ขั้น ตอน การแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ 5 ขั้น ตอน

ขั้น ตอน การแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ 5 ขั้น ตอน

          คอมพิวเตอร์มีบทบาทในการปฏิวัติการทำงานในทุกภาคส่วนของสังคม การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์มีผลให้ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น ลดภาระงานที่ทำซ้ำ ๆ รวมถึงเพิ่มความแม่นยำของผลลัพธ์ที่ได้ ขั้นตอนวิธีที่จะสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ตรงตามความต้องการ ต้องผ่านการคิดวิเคราะห์และการออกแบบที่สมบูรณ์ครบถ้วน

การแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์

          ปัญหาที่สามารถแก้ไขด้วยคอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องเป็นปัญหาทางคณิตศาสตร์เสมอไป ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวันก็ได้ อย่างไรก็ตาม โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต้องระบุขั้นตอนการทำงาน รวมถึงเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ชัดเจน ดังนั้นก่อนจะแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ จึงควรทำความเข้าใจกับปัญหาและความต้องการให้ชัดเจน แล้วจึงพัฒนาขั้นตอนวิธีที่สามารถใช้งานได้

ข้อมูล

          ข้อมูล หมายถึง ข่าวสาร เอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือเหตุการณ์ที่มีอยู่ในรูปของตัวเลข ภาษา ภาพ สัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีความหมายเฉพาะตัว ซึ่งยังไม่มีการประมวลไม่เกี่ยวกับการนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ไพโรจน์ คชชา, 2542)

เงื่อนไขที่ชัดเจน

          เงื่อนไข หมายถึง ข้อแม้, ข้อจำกัด หรือข้อตกลง เงื่อนไขที่ชัดเจน คือการระบุสิ่งต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามที่ต้องการ

ตัวอย่างการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์

          สถานการณ์

          “ขณะนี้เป็นเวลาบ่ายแล้ว นักเรียนเริ่มหิวขนมหวาน จึงสั่งให้คอมพิวเตอร์ เลือกขนมหวานที่เหมาะสมให้หน่อย” จากตัวอย่างดังกล่าว นักเรียนจะเห็นว่าการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ ไม่จำเป็นต้องแก้ไขเฉพาะปัญหาทางคณิตศาสตร์เพียงอย่างเดียว ซึ่งการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีข้อมูลและเงื่อนไขในการตัดสินใจที่ชัดเจน

          การแก้ปัญหา

          1. สร้างตารางกำหนดเงื่อนไขการเลือกขนมหวาน

ตาราง เงื่อนไขการเลือกอาหาร

เงื่อนไข คำอธิบาย
เลือกประเภทเป็น “ขนมหวาน” จากนั้นเลือกมาหนึ่งอย่าง เงื่อนไขที่ใช้ในการตรวจสอบ ประเภทอาหารถูกต้องได้อาหารหนึ่งอย่าง
เลือกประเภทเป็น “ขนมหวาน” ราคาไม่เกิน 30 บาท และเป็นที่นิยม เงื่อนไขที่ใช้ในการตรวจสอบ ประเภทอาหารถูกต้องราคาไม่เกิน 30 บาทความนิยมสูงสุด
เลือกประเภทเป็น “ขนมหวาน” และมีคะแนนสูงสุดที่คำนวณจาก (0.6 x คะแนนคุณภาพ) + (0.4 x คะแนนความนิยม) เงื่อนไขที่ใช้ในการตรวจสอบ ประเภทอาหารถูกต้องคะแนนจากการคำนวณคุณภาพและความนิยมสูงสุด

          2. แยกส่วนประกอบและย่อยปัญหา นอกจากข้อมูลและเงื่อนไขที่ชัดเจนแล้ว การจะพัฒนาโปรแกรมจำเป็นต้องมีขั้นตอนในการแก้ปัญหาที่ชัดเจนด้วย

ตาราง ข้อมูลรายการอาหาร

รายการอาหาร ประเภท คุณภาพ ความนิยม ราคา
ข้าวผัดกระเพรา อาหารหลัก 8 10 30
ข้าวไข่เจียว อาหารหลัก 6 8 25
ข้าวผัดไข่ อาหารหลัก 7 6 30
ไอศกรีม ขนมหวาน 9 10 25
ขนมปังสังขยา ขนมหวาน 10 7 20
พุดดิ้ง ขนมหวาน 8 7 40

          3. หารูปแบบ ถ้านักเรียนต้องการค้นหารายการขนมหวาน โดยเลือกที่มีคะแนนที่คำนวณจาก (0.6 x คะแนนคุณภาพ) + (0.4 x คะแนนความนิยม) สูงที่สุด สามารถแบ่งขั้นตอนการทำงานได้ดังนี้ 1) เลือกรายการอาหารทั้งหมดที่เป็นขนมหวาน, 2) จากรายการขนมหวาน คำนวณคะแนนของอาหารแต่ละชนิดตามเงื่อนไข, 3) จากรายการขนมหวานที่ได้คำนวณคะแนนของอาหารแล้ว เลือกอาหารที่มีคะแนนสูงสุด

ตารางแสดงขั้นตอนที่ 1 เลือกรายการอาหารทั้งหมดที่เป็นขนมหวาน

รายการอาหาร ประเภท คุณภาพ ความนิยม ราคา
ข้าวผัดกระเพรา อาหารหลัก 8 10 30
ข้าวไข่เจียว อาหารหลัก 6 8 25
ข้าวผัดไข่ อาหารหลัก 7 6 30
ไอศกรีม ขนมหวาน 9 10 25
ขนมปังสังขยา ขนมหวาน 10 7 20
พุดดิ้ง ขนมหวาน 8 7 40

          4. คำนวณคะแนนของอาหารแต่ละชนิดตามเงื่อนไข

ตารางแสดงขั้นตอนที่ 2 จากรายการขนมหวาน คำนวณคะแนนของอาหารแต่ละชนิดตามเงื่อนไข

รายการอาหาร ประเภท คุณภาพ ความนิยม ราคา คะแนนสำหรับเลือกอาหาร
ไอศกรีม ขนมหวาน 9 10 25 (0.6×9)+(0.4×10)=9.4
ขนมปังสังขยา ขนมหวาน 10 7 20 8.8
พุดดิ้ง ขนมหวาน 8 7 40 7.6

          5. สรุปนักเรียนจะได้รับประทานขนมหวานคือ ไอศกรีม

ตารางแสดงขั้นตอนที่ 3 จากรายการขนมหวานที่ได้คำนวณคะแนนของอาหารแล้ว เลือกอาหารที่มีคะแนนสูงสุด

รายการอาหาร ประเภท คุณภาพ ความนิยม ราคา คะแนนสำหรับเลือกอาหาร
ไอศกรีม ขนมหวาน 9 10 25 9.4

ตัวแปร

          ตัวแปร คือ ชื่อที่ใช้แทนข้อมูลขณะใดขณะหนึ่งในขั้นตอนวิธี โดยทั่วไปแล้วในทางคอมพิวเตอร์ ตัวแปรจะถูกใช้เพื่อเก็บข้อมูล และอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงค่าได้ตามบริบทการทำงาน

กิจกรรม

          ถ้านักเรียนต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี นักเรียนจะเลือกเรียนคณะหรือสาขาวิชาใด โดยให้กำหนดเงื่อนไข ความสำคัญ และให้คะแนนเพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็นคณะหรือสาขาวิชาที่เหมาะสมกับนักเรียนมากที่สุด

อ้างอิง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, “เทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ)”, โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 หน้า 29

thikumporn yaprakon, “ข้อมูล(data)หมายถึงอะไร”, http://thikumporn105.blogspot.com/2012/07/1.html, สืบค้นวันที่ 27 พ.ค. 61

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, “https://th.wikipedia.org/, สืบค้นวันที่ 27 พ.ค. 61

dictionary.sanook.com, “เงื่อนไข”, https://dictionary.sanook.com/, สืบค้นวันที่ 27 พ.ค. 61

ขั้นตอนการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง

การแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์.
การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา ... .
การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธี ... .
การดำเนินการแก้ปัญหา ... .
การตรวจสอบและปรับปรุง.

ขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาคืออะไร

ขั้นตอนการแก้ปัญหา.
1. การยอมรับถึงปัญหา สิ่งสำคัญอันดับแรกในการจะแก้ปัญหาให้ได้ผล นั้น คือการยอมรับว่าปัญหาว่าเป็นปัญหา งงมั้ย หากงง อ่านใหม่ หากยังไม่เข้าใจอีกให้อ่านใหม่อีก สำคัญนะข้อนี้.
2. กำจัดขอบเขตของปัญหา ... .
3. กำหนดทางเลือกในการแก้ปัญหา ... .
4. การลงมือทำตามแผน ... .
5. การติดตาม.

กระบวนการแก้ปัญหามีกี่ขั้นตอน แต่ละขั้นตอนมีอะไรบ้าง

ระบุและอธิบายรายละเอียดของปัญหา (Identify and Define) ... .
วิเคราะห์ปัญหา (Analyze) ... .
พัฒนาแนวทางในการแก้ไขปัญหา (Develop Alternate Solutions) ... .
ประเมินแนวทางที่ได้มา (Evaluate Alternatives) ... .
ลงมือปฏิบัติตามแนวทาง (Implement the Solution) ... .
ประเมินผลปฏิบัติการ (Mesure the Result).

สิ่งสําคัญในการแก้ปัญหา คืออะไร

สิ่งสำคัญอันดับแรกในการจะแก้ปัญหาให้ได้ผลนั้น คือการยอมรับว่าปัญหาว่าเป็นปัญหา” งง มั้ย หาก งง อ่านใหม่ หากยังไม่เข้าใจอีกให้อ่านใหม่อีก สำคัญนะข้อนี้ 2.กำจัดขอบเขตของปัญหา คือการหาให้เจอว่าปัญหานั้นคืออะไร มีมากน้อยขนาดไหน เป็นปัญหาเล็ก ปัญหาใหญ่ เกิดบ่อยหรือนานๆเกิดที