ความก้าวหน้าของศาสตร์ต่างๆ โทรทัศน์

         ෤�������Ф�Ե��ʵ���ҧ��ѡ�С����ѭ������͹�ѹ ��Ъ���ʹѺʹع��觡ѹ��Сѹ ��෤��������仪��·��������ѭ�ҷҧ��Ե��ʵ������������Ӣ�� �� ������ҧ����ͧ�Դ�Ţ���ͪ��¤ӹdz����Ţ ������ǡѹ������ҧ����ͧ�Դ�Ţ ����繵�ͧ������������ǡѺ ��ô��Թ��÷ҧ��Ե��ʵ���鹰ҹ ��� ��úǡ ���ź ��äٳ ������ ���͡Ẻ����� �������ö�ӹdz������ͧ��� ��С�˹���Ҵ �ٻ��ҧ��鹷������ҹ�ͧ����ͧ�Դ�Ţ �ա��駡����ѭ�� ����ʹͧ������ͧ��÷ҧ෤����� �ѧ���繵�ͧ����¤����������ǡѺ��ô��Թ��÷ҧ��Ե��ʵ�� ������������ʹ�ȷ��١��ͧ�����

Show
โทรทัศน์ ได้กลายเป็น สื่อสำคัญในการเข้าถึงในทุกครัวเรือนสร้างอิทธิพลในการโน้มน้าวและเปลี่ยน แปลงความคิดความอ่านของผู้คนมาอย่างยาวนาน แต่กว่าจะเป็นโทรทัศน์ที่มีติดบ้านกันแทบทุกจะหลังคาเรือนอย่างเช่นทุก วันนี้ โทรทัศน์ก็มีวิวัฒนาการมาอย่างยาวนาน การผลิตโทรทัศน์ออกมาสักเครื่องจำต้องอาศัยองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ใน หลายๆแขนง ไม่ว่าจะต้องอาศัยองค์ความรู้จาก         

  -  การค้นพบธาตุซิลีเนียมของ จาคอบ เบอร์เซเบียส (Jacob Berzebius) ในปี พ.ศ. 2360 ซิลีเนียมเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ใช้ในการผลิตโฟโตอิเล็กทริกซ์ ซึ่งมีคุณสมบัติในการเปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้า         

  -  หลอดรังสีแคโทด เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งของการพัฒนาโทรทัศน์ วิลเลียม ครุก (William Crook) ได้คิดค้นขึ้นเป็นผลสำเร็จ เขาเรียกมันว่า  หลอดไฟฟ้าครุก ซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนาและปรับปรุง จนกลายมาเป็นอุปกรณ์สำคัญในการสร้างเครื่องรับโทรทัศน์ในยุคปัจจุบัน          

 -   ในปี พ.ศ.2407 เจมส์ แมกเวลล์ (James Clerk Maxvell) ค้นพบรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ถือเป็นจุดสำคัญอีกประการหนึ่งของการเกิดสื่ออย่างโทรทัศน์ เพราะเทคโนโลยีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าถูกนำมาใช้เป็นพาห์ในการรับส่งภาพและ เสียงของโทรทัศน์นั้นเอง          

 -  รูดอล์ฟ เฮิร์ทซ์ (Rudolph Henrich Hertz) เป็นผู้ซึ่งสามารถประดิษฐ์เครื่องมือที่สามารถ ใช้รับส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  คลื่นที่ถูกส่งออกไปถูกเรียกว่าคลื่นเฮิร์ต อันถือว่าเป็นการให้เกียรติแก่นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันผู้นี้ในฐานะผู้ค้น พบ

           แต่สำหรับจุดเริ่มต้นอันเป็นก้าวย่างสำคัญของการเกิดโทรทัศน์คือการค้นพบของพอล นิพโกว์ (Paul Nipkow) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ซึ่งสามารถรวมเอาองค์ความรู้ในแขนงต่างๆมาสร้าง ให้เกิดภาพบนจอรับได้ วิธีการของ ปอล นิพโกว์ ใช้หลักการสแกนภาพที่ใช้ระบบจานหมุนซึ่งเขาเรียกมันว่าจาน นิพโกวดิสก์ 


                                                           

  วิดีโอแนะนำโทรทัศน์🎬







ทีวี สามมิติเป็นนวัตกรรมในวงการทีวี หากใครเคยรับชมภาพยนต์สามมิติที่เคยเข้าฉายในบ้านเรามาบ้าง ย่อมซึมซาบและสัมผัสได้กับความตื่นเต้นเร้าใจ แปลกใหม่ที่ได้รับจากภาพยนต์สามมิติ ภาพสัตว์ป่าดุร้ายที่หมายโจนขย้ำเหยื่อ ดูคล้ายกับว่ามันกำลังเผ่นโผนออกมาในจอ กรงเล็บที่กางออกสุดเหยียดพร้อมจะตะปบเหยื่อ ย่อมสร้างความเสียวซ่านไปถึงปลายผมของผู้รับชมได้เป็นอย่างดี 
           ข้อดีของ ทีวีสามมิติแบบใหม่ไม่จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์เสริมอย่างอื่นเลย   ทีวีสามมิติสามารถสื่อความตื่นเต้นออกมาโดยไม่ต้องอาศัยแว่นตาสามมิติแบบ เก่าๆที่เราเคยคุ้นชิน ความตื่นเต้นสสมจริงสามารถสัมผัสได้ด้วยตาเปล่า  ผู้ผลิตหลายค่ายต่างเร่งทุ่มสรรพกำลังในการศึกษาค้นคว้าเพื่อจะผลิตทีวีสาม มิติออกมาโดยอาศัยเทคโนโลยีและความรู้ความเชียวชาญที่แตกต่างกันไปแต่ล้วนมี เป้าหมายเดียวกันนั้นคือการเนรมิตภาพสมจริงแบบสามมิติผ่านหน้าจอทีวี เช่น           
- ฟิลลิป ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่มีกระแสข่าวออกมานานแล้วว่ากำลังจะมีการส่ง ทีวีประสิทธิภาพสูงหรือเอชดีทีวี (high-definition) ซึ่งสามารถแสดงภาพแบบสามมิติออกมาวางตลาด ฟิลลิปใช้วิธีการยิงลำแสงออกจากพิกเซลทั้งหมดของจอภาพ ทำให้เกิดเป็นภาพที่ทับซ้อนกันถึง 8 ภาพเมื่อตาของเรารับภาพที่แตกต่างกันจำนวนมากเช่นนี้ จึงทำให้มองให้เห็นมิติของความลึกเพิ่มมาในรูปแบบของภาพสามมิติ           
 บริษัทซีเรียลของลักเซมเบิร์ก ใช้ เทคโนโลยีที่แตกต่างไปจากฟิลลิปโดยใช้การผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยี "ซับ-โฮโลแกรม"และ "วิววิ่ง วินโดว์ส " ทำให้เกิดเป็นภาพสามมิติขึ้นมา           
 โซนีก็ เป็นผู้ผลิตอีกหลายที่มุ่งมั่นและประกาศออกมาว่าจะมีทีวีสามมิติออกมาให้ บริการภายในแบรนด้ของตนภายในเวลาอีกไม่นาน โดยจะผลึกกับเทคโนโลยีในการสร้างทีวีที่ตนมีความถนัดอยู่ก่อนแล้ว จึงมีการคาดหมายกันว่าในเวลาไม่ช้าไม่นานนี้น่าจะมีทีวีสามมิติจากโซนี่ออก มาแน่นอน         
  ดูเหมือนว่าทุกค่ายผู้ผลิตกำลังเร่งไปในทิศทางเดียวกันคือการ เร่งผลิตทีวีสามมิตออกมาเพราะคาดการณ์กันว่ายังไงเทคโนโลยีชนิดก็ต้องย่อม เกิดขึ้นในเวลาไม่ช้าไม่นาน การเป็นผู้ผลิตรายแรกย่อมได้รับส่วนแบ่งทางการตลาดที่คุ้มค่า ทั้งยังกลายเป็นผู้นำของเทคโนโลยีใหม่ สื่อโทรทัศน์กำลังลดความสำคัญลงเป็นลำดับเพราะการเข้ามาแทนทีของสื่อสมัย ใหม่ และทางเลือกของผู้บริโภคที่มีมากขึ้น

 -การโดนแย่งความสนใจ ของสื่อโทรทัศน์จากกิจกรรมอย่างอื่นที่มีอยู่หลาก หลายนับวันจะผลักให้สื่อโทรทัศน์กลายเป็นสื่อชั้นรองลงทุกขณะแต่การพัฒนา เพื่อก้าวสู่โลกของยุคสามมิติย่อมสร้างความสดและแปลกใหม่ให้ผู้คนหันมาสนใจ ได้เป็นอย่างดี



ประวัติการเป็นมาของโทรทัศน์







บางคนนั้นอาจจะเกิดมาในช่วงยุคที่ระบบเทคโนโลยีที่เจริญแล้วบางคนก็เกิดมาในช่วงที่ระบบเทคโนโลยียังไม่เจริญเลยอาจพูดได้เลยว่าคนเกิดมาใจช่วงที่ยุคเทคโนโลยียังไม่ทันสมัยนั้นถือได้ว่าอาจจะตามไม่ทันโลกเลยก็ว่าได้ดังนั้น ที่เราจะเอามาพูดถึงกันในวันนี้นั้นก็คือ ระบบเทคโนโลยีที่เรียกว่า TV หรือ โทรทัศน์

 บางคนอาจจะงงว่าทำไมมันถึงมีชื่อเรียกได้อย่างนั้นถึง 2 ชื่อก็เพราะว่าเมื่อก่อนนั้น โทรทัศน์ ของเรานั้นจะมีดูกันหรือสามารถชมได้ก็ต่อเมื่อบ้านคนที่รวยๆ เท่านั้นหรือคนที่พอจะมีแรงทุนซื้อมาดูอยู่ที่บ้านด้วยตัวเองก็ได้แต่ โทรทัศน์ นั้นคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีดูนั้นก็จะไปรับชมดูกันที่ร้านอาแปะนั้นก็คือร้านกาแฟนั้นเองไม่ว่าจะร้านไหนๆ ก็ต้องมีกันทั้งนั้นเหมือนเป็นจุดสนใจเพื่อดึงดูดลูกค้ามาที่ร้านแต่ความคอมชัดของภาพในสมัยนั้นก็ยังไม่ได้เป็นสีเหมือนในสมัยนี้ซึ่งเนื่องด้วยระบบเทคโนโลยียังไม่มีการเจริญช่างที่มีความรู้ความเข้าใจในด้านนี้ก็ยังไม่เชียวชาญภาพในตอนนั้นเองยังเป็นสีขาวดำอยู่เลยแต่ในสมัยนี้ปัจจุบันนั้นได้มีการพัฒนาขึ้นมาให้มีสีสันสวยสดงดงามแต่ก็ยังได้แค่ขึ้นชื่อว่า โทรทัศน์ทีวีสีหลังจากนั้นมาประมาณหลายสิบปีก็ได้มีการเปลี่ยนแปรงครั้งยิ่งใหญ่นั่นก็คือเปลี่ยนจาก โทรทัศน์ มาเป็น TV ดิจิตอลเพราว่ามันได้เพิ่มช่องในการรับชมจาก 3 5 7 9 มาเป็นช่องที่เรียกว่า ดิจิตอลTVจากเดิมที่ดูได้น้อยๆ ก็เปลี่ยนมาเป็นดูได้ตั่งแต่ช่อง 1-300 เพราะว่าแบ่งโหมดหมู่อย่างชัดเจนไม่ว่าจะเป็นกีฬาหรือข่าวและข่าวสารต่างประเทศอื่นๆ อีกมากมาย

 ระบบ Digital ดีกว่า ระบบ Analog อย่างไร


      
             ส่วนของเทคนิคการผลิตรายการ
              * ทำให้การผิดเพี้ยนระหว่างการถ่ายโอน (Transfer) การตัดต่อ (Edit) สัญญาณภาพเสียง แทบไม่มีในทุกกระบวนการ (Process)
              * ลดพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล ภาพ-เสียง
              * ใช้เวลาในการถ่ายโอน ( Transfer) การตัดต่อ (Edit) น้อยลง
              * สามารถใช้เทคนิคพิเศษทั้งภาพทั้งเสียงในทุกกระบวนการการผลิตรายการ
               ส่วนของเทคนิคการรับส่งสัญญาณ
               * ทำให้ความผิดเพี้ยนในการรับส่งสัญญาณเกิดขึ้นน้อย หรืออยู่ในระดับที่ยอมรับได้
                * ใช้กำลังส่ง (Tx.Power) น้อยลง
                * ในการรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ ผ่านดาวเทียม สามารถเพิ่มจำนวนของช่องสัญญาณโทรทัศน์ (TV.Channel) ต่อช่องสัญญาณดาวเทียม (Trasponder) ได้มากขึ้น
                 * นอกจากสัญญาณภาพ เสียงแล้ว ยังสามารถส่งสัญญาณข้อมูล (Data) แนบไปได้ด้วยตามต้องการ
            


ส่วนประกอบและการทำงานโทรทัศน์




ความก้าวหน้าของศาสตร์ต่างๆ โทรทัศน์

โทรทัศน์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีวงจรสลับซับซ้อน ดังนั้นส่วนประกอบ ของโทรทัศน์จึงพอสรุปให้เห็นได้ชัดเจนดังนี้ คือ


1. ส่วนประกอบภายนอก คือตัวโครงที่หุ้มห่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จอภาพซึ่ง จะมีการเคลือบสารพิเศษทางด้านใน ปุ่มหรือสวิตซ์ต่างๆ และจุดเสียบสายอากาศ เป็นต้น


2. ส่วนประกอบภายใน คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตัวรับ-เปลี่ยนสัญญาณของ ภาพและเสียงที่มาในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ส่วนประกอบของจอภาพและระบบเสียง รวมทั้งลำโพง เป็นต้น การทำงานของโทรทัศน์นั้นจะเริ่มต้นจากเมื่อคลื่นของภาพและเสียงที่ออกมาจาก แหล่งกำเนิด เช่นสถานีโทรทัศน์ มาสู่เสาอากาศที่เป็นตัวรับสัญญาณคลื่น สัญญาณคลื่นจะ ส่งมาตามสายเข้าสู่ตัวรับสัญญาณภายในโทรทัศน์ ตัวรับสัญญาณคลื่นจะแยกคลื่นภาพกับ คลื่นเสียงออกจากกัน สัญญาณคลื่นภาพจะถูกส่งไปยังหลอดภาพ เพื่อเปลี่ยนสัญญาณคลื่น เป็นสัญญาณไฟฟ้า การเปลี่ยนสัญญาณคลื่นเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ขั้วของหลอดภาพจะก่อให้เกิดลำ อิเล็กตรอนวิ่งจากขั้วหนึ่งไปยังอีกขั้วหนึ่ง คือ จอภาพที่ด้านในเคลือบสารชนิดหนึ่ง เมื่อลำอิเล็กทรอนิกส์วิ่งไปกระทบจอภาพก็ทำให้เกิดเป็นภาพโดยการถ่ายเทพลังงานในลักษณะนิ่ง เรียกว่าการวาดภาพ โดยกวาดเป็นเส้นทางตามแนวนอนจำนวน 525 เส้น หรือแบบ 625 เส้น ก่อให้เกิดรูปภาพออกมาทางด้านหน้าของจอภาพตามที่เราเห็นอันเนื่องจากการเรืองของ สารเคลือบนั้น