งานประเภทใบปลิว 2 สี ควรเลือกเปลี่ยนเป็นโหมดสีชนิดใด

ระบบสี RGB และ CMYK ว่าคืออะไร? และเหมาะกับการใช้งานแบบไหน?

ระบบสี RGB กับ CMYK นั้นมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันอยู่แล้ว เริ่มตั้งแต่ชื่อที่ใช้เรียกก็มีความแตกต่างกันสำหรับคนที่ใช้งานพวกนี้เป็นประจำก็คงรู้กันดีอยู่แล้วว่าทั้งสองสิ่งนั้นคืออะไร เหมาะกับการใช้งานรูปแบบใด

ระบบสี RGB

RGB ย่อมาจาก red green และ blue คือกระบวนการผสมสีจากแม่สี 3 สี คือสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน การใช้สัดส่วนของสี 3 สีนี้ต่างกันจะทำให้เกิดสีต่างๆ ได้อีกมากมายซึ่ง RGB จะถูกนำไปใช้กับสื่อที่ใช้ระบบแสงแสดงภาพ เช่น ทีวี คอมพิวเตอร์ กล้องถ่ายภาพ โปรเจคเตอร์ เหมาะสำหรับงานออกแบบเว็บไซต์, ทำสื่อ Presentation, ออกแบบ Animation เป็นต้น

งานประเภทใบปลิว 2 สี ควรเลือกเปลี่ยนเป็นโหมดสีชนิดใด

ระบบสี RGB สีในโลกดิจิทัล

ต้นทุนการพิมพ์เริ่มมีราคาถูกลงในช่วงยุค 90 เมื่อเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกหรือเครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ต (Inkjet Printer) ได้ถูกคิดค้นขึ้นมา โดยการพิมพ์สีของเครื่องอิงค์เจ็ทก็ยังเป็นการใช้ระบบหมึก CMYK ในการทำงานอยู่ดี แม้การพิมพ์สีใช้ระบบ CMYK แต่ระบบสร้างสีในคอมพิวเตอร์ไม่ได้เป็นแบบนั้น เพราะโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประมวลผลสีบนหน้าจอด้วยแนวทางกับเทคนิคที่หน้าจอใช้แสดงผล นั่นก็คือ RGB (Red, Green และ Blue) เวลาเราสั่งพิมพ์ เครื่องพิมพ์สามารถเข้าใจค่าสี RGB และพิมพ์ออกมาด้วยหมึกแบบ CMYK ได้ แต่ในกระบวนการแปลงค่าสีนั้นทำให้สีที่ได้มีความใกล้เคียงกันเฉยๆ ไม่ได้เหมือนกันขนาดนั้น เป็นที่มาว่าทำไมถึงมีการแนะนำว่างานสิ่งพิมพ์ควรทำในโหมด CMYK เพื่อให้สีของงานเวลาถูกพิมพ์ออกมาแล้วใกล้เคียงกับที่เราคิดไว้นั้นเอง

การใช้งานของ RGB นั้นเหมาะกับการทำงานเกี่ยวกับสื่อดิจิทัลรูปแบบต่างๆ เช่น Computer Monitors, Email, Internet/Website, CD/DVD files, Television, Smartphone

จุดแข็งและจุดอ่อนของ RGB

จุดแข็ง

  • มีความสวยงามบนหน้าจอดิจิทัล
  • สามารถตั้งค่าสีให้ตรงกับ Printer ที่บ้านและที่ทำงานได้อย่างไม่ยุ่งยาก
  • จัดการและสามารถใช้งานได้ง่ายบนหน้าจอกับโปรแกรมต่างๆ เช่น Photoshop, Lightroom เป็นต้น
  • แปลงสีให้เป็นสกุล CMYK ได้
  • สามารถเซฟไฟล์เพื่อนำไปใช้งานบนเว็บไซต์อื่นๆ ได้ง่าย

จุดอ่อน

  • การแปลงไฟล์จาก RGB ไป CMYK นั้นจะทำให้สีเพี้ยนและไม่แม่นยำ

ระบบสี CMYK

CMYK ย่อมาจาก cyan (ฟ้าอมเขียว) magenta (แดงอมม่วง) yellow (เหลือง) Black (ดำ) ซึ่งเป็นชื่อสีที่นำมาใช้ในการผสมสีทั้ง 4 สีนี้จะทำให้เกิดสีได้อีกหลายร้อยสี นำมาใช้ในการพิมพ์สีต่างๆ ซึ่งเป็นสีที่เรามองเห็นบนวัตถุต่างๆ เช่น กระดาษ หรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ ซึ่งหากนำไปใช้ในงานออกแบบควรตั้งประเภทของหมวดสีให้ถูกต้อง เหมาะสำหรับงานสื่อสิ่งพิมพ์ทุกชนิด เช่น Brochure, แผ่นพับ เป็นต้น

งานประเภทใบปลิว 2 สี ควรเลือกเปลี่ยนเป็นโหมดสีชนิดใด

ระบบสี CMYK สร้างมาเพื่องานพิมพ์

เรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปถึงปี ค.ศ. 1906 (พ.ศ. 2449) บริษัท Eagle Printing Ink Company ได้คิดค้นระบบการพิมพ์แบบใหม่ที่เรียกว่า “Wet Printing” (พิมพ์เปียก) ที่มีการพิมพ์ซ้ำลงไปที่จุดเดิมก่อนที่สีก่อนหน้านี้จะแห้งเพื่อทำการผสมสีใหม่ขึ้นมา โดยใช้น้ำหมึก 4 สีหลักคือ

  • Cyan (ฟ้าอมเขียว)
  • Magenta (แดงอมม่วง)
  • Yellow (เหลือง)
  • Key (สีดำ) (ที่ไม่ใช้ B แทน Black เพราะจะสับสนกับ Blue)

การใช้งานของ CMYK นั้นเหมาะกับการทำงานเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ชนิดต่างๆ เช่น Poster, Billboards, Magazine, Glossies, Business Cards, Brochures and Leflets

จุดแข็งและจุดอ่อนของ CMYK

จุดแข็ง

  • มีความสะดวกต่อการตั้งค่าในการใช้งานกับระบบการพิมพ์ออฟเซ็ตที่เป็นมาตรฐานปัจจุบัน
  • มีความคมชัดเวลาพิมพ์ลงกระดาษด้วยสีพื้นที่ตัดกัน เช่น น้ำเงิน – ขาว
  • ให้โทนสีที่ดูอบอุ่นน่าสนใจ เมื่อพิมพ์ลงบนกระดาษสีครีม

จุดอ่อน

  • เมื่อพิมพ์ลงบนกระดาษบางชนิดและการแสดงผลบนจอมอนิเตอร์นั้นจะให้สีที่มีลักษณะทึบและตุ่น
  • ค่าหมึกที่ใช้ Print นั้นมีราคาสูง

กล่าวได้ว่า CMYK เป็นวิธีพิมพ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนเข้าสู่ยุคดิจิทัลในเวลาต่อมาแม้โลกจะก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลกลายเป็นเครื่องมือที่นักกราฟิกนำมาใช้งานในงานออกแบบแต่การพิมพ์สีในยุคนั้นก็ยังใช้เครื่อง Offset ที่เป็น CMYK ในการพิมพ์อยู่ดี ไฟล์งานสำหรับงานพิมพ์ในยุคนั้นจึงสร้างและบันทึกด้วยโหมดสีไฟล์แบบ CMYK นอกเสียจากว่าเป็นงานที่ไปใช้แสดงผลบนจอคอมพิวเตอร์หรือโทรทัศน์

ทำไมเครื่องพิมพ์ถึงไม่ใช้ระบบสี RGB

อาจมีคนสงสัยว่า ในเมื่อระบบสี RGB สร้างสีได้หลากหลายกว่าทำไมเครื่องพิมพ์ไม่เปลี่ยนจาก CMYK มาเป็น RGB ล่ะ ? คือ โทนสี RGB จะมีโทนที่ค่อนข้างเข้มอยู่แล้วทำให้การใช้สี RGB สร้างสีที่มีโทนอ่อน โทนสว่าง เช่น สีเหลือง, เขียวสะท้อนแสง ฯลฯ ทำได้ยาก ในขณะที่โทนสี CMYK มีความสว่างกว่า RGB มาก ทำให้การสร้างสีโทนสว่างสามารถทำได้ง่ายกว่ามาก อย่างไรก็ตาม CMYK ติดปัญหาตรงไม่สามารถสร้างสีโทนมืดหรือสีดำได้ ดังนั้นสีดำ (K) เลยถูกเพิ่มเข้ามาเพื่อช่วยในการสร้างสีโทนมิดนั่นเอง

กล่าวได้ว่าระบบสี RGB สามารถแสดงเฉดสีได้กว้างกว่าระบบสี CMYK เมื่อแสดงผลบนหน้าจอ แต่หากเป็นเรื่องของการพิมพ์มันจะทำได้ไม่ดีเท่าระบบสีแบบ CMYK นั่นเอง

จำเป็นต้องแปลงไฟล์ RGB เป็น CMYK ก่อนพิมพ์หรือไม่ ?

สามารถตอบได้ทั้ง “ใช่” และ “ไม่ใช่” ในการทำงานปกติ งานส่วนตัวที่ไม่ได้เคร่งครัดเรื่องสีมาก พิมพ์งานออกมาด้วยเครื่องพิมพ์ของตัวเองกระบวนการทั้งหมดส่วนใหญ่ก็จะอยู่บนพื้นฐาน RGB เราไม่จำเป็นต้องแปลงไฟล์เป็น CMYK ก่อนที่จะพิมพ์ เพราะไดร์เวอร์ของเครื่องพิมพ์จะจัดการทุกอย่างให้เราอัตโนมัติอยู่แล้วจะแปลงเองหรือให้ไดร์เวอร์เครื่องอิงค์เจ็ทของเราแปลงให้ผลลัพธ์ก็แทบไม่แตกต่างกันอยู่แล้ว แต่หากเป็นงานที่ต้องการความแม่นยำของสี งานออกแบบที่จำเป็นต้องมีมาตรฐาน พิมพ์ออกมาแล้วได้งานที่สีตรงกับที่ออกแบบเอาไว้ การทำงานบนระบบไฟล์ CMYK เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

อย่างไรก็ตามเราไม่สามารถเลือกได้เลย เพราะมันมีขอบเขตสี RGB และ CMYK อยู่หลายแบบอย่าง RGB ก็จะมี sRGB หรือ Adobe RGB หากเป็น CMYK ก็เช่น SWOP, FOGRA, GRACOL ฯลฯ ก่อนเริ่มงานจึงควรคุยกับโรงพิมพ์ก่อนด้วยว่า พวกเขาต้องการโปรไฟล์สีแบบไหน จะได้ทำงานที่มาตรฐานเดียวกัน

สีประจำปี สีเหลือง Illuminating และ สีเทา Ultimate Gray เป็นสีประจำปี 2021

Pantone บริษัทธุรกิจการพิมพ์และการออกแบบในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ที่กำหนดมาตรฐานการเทียบสีที่เรียกว่า Pantone Matching System (PMS) เพื่อใช้ในโรงพิมพ์ทั่วโลก ในช่วงสิ้นปี Pantone มักจะออกมาประกาศสีประจำปีออกมาตั้งแต่ปี 2000 ซึ่งเป็นเทรนด์สีที่มาจากการคาดการณ์แนวโน้มสีทั่วโลก พร้อมทั้งบอกเล่าถึงเรื่องราวที่กำลังจะเป็นไปของโลกใบนี้ด้วยความหมายแฝงในสี สำหรับสีที่จาก Pantone ที่ถูกคัดเลือกให้เป็น Color of the year คล้ายกับเป็นสีที่เป็นเทรนด์ในช่วงปีนั้น มักจะถูกใช้ในการกำหนดทิศทางในการใช้สีในหลายแง่มุม เพื่อสื่อสารและบ่งบอกตัวตนของงานศิลปะด้วยสี และในปีนี้ Pantone ได้ออกมาประกาศสีประจำปี 2021 คือสี สีเหลือง Illuminating PANTONE 13-0647 และ สีเทา Ultimate Gray PANTONE 17-5104 ซึ่งถือได้ว่าเป็นปีที่ 2 ที่ทาง Pantone ประกาศออกมาพร้อมกัน 2 สี ครั้งแรก คือสีชมพู Rose Quartz และ สีฟ้า Serenity Blue เป็นสีแห่งปีนั้นเพื่อตอบรับกระแสความเท่าเทียมทางเพศ เมื่อ 5 ปีที่แล้ว

ความหมายของสี

  • สีเหลือง Illuminating เป็นสีที่ดูมีชีวิตชีวาและเปล่งประกาย สื่อความหมายถึงความหวังที่สดใสและการมองโลกในแง่ดี
  • สีเทา Ultimate Gray เป็นสีที่ดูแล้วให้ความมั่นคงทางอารมณ์ สื่อความหมายถึงความแข็งแกร่งในยามที่เผชิญกับวิกฤตและสภาวะที่ยากลำบาก

การประกาศสี Pantone ปี 2021 ให้ออกมาพร้อมกัน 2 สีเป็นความตั้งใจของทาง Pantone ที่ต้องการจะมอบความหวัง กำลังใจ และความแข็งแกร่งให้กับผู้คนทั่วโลกที่ประสบกับวิกฤตการแพร่ระบาดอย่างหนักของ COVID-19 ที่ลากยาวมาตั้งแต่ปลายปี 2019 จนถึงตอนนี้

เราทุกคนต่างตระหนักว่า เราไม่สามารถทำสิ่งต่างๆได้โดยลำพัง เราจำเป็นและต้องการกันและกัน รวมถึงการสนับสนุนกันและกันทางอารมณ์และความหวัง จึงเป็นที่มาของการเลือกสี 2 สีมาเพื่อเกื้อกูลซึ่งกันและกัน (Leatrice Eiseman ผู้อำนวยการบริหารของ Pantone Color Institute กล่าวถึงสีประจำปี 2021)