กิจกรรม ส่งเสริมทักษะทางภาษา

- คุณครูเเจกภาพ ให้เด็ก ๆ เเต่ละกลุ่ม (ภาพที่เเจกให้เด็ก ๆ ควรมีรายละเอียดหลากหลาย เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เขียนคำที่หลากหลายมากขึ้น)

- ให้เด็ก ๆ เขียนคำต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกับภาพนั้น มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ภายในเวลาที่กำหนด

- เมื่อหมดเวลา คุณครูให้เด็ก ๆ วางปากกาหรือดินสอ นับคำว่าใครได้คำมากที่สุด

- ให้เด็ก ๆ ออกมานำเสนอคำของตัวเองพร้อมกับภาพหน้าห้อง

- หากเด็ก ๆ เขียนคำผิด คุณครูเเก้คำให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้พร้อม ๆ กันบนกระดานหน้าห้อง

- เมื่อนำเสนอเสร็จ คุณครูเก็บกระดาษของเด็ก ๆ มาตรวจเเละส่งคืนในคาบถัดไป เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ว่าคำที่ถูกต้องควรเขียนอย่างไร

*สำหรับขั้นตอนหลังเด็ก ๆ ทุกคนเขียนคำเสร็จเเล้ว คุณครูสามารถพลิกเเพลงได้ตามสไตล์ของคุณครูได้เลย จะทำเเบบตัวอย่างก็ได้ จะให้เด็ก ๆ นำเสนอกันเองในกลุ่มเเล้วคุณครูเข้าไปช่วยเเก้คำผิดก็ได้ค่ะ

กิจกรรมนี้ช่วยให้..

- เด็ก ๆ ได้มีอิสระทางความคิด ในการเชื่อมโยงคำต่าง ๆ กับภาพที่กำหนด

- ได้ฝึกทักษะการเขียนคำ การสะกดคำ ซึ่งการให้เด็ก ๆ เขียนคำนั้นตามความคิดของตัวเองก่อน จะช่วยให้เด็ก ๆ จำคำที่ถูกต้องได้ดีขึ้น เพราะได้เรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเอง

คำเเต่งเรื่อง

เด็ก ๆ พลิกเเพลงคำที่กลุ่มตัวเองได้รับไปเเต่งเป็นเรื่องราวตามจินตนาการ

เเต่การที่จะเเต่งเรื่องราวนั้นได้ เด็ก ๆ จะต้องอ่านคำเเละรู้ความหมายของคำนั้น ๆ ด้วย !

อุปกรณ์

การ์ดคำ (อาจเป็นคำนาม คำกริยา หรือคำเเบบใดก็ได้)

* เพื่อให้ท้าทายมากยิ่งขึ้น คุณครูอาจเเจกคำอ่านของคำนั้นเเทนการเขียนคำนั้นตรง ๆ เช่น ปา-ติ-หาน เเทนคำว่า ปาฏิหาริย์

* เด็ก ๆ เเต่ละกลุ่มควรได้รับการ์ดคำหลากหลาย เช่น มีพยัญชนะต้นอักษรของทั้ง 3 หมู่ (สูง กลาง ต่ำ) ตัวสะกดทุกเเม่ คำประสม คำควบกล้ำ คำที่มีอักษร คำผันเสียงวรรณยุกต์

วิธีการ

- คุณครูเเบ่งกลุ่มเด็ก ๆ ออกเป็นกลุ่มย่อย กลุ่ม 8-10 คน

- คุณครูเเจกคำที่ต้องการให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ ให้เด็ก ๆ เเต่ละคนในกลุ่ม

- เด็ก ๆ ระดมสมอง เเต่งเรื่องจากคำที่ได้รับจากคุณครูเป็นเรื่องสั้น ๆ โดยเรื่องนั้น ๆ จะต้องมีคำที่คุณครูเเจกให้ครบทุกคำ เเละคำเหล่านั้นต้องอยู่ในบริบทที่ถูกต้องตามหลักภาษาไทยด้วย

* สาเหตุที่เเนะนำให้ทำกิจกรรมนี้เป็นกลุ่ม เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้คำหลากหลายจากเพื่อน ๆ ในกลุ่ม เเละเด็ก ๆ ในกลุ่มกันเองสามารถช่วยกันอ่านเเละบอกความหมายของคำเเต่ละคำที่เพื่อน ๆ คนอื่นอาจไม่รู้ได้ การได้เรียนรู้จากเพื่อน ๆ วัยเดียวกันอาจทำให้เด็ก ๆ เข้าใจมากขึ้นได้)

- เด็ก ๆ ช่วยกันเขียนเรื่องที่เเต่งลงบนกระดาษ (พร้อมคำที่ถูกต้อง ในกรณีที่คุณครูเเจกคำอ่าน)

- เด็ก ๆ นำเสนอเรื่องที่เเต่งหน้าห้อง โดยคุณครูช่วยเเก้คำที่เขียนผิดหน้าห้อง เพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้ไปด้วยกัน

กิจกรรมนี้ช่วยให้...

- เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ความหมายของคำศัพท์เพื่อให้สามารถนำมาเเต่งเรื่องตามจินตนาการได้อย่างสมเหตุสมผล

- เรียนรู้การเขียนคำเเละการสะกดที่ถูกต้อง

- เรียนรู้การทำงานเป็นทีม ผ่านการเเบ่งปันความรู้ด้านคำศัพท์กันในกลุ่มเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของภารกิจ

- ทำให้เด็ก ๆ ได้มีความภาคภูมิใจจากผลงานของตัวเองเเละมีกำลังใจที่จะพัฒนาต่อ

อ่านออก ต่อได้

อ่านประโยคที่อธิบายภาพออก ก็ต่อภาพให้เป็นเรื่องราวที่ถูกต้องได้ !

