินไป ซึ่งจะเป็นการอันตรายต่อเสถียร ในการทำวิจัยครั้งนี้มุ่งวิจัยในเชิงประวัติศาสตร์

พระคลังสินค้ามีบทบาทสำคัญอย่างไร

น. กรมใหญ่กรมหนึ่งในจตุสดมภ์ มีเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการคลัง การต่างประเทศ และการค้ากับต่างประเทศ รวมทั้งบังคับบัญชาศาลในสังกัดซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีความเกี่ยวข้องด้วยพระราชทรัพย์หลวง และคดีความต่างประเทศ, พระคลัง หรือ พระคลังกรมท่า ก็เรียก กรมพระคลัง

พระคลังสินค้ามีความสำคัญอย่างไรต่อระบบเศรษฐกิจของกรุงศรีอยุธยา

พระคลังสินค้าในสมัยอยุธยาเป็นที่เก็บส่วยสาอากรและมีบทบาทผูกขาดทางการค้ามาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ขุนวิจิตรมาตรา(สง่า กาญจนาคพันธ์)เรียกการค้าแบบผูกขาดของราชสำนักผ่านระบบพระคลังสินค้าว่า “การค้าของพระเจ้าแผ่นดิน” เพราะเป็นการค้าโดยรัฐ ผลกำไรแต่ละครั้งก็สร้างความมั่งคั่งให้แก่พระมหากษัตริย์เป็นอันมาก ด้วย ...

พระคลังสินค้าส่งผลดีต่ออาณาจักรอย่างไร

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ พระคลังสินค้านอกจาก จะทำการค้าผูกขาดของหลวงและแต่งเรือไปค้าขายต่างประเทศแล้ว ยังเป็นเจ้าจำนวนภาษี หลวงมีผลประโยชน์มากขึ้น ทำหน้าที่ควบคุมรายได้ด้านภาษีอากรต่าง ๆ ของประเทศ