หลักอาศรม 4 ในศาสนาพราหมณ์

หลักการสูงสุดของฮินดูคือ “อาศรม 4″ (ข้อปฏิบัติของพราหมณ์) ที่ระบุในพระเวท ได้แก่

1. พรหมจารี เป็นการประพฤติตนเป็นพรมจารีของพราหมณ์เด็ก ที่อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียน จะต้องใช้เวลา 12 ปี ในการศึกษาจนจบหลักสูตร ภายหลังจึงจะแต่งงานได้ ……ก่อนจะเข้าศึกษา สมณพราหมณ์ จะทำพิธีเสกมนตราบนตัวนักศึกษา และคล้องด้วยด้ายศักดิ์สิทธิ์เรียกว่า ยัชโญประวีตคือ สายคุรำ หรือสายมงคล เฉวียงบ่าให้แล้วจึงเริ่มเรียน ตอนคล้องด้ายนั้น พราหมณ์ถือว่า เกิดอีกครั้งหนึ่งเป็น ทวิช (เกิดครั้งที่สอง)

2. คฤหัสถ์ เป็นการครองเรือน คือ การแต่งงาน ข้อปฏิบัติคือ การบูชาเทวดาเช้า ค่ำ ปฏิบัติตามหลักผู้ครองเรือน มีครอบครัว เป็นหัวหน้า ทำหน้าที่อ่านคัมภีร์ สอน บูชา และช่วยผู้อื่นบูชา

3. วานปรัศน์ หลังจากมีลูกหลาน กลายเป็นผู้เฒ่า ก็ให้ละทิ้งครอบครัว บำเพ็ญเพียรในที่สงบ หรือบำเพ็ญตบะเพื่อบรรลุธรรมขั้นสูง มีชื่อเรียกต่างๆ คือ
ฤาษี (ผู้แสวงหาโมกษ) , โยคี (ผู้บำเพ็ญโยคะ) , ตาปส (ผู้บำเพ็ญตบะ ทรมานกาย) , มุนี (ผู้สงบ บำเพ็ญตปะ นุ่งห่มสีเหลือง) , สิทธา (ผู้สำเร็จได้ฌานสมาบัติ) , นักพรต (ผู้บวชบำเพ็ญพรตพรหมจรรย์) , ชฎิล (ผู้มุ่นผมสูงเป็นชฎา จนตลอดชีวิต) แล้วแต่พราหมณ์ผู้นั้นจะเลือกปฏิบัติ

4. สันยาสี ให้สละโสดแล้วออกไปอยู่ในป่า คือเป็นนักบวชที่ออกจาริกไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นพราหมณ์ผู้ท่องเที่ยว เลี้ยงชีพด้วยภิกขาจาร ใจมุ่งตรงต่อพระพรหม

เป็นขั้นตอนการดำเนินชีวิตของผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เพื่อยกระดับชีวิตให้สูงขึ้น มี ๔ ประการคือ

      ๑. พรหมจารี เป็นขั้นตอนที่เด็กชายทุกคนที่เกิดในวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ต้องศึกษาเล่าเรียน ต้องเข้าพิธีมอบตนเป็นนักศึกษา และจะต้องปรนนิบัติรับใช้อาจารย์พร้อมกับศึกษาเล่าเรียน

     ๒. คฤหัสถ์ เป็นวัยแห่งการครองเรือน เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วกลับไปใช้ชีวิตทางโลก แต่งงานและมีบุตรเพื่อสืบสกุล โดยยึดหลักธรรมเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

     ๓. วานปรัสถ์ เป็นขั้นที่แสวงหาธรรม โดยการออกบวชสู่ป่า เพื่อฝึกจิตใจให้บริสุทธิ์และเตรียมปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม

       ๔. สันยาสี เป็นขั้นสุดท้ายแห่งชีวิต โดยสละชีวิตทางโลกออกบวช บำเพ็ญเพียรตามหลักศาสนา เพื่อความหลุดพ้น

ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
หลักคำสอนที่สำคัญ

หลักคำสอนที่สำคัญในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู6) มีอยู่ 4 ข้อ ดังต่อไปนี้

1. หลักอาศรม 4
2. หลักการปฏิบัติระหว่างบุคคล
3. หลักปรมาตมัน
4. หลักโมกษะ

1. หลักอาศรม 4

     หลักอาศรม 4 หมายถึง ขั้นตอนการดำเนินชีวิตของชาวฮินดู เฉพาะที่เป็นพราหมณ์วัยต่างๆ โดยกำหนดเกณฑ์อายุคนไว้ 100 ปี แบ่งช่วงของการใช้ชีวิตไว้ 4 ช่วง ช่วงละ 25 ปี ช่วงชีวิตแต่ละช่วงเรียกว่า อาศรม (วัย) อาศรมทั้ง 4 ช่วงมีดังนี้

       อาศรมที่ 1 (ปฐมวัย) เรียกว่า พรหมจรรย์อาศรม เริ่มตั้งแต่อายุ 8-25 ปี ผู้เข้าสู่อาศรมนี้ เรียกว่า พรหมจารี ภายในช่วงระยะเวลา 25 ปีแรกนี้ พรหมจารีผู้อยู่ในพรหมจรรย์อาศรม มีหน้าที่ดังนี้

1)    ตั้งใจเรียนวิชาการในวรรณะของตน
2)    เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของครูอาจารย์
3)    ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องเพศ
4)    ไม่คบกับเพศตรงกันข้าม
5)    เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วต้องทำพิธีเกศนตสันสกา (ตัดผม) และพิธีคุรุทักษิณา มอบสิ่งตอบแทนครูอาจารย์

       ผู้ทำหน้าที่ครบทั้ง 5 ข้อนี้แล้วถือว่าเป็นพราหมณ์โดยสมบูรณ์ จากฐานะพรหมจารีจะมีสิทธิพิเศษ 5 ประการ ดังนี้

1)    ศึกษาคัมภีร์พระเวทได้
2)    สอนพระเวทแก่คนอื่นได้
3)    ทำพิธียัคนัม (เกี่ยวกับการบริจาค) ได้
4)    รับทานจากผู้ศรัทธาได้
5)    บริจาคทานแก่คนยากจน (ผู้อยู่ในวรรณะต่ำ) ได้

       อาศรมที่ 2 (มัชณิมวัย) เรียกว่า คฤหัสถาศรม อยู่ในช่วงอายุ 25-50 ปี มีหน้าที่ดังนี้

1)    ช่วยพ่อแม่ทำงาน
2)    แต่งงานมีครอบครัว
3)    ประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัว

       อาศรมที่ 3 (ปัจฉิมวัย) เรียกว่า วานปรัสถาศรม อยู่ในช่วงอายุ 50-75 ปี มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติดังนี้

1)    มอบสมบัติให้บุตรธิดา
2)    บำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม
3)    ออกบวชปฏิบัติธรรมที่เรียกว่า วานปรัสถ์
4)    ทำประโยชน์แก่สังคมด้วยการเป็นครูอาจารย์

       อาศรมที่ 4 คือ สันยัสตาศรม อยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป สำหรับผู้ปรารถนา ความหลุดพ้น (โมกษะ) จะออกบวชเป็นสันยาสี เมื่อบวชแล้วจะสึกไม่ได้ บำเพ็ญสมาธิแสวงหาความหลุดพ้นตามหลักกรรมโยคะต่อไป

2. หลักการปฏิบัติระหว่างบุคคล

      ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมีหลักคำสอนที่คล้ายคลึงกับคำสอนเรื่องทิศ 6 ในศาสนาพุทธเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นหลักคำสอนที่ว่าด้วยการปฏิบัติระหว่างบุคคลดังมีรายละเอียดดังนี้

     1. ปิตฤธรรม คือ การปฏิบัติตามหน้าที่ของบิดาต่อบุตร โดยบิดาต้องมีหน้าที่ รับเลี้ยงดูบุตรจนบุตรมีอายุบรรลุนิติภาวะ ในการเลี้ยงดูบุตร บิดาจะต้องปฏิบัติดังนี้

- เมื่อบุตรมีอายุตั้งแต่เกิดจนถึง 5 ขวบ จงเลี้ยงดูด้วยความเมตตากรุณาและด้วย ความรัก

- ตั้งแต่บุตรบรรลุนิติภาวะแล้วถือว่าเป็นมิตรเป็นสหายคือเป็นเพื่อนกัน โดยให้บุตรทำหน้าที่เป็นผู้นำบิดาบ้าง ส่วนบิดาควรทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา และบิดาควรหาคู่ครองที่เหมาะสมให้แก่บุตรในเวลาอันควร

    2. มาตฤธรรม คือ การปฏิบัติหน้าที่ของมารดาต่อบุตร มารดาจะต้องรับหน้าที่เหมือนบิดาแต่ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ เพื่อสร้างอนาคตให้กับบุตรและต้องเป็นครูคนแรกของบุตร ดังนั้นมารดาจึงต้องระมัดระวังในการสร้างอุปนิสัยให้แก่บุตรในทางที่ดีเสมอ

   3. อาจารยธรรม คือ การปฏิบัติหน้าที่ของครูอาจารย์ต่อศิษย์ ครูอาจารย์จะต้อง รับหน้าที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์อย่างถูกต้องและเป็นธรรม เลี้ยงดูศิษย์เหมือนบิดามารดาเลี้ยงดูบุตร พยายามสร้างและแก้ไขความประพฤติอุปนิสัยของศิษย์ร่วมกับบิดามารดาของศิษย์

     ทั้งมารดา บิดา ครูอาจารย์ ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีต่อบุตรและศิษย์ หากสั่งสอนด้วยวาจาเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้ปฏิบัติให้ดูเป็นตัวอย่างแล้ว ก็นับว่าจะได้ผลน้อยมาก การสั่งสอน อะไรก็ตามจะต้องปฏิบัติให้ดูเป็นตัวอย่างด้วยจึงจะได้ผลเต็มที่

  4. บุตรธรรมและศิษยธรรม คือ การปฏิบัติของบุตรต่อบิดามารดาและการปฏิบัติหน้าที่ของศิษย์ต่อครูอาจารย์ ซึ่งในคัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูบัญญัติไว้ว่า

    “บุคคลที่ได้กระทำการเคารพบิดามารดาและครูอาจารย์ ผู้นั้นได้ชื่อว่าได้ปฏิบัติธรรม ทุกประการแล้ว แต่ผู้กระทำการดูถูกบุคคลดังกล่าว ผู้นั้นย่อมไม่ถึงซึ่งความสำเร็จ ไม่ว่าจะ กระทำกิจการมากมายเพียงใดก็ตาม จะเป็นด้วยเรี่ยวแรงหรือด้วยกำลัง ด้วยประการฉะนี้ ผู้ที่จะต้องการความสำเร็จและมีความสุขยิ่งในชีวิต หรือชีวิตก้าวหน้าก็ตามที จะต้องเคารพนับถือบิดามารดาและครูอาจารย์อย่างจริงใจ ต้องอยู่ในโอวาทเชื่อถ้อยฟังคำของท่านทั้งปวงและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของท่านŽ”

    “บุคคลที่จงรักภักดีต่อบิดามารดาเป็นผู้ชนะแล้วในโลกนี้ จึงต้องจงรักภักดีต่อบิดา มารดา บุคคลเช่นนี้ย่อมชนะโลกสวรรค์ และบุคคลที่จงรักภักดีต่อครูอาจารย์ ผู้นั้นจะชนะโลก พระพรหมด้วยŽ”

     5. ภราตฤธรรม คือ การปฏิบัติของพี่ที่มีต่อน้องและน้องต่อพี่ น้องต้องปฏิบัตินับถือพี่เหมือนพ่อเหมือนแม่ ครูอาจารย์จึงมีบัญญัติไว้ว่า จงถือว่าครูอาจารย์เป็นรูปปรมาตมัน บิดาเป็นรูปพระประชาบดี มารดาเป็นรูปพระแม่ธรณี และพี่เป็นรูปพระครู จงอย่าดูถูกทั้งบิดามารดา ครูอาจารย์และพี่ ไม่ว่าตัวเองจะอยู่ในฐานะอันใดก็ตาม หากเป็นพราหมณ์ก็ขอให้ปฏิบัติพิเศษขึ้นไปอีก เช่นเดียวกันพี่ก็ต้องเลี้ยงดูน้องแบบแม่เลี้ยงดูบุตร พี่ต้องอบรมสั่งสอนน้องเหมือนบิดามารดาสั่งสอนบุตร

    6. ปติธรรม คือ การปฏิบัติหน้าที่ของสามีต่อภรรยา ผู้ชายต้องเลือกเจ้าสาวที่ เหมาะสมแก่ตระกูลของตน เหมาะสมกับสังคมที่ตนอาศัยอยู่ ฉะนั้นเมื่อจะเลือกเจ้าสาวต้อง ได้รับการเห็นชอบจากผู้ใหญ่ก่อน เมื่อผ่านผู้ใหญ่หรือผู้ใหญ่ยินยอมแล้วจึงยอมรับเจ้าสาวนั่นมาเป็นภรรยา เมื่อเป็นภรรยาแล้วก็ต้องเลี้ยงดูกันไปตลอดชีวิต เอาใจใส่ต่อภรรยาอย่างจริงจัง อย่าริเป็นคนเจ้าชู้กับผู้หญิงอื่น ถือว่าผู้หญิงอื่นๆ เปรียบเสมือนพี่น้องหรือลูกหลานหรือมารดาของตน