อุปกรณ์

- การ์ดประโยค (ที่อธิบายการ์ดภาพ) 2 เซ็ท เซ็ทละ 8-10 การ์ด

ตัวอย่าง การ์ดประโยค

มานีกินส้มตำอยู่หน้าบ้าน

เจ้าของร้านถามมานีว่ารับน้ำดื่มด้วยไหม

- การ์ดภาพ (ที่ match กับประโยค) 2 เซ็ท เซ็ทละ 8-10 การ์ด

วิธีการ

- คุณครูเเบ่งเด็ก ๆ ออกเป็นเป็นสองทีม ในเเต่ละทีมจะมีทีมย่อยอีกสองทีม คือ 1) ทีมอ่าน 2) ทีมต่อภาพ

- คุณครูแจกการ์ดประโยคให้ทีมอ่าน เเละเเจกการ์ดภาพให้ทีมต่อภาพ

- ทีมอ่านมีหน้าที่อ่านออกเสียงประโยคในการ์ดอย่างชัดถ้อยชัดคำให้ทีมต่อภาพได้ยิน

- ทีมต่อภาพเมื่อได้ยินประโยคจากเพื่อน รีบนำการ์ดภาพมาเรียงต่อกันให้เป็นเรื่องราว ให้เร็วที่สุด

- ทีมใดต่อภาพได้ถูกต้อง เเละเสร็จก่อนอีกทีม คือทีมที่ชนะ !

กิจกรรมนี้ช่วยให้...

- เด็ก ๆ ได้ฝึกทักษะการอ่านประโยค เเละออกเสียงคำต่าง ๆ อย่างชัดถ้อยชัด เพื่อให้เพื่อนสามารถต่อภาพ เเละชนะอีกทีมหนึ่งได้ หากเพื่อนคนใดอ่านไม่ได้ เพื่อน ๆ ที่เหลือในทีมได้ช่วยเหลือเเละพยายามนำความรู้ที่เรียนมาอ่านคำนั้น ๆ ให้ออก เด็ก ๆ ก็จะได้เรียนรู้จากเพื่อน ๆ อีกด้วย

- เด็ก ๆ ได้ฝึกการฟัง เเละจับใจความ

สีสร้างคำ

กำหนดสีเเต่ละสีให้กับองค์ประกอบเเต่ละอย่างของคำ เพื่อให้เด็ก ๆ เรียงลำดับขั้นตอนในการอ่านได้ง่ายขึ้น

โรงเรียนที่โด่งดังในการนำร่องนวัตกรรมนี้คือ โรงเรียนหนองเเก จังหวัดสระเเก้ว ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก

ผลจากการที่เด็ก ๆ ในโรงเรียนสามารถอ่านออกเขียนได้นั้น

ทำให้คะเนนสอบของโรงเรียนหนองเเก สูงเป็นอันดับ 1 ของเขตพื้นที่การศึกษา !

นวัตกรรมของเขาเป็นอย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ

วิธีการ

- คุณครูกำหนดสีให้กับองค์ประกอบต่าง ๆ ของคำ

เช่น

สีดำ = พยัญชนะต้น

สีเเดง = สระ

สีน้ำเงิน = ตัวสะกด

- เพราะสีเป็นตัวกำหนดลำดับความสำคัญในการอ่าน คุณครูให้เด็ก ๆ ฝึกอ่านออกเสียงคำ โดยเริ่มอ่านจากสีดำ (พยัญชนะ) ก่อน ตามด้วยสีเเดง (สระ) เเละสีน้ำเงิน (ตัวสะกด)

ตัวอย่าง

เเว่น

เเ (สีเเดง)

ว (ดำ)

ไม้เอก (เขียว)

น (น้ำเงิน)

เมื่อเด็ก ๆ เรียนรู้เเละเข้าใจลำดับการอ่านตามสีได้ จะช่วยให้องค์ประกอบของคำเเละการวางรูปคำ เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น

อ้างอิง

https://bit.ly/2u7hujA

20 นาทีก่อนเริ่มเรียน

การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมอย่างเดียวยังไม่พอที่จะทำให้เด็ก ๆ มีทักษะคล่องเเคล่วด้านการอ่านออกเขียนได้

การฝึกฝนเเละทำซ้ำทุก ๆ วัน คือหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้เด็ก ๆ มีความเเข็งเเกร่งในทักษะนี้

โดยธรรมชาติ สมองของเรามีสมาธิเเละตั้งใจรับข้อมูลได้สูงสุดประมาณ 20 นาทีเเรกของการเรียนรู้

ดังนั้นการฝึกฝนทักษะที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยต่อยอดการเรียนรู้วิชาอื่น ๆ ได้ ควรเกิดขึ้นใน 20 นาทีเเรกก่อนเริ่มเรียน

วิธีการ

- คุณครูเเบ่งตารางการฝึกทักษะการอ่านออกเขียนได้ทุก ๆ วัน โดยในเเต่ละวันให้เด็ก ๆ ได้ฝึกทักษะย่อย ๆ ของการอ่านออกเขียนได้

- เเต่ละทักษะจะต้องเริ่มจากง่ายไปยาก เพื่อให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ตัวอย่างทักษะย่อย

= ฝึกอ่าน โดยใช้หนังสือนิทานที่มีเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจ น่าติดตาม เพื่อปลูกฝังให้เด็กมีนิสัยรักการอ่าน

= ฝึกอ่านควบคู่กับการเขียน

= ฝึกคัดลายมือ เพราะนอกจากทำให้ลายมือของเด็ก ๆ มีความสวยงาม เเละยังเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้เด็ก ๆ จำตัวอักษรเเละรูปคำต่าง ๆ ได้อีกด้วย