การ ทํา งาน เป็น ทีม ใน โรงเรียน

การทำงานเป็นทีม

การสร้างทีมในสถานศึกษา         การทำงานเป็นทีมมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ เพราะลักษณะการทำงานในองค์การนั้น เป็นลักษณะการทำงานร่วมกัน มีการทำงานเป็นทีมไม่ใช่เป็นการทำงานโดยลำพัง เพราะปัจจุบันระบบบริหารภายในหน่อยงานมีความยุ่งยาก ซับซ้อน นักบริหารแต่ผู้เดียวไม่สามารถปฏิบัติภารกิจต่างๆ มีอยู่ภายในขอบเขตความรับผิดชอบให้ปรากฏผลดีเท่าที่ควร งานส่วนใหญ่จำเป็นต้องอาศัยสติปัญญา ความรู้ความเชี่ยวชาญจากคนหลายๆคน จึงจำเป็นต้องทำงานร่วมกัน และทำงานเป็นทีม(Team) เป็นลักษณะของบุคคลที่ทำงานร่วมกันอย่างประสานงานภายในกลุ่ม กล่าวคือ เป็นการรวมตัวของกลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์กัน ค่อนข้างจะใกล้ชิดและคงความสัมพันธ์ อยู่ค่อนข้างจะถาวร ซึ่งประกอบด้วยหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงาน โดยร่วมกันทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของทีมงาน การสร้างทีมงาน (Team Building) เป็นลักษณะของกระบวนการพัฒนากลุ่มบุคคลที่ทำงานด้วยกัน เพื่อที่จะให้บุคคลเหล่านั้นได้เรียนรู้ว่าจะทำอย่างไรจึงจะสามารถทำงานให้บรรลุเป้าหมายของทั้งตนเอง ของกลุ่มหรือของหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล จากการศึกษาได้มีนักวิชาการกล่าวถึงการทำงานเป็นทีมดังรายละเอียดคือ

ความหมายของการทำงานเป็นทีม        Woodock (1989 : 23) การทำงานเป็นทีมหมายถึง การทำงานที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการโดยที่แต่ละบุคคลมาร่วมกันทำงานเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร        Tappen (1995 : 13) ได้กล่าวถึงความหมายการทำงานเป็นทีมว่า การที่บุคคลมาร่วมกันทำงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน        บุตรี จารุโรจน์ (2549 : 109) ได้กล่าวถึงความหมายของการทำงานเป็นทีมว่า การที่บุคคลมาร่วมกันทำงานตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้        อัฉรา อาศิรพจน์มนตรี (2541 : 6) ได้ให้ความหมายว่า การที่กลุ่มบุคคลร่วมกันปฏิบัติงานตามที่และความรับผิดชอบ โดยมีวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายเดียวกัน เพื่อให้งานที่รับผิดชอบบรรลุตามวัตถุประสงค์        มาลัยพร บุตรดี (2550 : 32) ได้สรุปว่า การที่บุคคลมาปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ร่วมกัน

ความสำคัญในการสร้างทีมงาน     การสร้างทีมงานเป้นกระบวนการสร้างความสัมพันธภาพในกลุ่ม มุ่งปรับปรุงคุณภาพความสัมพันธ์ที่มีอยู่ต่อกันระหว่างสมาชิก ให้มีประสิทธิผลของกลุ่มสูงขึ้นได้ เพื่อมีการวางแผนที่มีจุดมุ่งหมายในการปรับปรุงหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ ผ่านการวิเคราะห์อย่างมีระบบ และได้การยอมรับในหน่วยงาน ในการสร้างทีมงาน มีวัตถุประสงค์พื้นฐานในการปรับปรุงความสามารถในการแก้ปัญหาระหว่างสมาชิกของกลุ่ม ด้วยการทำงานร่วมกันตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ วัตถุประสงค์ประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ (สุนันทา เสาหนันท์. 2551 : 64)         1.สมาชิกทุกคนมีความเข้าใจบทบาทของตนดีขึ้นในการทำงานเป็นกลุ่ม         2. มีความเข้าใจดีขึ้นเกี่ยวกับ “ธรรมนูญ” หรือกฎข้อบังคับของกลุ่ม นั้นคือวัตถุประสงค์และบทบาทในการทำงานทั้งหมดในองค์การ         3. เพิ่มพูนการสื่อสารในระหว่างสมาชิกของกลุ่ม เกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ ที่จะมีผลกระทบต่อประสิทิภาพของกลุ่ม         4. ความสนับสนุนซึ่งกันและกันเพิ่มขึ้นในระหว่างสมาชิกของกลุ่ม         5. ความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งเกี่ยวกับกระบวนการกลุ่ม เช่น พฤติกรรม และความสัมพันธ์ของกลุ่ม ที่มีการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด         6. วิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เกี่ยวกับปัญหาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่ม ทั้งระดับที่เกี่ยวกับการทำงานโดยตรง และระดับที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในระหว่างบุคคล         7. ความสามารถที่จะใช้ความขัดแย้งไปในทางสร้างสรรค์มากกว่าทางทำลาย         8. การร่วมมือร่วมใจมากขึ้นระหว่างสมาชิกของกลุ่มและลดการแข่งขันลง ซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างมากต่อบุคคล ต่อกลุ่มและต่อองค์การ         9. การเพิ่มพุนความสามารถของกลุ่มที่จะทำงานร่วมกับกลุ่มอื่นๆ ในองค์การ         10. มีความรู้สึกของการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในระหว่างสมาชิกของกลุ่ม

อ้างอิง จรุณี เก้าเอี้ยน.(2557). เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. หน้า68-69

จัดทำโดย นางสาวมนัญชยา คงบุญ รหัตนิสิต 54105010122

การทำงานเป็นทีม

การทำงานเป็นทีม หมายถึง การร่วมกันทำงานของสมาชิกที่มากกว่า 1 คน โดยที่สมาชิกทุกคนนั้นจะต้องมีเป้าหมายเดียวกันจะทำ
อะไรแล้วทุกคนต้องยอมรับร่วมกัน มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน
การทำงานเป็นทีมมีความสำคัญในทุกองค์กรการทำงานเป็นทีมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารงานการทำงานเป็น
ทีมมีบทบาทสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือของกลุ่มสมาชิกเป็นอย่างดี

ลักษณะของทีม ลักษณะที่สำคัญของทีม 4 ประการ ได้แก่

1. การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของบุคคล หมายถึง การที่สมาชิกตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมีความเกี่ยวข้องกันในกิจการของกลุ่ม / ทีม ตระหนักในความสำคัญของกันและกัน แสดงออกซึ่งการยอมรับ การให้เกียรติกัน สำหรับกลุ่มขนาดใหญ่มักมีปฏิสัมพันธ์กันเป็นเครือข่ายมากกว่าการติดต่อกันตัวต่อตัว

2. มีจุดมุ่งหมายและเป้าหมายร่วมกัน หมายถึง การที่สมาชิกกลุ่มจะมีส่วนกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมร่วมกันของทีม / กลุ่ม โดยเฉพาะจุดประสงค์ของสมาชิกกลุ่มที่สอดคล้องกับองค์การ มักจะนำมาซึ่งความสำเร็จของการทำงานได้ง่าย

3. การมีโครงสร้างของทีม / กลุ่ม หมายถึง ระบบพฤติกรรม ซึ่งเป็นแบบแผนเฉพาะกลุ่มสมาชิกกลุ่มจะต้องปฏิบัติตามกฏหรือมติของกลุ่ม ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มแบบทางการ (Formal Group) หรือกลุ่มแบบไม่เป็นทางการ (Informal Group) ก็ได้ สมาชิกทุกคนของกลุ่มจะต้องยอมรับและปฏิบัติตามเป็นอย่างดี สมาชิกกลุ่มย่อย อาจจะมีกฎเกณฑ์แบบไม่เป็นทางการ มีความสนิทสนมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างสมาชิกด้วยกัน

4. สมาชิกมีบทบาทและมีความรู้สึกร่วมกัน การรักษาบทบาทที่มั่นคงในแต่ละทีม / กลุ่ม จะมีความแตกต่างกันตามลักษณะของกลุ่ม รวมทั้งความรู้ความสามารถของสมาชิก โดยจีการจัดแบ่งบทบาทและหน้าที่ ความรับผิดชอบ กระจายงานกันตามความรู้ ความสามารถ และความถนัดของสมาชิก

