มาตราวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่สำรวจจากผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งปลูกสร้างคือมาตราใด *

มาตราเมอร์คัลลี      

      แผ่นดินไหวแต่ละครั้งมีความรุนแรงไม่เท่ากัน บางครั้งไม่สามารถรู้สึกได้ แต่บางครั้งก็ทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง เช่น อาคารถล่ม ถนนขาด แผ่นดินทรุด ทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ระบบวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่เข้าใจง่ายที่สุดคือ มาตราเมอร์คัลลี (Mercalli scale) ซึ่งกำหนดจากความรู้สึกหรือการตอบสนองของผู้คนโดยจำแนกได้ดังนี้ 

        I     มนุษย์ไม่รู้สึก ตรวจวัดได้เฉพาะเครื่องมือ

        II    รู้สึกได้เฉพาะกับผู้ที่อยู่นิ่งกับที่ สิ่งของแกว่งไกวเล็กน้อย 

        III   คนอยู่ในบ้านรู้สึกได้เหมือนรถบรรทุกแล่นผ่าน

        IV   คนส่วนใหญ่รู้สึกได้เหมือนรถบรรทุกแล่นผ่าน 

        V    ทุกคนรู้สึกได้ สิ่งของขนาดเล็กเคลื่อนที่

        VI   คนเดินเซ สิ่งของขนาดใหญ่เคลื่อนที่ 

        VII  คนยืนนิ่งอยู่กับที่ไม่ได้ อาคารเสียหายเล็กน้อย

        VIII อาคารเสียหายปานกลาง

        IX   อาคารเสียหายอย่างมาก 

        X    อาคารถูกทำลายพร้อมฐานราก 

        XI   แผ่นดินแยกถล่มและเลื่อนไหล สะพานขาด รางรถไฟบิดงอ ท่อใต้ดินชำรุดเสียหาย 

        XII  สิ่งปลูกสร้างทั้งหมดถูกทำลาย พื้นดินเป็นลอนคลื่น 

มาตราริกเตอร์ 

        มาตราวัดขนาดแผ่นดินไหวของริกเตอร์ (The Richter Magnitude Scale) พัฒนาโดย ชาร์ล เอฟ ริกเตอร์ นักธรณีวิทยาชาวอเมริกาเมื่อปี พ.ศ.2478 เป็นมาตราที่วัดขนาดของแผ่นดินไหว ซึ่งบันทึกได้จากเครื่องวัดคลื่นไหวสะเทือนโดยใช้หน่วย “ริกเตอร์” (Richter) เป็นตัวเลขที่ทำให้สามารถเปรียบเทียบขนาดของแผ่นดินไหวต่างๆ กันได้ โดยคำนวนจากสูตรทางคณิตศาสตร์เป็น logarithm ของความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่บันทึกได้ ยกตัวอย่างเช่น แผ่นดินไหวขนาด 7 ริกเตอร์ มีความรุนแรงเป็น 10 เท่าของแผ่นดินไหวขนาด 6 ริกเตอร์ และมีความรุนแรงเป็น 100 เท่าของแผ่นดินไหวขนาด 5 ริกเตอร์  

        ขนาด (Magnitude) ของแผ่นดินไหวเป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์ที่บ่งชี้ความร้ายแรงของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นที่ระดับเป็นศูนย์ โดยกำหนดให้แผ่นดินไหวที่เกิดที่ระดับเป็นศูนย์ มีค่าความสูงของคลื่น 0.001 มม. ที่ระยะทาง 100 กิโลเมตร จากศูนย์กลางแผ่นดินไหว (Epicenter) ขนาดของแผ่นดินไหวตามมาตราริกเตอร์บอกเป็นตัวเลข จำนวนเต็มและจุดทศนิยม ดังนี้

ขนาดแผ่นดินไหว (ริกเตอร์)         ประเภท

<3.0                                      แผ่นดินไหวขนาดเล็กมาก (Micro)

3.0 - 3.9                                แผ่นดินไหวขนาดเล็ก (Minor)

4.0 - 4.9                                แผ่นดินไหวขนาดค่อนข้างเล็ก (Light)

5.0 - 5.9                                แผ่นดินไหวขนาดปานกลาง (Moderate)

6.0 - 6.9                                แผ่นดินไหวขนาดค่อนข้างใหญ่ (Strong)

7.0 - 7.9                                แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ (Major)

>8.0                                     แผ่นดินไหวใหญ่มาก (Great)

ตัวอย่างแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ของโลก

 ปี                      วันที่ ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว  ยอดผู้เสีียชีวิต  ริกเตอร์  หมายเหตุ
2466      1 ก.ย.  ญี่ปุ่น, เมืองริกุอูโกะ 143,000   8.2 ไฟไหม้ครั้งใหญ่ที่โตเกียว
2513  31 พ.ค.    เปรู  66,000  7.8 แผ่นดินถล่มใส่เมืองยันเกย์
2519  27 ก.ค.  จีน, เมืองตังชาน
 250,000  7.6 ความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่
2547  26 ธ.ค.  อินโดนีเซีย  226,300  9.1 เกิดคลื่นสึนามิ
 2554  11 มี.ค.  ญี่ปุ่น, กรุงโตเกียว  >10,000  8.9 เกิดคลื่นสึนามิ

ข้อใดเป็นมาตราวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหว

เดิมทีมาตราวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหว มีด้วยกันหลายมาตรา บางมาตรามีมานานนับร้อยปี แต่ที่นิยมใช้กันที่สุด คือ มาตราเมอร์คัลลี่ ความรุนแรงของแผ่นดินไหวตามมาตราเมอร์คัลลี่มี 12 ระดับ จากระดับความรุนแรงที่น้อยมากจนไม่สามารถรู้สึก ต้องตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือวัดแผ่นดินไหวเท่านั้น ไปจนถึงขั้นรุนแรงสุดจนทุกสิ่งทุกอย่างพัง ...

การ วัดความรุนแรงของ แผ่นดินไหว ตาม มาตรา เม อ ร์ คัล ลี ใช้ ข้อมูล ใด ใน การ พิจารณา

มาตราเมร์คัลลี (Mercalli scale) เป็นมาตราสำหรับใช้กำหนดขั้นความรุนแรงของแผ่นดินโดยพิจารณาจากผลกระทบของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวโลก โดยที่พิจารณาจากการตอบสนองของผู้คน และผลกระทบที่สามารถสังเกตเห็นได้ คิดค้นโดยจูเซปเป เมร์คัลลี (Giuseppe Mercalli) ผู้เชี่ยวชาญแผ่นดินไหวชาวอิตาลี เมื่อ พ.ศ. 2445 โดยแบ่งไว้ 10 อันดับ ...

มาตราเมอร์คัลลี วัดอย่างไร

ตรวจวัดได้โดยเครื่องมือวัดความสั่นสะเทือนเท่านั้น ไม่สามารถรู้สึกได้นอกจากจะอยู่ในกรณีแวดล้อมที่เหมาะสมโดยเฉพาะบริเวณที่อ่อนไหวต่อความสั่นสะเทือน บางครั้งอาจสังเกตได้จากอาการผิดปกติของนกและสัตว์ต่าง ๆ บางครั้งรู้สึกมึนงงหรือคลื่นเหียนอาเจียน บางครั้งต้นไม้ สิ่งก่อสร้าง ของเหลวและน้ำอาจแกว่งไกว ประตูอาจแกว่งช้ามาก

มาตราที่ใช้วัดขนาดแผ่นดินไหวมีกี่แบบ

ขนาด ของแผ่นดินไหว วัดด้วยมาตราต่างๆกันได้มากมาย แล้วแต่สูตร และชนิดของคลื่น แต่ที่นิยมกันมี 4 มาตราคือ มาตราท้องถิ่น หรือ ML หรือที่รู้จักกันว่า มาตราริกเตอร์ มาตราคลื่นตัวกลาง หรือ mb. มาตราคลื่นผิว หรือ MS.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita