คุณลักษณะอันพึงประสงค์ คณิตศาสตร์ 5 ข้อ

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัยในการพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) ศึกษาผลการพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) ศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนรพีเลิศวิทยา จังหวัดลำพูน จำนวน 31 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสุ่มกลุ่ม (Cluster Sampling) การวิจัยในครั้งนี้วิจัยด้วยรูปแบบการวิจัย แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบอุปนัย เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบทดสอบวัดทักษะการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละ แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้ t-test  ผลการวิจัย พบว่า

1. ได้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัยในการพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาร้อยละ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทั้งหมด 3 ชุดกิจกรรมมีประสิทธิภาพ 84.76/84.84 

2. ผลการพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัยมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์ในด้านการทำงานอย่างเป็นระบบนักเรียนส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก ด้านมีระเบียบวินัย นักเรียนส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก ด้านมีความรอบคอบ นักเรียนส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ด้านมีความรับผิดชอบ นักเรียนส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก ด้านมีวิจารณญาณ นักเรียนส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ด้านความเชื่อมั่นในตนเอง นักเรียนส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ส่วนผลการประเมินด้านตระหนักในคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก

 

DEVELOPMENT OF SOLVING PROBLEM SKILLS AND DESIRABLE CHARACTERISTICS FOR MATHEMATICS USING INDUCTIVE ACTIVITY PACKAGES FOR STUDENTS IN PRATHOM SUKSA 5.

Thepurposes of this research were: 1) to create inductive activitypackages todevelop solving problem of percentage for students in Prathom Suksa 5; 2) to study development of solving problem of percentage using inductive activity packages for students in Prathom Suksa 5; and 3) to study the desirable characteristics for Mathematics of students with learning management using Inductive activity packages for students in Prathom Suksa 5.

The research sample consisted of31Prathom Suksa5students studying in the second semester of the 2015 academic year at Rapeeleart Wittaya School in Lamphun. obtained by cluster sampling. This study used one group pretest-posttest design. The employed research instruments included: inductive activity packages of solving problem skills of percentage for students in Prathom Suksa 5; achievement test of solving problem skills of percentage, an assessment of desirable characteristics of students in mathematics using Inductive activity packages. The statistic used for data analysis were percentage, mean, average, standard deviation. The hypothesis was tested by t-test. The research results were as follows:

1. There were inductive activity packages to develop solving problem of percentage for students in Prathom Suksa 5 and its efficiency was 84.76/84.84

2. thedevelopment of solvingproblem ofpercentageusinginductiveactivitypackages for students in Prathom Suksa 5 was higher than pre-learning at the .01 level of significance.

3. students obtained learning management using inductive activity packages had got desirable characteristics for mathematics as follow: most students were at a very good level in work management; most students were at a very good level in discipline; most students were at a good level in providence, most students were at a very good level in responsibility; most students were at a good level in judgement; most students were at a good level in selfconfidence; and they had awareness and positive attitudes toward mathematics overall at a good level.

การพัฒนาผู้เรียนคุณลักษณะอันพึงประสงค์

Posted on ตุลาคม 2, 2019ตุลาคม 2, 2019 by ครูอิ๋ง


การพัฒนาผู้เรียน (Student Development)ต้องพัฒนาอย่างรอบด้าน ทั้งด้านความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และด้านการปรับตัวเข้ากับสังคม รวมทั้งการพัฒนาทักษะชีวิต สุขภาพกายและสุขภาพจิต ความเป็นประชาธิปไตย ความภูมิใจในความเป็นไทย การจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ

การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ความหมายของคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หมายถึง คุณภาพของผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่กำหนดขึ้นโดยพิจารณาจากสภาพของสังคม และการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน ซึ่งทำให้มีความจำเป็นต้องเน้นและปลูกฝังลักษณะดังกล่าวให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนทุกคนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาในองค์รวมทั้งด้านสติปัญญา และคุณธรรม อันจะนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าและความมั่นคงสงบสุขในสังคม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ดังนี้
1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
2. ซื่อสัตย์สุจริต
3. มีวินัย
4. ใฝ่เรียนรู้
5. อยู่อย่างพอเพียง
6. มุ่งมั่นในการทำงาน
7. รักความเป็นไทย
8. มีจิตสาธารณะ

แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

Share this:

  • Twitter
  • Facebook
  • Print

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

ผู้เขียน: ครูอิ๋ง

สุภัทรา บุญยิ่ง ครู โรงเรียนเลิงนกทา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร View All Posts