รูป แบบ การ เชื่อม ต่อ แบบ ใด สิ้น เปลือง ค่า ใช้ จ่าย น้อย ที่สุด

           คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลที่ประกอบกันเป็นเครือข่าย มีการเชื่อมโยงถึงกันในรูปแบบต่างๆ ความเหมาะสมเทคโนโลยีการออกแบบเชื่อมโยงนี้เรียกว่า รูปร่างเครือข่าย” (Network Topology) เมื่อพิจารณาการเชื่อมโยงถึงกันของอุปกรณ์สำนักงานที่ใช้ต่างๆ หากต้องการเชื่อมต่อถึงกันโดยตรงจะต้องใช้สายเชื่อมโยงมาก

ลักษณะการใช้งานของเครือข่าย สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ

1.โครงสร้างเครือข่ายแบบบัส (Bus Topology)

– มีการเชื่อมต่อแบบเส้นตรง เชื่อมต่อง่ายและไม่ซับซ้อน โดยจะประกอบด้วย สายส่งข้อมูลหลัก ที่ใช้ส่งข้อมูลภายในเครือข่าย เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จะเชื่อมต่อเข้ากับสายข้อมูลผ่านจุดเชื่อมต่อ เมื่อมีการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องพร้อมกัน โดยจะมีสัญญาณข้อมูลส่งไปบนสายเคเบิ้ล และมีการแบ่งเวลาการใช้สายเคเบิ้ลแต่ละเครื่อง

ข้อดีคือ – เชื่อมต่อง่าย

– ระบบไม่ซับซ้อน

– ประหยัดสายสัญญาณและค่าใช้จ่าย

– เพิ่มเติมปริมาณเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายได้ง่าย

– ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่

ส่งผลต่อการทำงานระบบโดยรวม

ข้อเสียคือ เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อโดยใช้สัญญาณเดียว

– เมื่อสายสัญญาณเสียหายจุดใดจุดหนึ่งจะส่งผลให้เครือข่าย

จะไม่ทำงานได้ทันที

– หาข้อผิดพลาดในการชำรุดได้ยาก

โครงสร้างเครือข่ายแบบ bus

2.โครงสร้างเครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Topology)

– มีลักษณะของการเชื่อมต่อเป็นรูปวงแหวนหรือวงกลม สัญญาณจะเดินทางเป็นวงกลมในทิศทางเดียว โดยจะใช้ลักษณะ การส่งต่อข้อมูล เมื่อการส่งข้อมูลเรียบร้อย จะแจ้งไปยังเครื่องอื่นๆ ว่าสายสัญญาณว่าง เพื่อให้เครื่องอื่นทำการส่งข้อมูลต่อไป

ข้อดีคือ – ประหยัดสายสัญญาณ

– ทำการติดตั้งในเครือข่ายสามารถทำได้ง่าย และใช้สายเคเบิลน้อย

– การส่งข้อมูลมีผลเท่าเทียมกัน

– ไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง

ข้อเสียคือ – ถ้าสายสัญญาณช่วงใดช่วงหนึ่งเสียหายจะทำให้ระบบเครือข่าย

ทั้งหมดไม่สามารถทำงานได้ทันที

– การตรวจสอบเมื่อเกิดความผิดพลาดทำได้ยาก

โครงสร้างเครือข่ายแบบวงแหวน

3.โครงสร้างเครือข่ายแบบดาว (Star Topology)

มีอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อเครือข่ายคือ “ฮับ (Hub)” เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อเครือข่าย

คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะเชื่อมต่อสายสัญญาณเข้าไปยังฮับ เป็นแบบการกระจาย ถ้าหากจะส่งข้อมูล ข้อมูลจะต้องผ่านฮับก่อน ฮับจะทำหน้าที่กระจายข้อมูลไปยังเครื่องปลายทางต่างๆ

ข้อดีคือ – จัดการระบบง่าย

– จับหาข้อผิดพลาดง่าย

– เครือข่ายคงทนสูง

– ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่าย

และไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ

ข้อเสียคือ – สิ้นเปลืองสัญญาณ

– ต้องมีการจำกัดจำนวนคอมพิวเตอร์ที่จะนำมาเชื่อมต่อ

– ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง

– มื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย

โครงสร้างเครือข่ายแบบดาว

4.โครงสร้างเครือข่ายแบบเมซ (Mesh Topology)

เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายที่สมบูรณ์ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายเชื่อมต่อถึงกันได้ทั้งหมดด้วยสัญญาณ เป็นอิสระในการส่งข้อมูล ถ้าเส้นทางหลักเกิดความเสียหาย จะลดความผิดพลาดในการส่งข้อมูล ทำให้ระบบนี้มีประสิทธิภาพและมีความน่าเชื่อถือสูง ลักษณะเชื่อมโยงคล้ายกับโครงสร้างแบบดาวแต่จะมีโครงสร้างแบบต้นไม้ โดยมีสายนำสัญญาณแยกออกไปเป็นแบบกิ่งไม่เป็นวงรอบ โครงสร้างแบบนี้จะเหมาะกับการประมวลผลแบบกลุ่มจะประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับต่างๆกันอยู่หลายเครื่องแล้วต่อกันเป็นชั้น ๆ ดูราวกับแผนภาพองค์กร แต่ละกลุ่มจะมีโหนดแม่ละโหนดลูกในกลุ่มนั้นที่มีการสัมพันธ์กัน การสื่อสารข้อมูลจะผ่านตัวกลางไปยังสถานีอื่นๆได้ทั้งหมด เพราะทุกสถานีจะอยู่บนทางเชื่อม และรับส่งข้อมูลเดียวกัน ดังนั้นในแต่ละกลุ่มจะส่งข้อมูลได้ทีละสถานีโดยไม่ส่งพร้อมกัน

ข้อดีคือ – ถ้าสายสัญญาณเกิดความเสียหายก็ไม่ส่งผลต่อการส่งข้อมูลเพราะมีเส้นสำรองเพื่อส่ง

ข้อมูลและสามารถระบุจุดที่ระบบเสียหายได้ทันที

– เกิดความรวดเร็วในการส่งข้อมูล เนื่องจากเดินทางได้หลายทาง

– มีความเร็วในการสื่อสารข้อมูลสูง

– โปรแกรมที่ใช้ในการควบคุมการสื่อสารก็เป็นแบบพื้นฐานไม่ซับซ้อนมากนัก

– สามารถรับส่งข้อมูลได้ปริมาณมาก

– ไม่มีปัญหาเรื่องการจัดการการจราจรในสื่อส่งข้อมูล

– มีความทนทานต่อความเสียหายเมื่อสื่อส่งข้อมูลหรือสายใดสายหนึ่งเสียหายใช้การ

ไม่ได้ ไม่ส่งผลต่อระบบเครือข่ายโดยรวม แต่เกิดเสียหายเฉพาะเครื่องต้นสายและ

ปลายสายเท่านั้น

– มีความปลอดภัยหรือมีความเป็นส่วนตัว เพราะ ใช้สายระหว่าง 2 เครื่องเท่านั้น

ข้อเสียคือ – ทำให้สิ้นเปลืองสายสัญญาณมาก และใช้ต้นทุนมาก

– มีความซับซ้อนในการเชื่อมต่อเครือข่าย

– ใช้อินพุดและเอาต์พุดมากในการต่อ

โครงสร้างเครือข่ายแบบตาข่าย

นอกจากโครงสร้างทั้ง 4 ประเภทที่ได้กล่าวมาแล้ว ได้นำรูปแบบของโครงสร้างหลายๆ รูปแบบผสมผสานให้เกิดเป็นโครงสร้างเครือข่ายขึ้นอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า “ไฮบริดจ์” เป็นการนำโครงสร้างเครือข่ายหลายรูปแบบมารวมกัน

แหล่งอ้างอิง : //sites.google.com/site/41127yanotai

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita