ข อม ล สร ป ภ ม ป ญญาการประกอบอาช พ

องค์การบริหารส่วนตำบล ประดาง ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้

ยอมรับ

ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล

ประดาง

นมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์

เพื่อเป็นศิริมงคล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

ตำบลประดาง

องค์การบริหารส่วนตำบลประดาง

ข อม ล สร ป ภ ม ป ญญาการประกอบอาช พ
ข อม ล สร ป ภ ม ป ญญาการประกอบอาช พ
ข อม ล สร ป ภ ม ป ญญาการประกอบอาช พ
ข อม ล สร ป ภ ม ป ญญาการประกอบอาช พ
ข อม ล สร ป ภ ม ป ญญาการประกอบอาช พ
ข อม ล สร ป ภ ม ป ญญาการประกอบอาช พ
ข อม ล สร ป ภ ม ป ญญาการประกอบอาช พ
ฐานข้อมูล ภูมิปัญญาท้องถิ่น “สานกระติ๊บข้าว”

ฐานข้อมูล ภูมิปัญญาท้องถิ่น “สานกระติ๊บข้าว” ความเป็นมาของกระติบข้าว กระติบข้าว คือ ภาชนะในการเก็บอาหารที่เป็นงานหัตถกรรมอันทรงคุณค่าชนิดหนึ่งที่มากด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นของที่ใช้ประจำบ้านของชาวไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือมายาวนาน ใช้สำหรับบรรจุข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้ว เพื่อรักษาคุณภาพของข้าวนึ่งสุกหรือใช้เก็บเมล็ดพันธุ์พืช หรือแม้แต่ใช้เป็นเครื่องประดับในครัวเรือนหรือประดับสถานที่ต่างๆ เป็นเครื่องจักสานที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ ใบจาก ใบตาล ใบลาน ต้นคล้า ต้นไหล ต้นกก หรือ จากต้นพืชที่มีลักษณะยาวเรียว การสานกระติบเป็นงานหัตถกรรมที่มีพื้นฐานมาจากสังคมเกษตรกรรม และค่านิยมในการบริโภคข้าวเหนียวเป็นอาหารหลักของคนไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ แต่เดิมภาชนะที่ใช้บรรจุข้าวเหนียวมักทำจากต้นไม้ต้นเล็กๆ นำมาเจาะลำต้นให้กลวงแล้วตัดเป็นท่อนขนาดสั้นๆเป็นกระบอก มีฝาปิด หรือบางครั้งก็ใช้ไม้ไผ่มาตัดเป็นกระบอกสั้นๆนำมาเป็นภาชนะบรรจุข้าวเหนียว ต่อมามีการปรับปรุงพัฒนาภาชนะบรรจุข้าวเหนียว แต่เดิมพกพาไม่สะดวกในการเดินทางไกลจึงมีการริเริ่มเอาวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ ใบจาก ใบตาล ใบลาน ต้นคล้า ต้นไหล ต้นกกหรือ จากต้นพืชที่มีลักษณะยาวเรียวผ่าเป็นซีกเล็กๆ มาเหลาเป็นแผ่นบางๆนำมาจักสานเป็นตะกร้ากระบุง บรรจุข้าวสาร และพัฒนามาจักสานเป็นภาชนะบรรจุข้าวเหนียว (กระติบ) ซึ่งมีน้ำหนักเบาและระบายอากาศได้ดีทำให้ไอน้ำระเหยออกไปได้ ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุอยู่ภายในยังมีความร้อนและข้าวไม่แฉะด้วยไอน้ำ พกพาง่ายเพราะมีการทำสายสะพาย อีกทั้งยังมีหลายรูปแบบ รูปทรงกลม รูปทรงรี หลากหลายขนาดสอดคล้องกับการใช้งานกระติบข้าวใช้ประโยชน์ในการบรรจุข้าวเหนียว พกพาไปได้สะดวก กระติบข้าวมีอายุใช้งานประมาณ 1 ปีขึ้นไปหรือนานกว่านี้ขึ้นอยู่กับการรักษา กระติบขนาดเล็กสำหรับบรรจุข้าวเหนียวสำหรับรับประทานคนเดียว ขนาดกลางสำหรับรับประทาน 2-3 คน ขนาดใหญ่สำหรับรับประทานทั้งครอบครัวเป็นต้น ซึ่งผู้สานจะใช้ช่วงเวลาว่างหลังจากการทำไร่ทำนา เลือกใช้ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งหาได้ในท้องถิ่นมาผลิตเป็นเครื่องจักสาน เพื่อความสุขสนุกเพลิดเพลินในการรวมกลุ่มกันทำงานหัตถกรรม ตลอดจนสนองประโยชน์ใช้สอยในครัวเรือนของตนเองและสมาชิกในครอบครัว การสานกระติบเป็นงานที่มักจะกระทำกันภายในครอบครัวหรือชุมชน ซึ่งหลังจากรับประทานอาหารเย็นแล้ว คนในครอบครัวจะมารวมกัน เพื่อช่วยกันทำงาน ทำให้เกิดความอบอุ่น สมัครสมานสามัคคีเพราะเมื่อมารวมตัวกันทำงาน ก็จะมีการแลกเปลี่ยนพูดคุยกันถึงเรื่องวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในแง่มุมต่างๆ ตลอดจนสอนลูกสอนหลานไปด้วยก่อให้เกิดเป็นภูมิปัญญาพื้นถิ่นที่ตกทอดและสืบสานกันมาจากรุ่นสู่รุ่น รูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องจักสาน จึงเป็นศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีความ งามบริสุทธิ์แบบธรรมชาติ สะท้อนถึงความเป็นอิสระและการแสดงออกถึงความเฉลียวฉลาดและความสามารถของผู้จักสาน ชี้ให้เห็นคุณค่าทางอารยธรรมในการเข้าใจใช้วัสดุธรรมชาติให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมของการดำรงชีวิต อีกทั้งยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานอีกด้วย ประโยชน์ที่ได้จากกระติบข้าว 1. ใช้บรรจุข้าวเหนียวรักษาสภาพของข้าวเหนียวให้มีความนุ่มได้นานขึ้น 2. เป็นของชำร่วย 3. ประดับตกแต่ง 4. กล่องเอนกประสงค์ 5. กล่องออมสิน 6. แจกัน 7. กล่องใส่ดินสอ 8.เป็นการอนุรักษ์การจักสานกระติบข้าว แหล่งที่มาของวัตถุดิบ ต้นไหลหรือต้นกกราชินี ชื่อวิทยาศาสตร์: CyperusinvolucratusRoxb. ชื่อทางการค้า : กกราชินี, กกรังกา, กกลังกา ชื่อสามัญ: Umbrella Plant ถิ่นกำเนิด: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลักษณะพืช: ไม้ล้มลุก การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด แยกกอ ลักษณะทั่วไป: เป็นวัชพืชน้ำที่เจริญได้ดีในช่วงฤดูฝนลักษณะแตกกอ ลำต้นเหนียว เมื่อออกดอกปลายฤดูฝน เมล็ดก็จะร่วงลงดิน และจะเจริญในฤดูฝนปีต่อมา ต้นไหลหรือต้นกกราชินี หากมองเผิน ๆ อาจจะคล้ายกับกกร่มต่างกันที่ต้นไหลหรือต้นกกราชินีมีขนาดเล็กกว่า ใบแผ่ออกเป็นแฉกตรง ไม่ห้อยลู่ลงเหมือนกกร่ม การปลูกเลี้ยง ถ้าปลูกในบ่อหรือสระจะงามและโตเร็วกว่าในกระถาง เพราะได้รับน้ำและธาตุอาหารที่มากกว่า ถ้าปลูกในกระถางต้องมีน้ำเลี้ยงต้นไม้ตลอดอย่าให้น้ำแห้งต่ำกว่าโคนราก ถ้ากอแน่นควรแยกปลูก เป็นไม้ที่ชอบแดดเต็มวัน แต่ก็สามารถนำมาประดับไว้ภายในหรือห้องน้ำได้ แต่ควรหมั่นให้ต้นไม้ได้รับแสงธรรมชาติบ้าง ดินปลูกใช้ดินเหนียว ปัญหาปลายใบไหม้ อาจเกิดจากต้นไม้ขาดน้ำ แล้วได้รับแสงแดดที่จัดในหน้าร้อน ทำให้ความสมดุลภายในเซลพืชไม่ดี จึงทำให้เกิดการไหม้ที่ปลายใบสามารถเกิดได้ทั้งที่ใบอ่อนและใบแก่ หรือเกิดจากเชื้อโรคเข้าทำลาย หรือเกิดจากการต้นไม้ได้รับปุ๋ยที่เข้มข้นเกินไป หรือดินเค็ม ก็อาจส่งผลทำให้เกิดอาการไหม้ที่ปลายใบได้ การปลูกต้นไม้น้ำในกระถาง ควรมั่นดูแลเรื่องน้ำเป็นสำคัญ เพราะจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและควรมีการเปลี่ยนดิน หรือเปลี่ยนกระถางบ้างหรือแยกต้นปลูกเมื่อต้นไม้แน่นเกินไป อาการปลายใบถ้าไหม้ ก็ใช้กรรไกรตัดส่วนที่ไหม้ทำลายเสีย ไหลเป็นพืชใบเลี้ยงเดียว มีหัวอยู่ใต้ดินแบบแห้วบางชนิดที่เราใช้เป็น อาหารพวกคาร์โบไฮเดรต ขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุย ดังนั้นการปลูกต้นไหลจึงคล้ายกับการปลูกข่า ขิง เมื่อตัดใบไปใช้แล้วก็ปล่อยให้แตกหน่อใหม่ โดยไม่ต้องปลูกใหม่ เมื่อไหลอายุ3-4 เดือน ก็ตัดเอาส่วนที่เป็นใบหรือต้นปลอม ( เพราะไม่เป็นปล้องหรือมีข้อ) มีลักษณะกลมข้างในกลวงแบบใบหอม เอาไปผ่าเป็นเสี้ยวขูดให้เหลือแต่เปลือกที่แข็งแรงตากให้แห้ง( ตากก่อนจักเป็นตอกก็ได้) อาจย้อมสีให้สวยงามตามต้องการ นำมาทอเป็นเสื่อหรือสานภาชนะการรักษาถ้าต้องการเก็บไว้สานควรมัดและเก็บไว้ในที่แห้ง การปลูกต้นไหล 1. การเลือกที่ดิน ไหลชอบขึ้นในที่ดินเลนแต่ต้องอยู่ในที่ลุ่ม มีน้ำขังเสมอหรือน้ำขึ้นถึงทุกวันได้ยิ่งดีระดับน้ำประมาณ 25 – 30 เซนติเมตร 2. การเตรียมที่ดิน เมื่อเลือกหาพื้นที่ดินพอสำหรับปลูกต้นไหลได้แล้ว จัดการถางไถให้ดินซุย และให้หญ้าตายเช่นเดียวกับนาข้าว เพราะหญ้าเป็นศัตรูของต้นไหลเหมือนกัน ทั้งต้องทำคันนาไว้สำหรับขังน้ำได้ 3. การปักดำ การปลูกต้นกกเหมือนการดำนาข้าว ใช้หัวต้นไหลที่ติดอยู่กับลำต้นตัดปลายทิ้งแล้วให้เหลือยาวเพียง 50 เซนติเมตร มัดเป็นกำ ๆไปยังนากกที่เตรียมแล้ว แยกออกเป็นหัว ๆ ดำลง 4.การบำรุงรักษา 4.1 การทำรั้ว รั้วนี้เป็นรั้วป้องกันวัวควายที่จะมาเหยียบย่ำในนากก หรือกัดกินต้นกกที่ลัดขึ้นมา 4.2 การถอนหญ้า การถอนหญ้าในนากก นานๆ จะมีการถอนหญ้าสักครั้ง เมื่อเห็นว่ามีหญ้าขึ้นมาก บางแห่งไม่ต้องถอนหญ้าเลย เพราะเมื่อไหลขึ้นแน่นหนา หญ้าไม่สามารถจะขึ้นมาได้ 4.3 การใส่ปุ๋ยตามปกติบางแห่งไม่ต้องดำเลย 10 ปี ถึง 15 ปีก็มี เพราะตัดต้นไหลไปแล้วหัวของต้นไหลยังอยู่จะแทงหน่อขึ้นมาเป็นลำต้นอีกปุ๋ยที่ต้นไหลชอบมากที่สุดคือปุ๋ยขี้เป็ดปลาเน่าและขี้น้ำปลา เป็นต้น ประโยชน์ของต้นไหล 1. ทำเป็นเสื่อสำหรับนอน สำหรับปูพื้นในห้องรับแขกแทนพรม และปูลาดตามพื้นโบสถ์วิหาร เพื่อความสวยงาม 2. ทำเป็นกระเป๋า แทนกระเป๋าหนัง ทำเป็นรูปต่าง ๆ ได้หลายแบบ แล้วแต่ผู้ประดิษฐ์คิดค้นแบบต่าง ๆ กัน ทำเป็นกระเป๋าสตางค์ ทำเป็นกระเป๋าหิ้วสตรี กระเป๋าใส่เอกสาร แต่ปัจจุบันมีผู้ทำกันน้อย เพราะกระเป๋าหนัง กระเป๋าพลาสติก ราคาถูกลงมากการทำไม่ค่อยคุ้มค่าแรงงาน 3. ทำเป็นหมอน เช่น หมอนรองที่นั่ง หมอนพิงพนักเก้าอี้ เรียกว่า หมอนเสื่อ 4.งานฝีมือ เช่น สานกระติบข้าว กล่อง กระจาดใส่ผลไม้ 5. ทำเป็นเชือกสำหรับมัดของที่ห่อแล้ว ตามร้านค้าทั่วไปนิยมใช้ เพราะราคาถูกมาก 6. ทำเป็นหมวก ใช้กันแดด กันความร้อนจากแสงแดด กันฝน หรือเพื่อความสวยงาม 7. การใช้งานด้านภูมิทัศน์ ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับริมสระน้ำในสวน หรือปลูกในภาชนะร่วมกับไม้น้ำอื่น 8. เป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของสัตว์น้ำวัยอ่อน และต้นไหลมีคุณสมบัติในการบำบัดน้ำเสีย ปรับสมดุล 9. ใช้เป็นยารักษาโรค – ใบ ตำพอกฆ่าพยาธิบาดแผล– ต้น รสเย็นจืด ต้มเอาน้ำดื่ม รักษาโรคท่อน้ำดีอักเสบ ขับน้ำดี – ดอก รสฝาดเย็น ต้มเอาน้ำอม แก้แผลเปื่อยพุพองในปาก– เหง้า รสขม ต้มเอาน้ำดื่ม หรือบดเป็นผง ละลายน้ำร้อนดื่ม บำรุงธาตุ

ข่าว ณ. วันที่ 4 ม.ค. 2562 เวลา 13.04 น. โดย คุณ เยาวภา พรมรัตน์

ผู้เข้าชม 21458 ท่าน

สายตรงนายก

รับเรื่องราวร้องเรียน

โทร. 055-508-903 ต่อ 12

แผนผังเว็บไซต์ Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10