การทำงานเป็นทีมเป็นแรงจูงใจสำคัญที่จะผลักดันให้ท่านเป็นผู้นำที่ดี ถ้าท่านประสงค์ที่จะนำทีมให้ประสบความสำเร็จในการทำงาน ท่านจำเป็นต้องค้นหาคุณลักษณะของการทำงานเป็นทีมให้พบระลึกไว้เสมอว่าทุกคนมีอิสระในตัวเอง ขณะเดียวกันก็เป็นส่วนหนึ่งของทีม แล้วจึงนำเอากลยุทธ์ในการสร้างทีมเข้ามาใช้เพื่อให้ทุกคนทำงานร่วมกันและประสบความสำเร็จ

การทำงานเป็นทีมมีกระบวนการ อะไร อย่างไรบ้าง

Forming เป็นขั้นตอนที่แต่ละคนมาพบกันหรือรวมกลุ่มกันด้วยจุดมุ่งหมายหรือผลประโยชน์ ร่วมกันอย่างอื่น ซึ่งจะนำไปสู่การจัดโครงสร้างกลุ่ม การสร้างการยอมรับ การชักจูง การมีปฏิสัมพันธ์กัน ในลักษณะต่างๆ

Storming เป็นขั้นตอนที่เริ่มเกิดความขัดแย้งทางความคิดต่อการดำเนินการกลุ่ม พฤติกรรมบุคคลและเรื่องผู้นำกลุ่ม

Norming เป็นขั้นที่กลุ่มพยายามหาวิธีแก้ไขความขัดแย้งโดยกำหนดระเบียบ กฎเกณฑ์ หรือบรรทัดฐานรวมทั้งบทบาทและพฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มตามสายการบังคับบัญชา เป็นขั้นตอน

Performing เป็นขั้นตอนที่กลุ่มสามารถทำงานประสานกันเป็นทีม มีความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีต่อกัน มีผลงานอย่างดีมีประสิทธิผล สำหรับกลุ่มทำงานที่ถาวร ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้าย

Adjourning เมื่อกลุ่มบุคคลปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จลุล่วง ก็จะแยกย้ายสลายตัว แต่บุคคลบางคนอาจมีความผูกพันและคงความสัมพันธ์ส่วนบุคคลต่อไป

ทำไม นักศึกษาครู /ครู ต้องเรียนรู้เรื่อง การทำงานเป็นทีม ในการบริหารจัดการชั้นเรียน

ในชีวิตการทำงานของครูนั้นเป็นชีวิตที่ต้องมีการทำงานเป็นทีม ต้องร่วมกันทำงาน ต้องร่วมกันวางแผน ไม่ว่าจะเป็นการร่วมกันในการทำงานเพื่อพัฒนาโรงเรียน การทำงานร่วมกันเป็นทีมในการพัฒนาผู้เรียน และที่สำคัญครูต้องเรียนรู้การทำงานเป็นทีมเพื่อพัฒนาและฝึกให้ผู้เรียนรู้จักการทำงานเป็นทีม ทั้งนี้ครูต้องพร้อมที่จะปลูกฝังนักเรียนเรื่องการทำงานทีมแก่นักเรียนเพื่อการอยู่ร่วมกันผู้อื่นได้ในสังคม

นักเรียนในโรงเรียน(ที่ครูสอน) มีการแสดงพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม อย่างไรบ้าง

จากการที่ข้าพเจ้าได้มีส่วนร่วมในการสังเกตการสอนได้พบเห็นการแสดงออกพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนร่วมกันในการทำงานกลุ่มที่ได้รับมอบหมายจากครูผู้สอน การเล่นกีฬาร่วมกันเป็นทีม ซึ่งจากการสังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมของนักเรียนเห็นได้ว่าในการทำงานนักเรียนมีการร่วมกันและมีการวางแผน การแบ่งงานกันทำ และทุกคนก็ทำงานร่วมกันและทำหน้าที่ของตนเป็นอย่างดี

Post navigation

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita