ปวดห วตอนเช า ม อาการว งเว ยนและห ว

การซักประวัติและหาข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับความเป็นมาของอาการเวียนศีรษะเป็นเรื่องสำคัญอันดับหนึ่งซึ่งไม่ควรละเลย เพราะการวินิจฉัยโรคร้อยละ 90 อาจทำได้ตั้งแต่การซักประวัติ ซึ่งประวัติที่ควรรู้ได้แก่ ผู้ป่วยเคยมีประวัติเป็นโรคหูหรือไม่ ประวัติการได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง ประวัติการได้รับยา ประวัติการเป็นโรคต่างๆ และอาการที่เป็นลักษณะเวียนหมุน มึนงง เซ หรือล้ม

2. การตรวจร่างกาย

ขณะซักประวัติ การสังเกตอาการท่าทางของผู้ป่วยเป็นเรื่องสำคัญ ผู้ป่วยที่มีปัญหาการไหลเวียนของกระแสโลหิตมักเป็นคนสูงอายุ การตรวจร่างกายควรครอบคลุมการตรวจหู คอ จมูกด้วย และตรวจหาความผิดปรกติของร่างกายส่วนอื่นๆ เพื่อการวินิจฉัยแยกโรคซึ่งอาจเป็นต้นเหตุของอาการเวียนศีรษะ

ปวดห วตอนเช า ม อาการว งเว ยนและห ว

การตรวจพิเศษ

  • การตรวจการได้ยินแบบพิเศษ (Bekesy)
  • การตรวจการเดินและการทรงตัว (Posturogarphy)
  • การตรวจประสาททรงตัวของหูชั้นในโดยการทำ Caloric test
  • การทำ Positioning test
  • การตรวจการเคลื่อนไหวผิดปกติของตาด้วย VNG
  • การตรวจการทำงานของก้านสมองด้วย Brainstem Electrical Response Audiometer (BERA)

สรุป

อาการรู้สึกหมุนหรืออาการเวียนศีรษะ เสียการทรงตัว เดินเซ คืออาการที่ผู้ป่วยรู้สึกคล้ายมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปรกติของร่างกายตนเอง หรือสิ่งแวดล้อม ทำให้ควบคุมการทรงตัวไม่ได้ อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หูอื้อ เหงื่อแตก จะเป็นลม

อาการเวียนศีรษะ เกิดจากการเสียสมดุลของระบบการทรงตัวของร่างกาย ซึ่งประกอบด้วยอวัยวะทรงตัวของหูชั้นในทั้ง 2 ข้าง จนถึงประสาททรงตัวและประสาทสมองส่วนกลาง อวัยวะทรงตัวและอวัยวะรับเสียงจะอยู่ใกล้ชิดสัมพันธ์กันจากหูไปสู่สมอง โรคของระบบทรงตัวจึงมักสัมพันธ์กับการเสียการได้ยิน หูอื้อ และมีเสียงรบกวนในหูได้

การตรวจค้นหาโรคที่เป็นต้นเหตุของอาการเวียนศีรษะ เสียการทรงตัวนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีโรคทางกายหลายอย่างที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะได้ เช่น ความดันโลหินสูง เบาหวาน ต่อมธัยรอยด์ โรคติดเชื้อบางอย่าง โรคทางหูและทางการได้ยินโรคทางประสาทและสมอง ดังนั้นแพทย์ต้องซักประวัติการเจ็บป่วยโดยละเอียด ตรวจเช็คภาวะเคมีของเลือด ตรวจภาพถ่ายรีงสีปอดและส่วนที่เกี่ยวข้อง และที่สำคัญคือตรวจหู และตรวจการได้ยิน ตรวจการทรงตัวและตรวจประสาทสมอง แม้สาเหตุของอาการเวียนศีรษะส่วนใหญ่จะไม่ร้ายแรง แต่ก็มีบางสาเหตุส่วนน้อยที่อาจบั่นทอนชีวิตได้ ซึ่งในปัจจุบันได้มีความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์สมัยใหม่ ทำให้การตรวจค้นต่างๆเป็นไปได้อย่างรวดเร็วถูกต้อง

ที่เกิดขึ้นนี้มีสาเหตุหลากหลายออกไป ทั้งจากความเครียด กิจวัตรประจำวัน อาหาร ระยะเวลาการพักผ่อน รวมถึงโรคภัยต่างๆ มาดูกันว่าอาการปวดศีรษะที่คุณเผชิญอยู่มาจากปัจจัยใดบ้าง? และอันตรายมากน้อยแค่ไหน?

.jpg)อันตรายถึงชีวิต หากมีอาการปวดศีรษะแบบนี้

  • ตื่นเช้ามาแล้วปวดศีรษะเลย
  • ปวดในช่วงเวลาที่เบ่ง หรือถ่ายอุจจาระ
  • ปวดศีรษะที่มาพร้อมอาการมองไกลๆ อาจเห็นเป็นภาพเบลอ ซ้อนจาก1คน เห็นเป็น 2 คน
  • มีไข้ร่วมกับคลื่นไส้ อาเจียน พร้อมกับอาการปวดศีรษะ

ลักษณะนี้เข้าข่าย อาการปวดศีรษะกลุ่มร้ายแรง (Organic Headache) ที่ต้องรีบพบแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุ แนะนำให้คุณสังเกตตัวเองหากมีอาการปวดศีรษะอยู่บ่อยครั้ง ปวดเวลาไหน ปวดแบบใดถ้าการปวดนั้นต่างจากอาการปวดที่เคยเป็นแล้วหาย กลายเป็นอาการปวดศีรษะที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีช่วงเวลาหายปวด หรือมีความถี่และความรุนแรงมากขึ้นอาจบ่งชี้ถึงโรคที่อาจจะเกิดได้ เช่น เลือดออกในสมอง เนื้องอกในสมอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ต้อหิน หรือ ภาวะน้ำในโพรงสมองอุดตัน เป็นต้น อาการปวดศีรษะแบบธรรมดา ไม่ร้ายแรง (Functional headache) สามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ระดับความปวดมากน้อยลดหลั่นกันไป เช่น

  • ปวดศีรษะจากภาวะกล้ามเนื้อบีบเกร็ง อาจมีอาการปวดศีรษะอยู่นานเป็นชั่วโมงหรือเป็นวันก็ได้ บางรายอาจรู้สึกคลื่นไส้ พะอืดพะอม ตาพร่านิดๆ อาการปวดศีรษะนี้ถือว่าเป็นการปวดศีรษะทั่วไป มักสัมพันธ์กับช่วงอากาศร้อน นอนไม่หลับ เครียด ทำงานอยู่ในท่าเดิมนานๆ ใช้ตามากๆ มีความวิตกกังวล ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ หรือดื่มชา กาแฟมากเกินไป ปวดไมเกรน เป็นอาการปวดหัวที่พบบ่อย ลักษณะการปวดจะมาในรูปแบบของการปวดศีรษะข้างเดียว ปวดตุบๆ ข้างเดียวคล้ายจังหวะการเต้นของหัวใจ หรือปวดหนักๆ ข้างเดียวบริเวณเบ้าตา ขมับ ในแต่ละรอบจะมีการปวดย้ายข้าง ขวาบ้าง ซ้ายบ้าง เวลาปวดไมเกรนมักจะปวดค่อนข้างแรง บางครั้งปวดจนทำอะไรไม่ได้เลย อาจมีคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ส่วนใหญ่รับประทานยาพาราเซตามอลแล้วเอาไม่อยู่ ต้องปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษา และใช้ยาให้ตรงกับอาการ

เป็นโรคที่ก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะเรื้อรังชนิดหนึ่ง มีลักษณะเฉพาะตัวที่สำคัญ คือ อาการปวดศีรษะ โดยมักปวดข้างเดียว หรือเริ่มปวดข้างเดียวก่อนแล้วจึงปวดทั้ง 2 ข้าง แต่ละครั้งที่ปวดมักจะย้ายข้างไปมาหรือย้ายตำแหน่งได้ บางครั้งอาจปวดทั้ง 2 ข้างขึ้นมาพร้อมๆ กันตั้งแต่แรก ผู้ป่วยโรคไมเกรนส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ผู้หญิงจะเป็นมากกว่าผู้ชาย และมักเป็นในผู้ที่มีความเครียดทางอารมณ์และจิตใจสูง

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไมเกรน

ปัจจุบันสาเหตุของไมเกรนยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด อาจเกิดจากความผิดปกติที่ระดับสารเคมีในสมอง การสื่อกระแสในสมอง หรือการทำงานที่ผิดปกติไปของหลอดเลือดสมองก็ได้ ปัจจุบันจากหลักฐานข้อมูลทางระบาดวิทยาเชื่อว่า ไมเกรนสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ แต่จะเกิดอาการหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งภายในและภายนอกร่างกายที่มากระทบตัวผู้ป่วย

ลักษณะอาการปวดหัวไมเกรน

  • มักปวดตุบๆ เป็นระยะๆ แต่มีบางคราวที่ปวดแบบตื้อๆ
  • ส่วนมากจะปวดรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก โดยจะค่อยๆ ปวดมากขึ้นทีละน้อยจนกระทั่งปวดรุนแรงเต็มที่แล้วค่อยๆ บรรเทาอาการปวดลงจนหาย
  • ขณะที่ปวดศีรษะมักมีอาการคลื่นไส้ หรืออาเจียนร่วมด้วย
  • ระยะเวลาปวดอาจจะนานหลายชั่วโมง ส่วนใหญ่จะนานไม่เกิน 1 วัน ในบางรายอาจจะมีอาการเตือนนำมาก่อน เช่น สายตาพร่ามัว หรือมองเห็นแสงกระพริบๆ อาการปวดนั้นไม่เลือกเวลา บางรายอาจจะปวดกลางดึก หรือปวดตั้งแต่ตื่นนอนขึ้นมา บางรายปวดตั้งแต่ก่อนเข้านอนจนกระทั่งตื่นนอนก็ยังไม่หายปวด

ปวดห วตอนเช า ม อาการว งเว ยนและห ว

ปวดศีรษะไมเกรนกับปวดศีรษะจากสาเหตุอื่นแตกต่างกันอย่างไร?

อาการปวดศีรษะธรรมดามักจะปวดทั่วทั้งศีรษะ ส่วนใหญ่เป็นอาการปวดตื้อๆ ที่ไม่รุนแรง และมักไม่มีอาการอื่น เช่น คลื่นไส้ร่วมด้วย ส่วนใหญ่จะหายได้เองเมื่อได้นอนหลับสนิทไปพักใหญ่ อาการปวดหัวอาจเกิดจากความผิดปกติของส่วนต่างๆ ภายในกะโหลกศีรษะ เช่น สมอง เยื่อหุ้มสมอง โพรงน้ำในสมอง หลอดเลือดสมอง หรือเกิดจากความผิดปกติของกะโหลกศีรษะเอง รวมทั้งอวัยวะต่างๆ รอบกะโหลก ได้แก่ ตา หู จมูก โพรงอากาศหรือไซนัส คอ และกระดูกคอ นอกจากนั้น อาการปวดศีรษะอาจจะเกิดจากโรคหรือภาวะต่างๆ ที่เกิดแก่ร่างกาย แล้วส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะขึ้น เช่น ไข้หวัดใหญ่

การจะทราบว่าอาการปวดศีรษะนั้นเกิดจากโรคไมเกรนหรือไม่ แพทย์ต้องทำการวินิจฉัยจากลักษณะจำเพาะของอาการปวดศีรษะ อาการที่เกิดร่วมด้วย รวมถึงความผิดปกติของการทำงานของสมอง หรืออวัยวะต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดอาการปวด ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะเรื้อรังควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด

เนื้องอกในสมอง ปวดหัวแบบไหน

อาการโรคเนื้องอกในสมองที่สังเกตได้มีอาการปวดศีรษะบ่อยๆ หรือปวดหัวเรื้อรัง และอาจปวดรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ คลื่นไส้ อาเจียน ง่วงซึม มีปัญหาในการพูด สื่อสาร พูดจาติดขัด เห็นภาพเบลอ

ปวดหัวแบบไหนที่อันตราย

อาการปวดศีรษะที่เป็นสัญญาณอันตราย (Red flag sign) ดังต่อไปนี้ อาการไข้รวมถึงอาการทางร่างกายอื่นๆ เช่นผื่น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาการที่บ่งบอกถึงโรคในสมอง เช่น เห็นภาพซ้อน พูดไม่ชัด สื่อสารไม่ได้ แขนขาอ่อนแรงหรือควบคุมร่างกายได้ไม่ เหมือนเดิม เวียนศีรษะบ้านหมุน เซ คลื่นไส้อาเจียน ซึมลง อ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้

ปวดหัวไมเกรนแบบไหนอันตราย

อาการปวดหัวแบบไหนควรพบแพทย์ทันทีปวดหัวรุนแรง ร่วมกับมีอาการแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีกทันที บ่งบอกว่าเป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ ที่เกิดจากเลือดออกในเนื้อสมอง ปวดหัวรุนแรง ร่วมกับมีไข้ คอแข็ง ก้มคอไม่ได้ อาจจะมีอาการไม่เกิน 1 สัปดาห์ บ่งบอกว่า มีการติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมอง

ปวดหัวแบบไหนควรไปพบแพทย์

“ปวดศีรษะ” แบบไหน คือสัญญาณร้ายที่ควรรีบไปพบแพทย์ อาการปวดศีรษะรุนแรง และมักมีอาการคอแข็งร่วมด้วย อาจเกิดจากการติดเชื้อในระบบประสาท อาการปวดศีรษะที่ส่งผลให้มีอาการแขนขาอ่อนแรง การมองเห็นหรือการได้ยินผิดปกติได้จากเดิม อาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นแบบรุนแรงและเฉียบพลัน เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคหลอดเลือดสมอง