5.การเข ยนผ งงาน flowchart ม ก แบบ

การเขียนผังงาน

5.การเข ยนผ งงาน flowchart ม ก แบบ
ผังงาน Flowchart เป็นผังงานที่แสดงให้เห็นถึงแนวคิด และขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม อีกทั้งยังช่วยให้มองเห็นภาพรวมของโปรแกรมทำให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น การเขียน Flowchart นั้นจะใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ แทนคำอธิบายและกระบวนการทำงานของโปรแกรมในแต่ละส่วนตั้งแต่เริ่มแรก จนถึงสิ้นสุดการทำงานของโปรแกรม เพื่อให้ผู้พัฒนาโปรแกรมได้เข้าใจแนวคิด และการทำงานที่ชัดเจนมากที่สุด

——————————————————————————————————————————

สัญลักษณ์ผังงาน Flowchart

5.การเข ยนผ งงาน flowchart ม ก แบบ
การเขียนผังงาน Flowchart นั้นได้มีการกำหนดสัญลักษณ์ที่ใช้งานให้เป็นสากล และเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยการกำหนดมาตรฐานนี้ได้ถูกกำหนดตามแบบของ ANSI (American National Standards Institute) และ ISO (International Standard Organization) เพื่อสื่อความหมาย และให้เกิดความเข้าใจในสัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน Flowchart ทั่วโลก โดยสัญลักษณ์ต่าง ๆ นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายสัญลักษณ์

สัญลักษณ์

ความหมายและการใช้งาน

5.การเข ยนผ งงาน flowchart ม ก แบบ
Terminal

ใช้เริ่มต้นและสิ้นสุดการทำงานของโปรแกรม

5.การเข ยนผ งงาน flowchart ม ก แบบ
Process

ใช้ประมวลผลการทำงานของโปรแกรม

5.การเข ยนผ งงาน flowchart ม ก แบบ
Decision

เพื่อกำหนดทางเลือก หรือตัดสินใจการทำงานของโปรแกรม

5.การเข ยนผ งงาน flowchart ม ก แบบ
Document

ใช้เพื่อแสดงผลลัพธ์ออกทางเครื่องพิมพ์ (Printer)

5.การเข ยนผ งงาน flowchart ม ก แบบ
Input

ใช้เพื่อรับหรือแสดงผลโดยไม่กำหนดชนิดของอุปกรณ์ใน การทำงาน

5.การเข ยนผ งงาน flowchart ม ก แบบ
Manual input

ใช้เพื่อรับข้อมูลเข้ามาในระบบ เช่น ค่าของตัวแปร

5.การเข ยนผ งงาน flowchart ม ก แบบ
Display

ใช้เพื่อแสดงผลลัพธ์ออกทางจอภาพ (Monitor)

5.การเข ยนผ งงาน flowchart ม ก แบบ
On-Page Reference

ใช้เพื่อเชื่อมต่อการทำงานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง

5.การเข ยนผ งงาน flowchart ม ก แบบ
Off-Page Reference

ใช้เพื่อเชื่อมต่อผังงานที่มีความยาวมากกว่า 1 หน้า ให้สามารถเชื่อมโยงกันได้

5.การเข ยนผ งงาน flowchart ม ก แบบ
Connector

ใช้เชื่อมต่อระหว่างสัญลักษณ์หนึ่งไปยังอีกสัญลักษณ์หนึ่ง เพื่อให้ทราบการไหลและทิศทางของข้อมูล

——————————————————————————————————————————

ประเภทของผังงาน Flowchart นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

5.การเข ยนผ งงาน flowchart ม ก แบบ
1. ผังงานระบบ (System Flowchart) 2. ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart)

——————————————————————————————————————————

หลักการเขียนผังงาน Flowchart

5.การเข ยนผ งงาน flowchart ม ก แบบ
1. เลือกใช้สัญลักษณ์เพื่อสื่อความหมายให้ถูกต้อง เช่น การกำหนดค่าตัวแปรให้เลือกใช้กรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า การตรวจสอบเงื่อนไขเพื่อตัดสินใจด้วยคำสั่ง if ให้เลือกใช้สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด เป็นต้น 2. ใช้ลูกศรกำหนดการทำงานของโปรแกรมจากบนลงล่าง จากซ้ายไปขวา โดยเรียงลำดับ การทำงานของคำสั่ง ไม่ควรสลับการทำงานกัน 3. ผังงานทุกผังงานนั้นต้องมีลูกศรเข้าและออก ยกเว้นจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดการทำงานเท่านั้น 4. ลูกศรทุกตัวต้องออกจากผังงานและชี้ที่ผังงานเสมอ 5. คำอธิบายภายในผังงานควรสั้น ๆ และเข้าใจง่าย 6. ไม่ควรใช้ลูกศรชี้ไกลเกินไป หากจำเป็นให้ใช้การเชื่อมต่อแทน

——————————————————————————————————————————

ลักษณะโครงสร้างของผังงาน Flowchart

5.การเข ยนผ งงาน flowchart ม ก แบบ
การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซี เป็นการเขียนโปรแกรมแบบมีโครงสร้าง (Stucture Programming) จะประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐาน 3 รูปแบบต่อไปนี้คือ 1. การทำงานแบบตามลำดับ (Sequence) 2. การเลือกกระทำตามเงื่อนไข (Decision) 3. การทำซ้ำ (Loop)

——————————————————————————————————————————

ประโยชน์ของผังงาน Flowchart

5.การเข ยนผ งงาน flowchart ม ก แบบ
1. ทำให้มองเห็นภาพของระบบและโปรแกรมได้ทั้งหมด และใช้เวลาในการเข้าใจการทำงานได้เร็วขึ้น 2. การเขียนผังงานใช้สัญลักษณ์เป็นสากล สามารถนำไปเขียนและสื่อความหมาย ความเข้าใจได้ทุกภาษา 3. ทำให้ตรวจพบข้อผิดพลาดได้ง่าย และสามารถแก้ไขจุดผิดพลาดได้อย่างรวดเร็ว 4. หากมีการขยายงานต่อจากผังงานเดิมก็สามารถเพิ่มเติมได้ โดยอาศัยได้ดูผังงานเดิมประกอบ จะทำให้เข้าใจได้รวดเร็วกว่าการดูรายละเอียดจากโปรแกรม หรือระบบงานเดิม

——————————————————————————————————————————