ปัจจุบัน โปรแกรม dreamweaver ใช้ ชื่อ เต็ม ว่า อะไร

โปรแกรม
Dreamweaver cs6

Macromedia Dreamweaver เป็นโปรแกรมสำหรับออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องด้วยสามารถใช้งานได้ง่าย มีเครื่องมือให้ใช้งานมากมาย ซึ่งสามารถพัฒนาเว็บได้อย่างรวดเร็ว และง่ายดาย

นอกจากโปรแกรม Macromedia Dreamweaver จะออกแบบมาให้ใช้สร้างเว็บ อย่างง่ายดายแล้ว ยังเพิ่มคุณสมบัติต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพ และเอื้อประโยชน์สำหรับผู้ทำเว็บอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นระบบการจัดการเกี่ยวกับ Site และการจัดเก็บไฟล์ นอกจากนี้ยังมีระบบช่วยจัดการเกี่ยวกับการ Upload ไฟล์ไปยังเซิร์ฟเวอร์อีกด้วย

นอกจากนี้แล้วปัจจุบัน Macromedia Dreamweaver รุ่นใหม่ ๆ ยังสนับสนุนการใช้งานเว็บแบบไดนามิคเพิ่มมากขึ้น มีการรองรับสคริปภาษาต่าง ๆ เช่น CSS , Java Script , ภาษา XML และรองรับลูกเล่นเกี่ยวกับการทำภาพเคลื่อนไหว Gif Animation และสนับสนุนการใช้งาน Flash เพิ่มขึ้นอีกด้วย

ทำความรู้จักโปรแกรมDreamweaver

  • ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นคุณสมบัติและความสามารถของโปรแกรมตัวเก่งตัวนี้ ซึ่งสามารถครองใจผู้ทำเว็บมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่เริ่มต้นก่อตั้ง ซึ่งจากอดีตจนถึงปัจจุบัน Macromedia Dreamweaver มีออกมาแล้วหลายเวอร์ชั่น ซึ่งมีทั้งหมดดังนี้
    • Dreamweaver 1.0 (ธันวาคม ค.ศ. 1997)
    • Dreamweaver 1.2 (มีนาคม ค.ศ. 1998)
    • Dreamweaver 2.0 (ธันวาคม ค.ศ. 199
    • Dreamweaver 3.0 (ธันวาคม ค.ศ. 1999)
    • Dreamweaver UltraDev 1.0 (มิถุนายน ค.ศ. 2000)
    • Dreamweaver 4.0 (ธันวาคม ค.ศ. 2000)
    • Dreamweaver UltraDev 4.0 (ธันวาคม ค.ศ. 2000)
    • Dreamweaver MX (พฤษภาคม ค.ศ. 2002)
    • Dreamweaver MX 2004 (10 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003)
    • Dreamweaver 8 (13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005)
    • Dreamweaver CS3 (9.0) รุ่นทดลอง ล่าสุด (27 มีนาคม พ.ศ. 2550)

ในอดีตโปรแกรม Macromedia Dreamweaver ถูกสร้างขึ้นโดยบริษัท แมโครมีเดีย แต่ปัจจุบันนี้ควบกิจการรวมกับบริษัท อะโดบีซิสเต็มส์ ดังนั้นเวอร์ชั่นที่ถูกพัฒนาขึ้นในภายหลัง จึงมีการใช้ชื่อใหม่ จากชื่อเดิม แมโครมีเดีย ดรีมวีฟเวอร์ (Macromedia Dreamweaver) เปลี่ยนเป็น อะโดบี ดรีมวีฟเวอร์ (Adobe Dreamweaver)

  • การสร้าง Site เพื่อจัดเก็บไฟล์และโฟลเดอร์
    • ในการสร้างเว็บไซต์นั้น จะประกอบไปด้วยไฟล์ต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ HTML รูปภาพ และโฟลเดอร์ ซึ่งเราจะต้องมีการเตรียมการจัดเก็บส่วนประกอบเหล่านี้ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในภายหลัง ซึ่งการสร้าง Site สามารถช่วยจัดการได้

  • ผู้ที่เริ่มต้นสร้างเว็บไซต์ใหม่ ๆ อาจจะคิดว่าการสร้างเว็บไซต์ไม่น่าจะยุ่งยากมากนัก รวมทั้งส่วนประกอบก็ไม่ได้สร้างความสับสน แต่จะเกิดปัญหาขึ้นได้ในภายหลังเมื่อคุณมีเว็บไซต์ที่ประกอบไปด้วยไฟล์จำนวน มากเพิ่มขั้น ซึ่งหากคุณไม่จัดเก็บให้ดี คุณจะได้เจอกับปัญหานี้แน่ ๆ ค่ะ เช่น เมื่อต้องการจะแก้ไขไฟล์ภาพสักภาพ คุณก็ต้องมาเสียเวลาคิดว่าไฟล์ที่ใช้งานในหน้านี้ ถูกจัดเก็บไว้ที่ไหน ชื่อไฟล์อะไร เป็นต้น บางครั้งแก้ไขเสร็จเซฟไว้คนล่ะที่ ทำให้เกิดปัญหาลิงค์ผิดพลาด หรือ บางทีลบไฟล์ หรือเซฟไฟล์ทับผิดที่ เป็นต้น
    เพราะฉะนั้น เพื่อป้องกันปัญหายุ่งยากเหล่านี้ เราจึงต้องมีการวางแผนในการจัดเก็บไฟล์ต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบ มีแบบแผน เช่น จากรูปข้างต้น จะเป็นตัวอย่างลักษณะการจัดเก็บไฟล์ที่ Webmaster กำหนดขึ้น ซึ่งข้อมูลของเว็บไซต์จะถูกเก็บอยู่ในโฟลเดอร์ชื่อ nextstepdev โดยภายในโฟลเดอร์นี้จะเป็นข้อมูลของเว็บ nextstepdev เท่านั้น ซึ่งจะประกอบไปด้วย ไฟล์ HTP และรูปภาพต่าง ๆ

  • ขั้นตอนที่ 1 คลิกเลือกคำสั่ง Site --> Manage Sites... จาก Menu Bar
  • ขั้นตอนที่ 2 จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Manage Site ให้ทำการคลิกที่ปุ่ม New... จากนั้นเลือก Site

  • ขั้นตอนที่ 3 รอสักครู่จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Site Definition ให้ทำการตั้งชื่อไซต์ ในช่อง Site name

  • ขั้นตอนที่ 4  ระบุโฟลเดอร์ที่จะใช้ใน การจัดเก็บเว็บไซต์ โดยการคลิกที่รูปโฟลเดอร์ ที่บริเวณ Local root folder ซึ่งจะมีไดอะล็อกบ็อกซ์ใหม่เพิ่มมา ให้เลือกไปยังโฟลเดอร์ที่เราจะจัดเก็บข้อมูล จากนั้น คลิกปุ่ม Select (เลือกไปยังโฟลเดอร์ที่จะจัดเก็บเว็บไซต์ โดยต้องสร้างโฟลเดอร์นี้ไว้ก่อน จากตัวอย่าง Webmaster สร้างโฟลเดอร์ชื่อ nextstepdev ไว้ที่ C:\ AppServ\www ดังนั้น Webmaster จึงเลือกเข้าไปในโฟลเดอร์ชื่อ nextstepdev แล้วจึงกดปุ่ม Select

  • ขั้นตอนที่ 5  เมื่อระบุโฟลเดอร์สำหรับเก็บข้อมูลเรียบร้อยแล้ว คลิกปุ่ม OK

  • ขั้นตอนที่ 6 จะปรากฏชื่อ Site name ที่เราสร้างขึ้นในหน้าต่าง Manage Site ดังภาพ จากนั้นให้เราคลิกปุ่ม Done

  • แค่นี้ก็เรียบร้อยแล้วค่ะ Site ที่เราสร้างขึ้น จะปรากฏขึ้นที่บริเวณ File Panel ทางด้านขวามือ ดังภาพ

  • การกำหนดคุณสมบัติพื้นฐานของเว็บเพจ

ก่อนที่เราจะเริ่มต้นสร้างเว็บเพจ หลังจากเราได้สร้างไฟล์ใหม่แล้ว เราควรกำหนดคุณสมบัติ พื้นฐานให้กับหน้าเว็บเพจของเราก่อน เพื่อใช้เป็นค่าเริ่มต้นในการทำเว็บเพจของเพจนั้น

  • คุณสมบัติพื้นฐานหรือค่าเริ่มต้นของเว็บเพจ ซึ่งเราจะต้องเริ่มกำหนดก่อนทำเว็บ ได้แก่ การกำหนดค่าของฟอนต์ ขนาดของฟอนต์ สีของข้อความ สีของพื้นหลัง เป็นต้น

  • ซึ่งมีวิธีกำหนดค่าคุณสมบัติพื้นฐานของเว็บเพจ ดังนี้
  • ขั้นตอนแรก คลิกที่เมนูModify --> Page Propertiesจะมีไดอะล็อกบ็อกซ์

ปรากฏขึ้น

  • ขั้นตอนที่ 2 กำหนดค่าในส่วนของ Appearance ซึ่งจะประกอบไปด้วย รายละเอียดที่ต้องกำหนดดังนี้

1. ข้อมูลเกียวกับลักษณะของข้อความ ที่จะปรากฏทางหน้าเว็บเพจ เช่น จะเป็นฟอนต์อะไร ขนาดเท่าไหร่ สีอะไรเป็นต้น

2. ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นหลังของเว็บเพจ ซึ่งสามารถกำหนดได้ ว่าต้องการให้พื้นหลังของเว็บเพจเป็นสีอะไร หรือหากไม่กำหนดเป็นสีก็สามารถกำหนด เป็นพื้นหลังแบบรูปภาพก็ได้

3. ส่วนของระยะขอบของเว็บเพจ ซึ่งหากคุณไม่ได้กำหนดไว้ ค่าเริ่มต้นของเว็บเพจของคุณจะมีลักษณะเว้นว่างบริเวณขอบทั้งสี่ด้าน หากไม่ต้องการให้มีขอบให้กำหนดค่า margin ทั้งสี่ด้านให้เท่ากับ 0

ขั้นตอนที่ 3 เมื่อกำหนดเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการคลิกปุ่ม OK เพจของคุณก็จะมีคุณสมบัติตามค่าเริ่มต้น ที่คุณได้กำหนดค่าไว้

คุณสมบัติส่วนนี้ หากคุณไม่ได้กำหนดไว้ ชนิดของฟอนต์และขนาด ที่แสดงผลใน Dreamweaver จะถูกแสดงผลตามค่าดีฟอลต์ที่คุณได้กำหนดที่ในส่วPreferences ของโปรแกรม (ติดตามอ่านได้ในบทความต่อไปค่ะ)

  • จากปัญหาข้างต้นที่ได้กล่าวไป เพื่อน ๆ บางคนอาจจะยังไม่เห็นภาพชัดเจน ว่าอะไรบ้างที่เราต้องทำหลาย ๆ อย่าง และต้องทำซ้ำ ๆ หนึ่งในนั้นที่ Webmaster จะขอยกตัวอย่างให้เห็นกันชัด ๆ ก็คือ เกี่ยวกับการพิมพ์ข้อความ
    การพิมพ์ข้อความนั้นเราต้องปรับแต่งคุณสมบัติ ของข้อความอยู่หลาย ๆ อย่างด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการปรับเลือกฟ้อนต์ เลือกขนาดของข้อความ เลือกสีของข้อความ เห็นไหมละค่ะ เราต้องปรับค่าตั้ง 3 ครั้ง ถึงจะได้ลักษณะรูปแบบข้อความที่เราต้องการ แล้วเมื่อเราต้องพิมพ์ข้อความหลาย ๆ ข้อความ หลาย ๆ ตำแหน่ง เราก็ต้องมาทำขั้นตอนที่กล่าวมาซ้ำ ๆ อีก
  • เพื่อแก้ไขปัญหานี้ Macromedia Dreamweaver ก็เตรียมเครื่องมือที่เรียกว่า CSS Style มาช่วยลดขั้นตอนการทำงานซ้ำ ๆ แบบที่กล่าวมา โดยแค่กำหนดค่าไว้ที่ CSS Style แล้วเรียกใช้ CSS Style แค่เพียงครั้งเดียวก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยค่ะ

  • ก่อนจะไปพบวิธีการสร้าง CSS Style เรามารู้จัก CSS Style กันสักหน่อย CSS Style ย่อมาจาก Cascading Style Sheets เป็นเครื่องมือที่ช่วยกำหนดคุณสมบัติของสิ่งต่าง ๆ ในหน้าเว็บเพจ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดคุณสมบัติของฟอนต์ เช่น ลักษณะของฟอนต์ ขนาด กำหนดคุณสมบัติของสี เกี่ยวกับพื้นหลัง เกี่ยวกับตาราง และอื่น ๆ อีกมากมาย รูปร่างหน้าตา CSS Style ใน Macromedia Dreamweaver Mx 2004 ก็มีลักษณะดังภาพด้านบนค่ะ ซึ่งก็ประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ ตามที่เห็นในภาพค่ะ

  • ขั้นตอนแรก ให้คุณคลิกที่ปุ่ม สร้างสไตล์ใหม่ ซึ่งอยู่บริเวณด้านล่าง (ตำแหน่ง สร้างสไตล์ใหม่ ตามรูปที่ 1 ค่ะ)
    ขั้นตอนที่ 2 ถ้าทำขั้นตอนแรกถูกต้อง คุณก็จะเจอไดอะล็อกบ็อกซ์ New CSS Style ตามภาพที่ 2 ค่ะ ให้คุณทำการตั้งชื่อของ Style ที่ช่อง Name ต้องตั้งชื่อให้สื่อความหมายนะค่ะ เพราะชื่อนี้จะปรากฏให้เราเลือกเมื่อต้องการใช้งาน ตั้งให้สื่อความหมายจะได้จำได้ (บางครั้งเราก็สร้าง Style หลาย ๆ ตัวค่ะ สร้างเยอะถ้าชื่อไม่สื่อความหมายเดียวจะลืมเอาได้)
    Webmaster ตั้งชื่อ Style ว่า "tahoma_12" เพราะจะสร้างรูปแบบฟอนต์ที่ใช้ฟอนต์แบบ tahoma และจะกำหนดขนาดฟอนต์เท่ากับ 12 pixels
    เมื่อตั้งชื่อและกำหนดรายละเอียดตามภาพแล้ว กด OK

  • ขั้นตอนที่ 3 จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ เพื่อให้ทำการเซฟ Style Sheets ให้ทำการตั้งชื่อ Style Sheets จากนั้นเซฟไว้ในโฟลเดอร์ Site งานที่กำหนดไว้สำหรับเก็บข้อมูลเว็บไซต์ที่เราจะสร้างขึ้น

  • ขั้นตอนที่ 4 เมื่อเราได้เซฟ Style Sheets เรียบร้อยแล้วจะมีไดอะล็อกบ็อกซ์ปรากฏขึ้น เพื่อให้เรากำหนดลักษณะของ Style Sheets ในที่นี้เราจะกำหนดลักษณะของตัวอักษรและข้อความ ดังนั้นให้เลือก Type

    สังเกตบริเวณทางขวามือ จะมีลักษณะของ Type ให้เรากำหนด ซึ่ง Webmaster ก็ได้กำหนดฟอนต์แบบ tahoma และกำหนดขนาดฟอนต์เท่ากับ 12 pixels และกำหนดสีของฟอนต์ เป็น รหัสสี #333333 และเลือกเป็นแบบตัวอักษรแบบธรรมดา เมื่อกำหนดค่าต่าง ๆ เรียบร้อยแล้วก็กดปุ่ม OK

  • เพียงแค่นี้เราก็สร้าง Style Sheets ได้แล้วค่ะ สังเกตที่บริเวณ CSS Style จะปรากฏชื่อ Style Sheets ที่เราสร้างขึ้น พร้อมทั้งรายละเอียดลักษณะของสไตล์ และที่บริเวณ File Panel ก็จะปรากฏไฟล์ CSS Style ที่เราได้สร้างขึ้นปรากฏให้เห็นค่ะ

นางสาวศุภิสรา ใหมอ่อน เลขที่ 33 ปวส.2

แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

จบการนำเสนอ...ขอบคุณค่ะ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita