วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง สรุป

(1) ถ้าคนรับคำสั่งร้องขอ ให้ทำเป็นหนังสือภายใน 7 วัน นับแต่มีคำสั่ง คนออกคำสั่งออกหนังสือยืนยันคำสั่งให้

  • อื่น ๆ

(1) ระบุเหตุผล

  1. ข้อเท็จจริง
  2. ข้อกฎหมาย
  3. ข้อพิจารณาสนับสนุนดุลยพินิจ

เว้น

  • ตรงกับที่ขอมา, ไม่กระทบคนอื่น
  • รู้กันดีอยู่แล้ว
  • ลับ
  • เร่งด่วน (ให้เหตุผลภายหลังได้)

(2) เนื้อหาระบุสิ่งใด

  1. เริ่มต้น, สิ้นสุด จากเวลา
  2. เริ่มต้น, สิ้นสุด จากเหตุการณ์
  3. สงวนสิทธิ์ยกเลิก
  4. หน้าที่ของผู้รับประโยชน์
    1. ทำ, งดเว้น
    2. ภาระหน้าที่
    3. ความรับผิดชอบ
    4. จัดให้มีข้อกำหนด
  5. สิทธิอุทธรณ์โต้แย้ง, ระยะเวลาโต้แย้ง (ถ้าไม่ระบุ ให้นับเวลานับแต่วันแจ้งใหม่ หรือ 1 ปี นับแต่วันที่รับทราบคำสั่ง ถ้าไม่ได้แจ้งใหม่แล้วระยะเวลาเดิมสั้นกว่า 1 ปี ก็ให้ภายใน 1 ปี)

ถ้า (1) + (2) = สมบูรณ์

กรณีต่อไปนี้ถือว่าสมบูรณ์

  1. ออกโดยไม่มีคนยื่นคำขอ => ยื่นคำขอภายหลัง
  2. ออกโดยไม่แจ้งเหตุผล => แจ้งเหตุผลภายหลัง
  3. ออกโดยไม่ได้รับฟังเหตุผล => รับฟังภายหลัง
  4. ออกโดยเจ้าหน้าที่อื่นไม่เห็นชอบ => เห็นชอบภายหลัง

มีผล ใช้ยัน => ตั้งแต่มีผู้รับแจ้งจนกว่าจะเพิกถอน/สิ้นผลโดยเงื่อนเวลา (แก้ไขได้หากผิดเล็กน้อย)

การพิจารณา

เอกสาร ต้องเป็นภาษาไทย (ถ้าทำเเป็นภาษาอังกฤษต้องแปลงเป็นภาษาไทย นับวันที่ยื่นฉบับภาษาไทย)

***ถ้าเป็นภาษาอังกฤษ แต่ จนท. ยินยอมรับไว้ก็ถือว่าใช้ได้

จนท. แจ้งสิทธิคู่กรณี

  1. ข้อเท็จจริง, โอกาสโต้แย้ง
  2. ขอดูเอกสาร (ห้ามดูร่างลับ)
  3. นำทนายเข้ามา

เจ้าหน้าที่

  • ตรวจสอบได้ตามความเหมาะสม
  • พิจารณาพยานหลักฐาน (เพิ่มเติม) ได้
    • แสวงหา
    • รับฟัง
    • ขอข้อเท็จจริง
    • เรียกเอกสาร
    • ตรวจสถานที่

ข้อยกเว้นในการไม่แจ้งข้อเท็จจริง

  1. จำเป็น เร่งด่วน ช้าไปจะเสียหาย
  2. ระยะเวลาตามกฎหมายล่าช้าออกไป
  3. ข้อเท็จจริงของคู่กรณีให้ไว้เอง
  4. เห็นได้ชัดว่าทำไม่ได้
  5. มาตรการบังคับทางปกครอง
  6. อื่น ๆ ตามกฎกระทรวง

การอุทธรณ์

  • อุทธรณ์ได้ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้ง/ตามกฎหมายนั้น ๆ
  • ต้องทำเป็นหนังสือ
    • ข้อโต้แย้ง
    • ข้อเท็จจริง
    • ข้อกฎหมาย
  • การอุทธรณ์ไม่มีผลทุเลาคำสั่ง
  • เจ้าหน้าที่ต้องพิจารณาโดยเร็ว (ไม่เกิน 30 วัน)
  • ถ้า เห็นด้วย => แก้ไข, เพิกถอน
  • ถ้า ไม่เห็นด้วย => ส่งต่อผู้มีอำนาจพิจารณา
  • ผู้มีอำนาจพิจารณา (ผู้บังคับบัญชา)
    • พิจารณาภายใน 30 วัน
    • หากไม่ทันให้ทำหนังสือแจ้งคู่กรณี ขยายได้อีกไม่เกิน 30 วัน

การเพิกถอน

จนท.ผู้ออกคำสั่ง, ผู้บังคับบัญชา + แม้พ้นระยะเวลาอุทธรณ์ก็เพิกถอนได้

ไม่ชอบด้วยกฎหมาย = เพิกถอนทั้งหมด, บางส่วน, ย้อนหลังได้, อนาคตได้

ให้ประโยชน์ (กับคู่กรณี) = ให้คำนึงถึงความเชื่อโดยสุจริตของผู้รับกับประโยชน์ (เพิกถอนแล้วอาจทำให้คู่กรณีที่ได้รับประโยชน์ต้องคืนประโยชน์นั้นทั้งหมดหรือบางส่วน)

ไม่ให้ประโยชน์ = คู่กรณีมีสิทธิเรียกค่าทดแทน ภายใน 180 วัน

สุจริต

  1. ไม่ปกปิด
  2. ให้ข้อความครบถ้วน
  3. ไม่รู้ถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมาย, ไม่ประมาทอย่างร้ายแรง

ชอบด้วยกฎหมาย = เพิกถอนทั้งหมด, บางส่วน, อนาคตได้ ***ย้อนหลังไม่ได้

ให้ประโยชน์ (ทั่วไป) = เพิกถอนได้ต้องมีเหตุ (1) ก.ม. ข้อสงวนสิทธิ (2) ผู้รับประโยชน์ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข (3) ข้อเท็จจริงเปลี่ยน (4) กฎหมายเปลี่ยน (5) สาธารณะเสียหาย

ให้เงิน, ทรัพย์สิน เพิกถอนได้ต่อเมื่อ คู่กรณีไม่ปฏิบัติ, ล่าช้า (วัตถุประสงค์+เงื่อนไข)

ระยะเวลาและอายุความ

วันแรก

กำหนด ว/ด/ป ให้นับวันถัดไปเป็นวันที่ 1

วันสุดท้าย

#กรณีเจ้าหน้าที่ นับวันหยุดด้วย

#กรณีบุคคลทั่วไป นับวันทำการแรกเป็นวันสุดท้าย

การแจ้ง

1-15 คน

วันถึง

  1. วันที่มีคนรับ
  2. หากไม่มีคนรับให้ถือวันที่คำสั่งฯ ไปถึงภูมิลำเนาหรือปิดไว้ที่ภูมิลำเนา
  3. หากส่ง ปณ. ตอบรับ

– ในประเทศ ครบ 7 วันที่ส่ง

– ต่างประเทศ ครบ 15 วันที่ส่ง

ส่งทีละหลายคน

พ้น 15 วัน นับแต่

  • 16-100 คน ปิดประกาศ ณ ที่ทำการของเจ้าหน้าที่, ที่ว่าการอำเภอของผู้รับ
  • 100+ คน หรือไม่รู้ตัวผู้รับ ประกาศในหนังสือพิมพ์

การขอพิจารณาใหม่

  • คดีเสร็จสิ้นไปแล้ว
  • ระยะเวลาในการอุทธรณ์ผ่านพ้นไปแล้ว หรือพิจารณาอุทธรณ์ไปแล้ว

ต้องมีเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังนี้

  1. มีพยานหลักฐานใหม่
  2. คู่กรณีที่แท้จริงมิได้เข้ามาในการพิจารณา
  3. เจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจทำคำสั่งทางปกครอง
  4. ข้อเท็จจริง, กฎหมายเปลี่ยน

ต้องยื่นคำขอภายใน 90 วัน นับแต่วันที่รู้ถึงเหตุนั้น

เหตุที่ 1-3 คู่กรณีต้องไม่รู้อยู่ก่อนแล้ว ต้องเป็นการรู้ภายหลังเท่านั้น

ข้อแตกต่างของการอุทธรณ์กับการขอพิจารณาใหม่คือ

  • การอุทธรณ์ คดียังไม่สิ้นสุด
  • การขอพิจารณา คดีสิ้นสุดไปแล้ว

การบังคับ

เนื้อหาจะอยู่ใน พ.ร.บ. ที่แก้ไขเปลี่ยนแปลง มีการเพิ่มเติมหมวด 2/1 (การบังคับทางปกครอง) เป็นการเพิ่มเนื้อหาใหม่ จุดสำคัญคือการบังคับ