     7. ปัตนีธรรม คือ การปฏิบัติหน้าที่ของภรรยาต่อสามี ต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อสามีอย่างบริสุทธิ์ใจต้องเอาใจใส่สามีอย่างจริงจัง ต้องถืออยู่ในตัวเองเสมอว่าผู้ชายทั้งหลาย เว้นสามีของตนเป็นเหมือนบิดา พี่น้อง บุตร หลาน เท่านั้น อย่าเป็นชู้กับชายอื่น ให้อยู่ในโอวาทและในความควบคุมของสามีเสมอ เพราะภรรยาเป็นคนสำคัญในครอบครัว จึงมีคำกล่าวไว้ว่า การคลอดบุตร การกุศล การรอรับใช้อย่างยอดเยี่ยม สวรรค์ของบุรุษ สิ่งเหล่านี้ย่อมอยู่ในกำมือ ของสตรีทั้งนั้น

    ผู้เป็นสตรีต้องระมัดระวังในการรักษาความประพฤติ ความบริสุทธิ์ ความสาว ความงาม เมื่อเป็นเมียจงเป็นเมียของชายที่เป็นสามีของตนเท่านั้น ตำรามานวศาสตร์บัญญัติไว้ว่า สตรีใดเป็นชู้กับชายอื่น สตรีผู้นี้จะถูกติเตียนนินทาในสังคมโลกนี้และโลกหน้า เกิดมาเป็นหมาป่าหรือหมาจิ้งจอก นอกจากนี้แล้วยังได้รับความเจ็บปวดต่อโรคน่าเกลียดทั้งในชาตินี้และชาติหน้าอีกด้วยŽ

    เมื่อเป็นสามีภรรยากันแล้ว จงอยู่อย่างเป็นสามีภรรยากันตลอดชีพ เพื่อรักษาชื่อเสียง วงศ์ตระกูล และเพื่ออนาคตของลูกหลานด้วย ดังคำที่ได้กล่าวไว้ว่า อย่าให้มีการหย่าร้างกันในระหว่างสามีภรรยา นี้เป็นจุดมุ่งหมายของการแต่งงานในศาสนานี้

     8. สวามี-เสวกธรรม คือ การปฏิบัติหน้าที่ของสวามี (นายจ้าง) ต่อเสวก (ลูกจ้าง) และการปฏิบัติหน้าที่ของเสวกต่อสวามี

    ผู้เป็นนายจ้างมีหน้าที่เลี้ยงดูลูกจ้างและครอบครัวของเขา จ่ายเงินเดือนหรือให้ ค่าตอบแทนประการใดก็ควรพิจารณาก่อนว่า ปัจจุบันที่มอบให้แก่ลูกจ้างนั้นมีเพียงพอต่อ การครองชีพหรือไม่ ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา ต้องเอาใจจดจ่อต่อความทุกข์สุขของเขา ใน มานวศาสตร์ได้กล่าวไว้ว่าผู้เป็นนายจ้างต้องสังเกตดูว่า ลูกจ้างนั้นมีภาระประการใดหรืออย่างไร แล้วต้องจ่ายให้เพื่อให้เขาสามารถครองชีพอยู่ได้ไม่ลำบากหรือฝืดเคืองมากนัก

    ทำนองเดียวกัน ผู้เป็นลูกจ้างก็มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติงานอย่างซื่อสัตย์ต่อนายจ้างเสมอและทำทุกอย่างที่จะให้นายจ้างได้รับผลประโยชน์ให้มากที่สุด โดยการกระทำของตัวเอง อย่ากระทำให้เสียประโยชน์ของนายจ้างทั้งทางตรงและทางอ้อม ในคัมภีร์ได้บัญญัติไว้ว่า การกระทำที่ให้นายจ้างได้รับความดูถูกเสียหายทั้งกายและใจ ผู้เป็นลูกจ้างอย่าได้กระทำŽ

    9. ราชธรรม คือ การปฏิบัติหน้าที่ของพระราชาต่อประชาชน หรือการปฏิบัติของประชาชนต่อพระราชาผู้เป็นองค์ประมุขของชาติ จึงถือว่าประชาชนเป็นเสมือนบุตรหลานและเอาใจใส่ต่อความสุขความทุกข์ของประชาชนอย่างใกล้ชิด ในคัมภีร์ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูสอนไว้ว่า องค์พระมหากษัตริย์มีหน้าที่ยึดธรรมสูงสุด คือ ดูแลประชาชน อารักขาประชาชน ให้ความอบอุ่นแก่ประชาชน โดยถือหลักแห่งการอารักขาของพระมหากษัตริย์ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในภายใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทในพระบรมโพธิสมภารนั้นก็จะต้องปฏิบัติทางธรรม ท่านกล่าวไว้ว่า พระราชาเป็นผู้ถือทัณฑ์คือกฎหมายไว้ หมายถึง ผู้ใดไม่ปฏิบัติทางธรรมผู้นั้นย่อมจะได้รับโทษจากพระองค์เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วประชาชนก็ต้องปฏิบัติธรรมโดยอาศัยพระราชบารมีธรรม จึงมีแต่เจริญก้าวหน้าในประเทศชาติ ประชาชนมีแต่ความสุข พระราชาพระองค์นั้นก็มีพระชนมายุยิ่งยืนนาน

     ในด้านประชาชนมีหน้าที่คือ ต้องถวายความเคารพนับถือพระราชาอย่างสูงสุด เพราะพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์มิใช่บุคคลธรรมดา พระราชาธิราชเจ้านั้นทรงเป็นเสมือนเทพเจ้า 8 องค์ คือ

1) พระอินทร์                                     2) พระยมราช

3) พระวายุ                                        4) พระสุริยะ

5) พระอัคนี                                       6) พระวรุณ

7) พระจันทร์                                     8) พระกุเวร

     ในคัมภีร์ได้กล่าวไว้ว่า พระมหาพรหมธาดาได้ตั้งพระมหากษัตริย์โดยเอาพระเดชบารมีของพระเจ้า 8 องค์ ดังที่กล่าวมาแล้ว เพื่อปกป้องคุ้มครองรักษาประชาชนซึ่งในองค์พระราชามีเทพเจ้า 8 องค์ตลอดŽ และในคัมภีร์ภควัทคีตา พระกฤษณะได้ทรงอนุศาสน์ไว้ว่า เราเป็นพระราชาในมนุษยชาติŽ ด้วยเหตุนี้ทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู จึงถวายความเคารพนับถือพระราชาเหมือนองค์พระนารายณ์ด้วย บุคคลใดเคารพนับถือพระราชา บุคคลนั้นยังนับถือศาสนาอยู่ แม้ในประเทศอินเดีย ประชาชนนั้นย่อมมีความจงรักภักดีและเคารพนับถือพระราชา พระมหาราชาเจ้าผู้ครองนครต่างๆ เหล่านั้นอยู่เสมอ

3. หลักปรมาตมัน

     คำว่า ปรมาตมัน หมายถึง สิ่งยิ่งใหญ่อันเป็นที่รวมของทุกสิ่งทุกอย่างในสากลโลก ซึ่งเรียกชื่อสิ่งนี้ว่า “ พรหมŽ” ปรมาตมันกับพรหมจึงเป็นสิ่งเดียวกัน และมีลักษณะดังต่อไปนี้

1)    เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเอง

2)    เป็นนามธรรม สิงสถิตอยู่ในสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเรียกว่าอาตมัน เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตา

3)    เป็นศูนย์รวมแห่งวิญญาณทั้งปวง

4)    สิ่งทั้งหลายทั้งปวงในสากลโลกล้วนเป็นส่วนย่อยที่แยกออกมาจากพรหม

5)    เป็นตัวความจริง (สัจธรรม) สิ่งเดียว (โลกและสิ่งอื่นๆ ล้วนเป็นมายา ภาพลวงที่มีอยู่ชั่วครั้งคราวเท่านั้น)

6)    เป็นผู้ประทานญาณ ความคิดและความสันติ

7)    เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ในสภาพเดิมตลอดกาล

    วิญญาณของสัตวโลกทั้งหลาย (อาตมัน) คือส่วนที่แยกออกมาจากวิญญาณรวมของพรหม (ปรมาตมัน) วิญญาณย่อยแต่ละดวงเหล่านี้เมื่อแยกออกมาแล้วย่อมเข้าสิงสถิตในสิ่งมีชีวิตรูปแบบต่างๆ กัน เช่น ในร่างกายมนุษย์ เทวดา สัตว์และพืช มีสภาพดีบ้าง เลวบ้าง สุดแต่ผลกรรมที่ทำไว้ ซึ่งถือว่าเป็นทุกข์ทั้งสิ้น ตราบใดที่วิญญาณเหล่านี้ยังไม่สิ้นกรรม ย่อมต้องเวียนว่ายตายเกิดผจญทุกข์อยู่ตลอดไป

4. หลักโมกษะ

     หลักโมกษะ เป็นหลักความดีสูงสุด ดังคำสอนของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู สอนว่า ”ผู้ใดรู้แจ้งในอาตมันของตนว่าเป็นหลักอาตมันของโลกพรหมแล้ว ผู้นั้นย่อมพ้นจากสังสารการเวียนว่ายตายเกิด และจะไม่ปฏิสนธิอีกŽ” หลักโมกษะประกอบด้วยสาระสำคัญ 2 ประการ คือ

     1. การนำอาตมันเข้าสู่ปรมาตมัน ด้วยการปฏิบัติธรรมใดๆ เพื่อให้วิญญาณของตนเข้ารวมกับปฐมวิญญาณ เรียกว่า ”เข้าถึงโมกษะŽ” คือความหลุดพ้นจากวัฏสงสารแห่งชีวิต

     2. วิธีปฏิบัติเพื่อเข้าถึงโมกษะ ได้เสนอแนะหลักปฏิบัติที่สำคัญไว้ 3 ประการ คือ กรรมมรรค (กรรมโยคะ) ชยานมรรค (ชยานโยคะ) และภักติมรรค (ภักติโยคะ)

6) Hopfe Lewis M. Religions of The World, 1994 p. 90-94.

หนังสือ DF 404 ศาสนศึกษา
กลุ่มวิชาการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

ลำดับขั้นตอนในการปฏิบัติตามหลักอาศรม 4 คือข้อใด

เมื่อโครงสร้างทางสังคมถูกทำให้เปลี่ยนแปลงไม่ได้ รูปแบบของการดำเนินชีวิตจึง ถูกกำหนดตายตัวในอาศรมอาศรมคือขั้นตอนชีวิตของคน ๆ หนึ่งซึ่งถูกแบ่งออกเป็น ช่วงตามบทบาทและหน้าที่ที่ตนเองต้องกระทำ ขั้นตอนแรกคือการศึกษาหาความรู้ (พรหมจรรย์) ขั้นตอนที่สองคือการครองเรือน (คฤหัสถ์) ขั้นตอนที่สามคือการเรียนรู้อยู่ป่า (วานปรัสถ์) ...

วัยออกบวชเพื่อหาจุดมุ่งหมายในศาสนาพราหมณ์

สันยาสี (โมกษะ) เป็นระยะเวลาของการสละชีวิตคฤหัสถ์ของ ผู้ครองเรือน เพื่อเข้าป่าออกบวช เพื่อจุดหมายสูงสุดของชีวิต คือ โมกษะ โดยจะต้องมีศรัทธา และแก่กล้าถึงกับเสียสละทุก อย่าง ซึ่งช่วงนี้จะเป็นช่วงเวลา 76-100 ปี

มีหน้าที่ต้องศึกษาเล่าเรียนตรงกับวัยใดในหลักอาศรม 4

ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ได้แบ่งขั้นตอนของชีวิตออกเป็น ๔ ช่วง เรียกว่า “อาศรม ๔” ได้แก่ ๑) พรหมจรรย์ เป็นวัยศึกษาเล่าเรียน ผู้ชายที่อยู่ในวัยรุ่นจะต้องออกจากบ้านไปอยู่ศึกษา วิชาการจากอาจารย์ คอยปฏิบัติรับใช้อาจารย์พร้อมทั้งเรียนวิชาที่เหมาะกับวรรณะของตน

หลักปุรุษารถะ หมายถึงอะไร

ศาสนาฮินดูดั้งเดิมเชื่อว่าจุดมุ่งหมายในชีวิตของมนุษย์มีอยู่สี่ประการ ได้แก่ ธรรมะ, อรรถะ, กามะ และ โมกษะ เป้าหมายทั้งสี่นี่เรียกรวมว่า "ปุรุษารถะ"

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita